อายุครรภ์ 11 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 11 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อายุครรภ์ 11 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 11 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

04.03.2020

คุณแม่ที่มีอายุครรภ์ได้ 11 สัปดาห์ อาจจะยังมีอาการแพ้ท้องอยู่ แต่อาการะจะค่อย ๆ ลดน้อยลง โดยอาการแพ้ท้องที่เกิดขึ้นในช่วงนี้เช่น ปวดศีรษะ วิงเวียนศีรษะ มีเลือดออกที่ช่องคลอดเล็กน้อย (ทั้งนี้หากผิดปกติควรรีบปรึกษาแพทย์) หน้าท้องขยาย เป็นต้น และในส่วนของทารกในครรภ์ ร่างกายจะเริ่มมีการเจริญเติบโตมากขึ้น ลำตัวของเด็กจะมีการขยายใหญ่ขึ้น อาจมีขนาดประมาณ 4-5 เซนติเมตร และอวัยวะต่าง ๆ เช่น ปาก หู จมูก ศีรษะ ขา จะเริ่มปรากฏชัดเจนมากขึ้น

headphones

PLAYING: อายุครรภ์ 11 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 11 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อ่าน 7 นาที

 

สรุป

  • อายุครรภ์ในช่วง 11 สัปดาห์ คุณแม่จะเริ่มรู้สึกได้ถึงการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย เช่น หน้าท้องเริ่มมีการขยาย อาการวิงเวียนศีรษะ มีเลือดออกที่ช่องคลอดบ้างเล็กน้อย คัดเจ็บเต้านมและอื่น ๆ ซึ่งอาการเหล่านี้จะค่อย ๆ ทุเลาลดลงเนื่องจากระดับของฮอร์โมนของคุณแม่เริ่มคงที่
  • ลักษณะที่เกิดขึ้นกับทารกในช่วงอายุครรภ์ 11 สัปดาห์ ทารกจะเริ่มมีการสร้างอวัยวะต่าง ๆ มากขึ้นเช่น ศีรษะ ขา หูและปากเป็นต้น ถือว่าเป็นช่วงการเจริญเติบโตที่สำคัญของทารก

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

อาการแพ้ท้องของคุณแม่ที่มีอายุครรภ์ 11 สัปดาห์ อาการแพ้ท้องต่าง ๆ จะเริ่มลดลง เนื่องมาจากระดับฮอร์โมนในร่างกายของคุณแม่เริ่มคงที่ ส่งผลให้อาการแพ้ท้องลดลงตามไปด้วย

 

อายุครรภ์ 11 สัปดาห์ เป็นช่วงที่อวัยวะของทารกเริ่มทำงานแล้ว

ทารกในช่วงอายุครรภ์ 11 สัปดาห์ อวัยวะบางส่วนจะมีการขยับได้บ้างแล้ว เช่น เริ่มมีการขยับแขนและขา เริ่มอ้าปากและหุบปากได้ ไตเริ่มทำงานขับของเสียได้แล้ว เป็นต้น

 

อาการคนท้อง 11 สัปดาห์ ที่พบได้ทั่วไป

  • ฮอร์โมนจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
  • เกิดอาการอ่อนเพลียง่าย
  • มีอาการปวดหัววิงเวียนศีรษะ
  • มีอาการคัดเจ็บเต้านม
  • หน้าท้องเริ่มมีการขยายตัว และน้ำหนักของคุณแม่จะเพิ่มสูงขึ้น
  • มีอาการตกขาวมากขึ้น

 

ท้อง 11 สัปดาห์ ท้องจะใหญ่ขึ้นแค่ไหน

 

ท้อง 11 สัปดาห์ ท้องจะใหญ่ขึ้นแค่ไหน

เมื่อถึงอายุครรภ์ 11 สัปดาห์ หน้าท้องของคุณแม่จะขยายใหญ่ขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ระดับฮอร์โมนเริ่มคงที่ทำให้อาการแพ้ท้องลดลงและสามารถรับประทานอาหารได้มากขึ้น ซึ่งคุณแม่ควรทานอาหารสำหรับคนท้อง ที่มีประโยชน์ครบทั้ง 5 หมู่ และควรลดอาหารจำพวกแป้ง น้ำตาลและไขมัน ควรรับประทานโปรตีน ผักและผลไม้เป็นหลัก และควรตรวจอัลตราซาวด์หรือตรวจเลือด เพื่อดูความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นกับเด็กในครรภ์ เช่น การเกิดดาวน์ซินโดรม เป็นต้น

 

ท้อง 11 สัปดาห์ ลูกในครรภ์จะตัวใหญ่แค่ไหน

ทารกครรภ์อายุ 11 สัปดาห์ จะมีขนาดเทียบเท่าลูกปิงปอง ทารกจะมีความยาว 1.61 นิ้ว หรือประมาณ 4 เซนติเมตร และมีน้ำหนักตัวประมาณ 0.25 ออนซ์ หรือ 7.08 กรัมเท่านั้น ในช่วงนี้ ทารกในครรภ์ยังเป็นตัวอ่อนอยู่ ยังไม่สามารถระบุเพศผ่านการอัลตร้าซาวน์ได้

 

พัฒนาการของทารกในครรภ์อายุ 11 สัปดาห์

  • ทารกอายุครรภ์ 11 สัปดาห์ จะเริ่มมีการขยับแขน ขา ศีรษะ และอ้าปากได้บ้างแล้ว
  • แขนและมือของทารกในวัยนี้ จะมีความยาวมากกว่าขา หัวใจของทารกจะเต้นประมาณ 120-160 ครั้ง
  • ไตของทารกจะเริ่มทำงาน โดยการขับของเสียไปที่กระเพาะปัสสาวะ ซึ่งของเสียจะถูกนำออกมาที่สายสะดือต่อไป

 

การดูแลตัวเอง สำหรับคุณแม่ท้อง 11 สัปดาห์

 

การดูแลตัวเอง สำหรับคุณแม่ท้อง 11 สัปดาห์

1. ให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพช่องปาก

การดูแลสุขภาพในช่องปาก เป็นสิ่งสำคัญที่คุณแม่ควรคำนึงถึง เนื่องจากหากเกิดปัญหาสุขภาพช่องปากขึ้น อาจส่งผลต่อเด็กในครรภ์เช่น มีการถ่ายทอดเชื้อโรคจากแม่สู่ช่องปากของลูก หรือทำให้ลูกเกิดภาวะเสี่ยงต่อการเกิดฟันผุสูง ซึ่งวิธีดูแลสุขภาพช่องปากที่ควรทำคือ แปรงฟันให้สะอาดอยู่เสมอวันละ 2 ครั้ง เวลาเช้าและก่อนเข้านอน และหากมีการอาเจียนก็ควรงดการแปรงฟังอย่างน้อย 1 ชั่วโมงหลังอาเจียน เพื่อลดการกัดกร่อนฟันจากการแปรงฟัน

 

2. ออกกำลังกายเบา ๆ ช่วยให้คลอดง่าย

คุณแม่ที่มีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ทำให้คลอดง่าย เนื่องจากการออกกำลังกายทำให้ กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานแข็งแรง ช่วยเพิ่มพลังและความอดทนเมื่อตอนเบ่งคลอด โดยการออกกำลังกายที่แพทย์แนะนำคือ การปั่นจักรยานอยู่กับที่ เดิน และการเต้นแอโรบิคในน้ำ เพื่อช่วยพยุงน้ำหนักของคุณแม่ไม่ให้เกิดการกระแทกจนเกินไป

 

3. รับประทานอาหารที่เสริมพัฒนาการของลูกน้อย

คุณแม่ควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ โดยปริมาณของอาหารในแต่ละมื้อแนะนำให้คุณแม่ทานเท่ากับช่วงก่อนตั้งครรภ์ แต่ถ้าหากคุณแม่ยังมีอาการแพ้ท้องอยู่ ก็สามารถลดปริมาณอาหารได้ตามความเหมาะสมที่พอจะรับประทานได้ และควรรับประทานอาหารที่ย่อยง่ายหรืออาหารอ่อน ๆ ก็จะช่วยให้รับประทานอาหารได้มากขึ้น ทั้งนี้ก็เพื่อการเจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์ของลูกน้อยในครรภ์

 

เมื่อคุณแม่อายุครรภ์ 11 สัปดาห์ จะรู้สึกได้ถึงการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย เช่น หน้าท้องที่ขยายใหญ่ขึ้น และอาจมีอาการแพ้ท้องเกิดขึ้นได้ เช่น อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ วิงเวียนศีรษะ ตกขาว คัดและเจ็บเต้านม เป็นต้น ซึ่งคุณแม่ควรดูแลสุขภาพของตนเองให้ดีที่สุด รวมถึงการดูแลสุขภาพในช่องปาก โดยการแปรงฟันอย่างสม่ำเสมอด้วยยาสีฟันที่ผสมฟลูออไรด์ การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบทั้ง 5 หมู่ การออกกำลังกายที่เหมาะสมกับคุณแม่ช่วงตั้งครรภ์เช่น การเดิน ปั่นจักรยานอยู่กับที่ การรักษาสุขภาพจิตให้ผ่องใส พยายามไม่เครียดและไม่วิตกกังวลมากจนเกินไป เพื่อการเจริญเติบโตที่สมบูรณ์แข็งแรงของเด็กในครรภ์ต่อไป

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

 

 

อ้างอิง:

  1. Week 11, Better Health – Start for Life (www.nhs.uk)
  2. คำแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ไตรมาส 1-3, โรงพยาบาลบางปะกอก
  3. ท้อง 3 เดือน กับความเปลี่ยนแปลงที่คุณแม่ควรรู้, Pobpad
  4. การดูแลลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์, โรงพยาบาลแพทย์รังสิต
  5. ชุดความรู้การดูแลสุขภาพช่องปากหญิงตั้งครรภ์และเด็กอายุ 0-5 ปี, สำนักทันตสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข
  6. เรื่อง “ควรหรือไม่ควร...การออกกำลังกายในขณะตั้งครรภ์”, คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  7. 11 weeks pregnant, The Australian Parenting Website
  8. Your Pregnancy Week by Week: Weeks 9-12, WebMD Editorial Contributors Medically Reviewed by Traci C. Johnson, MD
  9. ขนาดทารกในครรภ์ ในช่วงสัปดาห์ต่าง ๆ เปรียบเทียบกับขนาดผักและผลไม้, hellokhunmor

อ้างอิง ณ วันที่ 12 มกราคม 2567

บทความแนะนำ

ลูกแฝด เกิดจากอะไร ตั้งครรภ์แฝดเสี่ยงอันตรายจริงไหมต้องระวังอะไรบ้าง

ลูกแฝด เกิดจากอะไร ตั้งครรภ์แฝดเสี่ยงอันตรายจริงไหมต้องระวังอะไรบ้าง

ลูกแฝด เกิดจากอะไร คุณพ่อคุณแม่อยากมีลูกแฝดด้วยวิธีธรรมชาติ ต้องทำอย่างไร ตั้งครรภ์แฝดอันตรายไหม มีเรื่องอะไรบ้างที่คุณแม่ต้องระวังเป็นพิเศษ

ทำกิ๊ฟ คืออะไร การทำกิ๊ฟ GIFT ต่างจากการทำเด็กหลอดแก้วไหม

ทำกิ๊ฟ คืออะไร การทำกิ๊ฟ GIFT ต่างจากการทำเด็กหลอดแก้วไหม

การทำกิ๊ฟ คืออะไร คุณแม่มีลูกยากอยากทำกิ๊ฟ มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง การทำกิ๊ฟมีข้อดีข้อเสียอย่างไร ค่าใช้จ่ายแพงไหม ว่าที่คุณพ่อคุณแม่ต้องเตรียมตัวอย่างไร

อยากได้ลูกชายทำไงดี พร้อมเคล็ดลับสำหรับคนอยากมีลูกชาย

อยากได้ลูกชายทำไงดี พร้อมเคล็ดลับสำหรับคนอยากมีลูกชาย

อยากได้ลูกชาย ว่าที่คุณพ่อคุณแม่ทำยังไงได้บ้าง อยากมีลูกชายด้วยวิธีธรรมชาติทำได้จริงไหม พร้อมวิธีคำนวณวันตกไข่ นับวันตกไข่ ช่วยเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์

หลังคลอด 1 เดือน มีเพศสัมพันธ์ได้ไหม เริ่มมีเพศสัมพันธ์ได้เมื่อไหร่

หลังคลอด 1 เดือน มีเพศสัมพันธ์ได้ไหม เริ่มมีเพศสัมพันธ์ได้เมื่อไหร่

หลังคลอด 1 เดือน มีเพศสัมพันธ์ได้ไหม คุณแม่หลังคลอดมีเพศสัมพันธ์เลยทันทีจะเป็นอันตรายหรือเปล่า มีเพศสัมพันธ์ตอนไหนปลอดภัยกับคุณแม่ที่สุด ไปดูกัน

อยากได้ลูกสาวทำไงดี พร้อมเคล็ดลับสำหรับคนอยากมีลูกสาว

อยากได้ลูกสาวทำไงดี พร้อมเคล็ดลับสำหรับคนอยากมีลูกสาว

อยากได้ลูกสาว ว่าที่คุณพ่อคุณแม่ทำยังไงได้บ้าง อยากมีลูกสาวด้วยวิธีธรรมชาติทำได้จริงไหม พร้อมวิธีคำนวณวันตกไข่ นับวันตกไข่ ช่วยเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์

มดลูกหย่อนอันตรายไหม คุณแม่ควรรับมือยังไง เมื่อมดลูกหย่อน

มดลูกหย่อนอันตรายไหม คุณแม่ควรรับมือยังไง เมื่อมดลูกหย่อน

มดลูกหย่อน คืออะไร อาการมดลูกหย่อนเป็นแบบไหน มีทั้งหมดกี่ระยะ เกิดขึ้นกับช่วงวัยไหนบ้าง รักษาให้หายขาดได้ไหม พร้อมวิธีป้องกันมดลูกหย่อนในผู้หญิง

ฝังยาคุมดีไหม ได้ผลกี่เปอร์เซ็นต์ ฝังยาคุมมีผลข้างเคียงอะไรบ้าง

ฝังยาคุมดีไหม ได้ผลกี่เปอร์เซ็นต์ ฝังยาคุมมีผลข้างเคียงอะไรบ้าง

ฝังยาคุมเพื่อคุมกำเนิดได้ผลดีแค่ไหน การฝังยาคุมกำเนิด เหมาะกับใคร มีข้อดีข้อเสียยังไง ฝังยาคุมอยู่ได้นานกี่ปี ปลอดภัยไหม มีผลข้างเคียงหรือเปล่า