คนท้องเท้าบวมเพราะอะไร ปกติหรือไม่ มีวิธีลดบวมให้คุณแม่ยังไงบ้าง

คนท้องเท้าบวมเพราะอะไร ปกติหรือไม่ มีวิธีลดบวมยังไงบ้าง

09.04.2024

เท้าบวม เป็นอาการที่สามารถเกิดขึ้นได้ในผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ เกิดได้จากหลายปัจจัย เช่น ฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงระหว่างตั้งครรภ์  การขยายของมดลูก หรือการยืนเป็นเวลานาน ๆ แม้ว่าอาการบวมในผู้หญิงตั้งครรภ์นั้นพบได้บ่อย และหลายครั้งไม่ได้ส่งผลอันตราย แต่ก็ไม่ควรชะล่าใจ  เพราะอาการบวมในผู้หญิงตั้งครรภ์ อาจเป็นสัญญาณเตือนของภาวะครรภ์เป็นพิษที่แทรกซ้อนขึ้นมาระหว่างตั้งครรภ์ได้ ควรรีบพบสูตินรีแพทย์ หรือแพทย์ที่คุณแม่ฝากครรภ์ด้วย  เพื่อตรวจอย่างละเอียด

headphones

PLAYING: คนท้องเท้าบวมเพราะอะไร ปกติหรือไม่ มีวิธีลดบวมยังไงบ้าง

อ่าน 5 นาที

 

สรุป

  • คนท้องเท้าบวมเป็นอาการที่สามารถเกิดขึ้นได้ระหว่างตั้งครรภ์ คนท้องเท้าบวม ข้อเท้าบวม นิ้วบวม อาจเกิดจากมีของเหลวสะสมในเนื้อเยื่อร่างกายมากเกินไป ทำให้เกิดการบวมที่เท้า ข้อเท้ามากขึ้น มักเกิดขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 2 หรืออายุครรภ์ 14-27 สัปดาห์ จนกระทั่งใกล้คลอด
  • คนท้องเท้าบวม เกิดได้หลายสาเหตุ เช่น ฮอร์โมนเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นสูงกว่าปกติ คนท้องผลิตเลือดเพื่อให้เพียงพอกับความต้องการของลูกน้อยในครรภ์ มดลูกที่โตขยายใหญ่ขึ้นกดทับหลอดเลือดดำใหญ่ของร่างกาย เป็นต้น
  • คนท้องเท้าบวมที่ไม่ปกติ อาจเป็นภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ที่ต้องระมัดระวัง หากกดผิวเนื้อแล้วบุ๋มยุบลงไปผิวไม่เด้งกลับ ไม่คืนตัว หรือมีความดันโลหิตสูง โปรตีนในปัสสาวะรั่วร่วมด้วย ไม่ควรชะล่าใจ ให้รีบไปพบสูตินรีแพทย์ด่วน เพราะเสี่ยงอันตรายถึงแก่ชีวิตคนท้องและทารกในครรภ์ได้
  • คนท้องเท้าบวม สามารถลดบรรเทาอาการเท้าบวมได้ด้วยตัวเอง เช่น หมั่นขยับร่างกาย เดินออกกำลังกายเพื่อให้เลือดไหลเวียน ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการ ใช้หมอนหนุนยกปลายเท้าให้สูง

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

คนท้องเท้าบวม เป็นเรื่องปกติไหม?

คนท้องเท้าบวม เป็นอาการของคนท้อง ที่มักเกิดขึ้นได้ คนท้องหรือแม่ตั้งครรภ์จะมีมดลูกที่ขยายใหญ่ขึ้น แล้วไปกดทับหลอดเลือด ทำให้การไหลเวียนของเลือดไม่ดีพอ จึงเกิดการคั่งอยู่ที่ส่วนล่างของร่างกาย อาการขาบวม เท้าบวม นิ้วบวม จึงเกิดได้บ่อยในช่วงตั้งครรภ์

 

สาเหตุที่ทำให้คนท้องเท้าบวม

คนท้องเท้าบวม นิ้วบวม เป็นภาวะอาการบวมน้ำ เนื่องจากมีของเหลวสะสมในเนื้อเยื่อร่างกายมากเกินไป ทำให้เกิดการบวมที่เท้า ข้อเท้ามากขึ้น ปัจจัยต่าง ๆ ที่ทำให้คนท้องเท้าบวม ได้แก่

  1. คนท้องเท้าบวมเกิดจากฮอร์โมนเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นสูงกว่าปกติ ทำให้เนื้อเยื่อต่าง ๆ ดูดซึมน้ำมากกว่าปกติ และทำการเก็บน้ำไว้มากกว่าเดิม
  2. คนท้องเท้าบวมเกิดจากมดลูกที่โตขยายใหญ่ขึ้นกดทับหลอดเลือดดำใหญ่ของร่างกายซีกขวา ที่ทำหน้าที่ลำเลียงเลือดจากขากลับไปที่หัวใจ ทำให้เลือดไหลเวียนช้า ทำให้ของเหลวในหลอดเลือดถูกดันไปที่เท้า ข้อเท้ามากขึ้น
  3. คนท้องเท้าบวมเกิดจากคนท้องผลิตเลือดเพื่อให้เพียงพอกับความต้องการของลูกน้อยในครรภ์ ร่างกายของคนท้องจะผลิตเลือดและของเหลวเพิ่มขึ้นจากปกติประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์
  4. คนท้องเท้าบวมเกิดจากคนท้องกินอาหารที่มีโซเดียมมากเกินไป
  5. คนท้องเท้าบวมเกิดจากการขาดโพแทสเซียม
  6. ปัจจัยต่าง ๆ เช่น ยืน เดินนานเกินไป ทำกิจกรรมทั้งวัน อากาศร้อน

 

คนท้องเท้าบวม ตอนอายุครรภ์กี่เดือน

คนท้องเท้าบวมมักเกิดขึ้นในอายุครรภ์ 14-27 สัปดาห์ หรือช่วงไตรมาสที่ 2 จนกระทั่งใกล้คลอด

 

คนท้องเท้าบวม เป็นสัญญาณของภาวะครรภ์เป็นพิษจริงไหม?

ภาวะครรภ์เป็นพิษ มักเกิดขึ้นในช่วงอายุครรภ์มากกว่า 20 สัปดาห์ขึ้นไป เป็นภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ ที่ส่งผลให้มีความดันเลือดสูง มีโปรตีนในปัสสาวะสูง หากคนท้องไม่รับการรักษาอาจทำให้อาการร้ายแรง มีภาวะแทรกซ้อน เสี่ยงอันตรายถึงแก่ชีวิตคนท้องและทารกในครรภ์ได้

 

ลดอาการปวดของคนท้องเท้าบวม

 

วิธีลดอาการเท้าบวมให้คุณแม่ตั้งครรภ์

1. ดื่มน้ำเปล่าให้เพียงพอ

ให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย เพื่อช่วยลดภาวะขาดน้ำ และอาการบวมน้ำได้

 

2. เดินออกกำลังกายสม่ำเสมอ

กระตุ้นการไหลเวียนเลือด ช่วยให้หลอดเลือดและกล้ามเนื้อแข็งแรง

 

3. เลี่ยงอาหารที่มีรสเค็ม

เพราะจะทำให้ของเหลวคั่งค้างในร่างกาย

 

4. คุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม

ไม่ปล่อยให้น้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน

 

5. ใช้หมอนหนุนเท้าตอนนอน

เพื่อยกปลายเท้าให้สูง คุณแม่ตั้งครรภ์ที่นอนหงายไม่ได้ อาจนอนตะแคงยกปลายเท้าขึ้นสูง นอนตะแคงด้านซ้าย เพื่อช่วยเลือดไหลเวียนกลับสู่หัวใจได้ดีขึ้น

 

6. แช่เท้าในน้ำอุ่น

ในอุณหภูมิที่พอเหมาะ ไม่ร้อนเกินไป จะช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือด และลดอาการบวมได้ดี

 

7. นวดเบา ๆ คลึงเบา ๆ เพื่อผ่อนคลาย

ไม่นวดกดฝ่าเท้า ไม่นวดแผนไทย ไม่นวดกับผู้นวดที่ไม่เชี่ยวชาญที่ไม่รู้วิธีในการนวดแม่ตั้งครรภ์โดยเด็ดขาด เพระอาจก่อให้เกิดอันตรายได้

 

8. หลีกเลี่ยงการเดิน หรือยืนนาน ๆ

คุณแม่ท้องไม่ควรอยู่ในท่าเดิมนาน ๆ ควรเปลี่ยนอริยาบถบ้าง

 

9. นั่งในท่าที่สบาย

หลีกเลี่ยงการนั่งทับข้อเท้า นั่งไขว่ห้าง นั่งขัดสมาธิ

 

10. ใส่เสื้อผ้าที่ไม่รัดแน่น

คนท้องเท้าบวมควรใส่เสื้อผ้าที่หลวมสบายไม่รัดแน่นบริเวณ น่อง ข้อศอก ข้อมือ จนเกินไป

 

คนท้องเท้าบวม ควรเลือกใส่รองเท้าแบบไหน

เพื่อป้องกันคนท้องเท้าบวม ไม่ควรสวมรองเท้าส้นสูง ไม่สวมรองเท้าที่คับ บีบ หรือรัดแน่นเกินไป ควรสวมใส่รองเท้าที่สบาย พอดีกับเท้า

 

คนท้องเท้าบวมแบบไหน ถือว่าอันตราย

คนท้องเท้าบวมควรหมั่นสังเกตตัวเองให้ดี เพราะอาการบวมนั้นอาจส่งสัญญาณผิดปกติ เช่น มีภาวะแทรกซ้อนของครรภ์เป็นพิษได้ หากคนท้องเท้าบวมกดผิวเนื้อแล้วบุ๋มยุบลงไปไม่คืนตัว มีความดันโลหิตสูง ปวดศรีษะ ตาพร่ามัว จุกแน่นลิ้นปี่ ควรรีบไปปรึกษาสูตินรีแพทย์ด่วน

 

เมื่อครรภ์เริ่มเติบโต อาการต่าง ๆ ของด้านร่างกายของคุณแม่ตั้งครรภ์ก็มักมีความเปลี่ยนแปลง นอกจากอาการเท้าบวมแล้ว หากคุณแม่ตั้งครรภ์สังเกตพบความผิดปกติของร่างกาย หรืออาการแทรกซ้อนอื่น ๆ เพื่อความปลอดภัยของคุณแม่และทารกในครรภ์ควรปรึกษาสูตินรีแพทย์ เพื่อจะได้รับมือกับปัญหาสุขภาพที่เกิดระหว่างการตั้งครรภ์ได้ถูกวิธี และไม่ทำให้เสี่ยงโรคร้ายต่าง ๆ ได้

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

 


อ้างอิง:

  1. มือบวม เท้าบวมขณะตั้งครรภ์ เกิดจากเหตุใด?, โรงพยาบาลพญาไท
  2. คนท้องเท้าบวม ขาบวม ทำยังไงได้บ้าง, Hellokhunmor
  3. คู่มือการฝากครรภ์ สำหรับบุคคลากรสาธารณสุข, กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
  4. “ภาวะครรภ์เป็นพิษ“ ความเสี่ยงต่อชีวิตของคุณแม่และทารกในครรภ์, โรงพยาบาลพญาไท
  5. ครรภ์เป็นพิษ ภาวะอันตรายของคุณแม่ตั้งครรภ์, โรงพยาบาลสมิติเวช
  6. เท้าบวม, โรงพยาบาลกรุงเทพ
  7. แช่เท้าเพื่อสุขภาพ, คณะการแพทย์แผนไทย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  8. คนท้องนวดได้ไหม, โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
  9. กรม สบส.เผยผลสอบ กรณีมีการแชร์ว่อนเน็ต “นวดเท้าแล้วแท้ง”, กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข

อ้างอิง ณ วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2567

บทความแนะนำ

ลูกแฝด เกิดจากอะไร ตั้งครรภ์แฝดเสี่ยงอันตรายจริงไหมต้องระวังอะไรบ้าง

ลูกแฝด เกิดจากอะไร ตั้งครรภ์แฝดเสี่ยงอันตรายจริงไหมต้องระวังอะไรบ้าง

ลูกแฝด เกิดจากอะไร คุณพ่อคุณแม่อยากมีลูกแฝดด้วยวิธีธรรมชาติ ต้องทำอย่างไร ตั้งครรภ์แฝดอันตรายไหม มีเรื่องอะไรบ้างที่คุณแม่ต้องระวังเป็นพิเศษ

ทำกิ๊ฟ คืออะไร การทำกิ๊ฟ GIFT ต่างจากการทำเด็กหลอดแก้วไหม

ทำกิ๊ฟ คืออะไร การทำกิ๊ฟ GIFT ต่างจากการทำเด็กหลอดแก้วไหม

การทำกิ๊ฟ คืออะไร คุณแม่มีลูกยากอยากทำกิ๊ฟ มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง การทำกิ๊ฟมีข้อดีข้อเสียอย่างไร ค่าใช้จ่ายแพงไหม ว่าที่คุณพ่อคุณแม่ต้องเตรียมตัวอย่างไร

อยากได้ลูกชายทำไงดี พร้อมเคล็ดลับสำหรับคนอยากมีลูกชาย

อยากได้ลูกชายทำไงดี พร้อมเคล็ดลับสำหรับคนอยากมีลูกชาย

อยากได้ลูกชาย ว่าที่คุณพ่อคุณแม่ทำยังไงได้บ้าง อยากมีลูกชายด้วยวิธีธรรมชาติทำได้จริงไหม พร้อมวิธีคำนวณวันตกไข่ นับวันตกไข่ ช่วยเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์

หลังคลอด 1 เดือน มีเพศสัมพันธ์ได้ไหม เริ่มมีเพศสัมพันธ์ได้เมื่อไหร่

หลังคลอด 1 เดือน มีเพศสัมพันธ์ได้ไหม เริ่มมีเพศสัมพันธ์ได้เมื่อไหร่

หลังคลอด 1 เดือน มีเพศสัมพันธ์ได้ไหม คุณแม่หลังคลอดมีเพศสัมพันธ์เลยทันทีจะเป็นอันตรายหรือเปล่า มีเพศสัมพันธ์ตอนไหนปลอดภัยกับคุณแม่ที่สุด ไปดูกัน

อยากได้ลูกสาวทำไงดี พร้อมเคล็ดลับสำหรับคนอยากมีลูกสาว

อยากได้ลูกสาวทำไงดี พร้อมเคล็ดลับสำหรับคนอยากมีลูกสาว

อยากได้ลูกสาว ว่าที่คุณพ่อคุณแม่ทำยังไงได้บ้าง อยากมีลูกสาวด้วยวิธีธรรมชาติทำได้จริงไหม พร้อมวิธีคำนวณวันตกไข่ นับวันตกไข่ ช่วยเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์

มดลูกหย่อนอันตรายไหม คุณแม่ควรรับมือยังไง เมื่อมดลูกหย่อน

มดลูกหย่อนอันตรายไหม คุณแม่ควรรับมือยังไง เมื่อมดลูกหย่อน

มดลูกหย่อน คืออะไร อาการมดลูกหย่อนเป็นแบบไหน มีทั้งหมดกี่ระยะ เกิดขึ้นกับช่วงวัยไหนบ้าง รักษาให้หายขาดได้ไหม พร้อมวิธีป้องกันมดลูกหย่อนในผู้หญิง

ฝังยาคุมดีไหม ได้ผลกี่เปอร์เซ็นต์ ฝังยาคุมมีผลข้างเคียงอะไรบ้าง

ฝังยาคุมดีไหม ได้ผลกี่เปอร์เซ็นต์ ฝังยาคุมมีผลข้างเคียงอะไรบ้าง

ฝังยาคุมเพื่อคุมกำเนิดได้ผลดีแค่ไหน การฝังยาคุมกำเนิด เหมาะกับใคร มีข้อดีข้อเสียยังไง ฝังยาคุมอยู่ได้นานกี่ปี ปลอดภัยไหม มีผลข้างเคียงหรือเปล่า

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก