ไขข้อข้องใจ คนท้องยืดผมได้ไหม สารเคมีเป็นอันตรายกับลูกหรือเปล่า

ไขข้อข้องใจ คนท้องยืดผมได้ไหม สารเคมีเป็นอันตรายกับลูกหรือเปล่า

02.04.2024

ช่วงท้องอยากสวยจะเป็นไปได้ไหม? การยืดผมก็เป็นอีกหนึ่งการดูแลตัวเองที่ช่วยให้คุณแม่มีความมั่นใจ เพราะช่วงตั้งครรภ์นั้นมีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายหลายอย่าง เส้นผมก็เช่นกัน จากผมที่เคยสวย กลับชี้ฟูไร้น้ำหนักและจัดทรงยากเหลือเกิน เมื่อการยืดผมคือทางออก แต่คุณแม่หลายคนก็ยังกังวลใจ ลองมาฟังคำตอบจากบทความนี้กัน

headphones

PLAYING: ไขข้อข้องใจ คนท้องยืดผมได้ไหม สารเคมีเป็นอันตรายกับลูกหรือเปล่า

อ่าน 6 นาที

 

สรุป

  • การยืดผมมีการสัมผัสกับสารเคมีก็จริง แต่มีผลต่อร่างกายหรือต่อการตั้งครรภ์ได้น้อยมาก
  • แนะนำการหลีกเลี่ยงการสัมผัสสารเคมีจากการยืดผมและทำสีผมภายในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ไปก่อน
  • คุณแม่ตั้งครรภ์ที่แพ้ท้อง ยังไม่ควรยืดผมเพราะช่วงแพ้ท้อง คุณแม่จะมีภาวะไวต่อกลิ่น อาจมีอาการเวียนหัว คลื่นไส้หนักขึ้น

 

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

การยืดผม การทำสีผม รวมถึงการทำผมด้วยการใช้สารเคมีเป็นอีกหนึ่งข้อสงสัยของคุณแม่มาตลอด เพราะขึ้นชื่อว่าสารเคมี ก็ทำให้ไม่สบายใจแล้ว แต่ใจหนึ่งคุณแม่หลายคนก็ไม่อยากให้ช่วงตั้งครรภ์นั้นตัวเองดูโทรม ดูไม่สวย แต่การทำผมที่ต้องอยู่กับสารเคมีนาน ๆ อย่างการยืดผมนั้น จะเป็นอันตรายทั้งกับตัวเองและลูกในท้องหรือไม่ เรามีเหตุผลต่าง ๆ มาบอกกัน

 

คนท้องยืดผมได้ไหม ส่งผลอะไรกับลูกในท้องบ้าง

ในขั้นตอนการยืดผม ไม่ว่าคุณแม่จะทำเอง หรือช่างทำผมทำให้ก็ตาม ก็ต้องสัมผัสสารเคมี แต่สามารถป้องกันได้บางส่วน ด้วยการใส่ถุงมือเอาไว้ เพื่อลดการสัมผัสกับสารเคมีโดยตรง (นอกจากที่บริเวณหนังศีรษะ) ก็ลดความเสี่ยงที่สารเคมีจะซึมเข้าสู่ร่างกาย หรือซึมเข้าสู่กระแสเลือดได้บ้าง อย่างไรก็ตามสารเคมีจากการยืดผมหรือทำสีผมมีผลต่อร่างกายหรือต่อการตั้งครรภ์ได้น้อยมาก แต่อย่างไรก็ตามหากคุณแม่ไม่สบายใจ ไม่แน่ใจว่าจะป้องกันตนจากสารเคมีได้ 100 เปอร์เซ็นต์หรือไม่ ก็แนะนำการหลีกเลี่ยงการสัมผัสสารเคมีจากการยืดผมและทำสีผม รวมถึงสารเคมีรุนแรงอื่น ๆ ภายในช่วงตั้งครรภ์ไตรมาสแรกไปก่อน

 

โดยปกติแล้วร่างกายมีกลไกขับสารเคมีออกทางปัสสาวะอยู่แล้ว แต่สารเคมีที่ใช้ในการย้อมผมหรือยืดผมนั้นไม่ได้มีปริมาณมากจึงถูกขับออกได้ตามปกติ และจะไม่ส่งผลต่อลูกน้อยในครรภ์ รวมถึงน้ำยาทาเล็บก็ไม่ส่งผลอันตรายเช่นกัน แต่อาจจะมีวิงเวียนศีรษะในเรื่องของกลิ่นบ้าง โดยเฉพาพาะคุณแม่ในไตรมาสแรก ที่ยังคงมีอาการแพ้ท้องอยู่

 

อย่างไรก็ตาม การยืดผมเป็นการทำเคมีที่ใช้เวลานานประมาณ 4–5 ชั่วโมง เพื่อให้น้ำยายืดผมซึมเข้าสู่เส้นผม และมักมีกลิ่นฉุนของสารเคมีที่รุนแรง ดังนั้นอันตรายจากการยืดผมก็ยังคงมีอยู่ ซึ่งการสูดดมกลิ่นของสารเคมีเป็นเวลานานอาจทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจได้ เช่น หายใจติด ๆ ขัด ๆ รู้สึกแสบคอหรือระคายเคืองจมูก ในบางกรณีอาจทำให้เกิดอาการระคายเคืองตาร่วมด้วย

 

คุณแม่ตั้งครรภ์ที่แพ้ท้อง ยังไม่ควรยืดผมเพราะอะไร

เพราะอาการแพ้ท้อง คุณแม่จะมีภาวะไวต่อกลิ่น (Acute sense of smell) ที่จะทำให้รู้สึกเหม็นและไม่สามารถทนต่อกลิ่นที่เคยคุ้นเคยบางกลิ่นได้ บางคนอาจมีอาการเวียนหัว คลื่นไส้ อาเจียนเมื่อได้กลิ่นบางอย่าง เช่น อาหาร น้ำหอม หรือกลิ่นของผลิตภัณฑ์ข้าวของเครื่องใช้บางชนิด ซึ่งน้ำยายืดผมนั้นเป็นสารเคมีและมีกลิ่นแรง จะยิ่งไปกระตุ้นภาวะนี้ และทำให้คุณแม่มีอาการแพ้ท้องหนักขึ้น

 

ปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้คุณแม่ตั้งครรภ์อยากไปยืดผม

  1. ผมชี้ฟู จัดทรงยาก ทำให้คุณแม่ต้องมัดหรือรวบผมตลอดเวลา
  2. ผมหยิก ผมหยิกฟูดูแลยาก และการใส่ครีมจัดแต่งทรงผมมาก ๆ ก็ยิ่งทำให้ผมดูแลรักษายากมากขึ้นไปอีก
  3. ผมไม่มีน้ำหนัก ทำให้ผมชี้ฟูง่ายและดูไม่เป็นทรง
  4. รู้สึกไม่มั่นใจในตัวเอง เนื่องจากทรงผมที่ไม่เป็นทรงนั้นทำให้ดูเหนื่อย ดูโทรม ทำให้คุณแม่ขาดความมั่นใจ
  5. หวีผมยาก สระผมยาก เนื่องจากสรีระที่เปลี่ยนไป รวมถึงสภาพเส้นผมที่ชี้ฟู ยิ่งทำให้การดูแลเส้นผมเป็นเรื่องที่ยากและใช้เวลามากขึ้น

 

ตั้งครรภ์ไตรมาสไหน เหมาะกับการยืดผมมากที่สุด

หากคุณแม่ท่านไหนอยากจะทำสีผมหรือยืดผม ก็สามารถทำได้เช่นกัน แต่แนะนำว่าควรทำตั้งแต่อายุครรภ์ 4 เดือนเป็นต้นไปหรือเข้าสู่ไตรมาสที่ 2 จะเหมาะสมมากกว่า เพราะในช่วง 3 เดือนแรก หรือไตรมาสแรกเป็นช่วงที่สำคัญของทารก เนื่องจากช่วงนี้เป็นช่วงที่ทารกจะเริ่มสร้างอวัยวะที่สำคัญขึ้นมาเช่นกัน จึงควรทำร่างกายให้สมบูรณ์พร้อมให้ลูกน้อยได้สร้างอวัยวะอย่างเต็มที่

 

คนท้องยืดผมได้ไหม ตั้งครรภ์ไตรมาสไหน เหมาะกับการยืดผมมากที่สุด

 

การยืดผม มีสารเคมีอะไรบ้าง

ในน้ำยายืดผม หรือน้ำยาย้อมสีผม มีส่วนผสมของสารเคมีหลายชนิด รวมถึงสารฟอร์มาลดีไฮด์ สารพาราเบน สารบิสฟีนอลเอ (Bisphenol A: BPA) ส่วนมากในน้ำยายืดผมจะมีสารฟอร์มาลดีไฮด์ (Formaldehyde) ซึ่งทำให้ผมตรงร่วมกับการใช้ที่หนีบผมในการเหยียดผมให้ตรง เพื่อให้ผมตรงได้เป็นเวลานานหลายเดือน อย่างไรก็ตาม อย. (สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา FOOD AND DRUG ADMINISTRATION) ตรวจสอบไม่พบการใช้สารฟอร์มาลดีไฮด์และเมทิลีน ไกลคอล เป็นส่วนผสมในสูตรน้ำยายืดผมในประเทศ เนื่องจากในประเทศไทยได้มีการประกาศห้ามใช้สารเคมีนี้ ซึ่งเป็นสารห้ามใช้ในเครื่องสำอางมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2565 เนื่องจากมีกลิ่นที่รุนแรง หากโดนหรือดมเข้าไป จะทำให้เกิดการเคืองตา จมูกและผิว โดยประกาศให้สารฟอร์มาลดีไฮด์ รวมถึงสารเมทิลีน ไกลคอล (Methylene glycol) ซึ่งสามารถปลดปล่อยสารฟอร์มาลดีไฮด์ได้ เป็นสารที่ห้ามใช้ เพราะอาจทำให้เกิดสารก่อมะเร็ง ซึ่งสอดคล้องกับมาตรฐานอาเซียนและยุโรป

 

อาการแพ้น้ำยายืดผมรุนแรง ที่คุณแม่ตั้งครรภ์ควรระวัง

สารเคมีจากน้ำยายืดผมอาจก่อให้เกิดการแพ้รุนแรงหรือ อนาฟัยแลกซิส (anaphylaxis) ได้ ซึ่งอาการนี้ก็คืออาการแพ้ ที่เกิดขึ้นกับระบบในร่างกายมากกว่า 1 ระบบ ในเวลาเดียวกันหรือเวลาไล่เลี่ยกัน และมีอาการรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิต โดยส่วนใหญ่เกิดขึ้นไม่เกิน 2 ชั่วโมงหลังจากได้รับยา อาหาร หรือสาร

  • อาการทางผิวหนัง เช่น เกิดผื่นคัน ลมพิษ ตา ปาก ใบหน้าบวมแดง
  • อาการทางระบบทางเดินหายใจ เช่น หายใจลำบาก แน่นหน้าอก เสียงแหบเฉียบพลัน
  • อาการทางระบบทางเดินอาหาร เช่น ปวดท้อง อาเจียน ท้องเสีย
  • อาการทางระบบหัวใจและหลอดเลือด เช่น หน้ามืด เป็นลม หมดสติ ความดันต่ำ เป็นต้น

 

สรุปแล้วการยืดผมหรือทำสีผมนั้นสามารถทำได้ โดยคุณแม่ควรเลือกร้านทำผมและน้ำยายืดผมที่ได้มาตรฐาน ไม่ควรยืดผมบ่อยจนเกินไป และควรระมัดระวังไม่ให้ผมโดนน้ำหรือสารเคมีอื่น ๆ เช่น น้ำยาย้อมผม หลังจากการยืดผมภายในระยะเวลาที่กำหนดด้วย เพื่อไม่เป็นการทำร้ายเส้นผมมากไป รวมถึงไม่ทำร้ายสุขภาพของคุณแม่และเจ้าตัวเล็กในท้องด้วย

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

 

 

อ้างอิง:

  1. คนท้องทำการยืดผมให้ได้ไหม อันตรายหรือเปล่า, POPOAD
  2. 18 อาการคนท้องเริ่มแรก ข้อสังเกต วิธียืนยันการตั้งครรภ์, โรงพยาบาลเมดพาร์ค
  3. คุณแม่ท้องอยากสวย...เราจะทาเล็บ ทำสีผมได้ไหมนะ, โรงพยาบาลพญาไท
  4. 4 ความเสี่ยงจากการยืดผมที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพ, POPOAD
  5. อย.ขอผู้บริโภควางใจ น้ำยายืดผมในประเทศไทยไม่พบสารก่อมะเร็ง, สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา FOOD AND DRUG ADMINISTRATION
  6. โรคภูมิแพ้ รับมืออย่างไรเมื่อมีอาการุนแรง, โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาการุณย์

อ้างอิง ณ วันที่ 29 มกราคม 2567

บทความแนะนำ

คุณแม่ปวดท้องข้างขวา บอกอะไรบ้าง ปวดท้องแบบไหนต้องไปหาหมอ

คุณแม่ปวดท้องข้างขวา บอกอะไรบ้าง ปวดท้องแบบไหนต้องไปหาหมอ

ว่าที่คุณแม่ปวดท้องข้างขวา มีอาการปวดท้องน้อยหน่วง ๆ เกิดจากอะไร อาการแบบนี้เกิดกับคุณแม่ท้องทุกคนหรือไม่ คุณแม่มีอาการปวดท้องข้างขวา ควรดูแลตัวเองยังไง ไปดูกัน

คนท้องกินยาพาราได้ไหม ทำไมก่อนกินยาคนท้องต้องปรึกษาหมอทุกครั้ง

คนท้องกินยาพาราได้ไหม ทำไมก่อนกินยาคนท้องต้องปรึกษาหมอทุกครั้ง

คุณแม่ตั้งครรภ์มีอาการปวดหัว ปวดตัวและปวดหลังขณะตั้งครรภ์ อาการแบบนี้คนท้องกินยาพาราได้ไหม ทำไมก่อนกินยาแต่ละครั้งคนท้องต้องปรึกษาหมอทุกครั้งก่อนรับประทานยา

คุณแม่ปวดท้องข้างซ้าย บอกอะไรได้บ้าง ปวดท้องแบบไหนต้องไปหาหมอ

คุณแม่ปวดท้องข้างซ้าย บอกอะไรได้บ้าง ปวดท้องแบบไหนต้องไปหาหมอ

คุณแม่ปวดท้องข้างซ้าย มีอาการปวดท้องน้อยด้านซ้าย อาการแบบนี้เกิดกับคุณแม่ท้องทุกคนหรือไม่ คุณแม่มีอาการปวดท้องข้างซ้าย ควรดูแลตัวเองยังไง ไปดูกัน

พาหะธาลัสซีเมีย อันตรายไหม ทำไมควรตรวจธาลัสซีเมียก่อนแต่งงาน

พาหะธาลัสซีเมีย อันตรายไหม ทำไมควรตรวจธาลัสซีเมียก่อนแต่งงาน

พาหะธาลัสซีเมีย คืออะไร โรคธาลัสซีเมีย อันตรายไหม ทำไมควรตรวจหาธาลัสซีเมียก่อนแต่งงานและก่อนวางแผนตั้งครรภ์ ไปดูอาการโรคธาลัสซีเมียและวิธีการตรวจเบื้องต้น

คนท้องกินกาแฟได้ไหม ตั้งครรภ์แต่ติดกาแฟอันตรายหรือไม่ ทำอย่างไรดี

คนท้องกินกาแฟได้ไหม ท้องอยู่แต่ติดกาแฟอันตรายกับลูกหรือเปล่า

คนท้องกินกาแฟได้ไหม คุณแม่ท้องติดกาแฟมาก กินกาแฟช่วงตั้งครรภ์ได้ไหม จะเป็นอันตรายกับลูกในครรภ์หรือเปล่า ควรกินเท่าไหร่ถึงไม่อันตรายกับลูกน้อย

เช็กน้ำหนักทารกในครรภ์ ลูกน้ำหนักตัวเท่าไหร่ คุณแม่ควรรู้อะไรบ้าง

ตารางน้ำหนักทารกในครรภ์ น้ำหนักลูกในครรภ์ที่แม่ควรรู้

ตารางน้ำหนักทารกในครรภ์ น้ำหนักลูกในครรภ์ เรื่องสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่ต้องรู้ เพราะน้ำหนักทารกในครรภ์ ช่วยบอกถึงพัฒนาการตามวัยของลูกน้อยในท้องได้

ปากมดลูกเปิดมีอาการยังไง กระตุ้นปากมดลูกนานแค่ไหน กว่าจะคลอด

กระตุ้นปากมดลูก ปากมดลูกเปิดมีอาการยังไง นานแค่ไหนกว่าจะคลอด

เมื่อคุณแม่ใกล้คลอด ปากมดลูกจะเริ่มเปิดมากขึ้น อาการปากมดลูกเปิดเป็นยังไง คุณแม่ใกล้คลอดต้องกระตุ้นปากมดลูกไหม พร้อมอาการใกล้คลอดที่คุณแม่ควรรู้

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก