ผ่าคลอดได้กี่ครั้ง ผ่าคลอดมีลูกได้กี่คน ผ่าคลอดบ่อย อันตรายไหม
ผ่าคลอดได้กี่ครั้ง ผ่าคลอดมีลูกได้กี่คน ผ่าคลอด (Cesarean Section) คือการคลอดลูกด้วยวิธีการผ่าตัดตรงบริเวณหน้าท้อง ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่ที่แพทย์จะวินิจฉัยการคลอดด้วยวิธีผ่าคลอดให้กับคุณแม่นั้น มาจากการที่ไม่สามารถคลอดธรรมชาติได้เอง เนื่องจากมีปัญหาสุขภาพระหว่างตั้งครรภ์ที่อาจมีความเสี่ยงต่อการคลอด เช่น ช่วงเชิงกรานของคุณแม่แคบ มีภาวะรกเกาะต่ำ มีภาวะครรภ์เป็นพิษ การตั้งครรภ์แฝด และทารกในครรภ์ไม่อยู่ในท่ากลับศีรษะที่พร้อมต่อการคลอดธรรมชาติ
สรุป
- ผ่าคลอด C-Section คือการคลอดด้วยวิธีการผ่าตัดตรงบริเวณหน้าท้อง เป็นการคลอดที่คุณแม่ไม่สามารถคลอดได้ด้วยวิธีธรรมชาติ
- การคลอดลูกด้วยวิธีการผ่าคลอดไม่ควรเกิน 3 ครั้ง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบอันตรายต่อสุขภาพของคุณแม่
- การผ่าคลอดในครรภ์แรก คุณแม่สามารถคลอดธรรมชาติได้ในครรภ์ที่สอง แต่ต้องขึ้นอยู่กับสุขภาพของคุณแม่เป็นสำคัญ และต้องได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ที่ดูแลครรภ์ ว่าคุณแม่สามารถคลอดด้วยวิธีธรรมชาติได้อย่างปลอดภัย
- คุณแม่ผ่าคลอด ควรเว้นจากการตั้งครรภ์ที่สองไปประมาณ 1-2 ปี เพื่อให้สุขภาพร่างกายมีความแข็งแรงพร้อมสมบูรณ์ในการตั้งครรภ์คุณภาพ
เลือกอ่านตามหัวข้อ
- คุณแม่ต้องเจออะไรบ้าง เมื่อต้องผ่าคลอด
- คุณแม่ผ่าคลอดได้กี่ครั้ง ผ่าคลอดมีลูกได้กี่คน
- คุณแม่ผ่าคลอดซ้ำหลายครั้ง อันตรายแค่ไหน
- ผ่าคลอดท้องแรก ท้องสอง คลอดธรรมชาติได้ไหม
- ผ่าคลอดท้องแรก ท้องสอง ต้องผ่าคลอดจริงไหม
- ผ่าคลอด ควรมีลูกห่างกันกี่ปี ปลอดภัยที่สุด
- การดูแลสุขภาพร่างกายคุณแม่หลังผ่าคลอด
คุณแม่ต้องเจออะไรบ้าง เมื่อต้องผ่าคลอด
ปัจจุบันการคลอดลูกด้วยวิธีการผ่าคลอดมีความปลอดภัยค่อนข้างสูง แต่ทุกครั้งที่ผ่าคลอดก็จะเกิดผลกระทบกับร่างกายของคุณแม่ในหลายเรื่อง ได้แก่
- มีภาวะแทรกซ้อนจากการบล็อกหลังผ่าคลอด
- เสียเลือดปริมาณมากจากการผ่าตัดเปิดหน้าท้อง
- เจ็บแผลหลังคลอดจากการผ่าตัดมาก
- ผ่าตัดคลอดร่างกายจะฟื้นตัวได้ช้ากว่าการคลอดธรรมชาติ
- น้ำนมแม่มาช้า ลูกไม่สามารถกินนมแม่ได้ทันทีหลังคลอด
คุณแม่ผ่าคลอดได้กี่ครั้ง ผ่าคลอดมีลูกได้กี่คน
ในทางการแพทย์กำหนดไว้ว่าผู้หญิงที่ตั้งครรภ์สามารถคลอดลูกด้วยวิธีการผ่าคลอดได้ คุณแม่มือใหม่อาจสงสัยว่าการผ่าคลอด คุณแม่จะผ่าคลอดได้กี่ครั้ง ผ่าคลอด 4 ครั้งได้ไหมหรือผ่าคลอดมีลูกได้กี่คน แต่ไม่แนะนำให้เกิน 3 ครั้ง เนื่องจากการผ่าตัดคลอดลูกทุกครั้งจะส่งผลกระทบต่ออวัยวะภายในของคุณแม่อย่างกระเพาะปัสสาวะ ระบบทางเดินทางอาหารที่จะมีการเกิดพังผืดเป็นแผลเป็นขึ้นมา การเกิดพังผืดจากการผ่าตัดจะไปเกี่ยวรั้งเอาอวัยวะภายในให้เข้ามาอยู่ติดกับมดลูก และที่อันตรายคือมีความเสี่ยงมากที่จะผ่าตัดไปโดนอวัยวะข้างเคียง เมื่อมีการผ่าตัด ทำให้มีความเสี่ยงที่จะผ่าตัดโดนอวัยวะข้างเคียงมากขึ้น
คุณแม่ผ่าคลอดซ้ำหลายครั้ง อันตรายแค่ไหน
คุณแม่ที่ตั้งครรภ์และมีการคลอดลูกด้วยวิธีผ่าคลอดซ้ำหลายครั้ง อาจมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ขึ้นกับร่างกายของคุณแม่ได้
1. มดลูกแตก
คุณแม่ที่มีการตั้งครรภ์ขณะที่แผลผ่าคลอดยังไม่หายดีจากครรภ์ก่อนหน้า หากมีการตั้งครรภ์ขึ้นก็มีความเสี่ยงมากที่มดลูกจะปริแตกออกมาได้ มดลูกแตกอันตรายถึงชีวิตทั้งกับคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์
2. ภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าคลอด
อวัยวะข้างเคียงมดลูก คือกระเพาะปัสสาวะอาจได้รับบาดเจ็บจากการผ่าตัด
3. รกเกาะที่แผลมดลูก
การผ่าคลอดทำให้เกิดแผลขึ้นที่ผนังมดลูก ซึ่งมีความเสี่ยงที่รกจะไปเกาะที่แผลมดลูก เกิดภาวะรกเกาะติดแน่นได้ในการตั้งครรภ์ครั้งต่อไป
4. พังผืดในช่องท้อง
แผลที่เกิดขึ้นตรงมดลูก และผนังหน้าท้องที่มาจากการผ่าตัดคลอดในทุกการตั้งครรภ์จะทำให้มีการสร้างพังผืดขึ้นมา
ผ่าคลอดท้องแรก ท้องสอง คลอดธรรมชาติได้ไหม
หลังจากผ่าคลอดในครรภ์แรก คุณแม่อาจสามารถคลอดธรรมชาติ ในครรภ์ที่สองได้ แต่ต้องผ่านการประเมินอย่างละเอียดจากแพทย์ โดยแพทย์จะพิจารณาจากสาเหตุที่เคยผ่าคลอดในครั้งแรก เช่น ตำแหน่งรกหรือท่าของทารก หากสาเหตุเป็นปัญหาชั่วคราว เช่น ทารกอยู่ในท่าผิดปกติ แพทย์อาจอนุญาตให้คลอดธรรมชาติในครั้งถัดไปได้ อย่างไรก็ตาม หากปัญหาเกิดจากปัจจัยถาวร เช่น อุ้งเชิงกรานแคบ หรือมีการผ่าตัดมดลูกหลายครั้ง การคลอดธรรมชาติอาจมีความเสี่ยงสูงและแพทย์มักแนะนำให้ผ่าคลอดเพื่อความปลอดภัย
หากคุณแม่มีความต้องการที่อยากจะคลอดลูกในครรภ์ที่สองด้วยวิธีคลอดธรรมชาติ แนะนำให้เตรียมความพร้อมให้มากที่สุดในเรื่องดังต่อไปนี้
- คุณแม่ตั้งธงกับตัวเองก่อนว่าต้องการคลอดลูกด้วยวิธีธรรมชาติ
- ปรึกษาการตั้งครรภ์กับสูติแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
- การดูแลโภชนาการระหว่างการตั้งครรภ์ เพื่อให้ทารกในครรภ์แข็งแรงและมีน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ที่ได้มาตรฐาน
- การตั้งครรภ์ และการคลอด ควรอยู่ในการดูแลและปฏิบัติตามคำแนะนำจากแพทย์
ผ่าคลอดท้องแรก ท้องสอง ต้องผ่าคลอดจริงไหม
หากคุณแม่เคยผ่าคลอดในครรภ์แรก แพทย์มักพิจารณาให้ผ่าคลอดในครรภ์ที่สองด้วย เพื่อความปลอดภัยของคุณแม่และทารก การคลอดธรรมชาติหลังผ่าคลอดอาจเสี่ยงต่อการเกิดภาวะมดลูกแตกจากการบีบตัวขณะคลอด
ผ่าคลอด ควรมีลูกห่างกันกี่ปี จึงจะปลอดภัยที่สุด
คุณแม่ที่ผ่าคลอดหลังคลอด 6 สัปดาห์ยังไม่ควรมีเพศสัมพันธ์ เนื่องจากแผลผ่าตัดยังไม่หายดี เพื่อให้การตั้งครรภ์ครั้งต่อไปเป็นครรภ์ที่สมบูรณ์ แนะนำคุณแม่ดูแลฟื้นฟูร่างกายให้แข็งแรงที่สุด เพื่อพร้อมสำหรับการตั้งครรภ์ คุณแม่ผ่าคลอดควรเว้นการตั้งครรภ์ครั้งใหม่ประมาณ 1-2 ปี
การดูแลสุขภาพร่างกายคุณแม่หลังผ่าคลอด
หลังผ่าคลอด การฟื้นตัวของคุณแม่จะเร็วขึ้นหากปฏิบัติตามคำแนะนำการดูแลตนเอง โดยในวันแรก ๆ ควรเริ่มลุกเดินรอบเตียงเบา ๆ เพื่อกระตุ้นการทำงานของลำไส้และช่วยป้องกันอาการท้องอืด นอกจากนี้ การเคลื่อนไหวเล็กน้อยยังช่วยลดความเสี่ยงของพังผืดและเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
1. นอนพักผ่อน
ร่างกายที่อ่อนเพลียจากการผ่าคลอดวันแรก ๆ คุณแม่ควรได้นอนหลับพักผ่อนอย่างเต็มอิ่ม
2. โภชนาการ
หลังผ่าคลอดช่วง 1-2 วันแรก โรงพยาบาลจะให้คุณแม่เริ่มจากการจิบน้ำ และซุปใส และจะค่อย ๆ ได้ปรับมารับประทานเป็นข้าวต้มนิ่ม ๆ
3. น้ำคาวปลา
คุณแม่จะมีน้ำคาวปลา ตั้งแต่วันแรกหลังคลอด และจะมีไปจนถึงประมาณ 2-3 สัปดาห์ น้ำคาวปลาจะมีมากในช่วงวันแรก ๆ หลังคลอด จากนั้นจะค่อย ๆ ลดปริมาณลงจนหมดไป เพื่อสุขอนามัยที่ดีควรเปลี่ยนผ้าอนามัย 2-3 แผ่นต่อวัน
4. แผลผ่าคลอด
แผลผ่าคลอดของคุณแม่ ควรระวังไม่ให้โดนน้ำ และควรสังเกตความผิดปกติ เช่น มีเลือดซึมออกมาจากแผล รอบแผลผ่าตัดมีบวม แดง ร้อน หากคุณแม่มีอาการผิดปกติเหล่านี้ควรกลับไปพบแพทย์ทันที
เพื่อให้ลูกน้อยมีพัฒนาการที่สมบูรณ์ทั้งด้านร่างกาย สติปัญญาการเรียนรู้ และสุขภาพที่แข็งแรง แนะนำคุณแม่ผ่าคลอดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ในนมแม่มีสารอาหารมากกว่า 200 ชนิด มีสารอาหารที่ช่วยพัฒนาสมองอย่างสฟิงโกไมอีลิน ดีเอชเอ และมีจุลินทรีย์สุขภาพ B. lactis ที่ช่วยเสริมสร้างให้ลูกน้อยมีภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง
บทความแนะนำสำหรับคุณแม่มือใหม่
- Health check แบบประเมินสุขภาพของคุณแม่และพัฒนาการของลูกน้อย
- หัวนมบอด คืออะไร ปัญหาหัวนมบอดของคุณแม่ให้นมที่แก้ไขได้
- หัวนมคนท้อง การเปลี่ยนแปลงของเต้านมคนท้องระหว่างตั้งครรภ์
- หัวนมแตก อาการเจ็บหัวนมดูแลอย่างไร คุณแม่ให้นมลูกต่อได้ไหม
- วิธีให้นมลูกสำหรับคุณแม่มือใหม่ การให้นมลูกหลังคลอดที่ถูกต้อง
- วิธีให้ลูกดูดขวด เมื่อลูกติดเต้าไม่ดูดขวดนม พร้อมวิธีรับมือลูกน้อย
- วิธีกู้น้ำนม เมื่อคุณแม่น้ำนมไม่ไหล น้ำนมหด พร้อมวิธีเพิ่มน้ำนม
- วิธีจับลูกเรอ ท่าอุ้มเรอเมื่อลูกไม่เรอ ช่วยให้ลูกสบายท้องหลังอิ่มนม
- ท่าให้นมลูก ท่านอนให้นม พร้อมท่าจับเรอ ป้องกันลูกน้อยท้องอืด
- ท่อน้ำนมอุดตัน ภาวะท่อน้ำนมตันของคุณแม่ให้นมหลังคลอด
- วิธีนวดเปิดท่อน้ำนม นวดเต้าหลังคลอด แก้ไขปัญหาคุณแม่น้ำนมน้อย
อ้างอิง:
- ตอบข้อสงสัย คลอดแบบไหนดี คลอดปกติ VS ผ่าคลอด, โรงพยาบาลนครธน
- ผ่าคลอดกี่ครั้งถึงไม่อันตราย?...รวมเรื่องน่ารู้ก่อนเตรียมตัวผ่าคลอด, โรงพยาบาลพญาไท
- ตอบข้อสงสัย คลอดแบบไหนดี คลอดปกติ VS ผ่าคลอด, โรงพยาบาลนครธน
- อย่าปล่อยให้คุณแม่ตั้งครรภ์ ต้องเผชิญกับภาวะ ”มดลูกแตก”ที่รุนแรงถึงชีวิต, โรงพยาบาลเปาโล
- การผ่าตัดคลอดบุตร, โรงพยาบาลสินแพทย์
- พังผืดในอุ้งเชิงกราน หนึ่งปัญหาที่ทำให้การใช้ชีวิตสะดุด, โรงพยาบาลสมิติเวช
- การคลอดแบบธรรมชาติหลังจากเคยผ่าคลอดมาแล้ว, โรงพยาบาลสมิติเวช
- คำถามยอดฮิตที่คุณแม่ผ่าคลอดอยากรู้, โรงพยาบาลศิครินทร์
- ข้อควรรู้หลังคลอดบุตร, โรงพยาบาลวิชัยยุทธ
- การดูแลหลังคลอด แบบผ่าตัดทางหน้าท้อง, โรงพยาบาลสมิติเวช
- ข้อควรรู้เกี่ยวกับการคลอดธรรมชาติ, โรงพยาบาลสมิติเวช
อ้างอิง ณ วันที่ 22 ธันวาคม 2566
บทความที่เกี่ยวข้อง