ลูกกลับหัวตอนกี่เดือน ท้อง 7 เดือน หัวลูกอยู่ตรงไหน
ทารกในครรภ์จะเริ่มกลับหัวเมื่ออายุครรภ์ได้ประมาณ 36-37 สัปดาห์ หรือประมาณเดือนที่ 8-9 ของการตั้งครรภ์ โดยศีรษะของทารกจะเข้าไปอยู่ที่อุ้งเชิงกรานเพื่อเตรียมที่จะคลอด คุณแม่สามารถสังเกตอาการได้ เช่น ปัสสาวะบ่อยขึ้นและมีการหายใจได้สะดวกมากขึ้น ซึ่งอาการเหล่านี้เป็นสัญญาณที่บอกว่าคุณแม่ใกล้จะคลอดแล้ว โดยหากเป็นคุณแม่ท้องแรก อาจคลอดภายใน 1 เดือนหลังจากมีอาการ ส่วนคุณแม่ท้องที่ 2 เป็นต้นไป อาจคลอดในช่วงไม่กี่วัน นับจากมีอาการ
สรุป
- เมื่อทารกมีการกลับหัว นั่นคือสัญญาณที่บอกว่าทารกพร้อมจะคลอดแล้ว หรือถ้าหากทารกมีการกลับหัวเร็วกว่ากำหนด คุณแม่ก็มีโอกาสที่จะคลอดก่อนกำหนดเช่นกัน ดังนั้นเมื่อทราบว่าทารกมีการกลับหัวแล้ว ควรเข้าพบแพทย์เพื่อขอคำปรึกษาการดูแลทารกในครรภ์ต่อไป
- ทารกจะเริ่มกลับหัวเมื่ออายุครรภ์ได้ประมาณ 36-37 สัปดาห์ หรือประมาณเดือนที่ 8-9 ของการตั้งครรภ์ โดยศีรษะของทารกจะเข้าไปอยู่ที่อุ้งเชิงกรานเพื่อเตรียมที่จะคลอด
- เด็กอาจมีการกลับหัวเร็วกว่ากำหนดหรือช้ากว่ากำหนด คุณแม่ควรสังเกตอาการของลูกเป็นพิเศษในช่วงนี้ หากพบอาการผิดปกติให้รีบเข้าพบแพทย์ทันที เพื่อความปลอดภัยของเด็กในครรภ์และตัวคุณแม่
เลือกอ่านตามหัวข้อ
- ลูกกลับหัวก่อนคลอด เพราะอะไร
- หลังจากลูกกลับหัวกี่วันถึงจะคลอด
- จริงไหม? ลูกกลับหัวเร็ว จะทำให้คลอดก่อนกำหนด
- ทารกในครรภ์ 7 เดือน กลับหัวหรือยัง
- ลูกกลับหัว จะอยู่ในท่าทางไหนบ้างในท้องของคุณแม่
- ลูกกลับหัว คุณแม่จะมีอาการอะไรบ้าง
- ลูกไม่ยอมกลับหัวสักที เป็นอันตรายไหม?
- แพทย์จะช่วยให้ลูกกลับหัวได้ด้วยวิธีไหน
- กรณีไหนบ้างที่แพทย์จะตัดสินใจผ่าคลอดให้แทน
ลูกกลับหัวก่อนคลอด เพราะอะไร
ช่วงเวลาที่ทารกในครรภ์มีการกลับหัว หัวของทารกจะเคลื่อนที่เข้าไปอยู่ที่อุ้งเชิงกรานเพื่อเตรียมที่จะคลอด ซึ่งอาการเหล่านี้เป็นสัญญาณที่บอกว่าคุณแม่ใกล้จะคลอด แล้ว ดังนั้นคุณแม่ควรเข้าพบแพทย์เพื่อปรึกษาเรื่องการคลอดบุตร เพื่อความปลอดภัยของทารกในครรภ์
หลังจากลูกกลับหัวกี่วันถึงจะคลอด
เมื่อคุณแม่พบสัญญาณว่าลูกในครรภ์มีการกลับหัว หากเป็นคุณแม่ท้องแรก อาจคลอดภายใน 1 เดือนหลังจากมีอาการ ส่วนคุณแม่ท้องที่ 2 เป็นต้นไป อาจคลอดในช่วงไม่กี่วันหลังจากมีอาการ
จริงไหม? ลูกกลับหัวเร็ว จะทำให้คลอดก่อนกำหนด
เมื่อลูกในครรภ์มีการกลับหัว นั่นหมายถึงคุณแม่อาจใกล้จะคลอดแล้ว ดังนั้นหากลูกกลับหัวเร็วกว่ากำหนด คุณแม่ก็มีโอกาสที่จะคลอดก่อนกำหนด เช่นกัน ซึ่งหากคุณแม่สังเกตพบอาการหรือสงสัยว่าลูกกลับหัวเร็วกว่ากำหนด ควรไปพบแพทย์โดยทันที ซึ่งแพทย์จะประเมินการดูแลรักษาที่เหมาะสมให้กับคุณแม่ต่อไป
ซึ่งจะช่วยให้ทารกที่จำเป็นต้องคลอดก่อนกำหนดมีโอกาสรอดมากขึ้นอีกด้วย เนื่องจากการคลอดก่อนกำหนด อาจส่งผลอันตรายแก่คุณแม่ และทารกก็อาจพิการหรือเสียชีวิตหลังคลอดได้ ดังนั้นคุณแม่ควรดูแลสุขภาพให้ดีตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ และเมื่อทราบว่าตั้งครรภ์ ควรทำการฝากครรภ์และขอคำปรึกษาจากแพทย์โดยทันที ก็จะช่วยลดความเสี่ยงการคลอดก่อนกำหนดได้ และได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที หากพบว่าคุณแม่จำเป็นต้องคลอดก่อนกำหนด
ทารกในครรภ์ 7 เดือน กลับหัวหรือยัง
เมื่ออายุครรภ์ได้ 7 เดือน ทารกจะเริ่มขยับกลับหัวลง ปลายคางชิดหัวเข่า เข่าทั้ง 2 ข้างจะงอติดหน้าอก แขนและขาทั้ง 2 ข้าง อยู่ในท่าไขว้กัน เป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับการคลอดในช่วงใกล้ ๆ นี้ และทารกจะมีน้ำหนักประมาณ 1.9 กิโลกรัม ขนาดลำตัวประมาณ 43 เซนติเมตร ซึ่งการเจริญเติบโตของทารกแต่ละคนอาจมีความแตกต่างกันไป คุณแม่ควรดูแลอย่างใกล้ชิดและหากพบอาการผิดปกติ ควรเข้าพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยทันที
ลูกกลับหัว จะอยู่ในท่าทางไหนบ้างในท้องของคุณแม่
เมื่อลูกเริ่มกลับหัว จะเริ่มขยับกลับหัวลง ปลายคางชิดหัวเข่า เข่าทั้ง 2 ข้างจะงอติดหน้าอก แขนและขาทั้ง 2 ข้าง อยู่ในท่าไขว้กัน เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมสำหรับการคลอดต่อไป
ลูกกลับหัว คุณแม่จะมีอาการอะไรบ้าง
เมื่อลูกเริ่มกลับหัว คุณแม่จะมีอาการที่เรียกว่า “ท้องลด” หรือมีการหายใจได้สะดวกและรู้สึกโล่งมากขึ้น มีการปัสสาวะบ่อยขึ้น เนื่องจากหัวของลูกในครรภ์เคลื่อนที่มากดกระเพาะปัสสาวะ
ลูกไม่ยอมกลับหัวสักที เป็นอันตรายไหม?
หากเข้าสู่สัปดาห์ที่ 36 ถึง สัปดาห์ที่ 37 แล้วเด็กในครรภ์ยังไม่ยอมกลับหัว หรือเด็กในครรภ์มีการดิ้นเปลี่ยนท่าไม่ซ้ำกันทุกครั้งที่มีการนัดเข้าพบแพทย์ ซึ่งเมื่อถึงกำหนดการคลอด แพทย์จะแนะนำให้ผ่าคลอด มากกว่าให้คุณแม่คลอดตามธรรมชาติ เนื่องมาจากจะไม่สามารถรู้ได้ว่าเมื่อถึงกำหนดคลอดแล้ว เด็กในครรภ์จะกลับหัวลงหรือไม่ บางรายเอาก้นลงหรือเอาขาลง ซึ่งอาจเกิดอาการเจ็บครรภ์และน้ำเดิน อาจเกิดภาวะสายสะดือย้อยซึ่งเป็นอันตรายต่อคุณแม่และเด็กได้
แพทย์จะช่วยให้ลูกกลับหัวได้ด้วยวิธีไหน
หากเมื่อถึงเวลาที่ทารกต้องกลับหัวแล้ว แต่ทารกยังไม่ยอมกลับหัว แพทย์จะมีวิธีทางการแพทย์ ในการช่วยให้ทารกกลับหัวทั้งนี้ วิธีดังกล่าวจะต้องทำโดยแพทย์เท่านั้น คุณแม่ห้ามทำเองหรือให้ใครช่วยโดยเด็ดขาด เนื่องจากอาจเกิดอันตรายกับคุณแม่และทารกในครรภ์ได้
กรณีไหนบ้างที่แพทย์จะตัดสินใจผ่าคลอดให้แทน
หากแพทย์วินิจฉัยว่า คุณแม่มีความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายเมื่อคลอดผ่านช่องคลอด แพทย์จะตัดสินใจให้ผ่าคลอดเมื่อมีอาการดังต่อไปนี้
- มีภาวะผิดสัดส่วนระหว่างศีรษะของทารกและอุ้งเชิงกราน ทำให้ทารกไม่สามารถลอดผ่านเชิงกรานของคุณแม่ออกมาได้
- ทารกมีภาวะสายสะดือย้อย
- ทารกมีภาวะการเต้นของหัวใจผิดปกติ
- ทารกไม่กลับหัวหรืออยู่ในท่าอื่น เช่น ท่าก้น ท่าขวาง หรือครรภ์แฝด
- คุณแม่ที่ติดเชื้อเอชไอวี
- คุณแม่ที่เคยผ่าคลอดมาก่อน ซึ่งอาจก่อให้เกิดการแตกของมดลูกหากมีการคลอดเองตามธรรมชาติ
การผ่าคลอดบุตร โดยปกติแพทย์จะแนะนำให้คลอดปกติเองก่อน ตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO) ส่งเสริมให้เกิดการคลอดเองตามธรรมชาติก่อน เพราะเชื่อว่าเสียเลือดน้อย ฟื้นตัวไว และกลับสู่ภาวะปกติได้เร็ว โอกาสของการคลอดได้เองสูงถึงร้อยละ 80-90 หากมีความจำเป็นจริง ๆ หรือมีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ แพทย์จะแนะนำการผ่าคลอดให้กับคุณแม่ต่อไป หรือในกรณีที่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ และความไม่พร้อมทางด้านร่างกายหลายอย่างของสุขภาพคุณแม่ เช่น เชิงกรานแคบ รกเกาะต่ำ ครรภ์เป็นพิษ ครรภ์แฝด หรือแม้แต่การคลอดในภาวะฉุกเฉิน แพทย์จะแนะนำให้คุณแม่ผ่าคลอดด้วยเช่นกัน
เมื่อเด็กมีการกลับหัว นั่นเป็นสัญญาณที่บอกว่าพร้อมจะคลอดแล้ว คุณแม่ควรดูแลเด็กในครรภ์อย่างใกล้ชิดในช่วงนี้ เพราะหากเด็กมีการกลับหัวเร็วกว่ากำหนด คุณแม่ก็มีโอกาสที่จะคลอดก่อนกำหนด หรือถ้าหากเมื่อถึงกำหนดแล้วเด็กยังไม่ยอมกลับหัว ก็อาจส่งผลต่อการคลอดได้ เช่น แพทย์อาจวินิจฉัยให้ทำการผ่าคลอดเนื่องจากท่าของเด็กไม่เหมาะกับการคลอดตามธรรมชาติ และอาจเกิดอันตรายต่อเด็กได้ ซึ่งการเจริญเติบโตของเด็กในครรภ์จะมีความแตกต่างกันออกไป ดังนั้น เมื่อพบอาการผิดปกติของเด็กในครรภ์ ควรเข้าพบแพทย์เพื่อรับการรักษาได้อย่างทันท่วงที
บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์
- พัฒนาการทารกในครรภ์ 1-40 สัปดาห์ ที่แม่มือใหม่ห้ามพลาด
- คุณแม่ท้อง 1 เดือน อาการตั้งครรภ์ 1 เดือน เป็นแบบไหน พร้อมวิธีรับมือ
- คุณแม่ท้อง 2 เดือน อาการตั้งครรภ์ 2 เดือน เป็นแบบไหน พร้อมวิธีรับมือ
- คุณแม่ท้อง 3 เดือน อาการตั้งครรภ์ 3 เดือน เป็นแบบไหน พร้อมวิธีรับมือ
- คุณแม่ท้อง 4 เดือน อาการตั้งครรภ์ 4 เดือน เป็นแบบไหน พร้อมวิธีรับมือ
- คุณแม่ท้อง 5 เดือน อาการตั้งครรภ์ 5 เดือน เป็นแบบไหน พร้อมวิธีรับมือ
- คุณแม่ท้อง 6 เดือน อาการตั้งครรภ์ 6 เดือน เป็นแบบไหน พร้อมวิธีรับมือ
- คุณแม่ท้อง 7 เดือน อาการตั้งครรภ์ 7 เดือน เป็นแบบไหน พร้อมวิธีรับมือ
- คุณแม่ท้อง 8 เดือน อาการตั้งครรภ์ 8 เดือน เป็นแบบไหน พร้อมวิธีรับมือ
- คุณแม่ท้อง 9 เดือน อาการตั้งครรภ์ 9 เดือน เป็นแบบไหน พร้อมวิธีรับมือ
- อาการแพ้ท้องของคุณแม่ แพ้ท้องพะอืดพะอม แก้ยังไง พร้อมวิธีรับมือ
- น้ำคร่ำ คืออะไร น้ำคร่ำรั่ว อาการแบบไหน สัญญาณใกล้คลอดที่ต้องรับมือ
- อาการท้องแข็งบ่อย ลูกโก่งตัวบ่อย อันตรายหรือไม่ ทำไมคุณแม่ต้องรู้
- เลือดล้างหน้าเด็กสีอะไร เลือดล้างหน้าเด็กสัญญาณแรกของการตั้งครรภ์
- วิธีนับอายุครรภ์ คำนวณอายุครรภ์ด้วยตัวเอง ก่อนคลอด
- สัญญาณอาการใกล้คลอด เจ็บท้องคลอด อาการก่อนคลอดของคุณแม่
- ของใช้เตรียมคลอด ที่คุณแม่มือใหม่ควรเตรียมของไปคลอด
- ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดเกิดจากอะไร พร้อมวิธีรับมืออาการซึมเศร้าหลังคลอด
- ฤกษ์คลอด ฤกษ์ผ่าคลอด วันมงคล เวลาดี สำหรับลูกรัก
อ้างอิง:
- สัญญาณเตือนคุณแม่ใกล้คลอด เตรียมพร้อมได้ทันเวลา, โรงพยาบาลนครธน
- พัฒนาการทารกในครรภ์ ตลอด 9 เดือนในท้องแม่, pobpad
- สัญญาณเตือนคลอดก่อนกำหนด ที่คุณแม่ต้องระวัง, โรงพยาบาลวิชัยเวช อินเตอร์แนชั่นแนล อ้อมน้อย
- ท้อง 7 เดือน กับการเตรียมตัวให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง, pobpad
- 35 สัปดาห์แล้ว เด็กยังไม่กลับหัว มีโอกาสกลับหัวไหม, โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 3 สมุทรปราการ
- Fetal Positions for Birth, Cleveland Clinic
- When will my baby turn head down?, Dr Gary Sykes
- การผ่าตัดคลอดบุตร, ผศ.พญ.อภิรดี จิรัฐติกาลโชติ
- ผ่าตัดคลอด VS คลอดปกติ, โรงพยาบาลกรุงเทพ
- ตอบข้อสงสัย คลอดแบบไหนดี คลอดปกติ VS ผ่าคลอด, พญ. สังวาลย์ เตชะพงศธร โรงพยาบาลนครธน
อ้างอิง ณ วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2567
บทความที่เกี่ยวข้อง