พัฒนาการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 37

พัฒนาการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 37

พัฒนาการการตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์  พัฒนาการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 37

headphones
อ่าน 2 นาที

 พัฒนาการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 37

 

อายุครรภ์ครบกำหนด 37 สัปดาห์ การทำงานของถุงลมปอดของลูกมักจะสมบูรณ์ ในครรภ์แรกลูกมักจะกลับหัวลงสมบูรณ์ และเคลื่อนลงอุ้งเชิงกรานแล้ว ดังนั้นในคุณแม่ที่ไม่เคยผ่าตัดคลอดหรือครรภ์แรก หรือไม่มีข้อห้ามในการคลอดบุตร จะต้องคอยเฝ้าระวังอาการเจ็บครรภ์คลอด และเตรียมพร้อมมาโรงพยาบาลเสมอ


พัฒนาการลูก

ลูกมีความยาวประมาณ 47 ซม. และฝึกระบบหายใจ ดูดกลืนได้ดี คุณแม่ที่มีรูปร่างบาง จะรู้สึกลูกเคลื่อนตัว หรือโก่งตัวได้ชัดเจน

พัฒนาการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 37


Tips

 

  • คุณแม่ควรเตรียมพร้อมสำหรับอาการที่จะบ่งถึงการเจ็บคลอด ซึ่งหากมีอาการเหล่านี้ควรรีบมาโรงพยาบาล
  • การเจ็บคลอด ยอดมดลูกซึ่งอยู่เหนือสะดือ จะปั้นขึ้นมาเป็นก้อน พร้อมกับมีอาการปวดหน่วงคล้ายจะมีประจำเดือนมา นานประมาณ 30-60 วินาที และมีการแข็งตัวสม่ำเสมอทุก 10 นาทีหรือน้อยกว่านั้น
  • มีมูกเลือดออก ร่วมกับมีอาการปวดหน่วงท้องน้อยคล้ายปวดถ่ายอุจจาระ หรือคล้ายจะมีประจำเดือนมา
  • มีน้ำเดิน โดยอาจมีปวดท้องหรือไม่ก็ได้ ซึ่งเป็นน้ำออกมาสีคล้ายน้ำปัสสาวะปริมาณมาก ทั้งที่ไม่ได้ปัสสาวะ
  • ลูกดิ้นน้อยลง ทั้งนี้หมายถึงจำนวนครั้งใน 12 ชั่วโมงน้อยกว่า 10 ครั้ง ไม่รวมความแรงเบา เพราะหากคุณแม่มีหน้าท้องหนา หรือท้องอืด อาจรู้สึกลูกดิ้นเบาได้
  • มีอาการบ่งถึงภาวะครรภ์เป็นพิษ เช่น ตัวบวมมากผิดปกติ ปวดศีรษะบริเวณขมับ ลักษณะปวดตุ๊บๆ จุกแน่นยอดอกคล้ายเหมือนมีหินมาทับ หรือตาพร่ามัว
  • มีไข้ หนาวสั่น ปวดเมื่อยตัว ปวดหลัง ปวดเจ็บในท้อง ซึ่งอาจมีการติดเชื้อในถุงน้ำคร่ำ
  • มีเลือดสดๆ ออกทางช่องคลอด ซึ่งอาจมีอาการปวดท้องร่วมด้วยหรือไม่ก็ได้ และอาจมีลูกดิ้นน้อยลงด้วย ต้องระวังเลือดออกจากภาวะรกเกาะต่ำหรือรกลอกตัวก่อนกำหนด

 


บทความอื่นๆ ที่สนใจ 

พัฒนาการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 36 

พัฒนาการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 38 

 

อ้างอิง

บทความโดยแพทย์หญิง ธิศรา  วีรสมัย
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้าน สูตินรีเวช เวชศาสตร์ครอบครัว 
และเวชศาสตร์ชะลอวัย โรงพยาบาลพญาไท 1

บทความแนะนำ

หลังผ่าคลอดกินอะไรได้บ้าง  แม่หลังคลอดทานอะไรให้แผลหายเร็ว

หลังผ่าคลอดกินอะไรได้บ้าง แม่หลังคลอดทานอะไรให้แผลหายเร็ว

หลังผ่าคลอดกินอะไรได้บ้าง  คำถามหลังผ่าคลอดที่คุณแม่มือใหม่มักกังวลใจ หลังผ่าคลอดกินอะไรได้บ้าง  เมนูอาหารแบบไหนที่คุณแม่ผ่าคลอดกินได้ และควรหลีกเลี่ยงหลังผ่าคลอด

12 เมนูคนท้อง อาหารคนท้องบำรุงคุณแม่ท้อง ดีต่อลูกในครรภ์

12 เมนูอาหารคนท้องบำรุงคุณแม่ อาหารคนท้อง ดีต่อลูกในครรภ์

รวมเมนูคนท้อง อาหารคนท้อง ช่วยบำรุงครรภ์คุณแม่ให้แข็งแรงและสมบูรณ์ เพื่อให้ลูกน้อยในครรภ์ได้รับโภชนาการที่ดีและครบถ้วน ไปดูเมนูคนท้องและอาหารคนท้องที่ดีกับลูกกัน

วันตกไข่ คืออะไร คุณแม่นับวันตกไข่อย่างไรให้แม่นยำ ไม่มีพลาด

วันตกไข่ คืออะไร คุณแม่นับวันตกไข่อย่างไรให้แม่นยำ ไม่มีพลาด

วันตกไข่ คืออะไร อาการแบบไหนที่บอกว่าคุณแม่อยู่ในช่วงวันตกไข่ พร้อมวิธีนับวันตกไข่ให้แม่นยำสำหรับคุณแม่มือใหม่ ช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ ให้คุณแม่ที่อยากมีลูก

6 วิธีนับอายุครรภ์ คำนวณอายุครรภ์ด้วยตัวเอง ก่อนคลอด

6 วิธีนับอายุครรภ์ คำนวณอายุครรภ์ด้วยตัวเอง ก่อนคลอด

วิธีการนับอายุครรภ์คืออะไร ทำไมคุณแม่ต้องรู้และวิธีคำนวณอายุครรภ์ที่ถูกต้อง นับแบบไหนได้บ้าง เพื่อให้คุณแม่วางแผนการคลอดและติดตามพัฒนาการของลูกในครรภ์ได้อย่างแม่นยำ

แผลฝีเย็บหลังคลอด คุณแม่ดูแลอย่างไรให้ปลอยภัย ฝีเย็บหายไว ไม่ติดเชื้อ

แผลฝีเย็บหลังคลอด คุณแม่ดูแลอย่างไรให้ปลอดภัย ฝีเย็บหายไว ไม่ติดเชื้อ

รู้จักกับแผลฝีเย็บ คุณแม่หลังคลอด ดูแลแผลฝีเย็บอย่างไรให้หายไว ปลอดภัยและไม่ติดเชื้อ พร้อมวิธีดูแลแผลฝีเย็บให้แห้งเร็ว ลดความเสี่ยงการติดเชื้อ สำหรับคุณแม่มือใหม่

ผ่าคลอดดีไหม ผ่าคลอดเจ็บไหม ดูแลแผลผ่าคลอดอย่างไร

ผ่าคลอดดีไหม ผ่าคลอดเจ็บไหม ดูแลแผลผ่าคลอดอย่างไร

ไขข้อสงสัยเกี่ยวกับการ ผ่าคลอด พร้อมคำแนะนำต่างๆ เพื่อเตรียมพร้อมให้คุณแม่มั่นใจเมื่อผ่าคลอด

แม่ท้องพร้อม เข้าใจอาการคนท้อง

แม่ท้องพร้อม! วิธีดูแลครรภ์ จัดการกับความกังวล เข้าใจอาการคนท้อง

เคล็ดลับการดูแลครรภ์ วิธีจัดการกับความกังวล รวมไปถึงการรับมือกับอาการคนท้อง