พัฒนาการทารกในครรภ์ 1-40 สัปดาห์ ลูกน้อยมีพัฒนาการยังไงบ้าง

พัฒนาการทารกในครรภ์ 1-40 สัปดาห์ ลูกน้อยมีพัฒนาการยังไงบ้าง

16.02.2020

หนึ่งในการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญสำหรับผู้หญิง คือการเริ่มก้าวสู่การเป็นคุณแม่ ดังนั้นช่วงเวลาการตั้งครรภ์ จึงเป็นช่วงเวลาแห่งความมหัศจรรย์ของคุณแม่ทุกคน การมีชีวิตเล็ก ๆ เริ่มเจริญเติบโตในร่างกาย เหมือนเป็นการเติบโตไปพร้อม ๆ กับลูกน้อยในครรภ์ ในแต่ละสัปดาห์ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงมากมาย คุณแม่จึงจำเป็นต้องดูแลสุขภาพ และต้องทราบทุกระยะการเปลี่ยนแปลง เพื่อหากิจกรรมที่เหมาะสม และเสริมสร้างการกระตุ้นพัฒนาการของทารกในครรภ์ ให้มีความสมบูรณ์แบบในทุกด้าน

headphones

PLAYING: พัฒนาการทารกในครรภ์ 1-40 สัปดาห์ ลูกน้อยมีพัฒนาการยังไงบ้าง

อ่าน 11 นาที

 

สรุป

  • ในระหว่างการตั้งครรภ์คุณแม่ควรสังเกตอาการตลอดตั้งแต่การตั้งครรภ์ระยะแรกจนครบ 40 สัปดาห์ เพื่อความปลอดภัยของคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์
  • คุณแม่ตั้งครรภ์จะเริ่มรู้สึกถึงการเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์ประมาณสัปดาห์ที่ 16-20 ของการตั้งครรภ์ 

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

วิธีสังเกตอาการตั้งครรภ์ สำหรับคุณแม่มือใหม่

อาการเริ่มต้นที่ส่งสัญญาณว่ากำลังตั้งครรภ์ สำหรับคุณแม่มือใหม่ ทั้งการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและอารมณ์ สามารถสังเกตอาการคนท้องจากอาการต่าง ๆ เหล่านี้ได้เลยค่ะ

  • ประจำเดือนขาด หรือคลาดเคลื่อนไปเนื่องจากร่างกายเกิดการปฏิสนธิ ซึ่งอาจเป็น สัญญาณแรกว่าคุณอาจกำลังตั้งครรภ์
  • เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย เกิดจากฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนในร่างกาย เนื่องจากอวัยวะหลายส่วนของร่างกายทำงานหนักขึ้นเพื่อบำรุงทารกในครรภ์
  • คลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะ มักเกิดขึ้นในช่วงแรกของการเริ่มตั้งครรภ์ ซึ่งเป็นหนึ่งในอาการแพ้ท้อง แต่คุณแม่บางท่านอาจไม่มีอาการดังกล่าว
  • อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้น จะมีอาการคล้ายจะเป็นไข้ ตัวร้อนรุม ๆ เนื่องจากร่างกายจะมีการสร้างฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนเพิ่มขึ้น
  • ตึงคัดเต้านม หัวนมอาจมีการเปลี่ยนแปลง อาการคล้ายช่วงก่อนมีประจำเดือน ซึ่งอาการนี้จะเกิดขึ้นได้หลังจากที่ประจำเดือนเริ่มขาดไปประมาณ 1 สัปดาห์
  • ปัสสาวะบ่อยขึ้น หรือท้องผูก เนื่องจากมดลูกโตขึ้น และไปกดกระเพาะปัสสาวะ ทำให้ปัสสาวะบ่อยได้ แต่อาการจะดีขึ้นเมื่อมดลูกขยายเข้าในท้อง และในบางท่านเมื่อฮอร์โมนร่างกายเปลี่ยนแปลงจะส่งผลต่อระบบขับถ่ายได้ ทำให้เป็นที่มาของอาการท้องผูก
  • มีเลือดออกทางช่องคลอด คุณแม่เริ่มตั้งครรภ์ที่มีเลือดออกทางช่องคลอด  เกิดจากการฝังตัวของตัวอ่อนบนผนังมดลูก และอาจมีอาการตกขาว มากกว่าปกติ จากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเอสโตรเจนได้ 
  • เบื่ออาหาร อารมณ์แปรปรวน เกิดจากการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนและร่างกาย ความกังวลกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นภายในร่างกาย ส่งผลต่ออารมณ์ของว่าที่คุณแม่ได้ ดังนั้นจึงควรปรับจิตใจให้ยอมรับการเปลี่ยนแปลง อาจจะระบายออกโดยการพูดคุยกับคนใกล้ชิด หรือครอบครัว จะเป็นการช่วยให้จิตใจคลายความวิตกกังวลได้มากขึ้น

 

ตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์กับพัฒนาการลูกน้อย

 

การเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์คืออะไร?

  • การเคลื่อนไหวของทารก ไม่ได้เป็นเพียงสัญญาณให้คุณแม่รู้สึกตื่นเต้นและดีใจเท่านั้น แต่เป็นสิ่งสำคัญที่บ่งบอกถึงสุขภาพของทารกด้วย การจดบันทึกความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ รวมถึงการเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์เป็นประจำ ถือเป็นเรื่องสำคัญ เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจส่งผลกระทบต่อทารกได้ด้วย
  • คุณแม่ตั้งครรภ์จะเริ่มรู้สึกถึงการเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์ประมาณสัปดาห์ที่ 16-20 ของการตั้งครรภ์ บางรายจะรู้สึกคล้ายเส้นประสาทกระตุกเบา ๆ และการดิ้นของเด็กจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงสัปดาห์ที่ 32 จากนั้นการดิ้นจะเริ่มคงที่ เนื่องจากทารกเริ่มมีขนาดตัวที่ใหญ่ขึ้น
  • ลูกไม่ดิ้นหรือดิ้นน้อยลง ซึ่งอาจเกิดจากน้ำคร่ำน้อย หรือ สายสะดือผูกเป็นปมได้ จึงอาจเป็นสัญญาณว่าลูกน้อยกำลังตกอยู่ในอันตราย โดยเฉพาะใกล้ครบกำหนดคลอด แต่ลูกยังดิ้นน้อยอยู่หรือดิ้นห่างลงไปเรื่อย ๆ หรือหยุดดิ้น ควรรีบพบแพทย์ทันที เพราะอาจมีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นกับลูก

 

วิธีสังเกตการดิ้นของลูกในครรภ์

ลูกดิ้น เป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงสุขภาพของลูกน้อยในครรภ์ โดยในช่วงตั้งครรภ์ไตรมาส 1 และ 2 (ประมาณสัปดาห์ที่ 1-27 ) ลูกจะยังดิ้นไม่เป็นเวลา เช่น ลูกดิ้นเป็นพัก ๆ และหายไป โดยไม่สัมพันธ์กัน แต่เมื่อเริ่มเข้าไตรมาส 3 คืออายุครรภ์ 28 สัปดาห์  เป็นต้นไป ลูกจะเริ่มดิ้นเป็นเวลามากขึ้น แพทย์ส่วนใหญ่จึงแนะนำให้นับลูกดิ้นตั้งแต่อายุครรภ์ 28 สัปดาห์ เป็นต้นไป (ศึกษาวิธีนับอายุครรภ์ที่นี่) โดยมีวิธีการที่คุณแม่สามารถทำตามได้ง่าย ๆ ดังนี้ค่ะ

  • ตั้งครรภ์ไตรมาส 1 และ 2 คุณแม่สามารถนับลูกดิ้นได้แบบง่าย ๆ คือ ให้นับลูกดิ้นวันละ 1-2 ครั้ง เช่น 2 ครั้ง คือ นับตอนเช้า 1 ครั้ง และตอนเย็น 1 ครั้ง
  • ตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 3 ให้เริ่มนับเมื่อลูกกระแทกที่ครรภ์ 1 ครั้ง นับเป็นลูกดิ้น 1 ครั้ง ลูกกระแทกอีก 1 ครั้ง นับเป็น 2 ครั้ง โดยใน 1 ชั่วโมงลูกควรดิ้นมากกว่า 4 ครั้งขึ้นไป ถ้าในชั่วโมงแรกลูกดิ้นไม่ถึง 4 ครั้ง ให้เริ่มนับในชั่วโมงที่ 2 ต่อไป และถ้าชั่วโมงที่ 2 ลูกดิ้นไม่ถึง 4 ครั้ง นั้นอาจหมายถึงทารกกำลังมีปัญหา ให้คุณแม่รีบไปโรงพยาบาล
  • กรณีลูกดิ้นน้อย ให้ลองนับจำนวนการดิ้นของลูกที่รู้สึกได้ ซึ่งไม่ควรต่ำกว่า 10 ครั้ง ต่อเวลา 2 ชั่วโมง หากน้อยกว่านี้ควรลองนับใหม่อีกครั้งหนึ่งในวันเดียวกัน และถ้ายังไม่ถึง 10 ครั้งอีกควรรีบปรึกษาแพทย์
  • แนะนำให้นับลูกดิ้นเป็นเวลาเดิมในทุก ๆ วัน หรือถ้าไม่แน่ใจและรู้สึกว่าทารกดิ้นน้อยลงให้รีบไปโรงพยาบาลเพื่อพบแพทย์ทันที
     

พัฒนาการทารกในครรภ์ 1-40 สัปดาห์

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 1 – 4 ระยะเวลาแห่งการปฏิสนธิ ขนาดเท่าเม็ดงา

เป็นช่วงแรกสุดของการตั้งครรภ์ คือ สัปดาห์ที่ 2-4 นับจากวันแรกของรอบเดือนรอบสุดท้าย ไข่ที่ได้รับการผสมแล้วจะค่อย ๆ เคลื่อนมาตามท่อนำไข่ และฝังตัวที่มดลูก ขณะที่ไข่เคลื่อนตัวมานั้น เซลล์จะเริ่มแบ่งตัวเพิ่มจำนวนมากขึ้น เมื่อถึงตอนที่ตัวอ่อนมาถึงมดลูกจะมีเซลล์ประมาณ 100 เซลล์ หลังจากหนึ่งสัปดาห์ ไข่ที่ได้รับการผสมแล้วจะฝังตัวที่ผนังมดลูก ซึ่งถือว่ากระบวนการปฏิสนธิสมบูรณ์แล้ว

 

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 5 – 8 พัฒนาการเบื้องต้น ขนาดเท่าเมล็ดถั่วแดง

ภายหลังตัวอ่อนทำการฝังตัวที่ผนังมดลูกแล้ว จะเริ่มเห็นพัฒนาการได้ชัดเจนขึ้น เมื่อทำการอัลตร้าซาวด์ จะเริ่มเห็นศีรษะทารกซึ่งจะใหญ่กว่าอวัยวะอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นหน้า มือ หรือเท้า คุณแม่จะเห็นว่าตัวทารกขยับไปมา ได้เห็นหัวใจเล็ก ๆ เต้นเป็นจังหวะ สายสะดือซึ่งทำหน้าที่เป็นปอดนำออกซิเจนจากแม่มาสู่ลูก และนำอาหารมาเลี้ยงลูก ในช่วงนี้ทารกจะมีรูปร่างกลม ๆ ยาวประมาณ 2-3 เซนติเมตร

พัฒนาการทารกในครรภ์ 1-40 สัปดาห์


พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 9 – 12 พัฒนาการสมองและกล้ามเนื้อ และขนาดเท่ามะนาว

ในระยะนี้ อวัยวะบนหน้าของทารกเกือบจะสมบูรณ์แล้ว เพียงแต่ตายังปิดอยู่เท่านั้น สมองและกล้ามเนื้อเริ่มทำงานประสานกัน กล้ามเนื้อกำลังพัฒนา จะเห็นได้ว่าแขนขาของทารกจะขยับ    ไปมา ข้อต่าง ๆ เริ่มประสานกัน นิ้วมือและนิ้วเท้าพัฒนาจนสมบูรณ์แล้วและงอได้ด้วย เล็บงอกยาว ทารกจะเริ่มดูดนิ้วและอาจกลืนน้ำคร่ำ หรือลอยตัวในน้ำคร่ำซึ่งทำหน้าที่ห่อหุ้มและปกป้องร่างกายเล็ก ๆ ไว้อย่างดี หลังจาก 3 เดือนแรกไปแล้ว อวัยวะของทารกจะเริ่มเป็นรูปร่างมีพัฒนาการ คุณแม่จะต้องระวังในช่วงนี้ อย่ารับประทานยาหรืออาหารที่อาจเป็นอันตราย ตอนนี้ทารกมีขนาดประมาณ 10-12 เซนติเมตร

 

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 13 – 16 ลุ้นเพศตัวน้อย และขนาดเท่าแอปเปิ้ล 

ทารกจะมีแขนและข้อต่อที่สมบูรณ์ กล้ามเนื้อแข็งแรง ทารกสามารถเคลื่อนไหวได้มากขึ้น คุณแม่มือใหม่อาจจะยังไม่รู้สึกว่าลูกดิ้น นอกจากนี้ขนและผมจะเริ่มงอกทั่วร่างกาย คุณหมอสามารถทำอัลตราซาวด์ที่ท้องเพื่อฟังเสียงหัวใจทารกได้ ไตเริ่มจะทำงานเช่นเดียวกับผู้ใหญ่ ถ้าเทียบกับเดือนก่อนหน้านี้ จำนวนเส้นประสาทและกล้ามเนื้อจะเพิ่มขึ้นถึง 3 เท่า ระยะนี้ทารกจะเตะ ยืดนิ้วมือนิ้วเท้า ร่างกายจะพัฒนาจนสามารถมองเห็นอวัยวะเพศทารกได้ถ้าตรวจด้วยอัลตราซาวด์ ตอนนี้ทารกจะมีขนาด 16-18 เซนติเมตร และมีน้ำหนักประมาณ 200 กรัม

 

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 17 – 20 รับรู้โลกนอกครรภ์ และขนาดเท่ากล้วยหอม

ช่วงนี้ทารกจะโตเร็วมาก คุณแม่จะรู้สึกได้บ่อย ๆ ว่าลูกดิ้น ฟันเริ่มพัฒนาอยู่ใต้กราม ผมเริ่มงอก กล้ามเนื้อก็จะแข็งแรงยิ่งขึ้น ทารกจะสร้างไขมันเพื่อปกป้องผิวหนังและผม คิ้วและขนตากำลังพัฒนา นอกจากนี้ทารกจะเพิ่มพัฒนาสัมผัสรับรู้ในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นรสชาติ กลิ่น และเสียง แม้ว่าตาจะยังปิดแต่ทารกจะสัมผัสถึงแสงจ้าได้ ได้ยินสิ่งที่คุณพูดและรู้สึกเมื่อคุณลูบท้องเบา ๆ ตอนท้ายของเดือนที่ 5 ทารกจะเริ่มปัสสาวะปนมาในน้ำคร่ำ ตอนนี้ทารกจะมีขนาด 20-25 เซนติเมตร และมีน้ำหนักประมาณ 400 กรัม

 

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 21 – 24 ตอบสนองต่อสิ่งเร้าต่าง ๆ และขนาดเท่าข้าวโพด

ในระยะนี้คุณแม่จะรู้สึกว่าทารกบิดตัวไปมา ตอนนี้ทารกจะโตช้ากว่าตอนแรกเพื่อให้อวัยวะภายในร่างกาย เช่น ปอด ระบบทางเดินอาหาร และระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายพัฒนา ทารกจะได้ยินเสียงหัวใจแม่ เสียงอื่น ๆ และดนตรี และอาจจะมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อการกระทำของแม่ ดังนั้นคุณพ่อและคุณแม่สามารถพูดคุยกับลูกในครรภ์ได้ ทารกอาจจะดูผอมเพราะมีไขมันใต้ผิวหนังไม่มาก เดือนนี้ทารกจะมีความยาวประมาณ 30 เซนติเมตรและน้ำหนักประมาณ 600 กรัม

 

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 25 – 28 ลืมตาและหลับตาแล้ว และขนาดเท่ามะเขือม่วง

ร่างกายของทารกยังคงเติบโตและมีการพัฒนาต่อมรับรส ที่สำคัญคือ ทารกสามารถหลับตาและลืมตาได้แล้ว อีกทั้งยังตอบสนองต่อสิ่งเร้าได้ดีขึ้นทำให้ทารกขยับเปลี่ยนตำแหน่งอยู่บ่อยครั้ง  โดยเมื่อสิ้นสุดสัปดาห์ที่ 28 เจ้าตัวน้อยจะมีน้ำหนักเฉลี่ย 600 – 1200 กรัม และมีความยาวประมาณ 30 – 35 เซนติเมตร

 

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 29 – 32 ผิวหนังย่น ๆ ของหนู และขนาดเท่าผักกาดขาว

ในเดือนนี้ทารกจะเริ่มสะสมไขมันใต้ผิวหนังทั่วทั้งตัวเพื่อรักษาความอบอุ่นให้แก่ร่างกาย รวมทั้งปกป้องผิวหนังจากของเหลวอื่น ๆ ปอดจะพัฒนา หนังตาเริ่มเปิด ตาจะมองเห็นแสงผ่านหน้าท้องของแม่ได้ ทารกจะขยับตัวเมื่อได้ยินเสียงดัง ๆ จังหวะการเต้นของหัวใจจะเปลี่ยนตามแสงและเสียงที่ทารกสัมผัสได้ นอกจากนี้จะเริ่มพัฒนาตุ่มรับรส ตอนนี้ทารกมีความยาว 35 เซนติเมตร และหนักประมาณ 1,000-1,200 กรัม ถ้าคลอดในตอนนี้ อัตราการรอดชีวิตจะค่อนข้างสูงเนื่องจากอวัยวะสำคัญเริ่มทำงานเป็นปกติแล้ว

 

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 33 – 36 ได้เวลาเตรียมตัวคลอด และขนาดเท่ามะพร้าว

ร่างกายของทารกในช่วงเวลานี้ จะดูเหมือนทารกแรกเกิด ร่างกายแข็งแรง ศีรษะจะเริ่มหันมาทางปากมดลูก สามารถมองเห็นการเคลื่อนไหวของทารกได้จากหน้าท้อง ในเดือนนี้คุณแม่อาจมีการเจ็บท้องเตือน เนื่องจากมดลูกบีบตัว เพื่อช่วยให้ทารกมีความพร้อม คุณแม่สามารถเริ่มจัดเตรียมสิ่งของสำหรับวันคลอด เริ่มทำความสะอาดเสื้อผ้าและสิ่งของทารกไว้รอ ทารกจะมีความยาวประมาณ 40-45 เซนติเมตร และหนักประมาณ 2,000-2,500 กรัม

 

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 37 – 40 ยินดีกับคุณแม่คนใหม่ และขนาดเท่าแตงโม

ในระยะสุดท้ายของการตั้งครรภ์ ทารกจะอยู่ในตำแหน่งที่พร้อมคลอด เล็บจะยาวเร็วขึ้นเพื่อปกป้องปลายนิ้ว ผมจะยาวประมาณ 3-5 เซนติเมตร ศีรษะจะอยู่ใกล้ปากมดลูก และคุณแม่ก็พร้อมจะคลอดได้ทุกเมื่อ ส่วนใหญ่แล้ว คุณแม่จะคลอดประมาณ 1-2 สัปดาห์ก่อนครบกำหนด (สัปดาห์ที่ 40) ทารกมักมีความยาวประมาณ 50 เซนติเมตร และหนักประมาณ 2,800-3,000 กรัม

 

จุดเริ่มต้นของการเป็นคุณแม่และคุณพ่อเต็มตัว ที่จะคอยฟูมฟักดูแลลูกน้อยภายหลังออกสู่โลกภายนอกให้สมบูรณ์และปลอดภัยที่สุด การสร้างครอบครัวที่มีพ่อแม่และลูก การบ่มเพาะสร้างเด็กที่มีความพร้อมทั้งร่างกายที่แข็งแรง และจิตใจที่ดีงาม ซึ่งการเป็นคุณพ่อคุณแม่นั้นไม่ได้มีการกำหนดแนวทางที่ตายตัว แต่เป็นสัญชาตญาณของแต่ละคน การเลี้ยงดูลูกไม่ได้ข้อผิดข้อถูกหรือเป็นกฎตายตัว แต่คุณแม่จะค่อย ๆ เรียนรู้ไปพร้อมกับลูกน้อยอย่างเป็นธรรมชาติที่สุด และคุณพ่อจะเป็นผู้ช่วยที่ดีที่สุดให้กับคุณแม่ได้เช่นกัน

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ให้นม

 

 

  1. อ้างอิง
  2. อาการคนท้องเดือนแรก สัญญาณเริ่มต้นว่ากำลังตั้งครรภ์, รพ.ศิครินทร์
  3. ว่าที่คุณแม่มือใหม่พร้อมรับมือความเปลี่ยนแปลงระหว่างตั้งครรภ์, รพ.นครธน
  4. การดิ้นของทารกในครรภ์ สัญญาณที่คุณแม่ควรรู้, รพ.บางปะกอก
  5. นับลูกดิ้นอย่างไร...ให้รู้ว่าทารกปลอดภัยนะ, รพ.พญาไท
  6. 9 เดือน มหัศจรรย์พัฒนาการทารกในครรภ์, รพ.สมิติเวช
  7. แจกฟรี! ตารางบอกพัฒนาการทารกในครรภ์ 1-40 สัปดาห์ เซฟเก็บไว้ดูนะแม่ ๆ, mamaschoice

อ้างอิง ณ วันที่ 19 ตุลาคม 2566

บทความแนะนำ

ผ่าคลอดโรงพยาบาลรัฐดีไหม แพงหรือเปล่า แล้วคุณแม่ใช้สิทธิอะไรได้บ้าง

ผ่าคลอดโรงพยาบาลรัฐดีไหม แพงหรือเปล่า แล้วคุณแม่ใช้สิทธิอะไรได้บ้าง

ผ่าคลอดโรงพยาบาลรัฐราคาเท่าไหร่ ผ่าคลอดใช้สิทธิบัตรทองได้ไหม มีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง คำถามเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการคลอดที่คุณแม่เตรียมคลอดธรรมชาติและผ่าคลอดอยากรู้

คนท้องกินโกโก้ได้ไหม คุณแม่ท้องกินโกโก้ส่งผลอะไรกับลูกในท้องบ้าง

คนท้องกินโกโก้ได้ไหม คุณแม่ท้องกินโกโก้ส่งผลอะไรกับลูกในท้องบ้าง

คนท้องกินโกโก้ได้ไหม กินโกโก้แล้วอันตรายกับลูกในครรภ์หรือเปล่า โดยเฉพาะคุณแม่ที่ชอบกินน้ำหวาน น้ำชง คนท้องกินโกโก้ได้ไหม ควรกินวันละกี่แก้ว ปริมาณเท่าไหร่ ไปดูกัน

เมนูอาหารคนท้อง 1-3 เดือน ช่วยบำรุงครรภ์ให้แข็งแรง คุณแม่ทำตามได้

เมนูอาหารคนท้อง 1-3 เดือน ช่วยบำรุงครรภ์ให้แข็งแรง คุณแม่ทำตามได้

รวมเมนูอาหารคนท้อง 1-3 เดือน เมนูสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ ช่วยให้คุณแม่และลูกน้อยในครรภ์มีสุขภาพที่แข็งแรง เมนูอาหารสําหรับคนท้อง 1-3 เดือน ทำเองได้เลยที่บ้าน

คนท้องกินแตงโมได้ไหม คุณแม่กินแตงโมอย่างไรให้ดีกับลูกในครรภ์

คนท้องกินแตงโมได้ไหม คุณแม่กินแตงโมอย่างไรให้ดีกับลูกในครรภ์

คนท้องกินแตงโมได้ไหม ในแตงโมมีสารอาหารอะไรบ้างที่เป็นประโยชน์กับร่างกายของคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์ ต้องกินเท่าไหร่ถึงพอดี ช่วยบำรุงครรภ์คุณแม่

คนท้องกินทุเรียนได้ไหม มีผลต่อสุขภาพของคุณแม่และลูกน้อยหรือไม่

คนท้องกินทุเรียนได้ไหม มีผลต่อสุขภาพของคุณแม่และลูกน้อยหรือไม่

คนท้องกินทุเรียนได้ไหม คนท้องกินขนุนได้ไหม หากกินเยอะมากเกินไป อันตรายกับคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์แค่ไหน ปริมาณเท่าไหร่ถึงเหมาะสมสำหรับแม่ตั้งครรภ์

คนท้องกินน้ำมะพร้าวได้ไหม กินเยอะไป ส่งผลอะไรกับคุณแม่และลูกบ้าง

คนท้องกินน้ำมะพร้าวได้ไหม กินเยอะไป ส่งผลอะไรกับคุณแม่และลูกบ้าง

คนท้องกินน้ำมะพร้าวได้ไหม หากคุณแม่ในปริมาณที่เยอะเกินไป จะส่งผลเสียอะไรกับคุณแม่และลูกบ้าง กินน้ำมะพร้าวมาก เสี่ยงแท้งลูกจริงไหม ไปหาคำตอบกัน

คนท้องกินหน่อไม้ได้ไหม คุณแม่ต้องกินแบบไหนถึงจะปลอดภัยกับลูกในท้อง

คนท้องกินหน่อไม้ได้ไหม คุณแม่ต้องกินแบบไหนถึงจะปลอดภัยกับลูกในท้อง

คนท้องกินหน่อไม้ได้ไหม คุณแม่ท้องกินหน่อไม้เยอะ จะเป็นอันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า ไปดูสารอาหารสำคัญในหน่อไม้และประโยชน์ของหน่อไม้ที่คนท้องควรรู้กัน