พัฒนาการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 28

พัฒนาการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 28

พัฒนาการการตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์  พัฒนาการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 28

headphones
อ่าน 7 นาที

พัฒนาการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 28

 

 เมื่อเข้าสู่ไตรมาสที่ 3 คุณแม่บางท่านจะสังเกตเห็นมีน้ำนมไหลเป็นสีขุ่นๆ เกิดจากฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลง จนทำให้มีการขยายของเต้านม มีเลือดมาเลี้ยงบริเวณเต้านมมากขึ้น เนื้อบริเวณรอบๆ ฐานหัวนมจะหนาขึ้น และเห็นมีน้ำขุ่นๆ ออกมาจากหัวนมได้  ซึ่งอาจเป็นเพียงชั่วคราว จนถึงระยะก่อนคลอดก็อาจแห้งไป และจะมีน้ำนมพร้อมให้นมอีกครั้งหลังคลอด แม้คุณแม่มีความตั้งใจจะให้นม แต่สำหรับช่วงนี้ ก็ยังไม่ควรนวดหรือกระตุ้นบริเวณเต้าหรือหัวนม เพราะการกระตุ้นบีบหัวนม จะส่งสัญญาณไปยังสมองให้หลั่งฮอร์โมนออกซิโตซิน ซึ่งมีฤทธิ์กระตุ้นให้มดลูกมีการหดรัดตัว จะส่งผลทำให้มีการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดได้ค่ะ


พัฒนาการลูก

ลูกมีความยาว 37 ซม. และน้ำหนักประมาณ 900-1000 กรัม ซึ่งอวัยวะต่างๆ จะมีการเจริญค่อนข้างสมบูรณ์ เพียงแต่การทำงานยังไม่พร้อม เช่น อัลตร้าซาวด์เห็นปอดของลูก แต่ลูกยังไม่สามารถหายใจเองได้ เนื่องจากถุงลมที่ปอดยังทำหน้าที่ไม่สมบูรณ์ในการแลกเปลี่ยนออกซิเจน ไตรมาสที่ 3 นี้ มาเข้าสู่โหมดแห่งการกระตุ้นพัฒนาการทางสมองอย่างเข้มข้นกันค่ะ เพราะนอกจากการแบ่งตัวของเซลล์ประสาทสมองอย่างต่อเนื่องในช่วงอายุครรภ์ 6-24 สัปดาห์แล้ว  ในไตรมาสที่ 3 นี้ จะมีเรื่องพัฒนาการของสมองอย่างรวดเร็ว เส้นใยประสาทมีการเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่าย และมีการเพิ่มเซลล์สมองควบคู่กับการพัฒนาของเส้นใยประสาท และเมื่อถึงวันคลอด เซลล์สมองจะมีมากถึง 1 แสนล้านเซลล์
               

พัฒนาการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 28

คุณแม่สามารถมีบทบาทในการกระตุ้นพัฒนาการด้านสมองและสติปัญญาลูกตั้งแต่ในครรภ์ ทั้งทางด้านโภชนาการและสิ่งแวดล้อม   ปัจจัยที่ส่งเสริมพัฒนาการและสติปัญญาของลูกในครรภ์ ได้แก่ 3 ปัจจัย คือพันธุกรรมอาหาร และสิ่งแวดล้อม  ซึ่งจากการศึกษาพบว่า ปัจจัยทางด้านสารอาหารมีส่วนที่สำคัญ  ได้แก่

 

  1.  Folate  มีการศึกษาพบว่าการรับประทานโฟเลตก่อนตัั้งครรภ์และต่อเนื่องถึงช่วงตั้งครรภ์ 3เดือนแรกจะช่วยลดโอกาสการเกิดภาวะหลอดประสาทไม่ปิด หรือความพิการบริเวณไขสันหลังลงได้ อาหารที่มีโฟเลต เช่น คะน้า ตับ นม
  2. ธาตุเหล็ก  เป็นส่วนสำคัญของเอนไซม์ที่อยู่ในขบวนการสร้างสารสื่อประสาท และมีผลต่อการทำงานของสมองลูก ซึ่งมีผลตั้งแต่ลูกอยู่ในครรภ์ คุณแม่จึงควรทานยาบำรุงเลือด ตับ ผักผลไม้
  3. Iodine และฮอร์โมนธัยรอยด์ ช่วยการเจริญของเซลล์ประสาทลูกตั้งแต่ในครรภ์ คุณแม่จึงควรทานยาบำรุงเลือดซึ่งมักมีไอโอดีนเป็นส่วนประกอบในเม็ดยา และทานอาหารทะเล สาหร่าย นม ด้วย
  4. กรดไขมันโอเมก้า 3 ประกอบด้่วย EPA DHA ซึ่งจำเป็นต่อพัฒนาการของสมองส่วนกลางและระบบประสาทและสายตาของลูกในครรภ์ การทานปลาทะเลน้ำลึก เช่น แซลมอน กุ้ง ธัญพืช นม ก็จะได้รับโอเมก้าจากอาหารด้วย
  5. สฟิงโกไมอีลิน สารอาหารสำคัญที่ช่วยในการสร้างไมอีลินในสมอง ซึ่งมีมากในนมและผลิตภัณฑ์จากนม สมองจะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ต้องอาศัยการเชื่อมโยงคำสั่งระหว่างเซลล์ประสาทสมอง และการเพิ่มความเร็วในการส่งสัญญาณนี้ต้องอาศัยการสร้างไมอีลินนี่เอง
  6. แอลฟ่าแลคตัลบูมิน โปรตีนคุณภาพที่พบได้ในนม ให้กรดอะมิโนจำเป็น Tryptophan ช่วยสร้างสารสื่อประสาท ช่วยการทำงานของสมอง นอนหลับ ความจำ และการเรียนรู้ มีส่วนช่วยสร้างเส้นใยประสาทสมอง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในช่วงอายุครรภ์ 24-32 สัปดาห์ ตลอดจนหลังคลอด
  7.  

                ส่วนการจัดสิ่งแวดล้อมช่วยกระตุ้นพัฒนาการของลูกทำได้ 4 ด้าน คือ การมองเห็น ได้ยิน รับความรู้สึก และการเคลื่อนไหว

 

  • การมองเห็น - เมื่ออายุครรภ์ 24 สัปดาห์ขึ้นไป เราสามารถกระตุ้นพัฒนาการและการทำงานของสมองส่วนหน้าของลูกในครรภ์ได้ด้วยการปิดไฟห้อง แล้วใช้ไฟฉายส่องที่หน้าท้องจากซ้ายไปขวา สลับกัน หรือเปิด ปิดไฟฉายเป็นจังหวะ พร้อมกับพูดคุย เช่น แม่จะส่องไปนะลูก ลูกเห็นไหม ให้เริ่มทำขณะลูกดิ้น จะเป็นช่วงที่เกิดการเรียนรู้ได้ดี
  • การได้ยิน - เมื่ออายุครรภ์ 20 สัปดาห์ขึ้นไป สามารถใช้เสียงกระตุ้นพัฒนาการการได้ยินได้ โดยช่วงที่เหมาะที่สุดคือ ช่วงหลังมื้ออาหาร ลูกจะรับรู้ได้ดีที่สุด โดยกระตุ้นด้วยเสียงคุณแม่และเสียงดนตรี เสียงคุณแม่พูดคุย หรือเล่านิทาน นอกจากกระตุ้นพัฒนาการระบบการได้ยินแล้ว ยังทำให้เกิดการคุ้นชินและผูกพันกับเสียงคุณแม่ ส่วนเสียงดนตรี สามารถเริ่มกระตุ้นได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 24 สัปดาห์ พบว่าจะช่วยให้มีพัฒนาการทั้่งด้านร่างกาย อารมณ์ และจิตใจ ให้ลูกมีพัฒนาการทางด้านภาษา การได้ยิน และอารมณ์แจ่มใส
  • การรับความรู้สึก - เริ่มเมื่ออายุครรภ์ 28 สัปดาห์ ให้เริ่มเอามือตบเบาๆ ตรงตำแหน่งก้นที่ลูกดิ้นโก่งต้ว เพื่อให้ลูกรับรู้ว่าแม่รับรู้การกระทำและตอบสนองต่อการดิ้นของลูก เป็นการฝึกไหวพริบ และสร้างการเรียนรู้และตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมของลูก
  • อารมณ์ของแม่ - หากแม่เครียด ร่างกายจะหลั่งสารเคมีซึ่งส่งผลต่อพัฒนาการของลูก ขณะที่คุณแม่ที่มีอารมณ์ดี หรือออกกำลังกาย ผ่อนคลาย ร่างกายจะหลั่งสารแห่งความสุข ซึ่งส่งผ่านรกไปถึงลูก ทำให้ลูกมีพัฒนาการทางสมองและการเรียนรู้ที่ดี

 

Tips

  • คุณหมอจะแนะนำให้คุณแม่ฉีดวัคซีนป้องกันคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก ในช่วงอายุครรภ์ 27-36 สัปดาห์ เนื่องจากหากคุณแม่ติดเชื้อและเป็นคอตีบ ไอกรนขณะตั้งครรภ์ อาจมีอาการเรื้อรัง หรือรุนแรงต่อระบบทางเดินหายใจ ส่งผลอันตรายทั้งต่อตัวคุณแม่และลูกในครรภ์ได้ นอกจากนี้ การฉีดวัคซีนในช่วงไตรมาสที่ 3ให้คุณแม่นั้น ยังสามารถส่งผ่านภูมิคุ้มกันไปถึงลูกในครรภ์ด้วย เนื่องจากช่วง 3-6 เดือนแรกคลอดที่ยังไม่ได้รับวัคซีนคอตีบ ไอกรน หากลูกติดเชื้อ อาจก่อให้เกิดอาการรุนแรง หรืออันตรายถึงชีวิตได้
  • เนื่องจากอายุครรภ์ 7 เดือนนี้ ลูกจะมีน้ำหนักประมาณ 1 กิโลกรัม จึงมากพอที่จะกระตุ้นให้เกิดการหดรัดตัวของมดลูก คุณแม่ที่มีรูปร่างเล็ก หรือมีกิจกรรมมาก จึงมักพบปัญหาการปวดท้อง ท้องแข็ง เจ็บเตือนได้บ่อยครั้ง แนะนำให้คุณแม่ป้องกันตั้งแต่เนิ่นๆ ค่ะ ด้วยการระมัดระวังมากขึ้นเมื่อเข้าสู่ไตรมาสที่ 3 ดังนี้
  • ไม่ควรเดินมาก หรือยกของหนัก
  • ในแต่ละวัน หลังเสร็จสิ้นกิจกรรม ไม่ว่าจะที่ทำงานหรืองานบ้าน ควรนอนพัก และนอนตะแคงซ้าย เพื่อเพิ่มเลือดไหลกลับสู่หัวใจ และเพิ่มการไปเลี้ยงกล้ามเนื้อมดลูก ส่งผลทำให้มดลูกคลายตัว ป้องกันการคลอดก่อนกำหนดได้
  • หากพบมีการแข็งตัวของมดลูก คุณแม่จะมีอาการปวดท้องคล้ายกับจะถ่ายอุจจาระ หรือคล้ายจะมีประจำเดือน หรือคล้ายปวดประจำเดือน ร่วมกับมียอดมดลูกแข็งปั้นเป็นก้อน ซึ่งหากเป็นการเจ็บเตือน จะเกิดอาการวันละ 2-3 ครั้ง ห่างๆ กันไม่สม่ำเสมอ มีอาการครั้งละไม่นาน เมื่อนอนพักก็จะหายไป แต่หากมีอาการเจ็บนาน และเป็นจังหวะสม่ำเสมอ ทุก 10 นาที หรือถี่กว่านั้น ควรรีบมาพบแพทย์

 


บทความอื่นๆ ที่สนใจ 

พัฒนาการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 27

พัฒนาการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 29

 

อ้างอิง

บทความโดยแพทย์หญิง ธิศรา  วีรสมัย
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้าน สูตินรีเวช เวชศาสตร์ครอบครัว 
และเวชศาสตร์ชะลอวัย โรงพยาบาลพญาไท 1

บทความแนะนำ

หลังผ่าคลอดกินอะไรได้บ้าง  แม่หลังคลอดทานอะไรให้แผลหายเร็ว

หลังผ่าคลอดกินอะไรได้บ้าง แม่หลังคลอดทานอะไรให้แผลหายเร็ว

หลังผ่าคลอดกินอะไรได้บ้าง  คำถามหลังผ่าคลอดที่คุณแม่มือใหม่มักกังวลใจ หลังผ่าคลอดกินอะไรได้บ้าง  เมนูอาหารแบบไหนที่คุณแม่ผ่าคลอดกินได้ และควรหลีกเลี่ยงหลังผ่าคลอด

12 เมนูคนท้อง อาหารคนท้องบำรุงคุณแม่ท้อง ดีต่อลูกในครรภ์

12 เมนูอาหารคนท้องบำรุงคุณแม่ อาหารคนท้อง ดีต่อลูกในครรภ์

รวมเมนูคนท้อง อาหารคนท้อง ช่วยบำรุงครรภ์คุณแม่ให้แข็งแรงและสมบูรณ์ เพื่อให้ลูกน้อยในครรภ์ได้รับโภชนาการที่ดีและครบถ้วน ไปดูเมนูคนท้องและอาหารคนท้องที่ดีกับลูกกัน

วันตกไข่ คืออะไร คุณแม่นับวันตกไข่อย่างไรให้แม่นยำ ไม่มีพลาด

วันตกไข่ คืออะไร คุณแม่นับวันตกไข่อย่างไรให้แม่นยำ ไม่มีพลาด

วันตกไข่ คืออะไร อาการแบบไหนที่บอกว่าคุณแม่อยู่ในช่วงวันตกไข่ พร้อมวิธีนับวันตกไข่ให้แม่นยำสำหรับคุณแม่มือใหม่ ช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ ให้คุณแม่ที่อยากมีลูก

6 วิธีนับอายุครรภ์ คำนวณอายุครรภ์ด้วยตัวเอง ก่อนคลอด

6 วิธีนับอายุครรภ์ คำนวณอายุครรภ์ด้วยตัวเอง ก่อนคลอด

วิธีการนับอายุครรภ์คืออะไร ทำไมคุณแม่ต้องรู้และวิธีคำนวณอายุครรภ์ที่ถูกต้อง นับแบบไหนได้บ้าง เพื่อให้คุณแม่วางแผนการคลอดและติดตามพัฒนาการของลูกในครรภ์ได้อย่างแม่นยำ

แผลฝีเย็บหลังคลอด คุณแม่ดูแลอย่างไรให้ปลอยภัย ฝีเย็บหายไว ไม่ติดเชื้อ

แผลฝีเย็บหลังคลอด คุณแม่ดูแลอย่างไรให้ปลอดภัย ฝีเย็บหายไว ไม่ติดเชื้อ

รู้จักกับแผลฝีเย็บ คุณแม่หลังคลอด ดูแลแผลฝีเย็บอย่างไรให้หายไว ปลอดภัยและไม่ติดเชื้อ พร้อมวิธีดูแลแผลฝีเย็บให้แห้งเร็ว ลดความเสี่ยงการติดเชื้อ สำหรับคุณแม่มือใหม่

ผ่าคลอดดีไหม ผ่าคลอดเจ็บไหม ดูแลแผลผ่าคลอดอย่างไร

ผ่าคลอดดีไหม ผ่าคลอดเจ็บไหม ดูแลแผลผ่าคลอดอย่างไร

ไขข้อสงสัยเกี่ยวกับการ ผ่าคลอด พร้อมคำแนะนำต่างๆ เพื่อเตรียมพร้อมให้คุณแม่มั่นใจเมื่อผ่าคลอด

แม่ท้องพร้อม เข้าใจอาการคนท้อง

แม่ท้องพร้อม! วิธีดูแลครรภ์ จัดการกับความกังวล เข้าใจอาการคนท้อง

เคล็ดลับการดูแลครรภ์ วิธีจัดการกับความกังวล รวมไปถึงการรับมือกับอาการคนท้อง