อาหารบํารุงครรภ์ไตรมาส 2 โภชนาการสำคัญสำหรับคุณแม่และลูกน้อย

อาหารบํารุงครรภ์ไตรมาส 2 โภชนาการสำคัญสำหรับคุณแม่และลูกน้อย

08.06.2020

เมื่อเข้าสู่ไตรมาสที่ 2 หรือ ช่วงอายุครรภ์ 4-6 เดือน ในช่วงนี้อาการแพ้ท้อง ของคุณแม่จะลดลงมากแล้ว ซึ่งโภชนาการของคุณแม่ตั้งครรภ์ในไตรมาสที่ 2 ก็ยังคงเป็นเรื่องสำคัญมาก ไม่ต่างจากไตรมาสแรก เพราะเป็นช่วงที่ลูกในครรภ์กำลังสร้างเนื้อเยื่ออวัยวะที่สำคัญต่าง ๆ รวมทั้งโครงสร้างของร่างกาย  และมีการพัฒนาการของสมองและระบบประสาท ดังนั้นคุณแม่ควรได้รับสารอาหารที่เพียงพอ

 

headphones

PLAYING: อาหารบํารุงครรภ์ไตรมาส 2 โภชนาการสำคัญสำหรับคุณแม่และลูกน้อย

อ่าน 4 นาที

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

โภชนาการแม่ตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์ ไตรมาส 2

อาหารที่สำคัญและเหมาะสมแก่คุณแม่ตั้งครรภ์ ช่วง 4-6 เดือนนี้ สำคัญที่สุดคือคุณแม่ควรกินให้หลากหลาย ครบถ้วน 5 หมู่ โดยในช่วงนี้ความต้องการพลังงานและโปรตีนจะมากขึ้น คุณแม่ควรรับประทานอาหารให้มากขึ้นให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายและลูกในครรภ์ และหลีกเลี่ยงขนมหวาน อาหารที่ไม่ผ่านการปรุงสุก อาหารรสจัด ของหมักดอง ชากาแฟ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ งดสูบบุหรี่ และควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทานยาทุกชนิด

 

อาหารบํารุงครรภ์ไตรมาส 2 โภชนาการแม่ตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์

 

กลุ่มอาหารสำคัญสำหรับแม่ท้อง ไตรมาสที่ 2

  • โฟเลต หรือที่รู้จักกันในชื่อ กรดโฟลิก สารอาหารที่สำคัญต่อการสังเคราะห์ดีเอนเอของเซลล์เพื่อสร้างอวัยวะต่าง ๆ ของทารกในครรภ์ การบริโภคโฟเลตอย่างเพียงพอเหมาะสมจะลดความเสี่ยงในการเกิดอาการผิดปกติต่าง ๆ ของทารกในครรภ์ โฟเลตสามารถพบได้มากในผักใบเขียว ตับ ธัญพืช เป็นต้น
  • ธาตุเหล็ก จำเป็นสำหรับการสร้างเม็ดเลือดที่เพิ่มจำนวนอย่างมากในช่วงตั้งครรภ์ เพื่อให้เพียงพอต่อการนำสารอาหารและออกซิเจนไปเลี้ยงทารกที่อาศัยอยู่ในครรภ์มารดา พบได้มากในเนื้อสัตว์ ตับ ไข่ และผักใบเขียว
  • โปรตีน สารอาหารสำคัญในการเสริมสร้างอวัยวะและกล้ามเนื้อของทารก คุณแม่จึงควรรับประทานโปรตีนให้เพียงพอ โดยแหล่งของโปรตีนที่ดีได้แก่ เนื้อปลา เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน เต้าหู้ ไข่ ถั่วต่าง ๆ เสริมด้วยนมวัววันละ 2 แก้ว เพื่อให้ได้ปริมาณของโปรตีนที่เพียงพอต่อร่างกาย
  • แคลเซียม สารอาหารที่เป็นส่วนสำคัญในการสร้างกระดูกและฟันของทารก และยังมีส่วนช่วยให้กล้ามเนื้อ เส้นประสาท และระบบไหลเวียนโลหิต ทำงานได้อย่างราบรื่น แหล่งของแคลเซียมได้แก่ ผลิตภัณฑ์จากนม, ไข่, เต้าหู้, ถั่ว, ผักใบเขียว 
  • น้ำสะอาด เพื่อช่วยสร้างน้ำในเซลล์ของทารก คุณแม่ควรดื่มน้ำสะอาดวันละ 6-8 แก้ว นอกจากนี้ น้ำยังช่วยขับของเสียในร่างกาย ช่วยป้องกันท้องผูก เพิ่มปริมาณน้ำในเลือด ช่วยให้ผิวชุ่มชื้น 
  • ไอโอดีน มีมากในอาหารทะเล เกลือเสริมไอโอดีน หากแม่ตั้งครรภ์ขาดไอโอดีน อาจส่งผลต่อพัฒนาการสมองของทารกในครรภ์ ทารกอาจเกิดมาเป็นโรคเอ๋อ หูหนวก เป็นใบ้ การทำงานของกล้ามเนื้อไม่ประสานกัน

 

สิ่งที่คุณแม่ควรทำในไตรมาสที่ 2 นอกจากการบริโภคอาหารให้ถูกต้องได้รับโภชนาการที่เหมาะสมแล้ว คุณแม่ควรออกกำลังกายเบา ๆ แบบไม่หักโหม เพราะจะช่วยให้ร่างกายแข็งแรง ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดี ปรับท่านอนคนท้องให้ถูกต้อง  นอนตะคงซ้าย ขวา หรือหงายสลับกัน เพื่อบรรเทาอาการปวดหลังและลดอาการบวมของขาจากกิจกรรมในระหว่างวันและควรพบแพทย์เมื่อมีอาการสำคัญที่น่าเป็นห่วงได้แก่ มีเลือดออกทางช่องคลอด  ซึ่งอาจเกิดจากรกเกาะต่ำ, ปวดท้องเป็นพัก ๆ  ซึ่งอาจเกิดภาวะคลอดก่อนกำหนด, ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ จากอาการปัสสาวะบ่อย รวมถึงอาการตกขาวผิดปกติ เช่นสีเปลี่ยนไป หรือมีกลิ่น

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ให้นม

 

อ้างอิง:

  1. การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์บนอุปกรณ์สื่อสารชนิดพกพา ส าหรับส่งเสริมสุขภาพสตรีตั้งครรภ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
  2. โภชนาการหญิงตั้งครรภ์, โรงพยาบาลศิริราช
  3. แนะอาหารหญิงท้องเตรียมพร้อมตั้งแต่ตั้งครรภ์, thaihealth
  4. เพราะแม่ต้องการที่ ที่ดี ที่สุด, คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  5. คำแนะนำสำหรับ คุณแม่ตั้งครรภ์ในไตรมาสที่ 1-3, โรงพยาบาลพญาไท
  6. โภชนาการแม่ท้องต้องรู้, โรงพยาบาลกรุงเทพ

บทความแนะนำ

คุณแม่ปวดท้องข้างขวา บอกอะไรบ้าง ปวดท้องแบบไหนต้องไปหาหมอ

คุณแม่ปวดท้องข้างขวา บอกอะไรบ้าง ปวดท้องแบบไหนต้องไปหาหมอ

ว่าที่คุณแม่ปวดท้องข้างขวา มีอาการปวดท้องน้อยหน่วง ๆ เกิดจากอะไร อาการแบบนี้เกิดกับคุณแม่ท้องทุกคนหรือไม่ คุณแม่มีอาการปวดท้องข้างขวา ควรดูแลตัวเองยังไง ไปดูกัน

คนท้องกินยาพาราได้ไหม ทำไมก่อนกินยาคนท้องต้องปรึกษาหมอทุกครั้ง

คนท้องกินยาพาราได้ไหม ทำไมก่อนกินยาคนท้องต้องปรึกษาหมอทุกครั้ง

คุณแม่ตั้งครรภ์มีอาการปวดหัว ปวดตัวและปวดหลังขณะตั้งครรภ์ อาการแบบนี้คนท้องกินยาพาราได้ไหม ทำไมก่อนกินยาแต่ละครั้งคนท้องต้องปรึกษาหมอทุกครั้งก่อนรับประทานยา

คุณแม่ปวดท้องข้างซ้าย บอกอะไรได้บ้าง ปวดท้องแบบไหนต้องไปหาหมอ

คุณแม่ปวดท้องข้างซ้าย บอกอะไรได้บ้าง ปวดท้องแบบไหนต้องไปหาหมอ

คุณแม่ปวดท้องข้างซ้าย มีอาการปวดท้องน้อยด้านซ้าย อาการแบบนี้เกิดกับคุณแม่ท้องทุกคนหรือไม่ คุณแม่มีอาการปวดท้องข้างซ้าย ควรดูแลตัวเองยังไง ไปดูกัน

พาหะธาลัสซีเมีย อันตรายไหม ทำไมควรตรวจธาลัสซีเมียก่อนแต่งงาน

พาหะธาลัสซีเมีย อันตรายไหม ทำไมควรตรวจธาลัสซีเมียก่อนแต่งงาน

พาหะธาลัสซีเมีย คืออะไร โรคธาลัสซีเมีย อันตรายไหม ทำไมควรตรวจหาธาลัสซีเมียก่อนแต่งงานและก่อนวางแผนตั้งครรภ์ ไปดูอาการโรคธาลัสซีเมียและวิธีการตรวจเบื้องต้น

คนท้องกินกาแฟได้ไหม ตั้งครรภ์แต่ติดกาแฟอันตรายหรือไม่ ทำอย่างไรดี

คนท้องกินกาแฟได้ไหม ท้องอยู่แต่ติดกาแฟอันตรายกับลูกหรือเปล่า

คนท้องกินกาแฟได้ไหม คุณแม่ท้องติดกาแฟมาก กินกาแฟช่วงตั้งครรภ์ได้ไหม จะเป็นอันตรายกับลูกในครรภ์หรือเปล่า ควรกินเท่าไหร่ถึงไม่อันตรายกับลูกน้อย

เช็กน้ำหนักทารกในครรภ์ ลูกน้ำหนักตัวเท่าไหร่ คุณแม่ควรรู้อะไรบ้าง

ตารางน้ำหนักทารกในครรภ์ น้ำหนักลูกในครรภ์ที่แม่ควรรู้

ตารางน้ำหนักทารกในครรภ์ น้ำหนักลูกในครรภ์ เรื่องสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่ต้องรู้ เพราะน้ำหนักทารกในครรภ์ ช่วยบอกถึงพัฒนาการตามวัยของลูกน้อยในท้องได้

ปากมดลูกเปิดมีอาการยังไง กระตุ้นปากมดลูกนานแค่ไหน กว่าจะคลอด

กระตุ้นปากมดลูก ปากมดลูกเปิดมีอาการยังไง นานแค่ไหนกว่าจะคลอด

เมื่อคุณแม่ใกล้คลอด ปากมดลูกจะเริ่มเปิดมากขึ้น อาการปากมดลูกเปิดเป็นยังไง คุณแม่ใกล้คลอดต้องกระตุ้นปากมดลูกไหม พร้อมอาการใกล้คลอดที่คุณแม่ควรรู้