คำแรกทั้งทีต้องมีสฟิงโกไมอีลิน

คำแรกทั้งทีต้องมีสฟิงโกไมอีลิน

เมื่อลููกก้าวเข้าสู่วัย 6 เดือน ถึงเวลาแล้วค่ะที่ต้องเริ่มให้ลูกได้ลองทานอาหารเสริมเพื่อเสริมสารอาหารบางอย่างเช่นธาตุเหล็ก หรือสารอาหารตัวอื่นเสริม ฝึกการกลืน เสริมสร้างความแข็งแรงของร่างกายลูกและสมอง นอกจากนมแม่ คุณแม่หลายคนอาจจะลังเลว่า ควรป้อนอะไรให้ลูกดีเป็นมื้อแรก เรามีเมนูมานำเสนอค่ะ  

headphones
อ่าน 7 นาที

อาหารมื้อแรกของลูกน้อยเริ่มเมื่อไหร่ดี

คำแรกทั้งทีต้องมีสฟิงโกไมอีลิน 

 

ทำไมมื้อแรกของลูกต้องหลัง 6 เดือน


ช่วง 6 เดือนแรก ทารกจะได้รับสารอาหารพอเพียงจากนมแม่ หลังจากนั้นทารกจำเป็นต้องได้รับพลังงาน และสารอาหารบางชนิดเพิ่มเติมจากอาหารตามวัยสำหรับทารก เช่น โปรตีน เหล็กแคลเซียม สังกะสี ไอโอดีน วิตามินเอ เป็นต้น เพื่อให้การเจริญเติบโตตามปกติ 
คำแนะนำสำหรับมื้อแรกของลูกน้อย        

                                               

  1. เริ่มให้อาหารทีละน้อยในระยะแรก เพื่อให้ทารกฝึกการใช้ลิ้น ริมฝีปากและการกลืน
  2. เริ่มให้ทีละอย่าง และเว้นระยะ 1-2 สัปดาห์ ก่อนเริ่มให้อาหารชนิดใหม่ เพื่อสังเกตอาการแพ้
  3. จัดอาหารให้หลากหลายชนิด เพื่อสร้างความคุ้นเคย
  4. จัดชนิดอาหารให้เหมาะสมตามวัย เนื่องจากระบบการย่อยและการดูดซึมยังไม่สมบูรณ์
  5. เนื้อสัมผัสของอาหาร  จัดให้เหมาะกับการพัฒนาการของเด็กทารกเริ่มจากอาหารเหลว กึ่งเหลว  กึ่งแข็ง อ่อนนิ่มและหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ
  6. ไม่ปรุงอาหารรสจัด เช่น หวาน เค็ม เปรี้ยว เผ็ด
  7. เน้นความสะอาดของวัตถุดิบและภาชนะใส่อาหาร

 

 

มื้อแรกของลูกให้ทานแค่ไหนถึงจะพอดี 


สำหรับคุณแม่ที่กำลังเตรียมป้อนอาหารมื้อแรกให้กับลูก อาจมีคำถามว่าจะต้องให้ทานปริมาณเท่าไหร่ถึงจะพอเหมาะพอดี คุณแม่ลองศึกษาจากตารางความจุของกระเพาะอาหารของลูกวัย 6 – 23 เดือนค่ะ เพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดปริมาณอาหารที่คุณแม่ควรป้อนลูกในแต่ละมื้อ 

 

คำแรกของลูก


 

คำแรกทั้งทีต้องมีสฟิงโกไมอีลิน

 

อย่างไรก็ตามค่ะปริมาณอาหารที่ลูกควรได้รับนั้น จะถูกคำนวณจากเด็กที่ได้รับนมแม่ปริมาณปานกลางค่ะ ดังนั้นหากลูกของคุณแม่ได้รับนมแม่ปริมาณน้อยหรือมากกว่าค่าเฉลี่ย ปริมาณอาหารที่ควรได้รับก็จะเปลี่ยนแปลงไปคุณแม่ควรจะสังเกตลูกและป้อนอาหารให้เหมาะสมกับความอิ่มหรือความหิวของลูก สำหรับจำนวนมื้อตามอาหารของวัย ขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของพลังงานและปริมาณอาหารที่ลูกได้รับในแต่ละมื้อ โดยเฉลี่ยทารกที่กินนมแม่ 

 

  • ควรได้รับอาหาร 1-2 มื้อเมื่อมีอายุ 6-8 เดือน 
  • และเพิ่มจำนวนขึ้นเป็น 2-3 มื้อเมื่อมีอายุ 9-11 เดือน
  • และ 3 มื้อเมื่อทารกอายุ 12 เดือนขึ้นไป 
  • ถ้าลูกได้รับอาหารตามวัยที่มีความเข้มข้นของพลังงานต่ำ ลูกทานอาหารแต่ละมื้อได้ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย คุณแม่ควรเพิ่มจำนวนมื้ออาหารให้ลูกค่ะ
     

คำแรกทั้งทีต้องมีสฟิงโกไมอีลิน 


นมแม่มีความสำคัญ และจำเป็นสำหรับลูกน้อย โดย เฉพาะใน 6 เดือนแรก นอกจากประโยชน์ต่อทางร่างกายแล้ว นมแม่ มีสารอาหารมากมาย และมีอาหารหลากหลายที่ช่วยเรื่องความฉลาด สฟิงโกไมอีลินก็เป็นหนึ่งในสารอาหารที่มีส่วนช่วยในการสร้างเจ้าตัวไมอีลินค่ะ “สฟิงโกไมอีลิน” คือหนึ่งในสารอาหารช่วยสร้างไมอีลิน และไมอีลินก็ช่วยให้สมองส่งข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากจะพบในน้ำนมแม่แล้ว “สฟิงโกไมอีลิน” ยังพบได้ใน ไข่ นม ชีสและผลิตภัณฑ์นมค่ะ  ไปดูกันค่ะว่า คำแรกแบบไหนลูกถึงจะได้รับสฟิงโกไมอีลิน คำแรกแบบไหนที่ลูกยังได้รับสารอาหารเหมือนในนมแม่ 

 

3 เมนูไข่ที่มี “สฟิงโกไมอีลิน”

 

สารอาหารจากไข่แดง 


กินไข่ช่วยพัฒนาสมองลูกได้ ไข่แดงมีสารอาหารสำคัญในการพัฒนาสมองค่ะ เช่น ธาตุเหล็ก ดีเอชเอ  สฟิงโกไมอีลิน เป็นต้น เพราะฉะนั้นหากคุณแม่อยากให้ลูกฉลาดสมองไว มาเริ่มเมนูแรกสำหรับลูก ด้วยเมนูไข่กันไหมเอ่ย หากนึกไม่ออกว่าจะเริ่มยังไง ไปดูเมนู  3 เมนูที่เราคัดมาให้กันได้เลย 


•    ข้าวบดวิตามินรวม : เมนูนี้สำหรับเด็กวัย 6 เดือน

 

ส่วนผสม 

 

  • กล้วยน้ำว้าสุกงอมเฉพาะเนื้อครูด ½ ผล
  • ข้าวสวยหุงนุ่มบดละเอียด 1 ช้อนโต๊ะ
  • ไข่แดงต้มสุกบดละเอียด 1 ฟอง
  • ผักตำลึงต้มสุกบดละเอียด 1 ช้อนโต๊ะ
  • น้ำซุปผัก ½ ถ้วยตวง
  • เกลือป่น 1/8 ช้อนชา
 ข้าวบดวิตามินรวม


วิธีทำ : นำส่วนผสมทั้งหมดที่สุกแล้วผสมรวมกัน ตั้งไฟพอเดือดยกลง รอให้หายร้อน ถ้าคุณแม่บดไม่ละเอียดเมื่อพักไว้ให้เย็นนำไปปั่นให้ละเอียดอีกครั้ง ข้อแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้าวบดวิตามินรวม
Tips : อาหารเมนูนี้รสชาติค่อนข้างกลมกล่อมลงตัวได้ความหวานจากต้มน้ำซุปผักให้หอมหวาน และถ้าต้องการให้หวานเพิ่มสามารถปรุงให้หวานได้ด้วยการใช้หอมหัวใหญ่ต้มสุกและเพิ่มก้านขึ้นฉ่าย อาจใช้มันฝรั่งบดแทนได้ ให้คุณค่าทางโภชนการใกล้เคียงกัน


•    ซุปข้าวกล้องงอกไข่แดง  : เมนูนี้สำหรับเด็กวัย 6 – 8  เดือน


ส่วนผสม

 

  • ข้าวกล้องงอกสุก 1/4 ถ้วย
  • ผักกาดขาวหั่นฝอย ¼ ถ้วย
  • ไข่แดง 1 ถ้วย
  • น้ำซุปไก่ 2 ถ้วย
 ข้าวบดวิตามินรวม


วิธีทำ  : ต้มข้าวกล้องงอกสุก ผักกาดขาว และน้ำซุปจนผักสุก ใส่ไข่แดงคนให้สุก เทใส่โถปั่นจนละเอียด


Tips

  • ผักกาดขาวเป็นผักมีรสหวานทำให้ซุปมีรสหวานธรรมชาติ
  • เมื่อลูกน้อยคุ้นกับไข่แดง คุณแม่สามารถเพิ่มโปรตีนจากเนื้อสัตว์อื่นทีละอย่าง เพื่อสังเกตเรื่องการแพ้และการย่อยได้ค่ะ 

 

  • ข้าวกล้องงอกตุ๋นไข่แดง เมนูนี้สำหรับเด็กวัย 6 – 8  เดือน


ส่วนผสม

 

  • ข้าวกล้องงอกหุงสุก ¼ ถ้วย
  • ไข่แดง 1 ฟอง
  • บร็อกโคลีสับ 1 ช้อนโต๊ะ
  • หอมใหญ่สับ 1 ช้อนโต๊ะ
  • แครอตสับ 1 ช้อนโต๊ะ
  • แอบเปิ้ลสับ 1 ช้อนโต๊ะ
  • น้ำซุปไก่ 2 ถ้วย
  • เนย 1 ช้อนชา
 ข้าวบดวิตามินรวม


วิธีทำ :  ผัดหอมใหญ่กับเนยด้วยไฟอ่อนจนสุกเหลือง ใส่แครอตบรอกโคลี แอบเปิ้ล และน้ำซุปไก่1/2 ถ้วย ผัดพอสุกใส่ข้าวกล้องงอกสุกและน้ำซุปที่เหลือ ตุ๋นไฟอ่อนจนข้าวสุกเปื่อย จึงใส่ไข่แดงลงกวนจนไข่แดงสุก


Tips 

  • ข้าวกล้องงอกที่หุงสุกใช้ส้อมยีบดข้าวให้แหลก เมื่อใส่ลงตุ๋นกับแครอต และบร็อกโคลีช่วยลดเวลาในการตุ๋
  • คุณแม่สามารถเติมอกไก่บดหรือตับไก่บด 1 ช้อนโต๊ะ เพื่อเพิ่มโปรตีน

 


บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ 

สฟิงโกไมอีลินสารอาหารสำคัญต่อสมองลูกน้อย 

กิจกรรมสร้างสมองลูกวัย 7 เดือนถึง 1 ปี 

2’FLในนมแม่ช่วยให้ลูกสมองดีจริงมั๊ย?

บทความแนะนำ

น้ำนมเหลือง ที่มีสฟิงโกไมอีลิน สารอาหารสำคัญ ช่วยพัฒนาสมองจากแม่สู่ลูก

น้ำนมเหลือง ที่มีสฟิงโกไมอีลิน สารอาหารสำคัญ ช่วยพัฒนาสมองจากแม่สู่ลูก

น้ำนมเหลืองหรือน้ำนมสีเหลือง คืออะไร ทำความรู้จักสีของน้ำนมแม่ พร้อมสารอาหารสำคัญจากน้ำนมเหลืองที่มีสฟิงโกไมอีลิน ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันและพัฒนาสมองจากแม่สู่ลูกน้อย

เทคนิคเลี้ยงลูกด้วย นมแม่

เทคนิคเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ สุดยอดสารอาหารจากแม่สู่ลูก

เคล็ดลับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มาฝาก เพื่อให้ลูกน้อยเติบโตด้วยน้ำนมแม่อย่างมีคุณภาพ

เคล็ดลับวิธีเพิ่มน้ำนมแม่เมื่อน้ำนมแม่ไม่พอ

เคล็ดลับวิธีเพิ่มน้ำนมแม่ น้ำนมไม่พอต้องอ่าน

มีเหตุผลหลายๆอย่างที่ส่งผลให้ปริมาณน้ำนมน้อย น้ำนมแม่ไม่พอ ในช่วงให้นมลูกค่ะ เช่น เริ่มให้นมแม่กับลูกน้อยช้าเกินไป, การให้นมลูกน้อยไม่สม่ำเสมอ การเสริมนมอื่นขณะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

วิธีละลายนมแม่ ด้วยวิธีที่ถูกต้อง เมื่อลูกกินนมสต๊อก

วิธีละลายนมแม่ ด้วยวิธีที่ถูกต้อง เมื่อลูกกินนมสต๊อก

วิธีละลายนมแม่ ด้วยวิธีที่ถูกต้อง เมื่อลูกกินนมสต๊อก เพราะนมแม่คือวัคซีนสำหรับลูก คุณแม่มือใหม่ควรใช้วิธีละลายนมแม่อย่างไรไม่ให้น้ำนมเสียคุณค่าทางสารอาหาร ไปดูกัน

อาการทารกหิวนม สัญญาณจากลูกน้อย ที่คุณแม่สังเกตเองได้

อาการทารกหิวนม สัญญาณจากลูกน้อย ที่คุณแม่สังเกตเองได้

อาการทารกหิวนม หนึ่งในอาการที่คุณแม่สังเกตได้ด้วยตัวเอง เมื่อลูกน้อยเริ่มร้องไห้และมีอาการหิวนมหรืออิ่มนม ไปดูสัญญาณที่บอกว่าเด็กมีอาการทารกหิวนม ที่คุณแม่ควรรู้

จากนมแม่ส่งตรงสู่สมองลูก “ปั๊มนมอย่างไรให้ได้สารอาหารครบ”

ปั๊มนมอย่างไรให้ได้สารอาหารครบ

ช่วงหกเดือนแรก น้ำนมของแม่สำคัญกับลูกน้อยอย่างมาก นอกจากมีประโยชน์ด้านร่างกาย ยังส่งผลต่อความฉลาดอีกด้วย น้ำนมแม่คือแหล่งของสารอาหารสำคัญ มากมาย ครบถ้วน รวมทั้ง สฟิงโกไมอีลิน หนึ่งในไขมันฟอสโฟไลปิด ซึ่งเป็นหนึ่งในสารอาหารสำคัญการสร้างไมอีลินในสมอง ไมอีลิน ช่วยให้การส่งสัญญาณประสาทได้ไว ส่งผลดีต่อ การพัฒนาสติปัญญาในเด็ก

15 เรื่องชวนสงสัย ที่แม่ให้นมอยากรู้

15 เรื่องชวนสงสัย ที่แม่ให้นมอยากรู้

นมแม่ ประกอบด้วยสารอาหารสำคัญมากมายที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย ช่วยให้เด็ก ๆ มีพัฒนาการที่ดี มีสมองที่เรียนรู้ไว จดจำแม่นยำ และประมวลผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงเป็นการเสริมภูมิคุ้มกันร่างกายให้กับทารกแรกเกิดซึ่งยังมีภูมิคุ้มกันไม่สมบูรณ์นัก คุณแม่ให้นมจึงพยายามดูแลร่างกายและกินอาหารที่ดีที่สุด เพื่อให้ลูกได้รับสิ่งที่ดีที่สุดผ่านน้ำนมแม่ เราจึงรวบรวมเรื่องชวนสงสัยที่แม่ให้นมอยากรู้ มาฝากดังนี้