เช็คพัฒนาการการเรียนรู้ ทารกวัย 7 - 9 เดือน

เช็กพัฒนาการการเรียนรู้ ทารกวัย 7-9 เดือน

 

ลูกรักในวัย 7 เดือนขึ้นไป มีพัฒนาการและการเรียนรู้ที่ก้าวหน้าขึ้นกว่าเดิมในหลากหลายด้าน มาเช็กกัน ดีกว่าว่า พัฒนาการของลูกรักในช่วงวัยนี้มีอะไรบ้าง ลูกควรทำอะไรได้บ้างแล้ว และคุณพ่อคุณแม่สามารถ กระตุ้นเพื่อเสริมสร้างพัฒนาการที่ดีให้แก่ลูกอย่างไรได้บ้าง

 

พัฒนาการทารกวัย 7-8 เดือน

พัฒนาการทารกวัย 7-8 เดือน

พัฒนาการตามเกณฑ์

  • พัฒนาการการเคลื่อนไหว: ตั้งศีรษะตรงและนิ่ง และใช้แขนยันตัวพ้นพื้นได้ในเวลาสั้นๆ
  • การใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กและสติปัญญา: มองตามสิ่งของที่เคลื่อนผ่านกลางลำตัวได้ในมุม 180 องศาได้
  • การเข้าใจภาษา: ตอบสนองด้วยการมอง หรือส่งเสียงตอบเมื่อถูกเรียกได้
  • การใช้ภาษา: ส่งเสียงในลำคอเพื่อแสดงความต้องการได้
  • การช่วยเหลือตัวเองและผู้อื่น: ยิ้มทักคนใกล้ชิดทันทีที่เห็นหน้า


พัฒนาการอาจล่าช้า

  • การเคลื่อนไหว: นั่งได้ไม่มั่นคง และยังเอี้ยวตัวใช้มือเล่นไม่ได้
  • การใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กและสติปัญญา: ตาไม่จ้องไปที่หนังสือเมื่อผู้ใหญ่นำมาให้ดู
  • การเข้าใจภาษา: ไม่หันตามเสียงเรียกชื่อ
  • การใช้ภาษา: เลียนแบบเสียงพูดคุยไม่เป็น
  • การช่วยเหลือตัวเองและผู้อื่น: เล่นจ๊ะเอ๋ไม่เป็น

แนะนำให้ปรึกษาบุคคลากรทางการแพทย์ หากคุณแม่สงสัยเรื่องพัฒนาการของลูก


วิธีกระตุ้นพัฒนาการทารกวัย 7 - 8 เดือน

  1. ให้ลูกนั่งเล่นของเล่นที่วางบนโต๊ะเตี้ย โดยมีผู้ใหญ่ระวังด้านหลัง
  2. เล่นจ๊ะเอ๋กับลูกบ่อย ๆ
  3. เรียกชื่อลูกและพูดคุยกับลูกเสมอ
     
พัฒนาการทารกวัย 9 เดือน

พัฒนาการทารกวัย 9 เดือน


พัฒนาการตามเกณฑ์

  • การเคลื่อนไหว: ลุกขึ้นนั่งได้จากท่านอน ยืนอยู่ได้โดยใช้มือเกาะเครื่องเรือนสูงระดับอก
  • การใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กและสติปัญญา: ใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วอื่น ๆ หยิบสิ่งของจากพื้น
  • การเข้าใจภาษา: ทำตามคำสั่งง่าย ๆ เมื่อใช้ท่าทางประกอบ
  • การใช้ภาษา: รู้จักปฏิเสธด้วยการแสดงท่าทาง เลียนเสียงคำพูดที่คุ้นเคยได้อย่างน้อย 1 คำ
  • การช่วยเหลือตัวเองและผู้อื่น: ใช้นิ้วหยิบอาหารกินเองได้


พัฒนาการอาจล่าช้า

  • การเคลื่อนไหว: ไม่สามารถลุกขึ้นนั่งด้วยตัวเองจากท่านอนได้
  • การใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กและสติปัญญา: ยังใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วอื่นๆหยิบสิ่งของไม่ได้
  • การใช้ภาษา: ไม่รู้จักปฏิเสธด้วยการแสดงท่าทาง
  • การช่วยเหลือตัวเองและผู้อื่น: ใช้นิ้วมือหยิบอาหารกินเองไม่เป็น

แนะนำให้ปรึกษาบุคคลากรทางการแพทย์ หากคุณแม่สงสัยเรื่องพัฒนาการของลูก

 

วิธีกระตุ้นพัฒนาการทารกวัย 9 เดือน

  1. ร้องเพลง อ่านนิทานให้เด็กฟัง
  2. สอนให้เด็กเปล่งเสียงเพื่อบอกความต้องการ
  3. ออกคำสั่งง่าย ๆ ให้เด็กทำตาม
  4. หัดให้ดื่มน้ำจากแก้ว หยิบขนมรับประทานด้วยตัวเอง

เนื่องจากลูกในวัย 7 - 9 เดือนนั้น มีพัฒนาการในเรื่องการรับประทานอาหารที่หลากหลายมากขึ้น และมีการเคลื่อนไหว ขยับตัวที่แข็งแรงกว่าเดิม รวมถึงการหยิบจับสิ่งของต่าง ๆ คุณพ่อคุณแม่ควรใส่ใจในเรื่องสุขอนามัยและความสะอาดของสิ่งต่าง ๆ ที่ลูกจะหยิบเข้าปาก รวมถึงคอยระวัง เรื่องอันตราย เตรียมพื้นที่ให้ลูกได้หัดคลาน ลุกยืน นั่ง อย่างปลอดภัย และกระตุ้นพัฒนาการต่าง ๆ ด้วยวิธีที่เราได้แนะนำในข้างต้น เพราะ #ทุกการเรียนรู้ที่ยิ่งใหญ่เริ่มได้ใน1000วันแรกของชีวิต


บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ