พัฒนาการเด็ก 6 ขวบ พร้อมวิธีส่งเสริมพัฒนาการลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก 6 ขวบ พร้อมวิธีส่งเสริมพัฒนาการลูกน้อย

08.03.2024

ในช่วงวัย 6 ขวบ เป็นช่วงเวลาที่ลูกของเราจะต้องเตรียมความพร้อมเข้าสู่วัยเรียน เป็นช่วงเวลาของการเรียนรู้สิ่งใหม่ พัฒนาความคิด อารมณ์ และร่างกายอย่างรวดเร็ว รวมไปถึงการเรียนรู้ทักษะการใช้ชีวิต การเลี้ยงดูอย่างเอาใจใส่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม จะช่วยเสริมสร้าง พัฒนาการเด็ก 6 ขวบ ให้สมบูรณ์ และพร้อมที่จะใช้ชีวิตต่อไปในอนาคต

headphones

PLAYING: พัฒนาการเด็ก 6 ขวบ พร้อมวิธีส่งเสริมพัฒนาการลูกน้อย

อ่าน 7 นาที

สรุป

  • พัฒนาการเด็ก 6 ขวบ วัยที่เริ่มมีความคิดเป็นเหตุเป็นผล สามารถคิด วิเคราะห์ แยกแยะสิ่งต่าง ๆ ได้มากขึ้น
  • ควรสอนลูกให้รู้จักการแบ่งปัน การให้อภัย เข้าอกเข้าใจผู้อื่น เพื่อให้ลูกสามารถอยู่ร่วมกับคนอื่นในสังคมได้
  • เด็ก 6 ขวบสามารถดูแลและพึ่งพาตัวเองได้ คุณพ่อคุณแม่จึงควรเปิดโอกาสให้ลูกฝึกทำกิจวัตรประจำวัน และตัดสินใจเรื่องต่าง ๆ ด้วยตัวเอง

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

คุณพ่อคุณแม่หลายคนอาจเห็นความเปลี่ยนแปลงของลูก ทั้งทางร่างกายและจิตใจแล้วไม่รู้ว่าจะมีวิธีการเลี้ยงลูกอย่างไร เพื่อส่งเสริมพัฒนาการของลูกให้มีประสิทธิภาพสมบูรณ์ยิ่งขึ้น พัฒนาการของเด็ก 6 ขวบที่คุณพ่อคุณแม่ควรให้ความสำคัญ

 

พัฒนาการเด็ก 6 ขวบ ด้านการเคลื่อนไหว

เด็ก 6 ขวบจะมีการพัฒนากล้ามเนื้อเพิ่มมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด จึงทำให้ลูกสามารถออกกำลังกาย เคลื่อนไหว และใช้แรงได้อย่างที่ใจต้องการ เด็กในวัยนี้จึงชอบวิ่งเล่น ซุกซน ปล่อยพลังออกมา คุณพ่อคุณแม่ควรเลี้ยงลูกอย่างเข้าใจ เปิดโอกาสให้ลูกได้ปล่อยพลังให้เต็มที่ ได้วิ่งเล่นปีนป่าย สนุกสนานอย่างที่ต้องการ รวมไปถึงการเปิดโอกาสให้ลูกเลือกกีฬาที่ตัวเองชื่นชอบ และส่งเสริมให้ลูกได้ทำกิจกรรมที่ตัวเองสนใจ

 

พัฒนาการเด็ก 6 ขวบ ด้านการสื่อสาร

เด็กในวัยนี้เริ่มรู้จักการควบคุมอารมณ์ตัวเองมากขึ้น รู้จักการยับยั้งชั่งใจ รู้จักการรอคอย รู้จักแพ้รู้จักชนะ เริ่มเจอกับปัญหาหรืออุปสรรคในชีวิต และเริ่มพบเจอกับความผิดหวัง มีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนมากขึ้น รู้จักการสื่อสารและเล่นกับเพื่อน ทั้งเพื่อนเพศเดียวกัน และเพื่อนต่างเพศ หากต้องผลัดกันเล่นกับเพื่อน ก็สามารถที่จะรอให้ถึงตาของตัวเองได้ จึงเรียนรู้ที่จะเป็นทั้งผู้ให้และผู้รับ รู้จักการแบ่งปัน เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แก่ผู้อื่น เด็กอายุ 6 ขวบสามารถเข้าใจความต้องการของตนเอง จึงสามารถบอกสิ่งที่ตัวเองต้องการกับผู้อื่นได้ แสดงความคิดเห็นได้ เด็กในวัยนี้ให้ความสำคัญกับเพื่อน ต้องการที่จะอยู่ร่วมกับเพื่อน อยากได้รับการยอมรับจากเพื่อน สามารถเล่นบทบาทสมมติที่มีความซับซ้อนมากขึ้นได้

 

พัฒนาการเด็ก 6 ขวบ ด้านการเรียนรู้

เด็ก 6 ขวบเป็นวัยที่มีเหตุผลมากขึ้น เริ่มรับผิดชอบตัวเองและส่วนรวมได้ สามารถดูแลตัวเองได้ พึ่งพาตัวเองได้มากขึ้น ด้วยการทำกิจวัตรประจำวันแบบง่าย ๆ ได้ด้วยตัวเอง เช่น การแต่งตัว แปรงฟัน หวีผม นำของเล่นไปเก็บหลังจากเล่นเสร็จแล้ว เด็กสามารถเล่าเรื่องราวต่าง ๆ ผ่านการแสดงความคิดเห็น พูดคุย และเขียนหนังสือ อ่านหนังสือรู้เรื่องมากขึ้น สามารถบอกเวลาได้ นับเลขได้มากขึ้น สามารถแยกแยะซ้ายขวาได้ เริ่มมีการคิด วิเคราะห์ ตัดสินใจ และแก้ปัญหาต่าง ๆ ด้วยตัวเองได้ รู้จักตัวเองว่ามีชื่อนามสกุลอะไร เป็นเพศอะไร รู้จักชื่อของผู้ปกครอง และคุณพ่อคุณแม่ของตนเอง คุณพ่อคุณแม่จึงควรเสริมพัฒนาการของลูก ด้วยการเปิดโอกาสให้ลูกฝึกทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยตัวเอง ดูแลตัวเอง ช่วยทำงานบ้านบางอย่าง และให้ลูกตัดสินใจด้วยตัวเองบ้าง เพื่อให้ลูกเกิดความมั่นใจ และรู้สึกภูมิใจในตัวเอง

 

พัฒนาการเด็ก 6 ขวบ สิ่งที่พ่อแม่ควรระมัดระวัง ในการเลี้ยงลูกอายุ 6 ขวบ

 

พัฒนาการเด็ก 6 ขวบ ด้านอารมณ์

เด็ก 6 ขวบ จะมีพัฒนาการทางด้านอารมณ์ที่เพิ่มมากขึ้น ทั้งความรู้สึกภาคภูมิใจเมื่อทำสิ่งต่าง ๆ ได้สำเร็จ ความรู้สึกมั่นใจในตัวเอง รู้สึกกดดัน อิจฉา เริ่มมีการเปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่น เริ่มต้องการความเป็นส่วนตัวมากขึ้น

 

สิ่งที่พ่อแม่ควรระมัดระวัง ในการเลี้ยงลูกอายุ 6 ขวบ

1. ไม่ควรละเลยที่จะสอนลูกเมื่อทำผิด

เด็กวัยนี้เริ่มมีความคิดที่เป็นเหตุเป็นผล คิดและวิเคราะห์เหตุการณ์ต่าง ๆ ในชีวิตด้วยตัวเองได้มากขึ้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรฝึกลูกให้คิดและตัดสินใจสิ่งต่าง ๆ ด้วยตัวเองให้มากขึ้น เมื่อลูกทำผิด ก็ควรชี้แนะให้ลูกเห็นว่า ลูกทำอะไรไม่ถูกต้อง ผลจากการกระทำนั้นส่งผลอย่างไรบ้าง และมีวิธีการแก้ไขความผิดพลาดนั้นได้อย่างไรบ้าง ให้ลูกคิดตาม เข้าใจ และตัดสินใจที่จะแก้ไขสิ่งผิดให้เป็นถูกอย่างใจเย็น เป็นเหตุเป็นผล

 

2. ไม่ควรเลี้ยงลูกในบ้านอย่างเดียว

เด็กวัยนี้ให้ความสำคัญกับเพื่อน และรู้จักการมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนมากขึ้น รู้จักวิธีการเล่นกับเพื่อน คุณพ่อคุณแม่จึงควรส่งเสริมทักษะการเข้าสังคม ทักษะการสร้างสัมพันธ์กับคนรอบข้างให้กับลูก ด้วยการพาลูกออกไปพบเจอกับผู้คน ออกไปเล่นกับเพื่อน และเรียนรู้นอกบ้านจากประสบการณ์จริง เพื่อให้ลูกเรียนรู้ทักษะการช่วยเหลือตัวเอง ทักษะการสื่อสาร ทักษะการแก้ปัญหา รู้จักการรับผิดชอบต่อตนเองและผู้อื่นให้มากขึ้น รู้จักควบคุมอารมณ์ รู้จักแพ้ชนะ มีทักษะในการจัดการกับอารมณ์ของตนเอง รู้จักการเป็นผู้ให้ แบ่งปันแก่ผู้อื่น รู้จักการปรับตัวเพื่ออยู่ร่วมกับคนอื่นในสังคม เป็นต้น

 

3. อย่าทำทุกอย่างให้ลูก ควรสอนให้ช่วยเหลือตัวเองได้

คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรทำทุกอย่างให้ลูกมากเกินไปจนลูกเคยตัว เพราะเด็กในวัยนี้มีความสามารถในการดูแลและพึ่งพาตัวเองได้มากขึ้นแล้ว คุณพ่อคุณแม่จึงควรเปิดโอกาสให้ลูกได้ฝึกทำสิ่งต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันด้วยตัวเอง มีบทบาทในการตัดสินใจเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับตัวเองให้มากขึ้น นอกจากจะฝึกให้ลูกสามารถดูแลตัวเองได้แล้ว ยังช่วยให้ลูกรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเอง มีความคิดที่เป็นผู้ใหญ่มากขึ้น มั่นใจในตัวเองมากขึ้นได้อีกด้วย

 

เคล็ดลับเสริมสร้างพัฒนาการเด็ก 6 ขวบ

1. อ่านหนังสือกับลูกบ่อย ๆ

เด็ก 6 ขวบเป็นวัยที่มีจินตนาการสูง สนใจสิ่งรอบตัว อยากรู้อยากเห็น ช่างสังเกต ช่างซักถาม และเริ่มอ่านหนังสือได้มากขึ้น การอ่านหนังสือร่วมกับลูก ชวนลูกมานั่งอ่านหนังสือด้วยกัน หรืออ่านหนังสือให้ลูกฟัง จึงเป็นกิจกรรมที่ช่วยกระชับความสัมพันธ์ในครอบครัว เสริมสร้างจินตนาการให้กับลูก ตอบข้อสงสัยที่ลูกอยากรู้ และเติมความรู้ในเรื่องที่ลูกสนใจ

 

2. ให้ลูกได้ขีดเขียนลงสมุดอย่างอิสระ

เด็กวัยนี้สามารถจับปากกาขีดเขียน วาดรูป และเขียนหนังสือได้เก่งมากขึ้น การสนับสนุนให้ลูกขีดเขียนอย่างอิสระจะเป็นการฝึกกล้ามเนื้อมัดเล็ก เสริมสร้างจินตนาการ ช่วยให้ลูกสามารถสื่อสาร และบอกเล่าเรื่องราวผ่านกระดาษได้

 

3. สอนให้ลูกสะกดคำอย่างถูกต้อง

เด็กในวัยนี้เป็นวัยที่เริ่มจดจำคำต่าง ๆ ได้มากขึ้น แล้วนำคลังคำศัพท์ที่มีอยู่มาใช้เรียงเป็นประโยคเพื่อสื่อสารในชีวิตประจำวัน การสอนลูกให้สะกดคำต่าง ๆ ให้ถูกต้อง จึงเป็นการปูพื้นฐานให้ลูกจดจำและนำคำที่ถูกต้องไปใช้ รวมถึงช่วยในการฝึกลูกพูด ด้วย

 

4. สอนให้ลูกมีความเข้าอกเข้าใจผู้อื่น

เด็ก 6 ขวบจะมีพัฒนาการทางสังคมเพิ่มมากขึ้น เด็กวัยนี้ให้ความสำคัญกับเพื่อนมากขึ้น อยากมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น อยากได้รับการยอมรับจากผู้อื่น คุณพ่อคุณแม่จึงควรสอนให้ลูกมีทักษะในการอยู่ร่วมกับผู้อื่น รู้จักการแบ่งปัน เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แก่ผู้อื่น รู้จักการให้อภัย มีความเข้าอกเข้าใจผู้อื่น รู้จักการขอโทษเมื่อทำผิด และรู้จักการยอมรับความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นทักษะสำคัญที่ลูกควรมีเพื่อการใช้ชีวิตต่อไปในอนาคต

 

5. พาลูกไปเล่นกีฬา ออกกำลังกายสำหรับเด็ก

คุณพ่อคุณแม่ควรหากิจกรรมให้ลูกได้วิ่งเล่น ปีนป่าย กระโดดโลดเต้นเพื่อปลดปล่อยพลังงานออกมาบ้าง เพื่อให้ลูกได้ผ่อนคลาย สนุกสนาน และเป็นการออกกำลังกาย เสริมสร้างกล้ามเนื้อ โดยคุณพ่อคุณแม่ลองสังเกตดูว่าลูกชอบเล่นกีฬาชนิดไหน จะได้ส่งเสริมให้ลูกได้เล่นในสิ่งที่ตัวเองชอบ

 

ช่วงเวลาในวัยก่อนเรียนเป็นช่วงเวลาที่ลูกมีพัฒนาการทั้งทางร่างกายและจิตใจเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ความรักและการดูแลของคุณพ่อคุณแม่จึงมีส่วนสำคัญในการช่วยเสริมสร้างพัฒนาการของลูก สร้างความมั่นใจและความภาคภูมิใจให้ลูก วางรากฐานบุคลิกภาพให้ลูก เพื่อให้ลูกพร้อมที่จะก้าวไปสู่วัยเรียน และพร้อมที่จะเข้าสังคมต่อไปในอนาคต

 

บทความแนะนำสำหรับพัฒนาการลูกน้อย

 

 

อ้างอิง:

  1. วิธีกระตุ้นพัฒนาการ แก้ปัญหาพัฒนาการล่าช้าในเด็ก, โรงพยาบาลสินแพทย์
  2. พัฒนาการของเด็กตามช่วงวัย, โรงพยาบาลเปาโล
  3. พัฒนาการเด็ก อายุ 6 ปี, โรงพยาบาลเด็กสินแพทย์
  4. พัฒนาการเด็ก...เรื่องที่พ่อแม่ต้องใส่ใจตั้งแต่ลูกวัยแรกเกิด, โรงพยาบาลพญาไท
  5. พัฒนาการทางด้านสังคมในเด็กก่อนวัยเรียน (3 – 6 ปี), โรงพยาบาลมนารมย์

อ้างอิง ณ วันที่ 18 มกราคม 2567

บทความแนะนำ

รวมแคปชั่นลูกสาว แคปชั่นรักลูกสาว อวดลูกในโซเชียล

รวมแคปชั่นลูกสาว แคปชั่นรักลูกสาว อวดลูกในโซเชียล

ไอเดียแคปชั่นลูกสาว โพสอวดลูกสาวได้ไม่ซ้ำวัน แคปชั่นลูกสาวโดนใจ ให้คุณแม่เลือกใช้ได้ง่าย ๆ แคปชั่นรักลูกสาวบอกรักลูก ช่วยเรียกเสียงหัวเราะในโซเชียลให้ลูกรัก

พัฒนาการเด็ก 5 ขวบ พร้อมวิธีส่งเสริมพัฒนาการลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก 5 ขวบ พร้อมวิธีส่งเสริมพัฒนาการลูกน้อย

พัฒนาการลูกน้อย 5 ขวบ มีอะไรเปลี่ยนแปลงไปบ้าง เด็ก 5 ขวบ ควรได้รับสารอาหารและโภชนาการอะไรที่ดีต่อร่างกายและพัฒนาการทางสมอง พร้อมวิธีเสริมพัฒนาการเด็ก 5 ขวบ

พัฒนาการเด็ก 1 ขวบ 6 เดือน ลูกน้อยมีพัฒนาการไปถึงไหนแล้ว

พัฒนาการเด็ก 1 ขวบ 6 เดือน ลูกน้อยมีพัฒนาการไปถึงไหนแล้ว

พัฒนาการเด็ก 1 ขวบ 6 เดือน ลูกน้อยมีความก้าวหน้าด้านพัฒนาการอย่างไร พัฒนาการเด็กขวบครึ่งมีอะไรเปลี่ยนแปลงไปบ้าง พร้อมวิธีกระตุ้นพัฒนาการและการเรียนรู้ของลูก

ตารางน้ำหนักตามเกณฑ์ อายุ 0-12 ปี น้ำหนักเด็ก-ส่วนสูงเด็ก ลูกโตแค่ไหน

เช็กการเจริญเติบโตของลูกน้อย มีส่วนสูงน้ำหนักตามเกณฑ์อายุ 0-12 ปีหรือไม่

การเจริญเติบโตของลูกน้อยในแต่ละช่วงวัย ลูกน้อยควรมีน้ำหนักตามเกณฑ์ อายุ 0-12 ปี อยู่ที่เท่าไหร่ เพื่อสุขภาพที่ดี และพัฒนาการน้ำหนักเด็ก-ส่วนสูงเด็ก ในช่วงขวบปีแรก

นมสูตร 3 เพื่อการเจริญเติบโต นมผงสูตร 3 สำหรับเด็กอายุ 1 ปีขึ้นไป

นมสูตร 3 เพื่อการเจริญเติบโต นมผงสูตร 3 สำหรับเด็กอายุ 1 ปีขึ้นไป

นมสูตร 3 นมสำหรับเด็ก 1 ปีขึ้นไป นมผงสูตร 3 มีสารอาหารที่สำคัญและมีประโยชน์กับลูก ไปทำความเข้าใจความแตกต่างของนมผงเด็กสูตร 3 และนม UHT

นมกล่องเด็ก 1 ขวบขึ้นไป นม UHT เด็ก 1 ขวบ เพื่อพัฒนาการสมองลูก

นมกล่องเด็ก 1 ขวบขึ้นไป นม UHT เด็ก 1 ขวบ เพื่อพัฒนาการสมองลูก

นมกล่องสำหรับเด็ก 1 ขวบขึ้นไป นมกล่องเด็ก 1 ขวบแบบไหน ที่ช่วยให้ลูกได้รับสารอาหารที่หลากหลาย นมผงเด็ก นม UHT และนมวัว แตกต่างกันอย่างไร ไปดูกัน

ส่งเสริมพัฒนาการตามวัย 1-4 ปีแรก พร้อมวิธีกระตุ้นพัฒนาการ

ส่งเสริมพัฒนาการตามวัย 1-4 ปีแรก พร้อมวิธีกระตุ้นพัฒนาการ

ส่งเสริมพัฒนาการตามวัยของลูกน้อย 1-4 ปีแรก ด้วยวิธีกระตุ้นพัฒนาการทางด้านร่างกาย เสริมทักษะด้วยการเล่นของเล่นที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาการตามวัยเพิ่มการเรียนรู้ให้ลูกน้อย

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก