ตุ่มใสที่นิ้วอันตรายไหม ลูกมีตุ่มใสขึ้นที่มือคัน คุณแม่รับมือยังไงดี

ตุ่มใสที่นิ้วอันตรายไหม ลูกมีตุ่มใสขึ้นที่มือคัน คุณแม่รับมือยังไงดี

21.08.2024

อาการผื่นหรือตุ่มใส ตุ่มแดงตามร่างกายของเด็ก ๆ พบได้บ่อยมาก เนื่องจากเด็กเล็กยังมีผิวหนังที่บอบบาง อาจเกิดจากอาการผื่นแพ้ทั่วไปซึ่งมีลักษณะเป็นตุ่มใส ๆ หรือตุ่มแดงขึ้นตามใบหน้าและแขนขา หรือการติดเชื้อไวรัสต่าง ๆ อาจจะทำให้เกิดการแพร่เชื้อได้ง่าย หรือสารคัดหลั่ง เช่น น้ำมูก น้ำลาย รวมถึงน้ำจากตุ่มใสของเด็กคนที่ป่วยได้ คุณแม่ควรหมั่นเฝ้าสังเกตอาการ

headphones

PLAYING: ตุ่มใสที่นิ้วอันตรายไหม ลูกมีตุ่มใสขึ้นที่มือคัน คุณแม่รับมือยังไงดี

อ่าน 6 นาที

 

สรุป

  • อาการผื่นหรือตุ่มใส ตุ่มแดงตามร่างกายของเด็ก ๆ พบได้บ่อยมาก เนื่องจากเด็กเล็กยังมีผิวหนังที่บอบบาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กเล็กก่อนอายุ 5 ขวบ ซึ่งอาจเกิดจากโครงสร้างผิวหนังที่ผิดปกติ โรคภูมิแพ้ หรือการได้รับเชื้อไวรัส
  • โรคมือเท้าปากเกิดจากการติดเชื้อไวรัส จะมีอาการคล้ายไข้หวัด คือ มีไข้ มีตุ่มใสที่ฝ่ามือ นิ้วมือ ฝ่าเท้า ก้น และมีแผลในช่องปาก เด็กจะไม่อยากรับประทานอาหาร โดยการรักษาของแพทย์จะเป็นการรักษาตามอาการ และตุ่มใสจะหายเป็นปกติภายใน 5-10 วัน
  • อาการตุ่มใสจากโรคมือเท้าปากเมื่อหายดีแล้วประมาณ 1-2 สัปดาห์ อาจมีอาการแทรกซ้อนรุนแรงได้ เช่น หายใจเร็ว เหนื่อยหอบ ซึมลงชัดเจน ไม่อยากรับประทานอาหาร หรือปวดศีรษะ มาก ต้องรีบพบแพทย์โดยทันที

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

ลูกมีตุ่มใสขึ้นที่มือคันยุบยิบ เกิดจากอะไรได้บ้าง

  • โรคภูมิแพ้ ในเด็กเล็กอายุน้อยกว่า 1 ขวบ ส่วนมากจะมีผื่นแดงคัน เป็นสะเก็ดหรือมีน้ำเหลืองไหลที่ผื่น บริเวณหน้า คอ แขน ขา และศอก เข่า โดยสาเหตุยังไม่ทราบแน่ชัด แต่อาจพบได้ในครอบครัวที่มีประวัติเป็นโรคภูมิแพ้ หรือหอบหืด และการกระตุ้นจากขนสัตว์ ละอองเกสรดอกไม้ ไรฝุ่น รวมไปถึงสบู่ น้ำยาซักผ้า น้ำยาปรับผ้านุ่ม รวมถึงสภาพอากาศ ความเครียด และอาหารการกินได้อีกด้วย
  • ผื่นแพ้ผิวหนัง ผิวหนังอักเสบ เกิดจากโครงสร้างผิวหนังที่ผิดปกติ ทำให้ผิวสูญเสียน้ำจนเกิดอาการผิวแห้งและอักเสบได้ง่าย พบมากบริเวณข้อมือ ข้อเท้า แก้ม ลำคอของเด็กเล็ก และพบตามข้อพับในเด็กโต ซึ่งจะมีอาการคันร่วมด้วย อาจมีอาการเป็น ๆ หาย ๆ เรื้อรัง ส่วนมากพบได้จากประวัติครอบครัวเป็นโรคภูมิแพ้
  • ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เนื่องจากเด็กมีระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายที่ยังทำงานได้ไม่ดีนัก ทำให้เมื่อพบเจอสิ่งกระตุ้นหรือสารที่ทำให้เป็นภูมิแพ้ จึงมีอาการแสดงออกไวกว่าคนปกติทั่วไป ซึ่งอาจจะแสดงอาการเป็นลักษณะผื่นแดงคันบริเวณผิวหนัง ทำให้ลูกน้อยรู้สึกไม่สบายตัวได้
  • ความอับชื้น หากมีตุ่มหรือผื่นขึ้นบริเวณต้นขาด้านใน รวมถึงบริเวณก้น และอวัยวะเพศ อาจเกิดจากความอับชื้นในการสวมใส่ผ้าอ้อมเป็นระยะเวลานาน คุณแม่จึงควรเปลี่ยนผ้าอ้อมบ่อยขึ้น และทาครีมหรือขี้ผึ้งที่ผิวหนังก่อนสวมใส่ผ้าอ้อมทุกครั้ง เพื่อช่วยป้องกันและเคลือบผิวหนังไว้
  • อาการแพ้สารเคมีต่าง ๆ เป็นหนึ่งในสิ่งกระตุ้นให้เกิดผื่นภูมิแพ้ผิวหนังในเด็กได้ ซึ่งสารระคายเคือง เช่น น้ำหอม แอลกอฮอล์ เป็นต้น

 

ลูกมีตุ่มใสที่นิ้วและมือ อาจเกิดจากการนอนไม่พอ

การนอนของทารก ถือเป็นเรื่องสำคัญ หากเด็กได้รับการพักผ่อนไม่เพียงพอหรือมีภาวะเครียด ก็อาจส่งผลต่อการกระตุ้นทำให้เกิดตุ่มน้ำใสบริเวณนิ้วมือ ฝ่ามือ หรือฝ่าเท้าได้ ซึ่งเป็นโรคผิวหนังอักเสบประเภทหนึ่งที่ไม่รุนแรง แต่อาจทำให้เกิดอาการคัน หรือปวด โดยทั่วไปตุ่มใสจะหายเองภายใน 2-3 สัปดาห์ แต่อาจจะกลับมาเป็นซ้ำได้ ดังนั้น ควรให้ลูกได้รับการนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และพยายามไม่ให้ลูกเกิดภาวะเครียด

 

ตุ่มใสที่นิ้วและมือของลูก หายเองได้ไหม

โดยทั่วไป ตุ่มใส ๆ ที่มือหรือผื่นภูมิแพ้ผิวหนังจะหายได้เองหากคุณแม่หมั่นรักษาความสะอาด แต่คุณแม่ไม่ควรอาบน้ำให้ลูกบ่อยเกินไปและน้ำไม่ควรร้อนจนเกินไป หลีกเลี่ยงการสัมผัสสารที่อาจก่อให้เกิดการกระตุ้นการแพ้ รวมถึงทาครีมบริเวณผิวหนังเพื่อให้ผิวกักเก็บความชุ่มชื้นและแข็งแรงอย่างสม่ำเสมอ ทั้งหมดนี้จะช่วยให้ตุ่มใสหรือผื่นแดงต่าง ๆ ดีขึ้นจนเป็นปกติได้ในที่สุด

 

ตุ่มใสที่นิ้วและมือของลูก หายเองได้ไหม

 

ลูกเป็นตุ่มใส ๆ ที่มือ ใช่โรคมือเท้าปากไหม

เมื่อลูกมีตุ่มใสเกิดขึ้นบริเวณนิ้วมือ ฝ่ามือ ฝ่าเท้า และก้น หรือแผลในปากคล้ายแผลร้อนใน รวมถึงมีอาการไข้ต่ำ ๆ ก่อนขึ้นผื่นหรือตุ่มใส ประมาณ 12-24 ชั่วโมง ส่วนมากเด็กจะเริ่มไม่อยากรับประทานอาหารเนื่องจากเจ็บแผลในปาก และลิ้นแดงบวม หากพบอาการเหล่านี้คุณพ่อคุณแม่ควรรีบพาไปพบแพทย์ เพื่อตรวจวินิจฉัยว่าเป็นโรคมือเท้าปากหรือไม่ โดยการรักษาจะเป็นการรักษาตามอาการ และตุ่มใสจะหายเป็นปกติประมาณ 5-10 วัน แต่คุณพ่อคุณแม่ก็ไม่ควรนิ่งนอนใจภายหลังตุ่มใสหายดีแล้วประมาณ 1-2 สัปดาห์ อาจมีอาการแทรกซ้อนรุนแรงได้ จึงต้องคอยเฝ้าระวังสังเกตอาการจนหายเป็นปกติ

 

ตุ่มใสที่นิ้วทั่วไป vs โรคมือเท้าปาก สังเกตอย่างไร

ตุ่มใสที่นิ้วทั่วไปอาจเกิดจากอาการแพ้หรือผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง พบที่ใบหน้า แขน ขา โดยส่วนใหญ่เกิดจากพันธุกรรมของคนในครอบครัวที่เป็นภูมิแพ้ หรือการกระตุ้นจากสิ่งแวดล้อมภายนอก แต่โรคมือเท้าปากเกิดจากการติดเชื้อไวรัส จะมีอาการคล้ายไข้หวัด คือ มีไข้ มีตุ่มใสที่ฝ่ามือ นิ้วมือ ฝ่าเท้า ก้น และมีแผลในช่องปาก

 

สัญญาณเตือนอาการร่วม ที่ต้องรีบไปพบแพทย์

หากลูกมีอาการตุ่มใสที่ฝ่ามือ ฝ่าเท้า รวมถึงมีแผลในช่องปาก และมีอาการไข้ ปวดตามข้อ รับประทานอาหารได้น้อยลง อาจสันนิษฐานได้ว่าเป็นโรคมือเท้าปาก ซึ่งโรคนี้อาจมีภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ หรือกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ จนอาจอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้ ดังนั้น หากคุณพ่อคุณแม่สังเกตอาการของลูกว่ามีความผิดปกติเหล่านี้ ควรรีบไปพบแพทย์โดยทันที

  1. หายใจเร็ว เหนื่อยหอบ หน้าซีด
  2. ซึมลงอย่างเห็นได้ชัด ไม่ยอมทานอาหาร ไม่เล่นซุกซนตามปกติ
  3. ปวดหัวมากจนทนไม่ไหว
  4. มีไข้ หรืออาจไม่มีไข้ร่วมด้วย
  5. มีอาการไอ และมีเสมหะมาก
  6. มีอาการเพ้อ พูดไม่รู้เรื่อง
  7. ตัวสั่น สะดุ้งผวาแขนหรือมือสั่น

 

7 วิธีรับมือได้ทันที เมื่อลูกมีตุ่มใสที่นิ้วและมือ

ปัญหาตุ่มใสหรือผื่นคันที่ผิวหนังของลูก เกิดขึ้นได้จากหลากหลายสาเหตุ ซึ่งมีวิธีการดูแลและรักษาที่แตกต่างกันออกไป จึงควรพบแพทย์เฉพาะทางที่สามารถวินิจฉัยสาเหตุของโรค และวางแผนการรักษาได้อย่างถูกวิธี โดยมีวิธีการดูแลในเบื้องต้นหากลูกมีตุ่มใสหรือผื่นคัน ดังนี้

  1. ให้ลูกนอนหลับให้เพียงพอ
  2. ล้างมือลูกให้สะอาด และเช็ดให้แห้งอยู่เสมอ
  3. หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสารเคมี หรือสิ่งที่สงสัยว่าลูกแพ้ เพื่อลดการกระตุ้นให้เกิดอาการแพ้
  4. อย่าให้ลูกเกาบริเวณที่คัน เพื่อหลีกเลี่ยงอาการที่หนักขึ้น และการเกิดแผลติดเชื้อจากเล็บหรือนิ้วมือที่เกาได้
  5. ทาครีมบำรุง เพื่อป้องกันไม่ให้ผิวแห้ง ช่วยกักเก็บความชุ่มชื้นและให้ผิวหนังแข็งแรง
  6. หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ทำให้เกิดเหงื่อเยอะ ลดความอับชื้น
  7. ให้ลูกได้ทำกิจกรรมที่สนุกสนาน ผ่อนคลาย หลีกเลี่ยงความเครียด

 

เนื่องจากผิวหนังของเด็กยังบอบบางมาก อีกทั้งระบบภูมิคุ้มกันยังทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ จึงทำให้เด็กอาจรับเชื้อโรคได้ง่าย รวมถึงอาการต่าง ๆ เมื่อได้รับการกระตุ้นจากสารเคมีหรือสภาพแวดล้อมภายนอกที่ก่อให้เกิดอาการภูมิแพ้ได้ อันเนื่องมาจากสาเหตุด้านพันธุกรรมของสมาชิกในครอบครัวมีประวัติภูมิแพ้ หรือการกระตุ้นจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ การพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ รวมถึงภาวะเครียดวิตกกังวล ทั้งหมดนี้คุณพ่อคุณแม่ควรหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ และหมั่นสังเกตอาการภูมิแพ้ของลูก และควรปรึกษาคุณหมอเพื่อหาสาเหตุต่อไป

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่มือใหม่

 

 

อ้างอิง:

  1. 5 ผื่นแพ้ของลูกน้อย พบบ่อย…แต่รับมือได้, โรงพยาบาลกรุงเทพ
  2. โรคมือเท้าปาก, โรงพยาบาลวิภาวดี
  3. ผื่นแพ้ผิวหนังในเด็ก อย่ารอจนเรื้อรัง, โรงพยาบาลกรุงเทพ
  4. โรคผิวหนังเด็ก และภูมิแพ้เด็ก, โรงพยาบาลเจ้าพระยา
  5. 4 โรคภูมิแพ้ในเด็ก เรื่องไม่เล็กที่พ่อแม่ต้องรู้, โรงพยาบาลบางปะกอก
  6. สารพันปัญหาผื่นในเด็ก, โรงพยาบาลสมิติเวช
  7. ผื่นผิวหนังอักเสบชนิดตุ่มน้ำ (DYSHIDROTIC ECZEMA), Pobpad

อ้างอิง ณ วันที่ 9 กรกฎาคม 2567
 

บทความแนะนำ

ลูกเป็นไข้ตัวร้อนแต่มือเท้าเย็น คุณแม่รับมืออย่างไรดี

ลูกเป็นไข้ตัวร้อนแต่มือเท้าเย็น คุณแม่รับมืออย่างไรดี

ลูกเป็นไข้ตัวร้อนแต่มือเท้าเย็นผิดปกติไหม ลูกตัวร้อนแต่มือเท้าเย็นเกิดจากสาเหตุอะไร อันตรายไหม ลูกตัวร้อนมือเท้าเย็นพ่อแม่ควรดูแลลูกแบบไหนให้ดีที่สุด

เด็กเดินได้กี่เดือน ลูกเดินช้า มีผลต่อพัฒนาการสมองไหม

เด็กเดินได้กี่เดือน ลูกเดินช้า มีผลต่อพัฒนาการสมองไหม

เด็กเดินได้กี่เดือน สัญญาณอะไรบ้างที่บอกว่าลูกเริ่มเดินได้แล้ว ลูกเดินช้ามีผลต่อพัฒนาการสมองไหม พร้อมวิธีฝึกลูกเดิน ช่วยเสริมพัฒนาการลูกน้อย

เด็กเริ่มคลานกี่เดือน สัญญาณอะไรบ้างที่บอกว่าเด็กเริ่มคลานได้แล้ว

เด็กเริ่มคลานกี่เดือน สัญญาณอะไรบ้างที่บอกว่าเด็กเริ่มคลานได้แล้ว

เด็กเริ่มคลานกี่เดือน สัญญาณอะไรบ้างที่บอกว่าลูกเริ่มคลานได้แล้ว ลูกคลานช้ากี่เดือนถึงเรียกว่าพัฒนาการช้าเกินไป พร้อมวิธีฝึกลูกคลาน ช่วยเสริมพัฒนาการลูกน้อย

ผื่นส่าไข้ คืออะไร วิธีสังเกตส่าไข้ในเด็กที่คุณพ่อคุณแม่ต้องรู้

ผื่นส่าไข้ คืออะไร วิธีสังเกตส่าไข้ในเด็กที่คุณพ่อคุณแม่ต้องรู้

ผื่นส่าไข้ คืออะไร อันตรายกับลูกไหม ผื่นส่าไข้ในเด็ก มีวิธีสังเกตอาการอย่างไร คุณพ่อคุณแม่สามารถป้องกันผื่นส่าไข้ในเด็กได้หรือเปล่า พร้อมวิธีดูแลลูกน้อย

อาการไข้ในเด็ก ลูกมีอาการหนาวสั่นมีไข้ เช็ดตัวยังไงให้ไข้ลด

อาการไข้ในเด็ก ลูกมีอาการหนาวสั่นมีไข้ เช็ดตัวยังไงให้ไข้ลด

ลูกมีอาการหนาวสั่นมีไข้ ดูแลลูกน้อยอย่างไรให้ถูกวิธี อาการไข้ในเด็กอันตรายไหม อาการแบบไหนที่คุณแม่ควรสังเกตเมื่อลูกมีไข้หนาวสั่น พร้อมวิธีดูแลลูกน้อยเบื้องต้น

ลูกป่วยบ่อยมาก ทำไงดี พร้อมวิธีเสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกแข็งแรง

ลูกป่วยบ่อยมาก ทำไงดี พร้อมวิธีเสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกแข็งแรง

ลูกป่วยบ่อยมาก ทำไงดี ลูกไม่สบายบ่อย เกิดจากสาเหตุอะไร ลูกป่วยบ่อยอันตรายไหม อยากให้ลูกแข็งแรงต้องทำอย่างไร พร้อมวิธีดูแลลูกน้อยและเสริมภูมิคุ้มกัน

ลูกเป็นไข้ตอนกลางคืนกลางวันปกติ พร้อมวิธีดูแลเมื่อลูกมีไข้ตอนกลางคืน

ลูกเป็นไข้ตอนกลางคืนกลางวันปกติ พร้อมวิธีดูแลเมื่อลูกมีไข้ตอนกลางคืน

ลูกเป็นไข้ตอนกลางคืนกลางวันปกติเพราะอะไร ลูกมีไข้ตอนกลางคืนแบบไหนเสี่ยงอันตราย เด็กมีไข้ตอนกลางคืนให้กินยาอะไรได้บ้าง พ่อแม่ดูแลยังไงให้ถูกวิธี

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก