สังเกตภูมิแพ้ในเด็ก อาการภูมิแพ้อากาศ พร้อมวิธีให้ลูกห่างจากอาการแพ้

สังเกตภูมิแพ้ในเด็ก อาการภูมิแพ้อากาศ พร้อมวิธีให้ลูกห่างจากอาการแพ้

09.05.2024

ลูกน้อยในวัยบอบบางเสี่ยงต่อโรคภูมิแพ้ได้ง่าย พ่อแม่สามารถรับมือและคัดกรองความเสี่ยงให้ลูกน้อยห่างจากอาการแพ้ พร้อมเสริมสร้างเกราะคุ้มกัน

headphones

PLAYING: สังเกตภูมิแพ้ในเด็ก อาการภูมิแพ้อากาศ พร้อมวิธีให้ลูกห่างจากอาการแพ้

อ่าน 7 นาที

 

สรุป

  • ภูมิแพ้อากาศ เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันของลูกน้อยบอบบางและยังพัฒนาไม่เต็มที่ จึงไปกระตุ้นให้เกิดอาการแพ้ต่อสิ่งรอบตัวได้ง่าย ซึ่งเกิดจากการที่ร่างกายมีปฏิกิริยาตอบสนองกับสารก่อภูมิแพ้ไวมากกว่าผู้ใหญ่
  • อาการต่าง ๆ ที่เกิดจากการแพ้อากาศ หรือภูมิแพ้ในเด็ก อาทิ อาการได้ที่ตา จะมีอาการคันและเคืองตา หรืออาการจาม คัดจมูก มีน้ำมูกไหล หรืออาการที่หลอดลม หรือหืดหอบ หรืออาการคันที่ผิวหนัง รวมถึงอาการทางระบบทางเดินหายใจ เป็นต้น
  • คุณพ่อคุณแม่สามารถดูแลและป้องกันลูกน้อยจากอาการแพ้โดยการดูแลสุขอนามัย หลีกเลี่ยงสิ่งที่ก่อให้เกิดภูมิแพ้ ร่วมกับการให้โภชนาการที่เหมาะสมตามวัยและปฏิบัติตามคำแนะนำของคุณหมอแล้ว จะช่วยป้องกันปัจจัยเสี่ยงโรคภูมิแพ้ ให้ลูกรักเติบโตแข็งแรง มีพัฒนาการสมวัยพร้อมเรียนรู้

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

ไขข้อข้องใจอาการภูมิแพ้อากาศของลูกที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้

ระบบภูมิคุ้มกันของลูกน้อยบอบบางและยังพัฒนาไม่เต็มที่ จึงไปกระตุ้นให้เกิดอาการแพ้ต่อสิ่งรอบตัวได้ง่าย ซึ่งเกิดจากการที่ร่างกายมีปฏิกิริยาตอบสนองกับสารก่อภูมิแพ้ไวมากกว่าผู้ใหญ่ โดยสารก่อโรคภูมิแพ้นั้นก็แตกต่างกันไปในแต่ละคน ส่วนใหญ่มักจะเป็นสารก่อภูมิแพ้ในอากาศ ได้แก่ ไรฝุ่น, ละอองเกสรดอกไม้, ซากแมลงสาบ, ขนหรือรังแคของสัตว์เลี้ยงต่าง ๆ รวมไปถึงอาหารประเภทต่าง ๆ ด้วย

 

จากข้อมูลทางสถิติของสมาคมโรคภูมิแพ้อิมมูโนวิทยาแห่งประเทศไทย พบว่าเด็กไทยเป็นโรคภูมิแพ้สูงถึงร้อยละ 38 ถ้าอธิบายได้ง่าย ๆ ก็คือหากคุณแม่เดินเจอเด็ก 3 คน จะมีโอกาสที่เด็ก 1 คนจะเป็นโรคภูมิแพ้ สำหรับผู้ใหญ่พบว่าจะเป็นโรคภูมิแพ้ประมาณร้อยละ 20 หรือ 1 ใน 5 คน ซึ่งสามารถแบ่งอาการแพ้ของลูกน้อยหรือภูมิแพ้ในเด็ก ตามกลุ่มอาการเป็น 5 กลุ่ม ดังนี้

1. อาการแพ้ที่ตา

จะมีอาการคัน และเคืองตา ตาแดง น้ำตาไหล หนังตาบวม แสบตา โดยส่วนใหญ่เกิดจากสารก่อภูมิแพ้ในอากาศหรือเด็กแพ้อากาศ เช่น ไรฝุ่น ละอองเกสรดอกไม้ ซึ่งมักจะมีอาการร่วมกับอาการแพ้ที่จมูก จนทำให้ลูกเป็นภูมิแพ้ที่ตาไ

 

2. อาการแพ้ที่จมูก

ภูมิแพ้ในเด็กหรือที่เรียกว่าแพ้อากาศ อาการภูมิแพ้อากาศ จะมีอาการจาม คันจมูก คัดจมูก น้ำมูกไหล ออกทางจมูกหรือไหลลงคอบ้าง บางรายอาจมีอาการคันเพดานปากหรือคอ หากเป็นนาน ๆ อาจมีเสมหะเล็กน้อย ซึ่งถือว่าเป็นประเภทของอาการแพ้ที่พบบ่อยที่สุด โดยมีสาเหตุจากสารก่อภูมิแพ้ในอากาศ เช่น ไรฝุ่น, ซากแมลงสาบในบ้าน, ขนหรือรังแคของสัตว์เลี้ยง, ละอองเกสรดอกไม้, มักจะมีความไวเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิหรือความชื้นในอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป รวมไปถึงการติดเชื้อที่ทำให้เกิดอาการป่วยของระบบทางเดินหายใจด้วย ถือว่ารบกวนคุณภาพชีวิตของลูกน้อยอย่างมาก มีงานวิจัยพบว่าเด็กที่ได้รับการวินิจฉัยว่า เป็นโรคสมาธิสั้นนั้นมีความสัมพันธ์กับภาวะภูมิแพ้และโรคเยื่อจมูกอักเสบจากภูมิแพ้มากกว่าคนปกติ

 

3. อาการแพ้ที่หลอดลม หรือหืดหอบ

ภูมิแพ้ในเด็กหรือเด็กเป็นภูมิแพ้ จะมีอาการไอ หอบเหนื่อย หายใจขัด แน่นหน้าอก หายใจมีเสียงวี้ด หายใจลำบาก หรือ หายใจเร็ว โดยเฉพาะเวลาตอนกลางคืน ตอนเช้ามืด ขณะที่ออกกำลังกายหรือขณะเป็นไข้หวัด

 

4. อาการแพ้ที่ผิวหนัง

ภูมิแพ้ในเด็กจะมีอาการ คัน ผดผื่นขึ้นตามตัว มักเป็นผื่นแห้ง แดง มีสะเก็ดบาง ๆ หรือมีน้ำเหลืองแห้งกรังอยู่ โดยในเด็กเล็ก มักเป็นผื่นที่แก้ม ซอกคอ ส่วนเด็กโตมักเป็นที่ข้อพับของแขนและขา บางรายอาจมีอาการเป็นผื่นลมพิษ โดยสาเหตุส่วนใหญ่มักเกิดจากการแพ้อาหาร โดยเฉพาะอาหารทะเล แพ้แมลงกัดต่อย หรือ แพ้ยา

 

5. อาการแพ้ที่ระบบทางเดินหายใจ

ภูมิแพ้ในเด็กจะมีอาการแพ้ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปากบวม ปวดท้อง ท้องอืด ท้องเสีย อาจมีอาการของระบบทางเดินหายใจ และผิวหนังร่วมด้วย เช่น หอบหืด ผื่น ลมพิษต่าง ๆ สาเหตุมาจากการรับประทานอาหารที่ตนเองแพ้ เช่น เด็กแพ้นมวัว , ไข่, ถั่ว, อาหารทะเล, ผักหรือผลไม้บางชนิด บางรายอาจแพ้สารปรุงแต่งต่าง ๆ ในอาหาร

 

คุณพ่อคุณแม่สังเกตปัจจัยเสี่ยง ช่วยหลีกเลี่ยงอาการภูมิแพ้ในเด็ก

 

คุณพ่อคุณแม่สังเกตปัจจัยเสี่ยง ช่วยหลีกเลี่ยงอาการภูมิแพ้ในเด็ก

สิ่งสำคัญที่คนเป็นพ่อแม่ต้องรู้เท่าทันคือ ควรสังเกตอาการภูมิแพ้ในเด็ก ที่ผิดปกติของลูกน้อยในเบื้องต้นให้ได้ เพราะอาการเหล่านี้อาจเป็นอาการแรกเริ่มที่ทำให้ลูกเป็นภูมิแพ้ ซึ่งอาจขัดขวางให้ลูกมีพัฒนาการช้าลง แทนที่จะได้สนุกกับการเล่นและการเรียนรู้ โดยอาการยอดฮิตที่เด็กวัยจิ๋วมักเป็น ได้แก่ อาการไอ, จาม, คัดจมูก, หอบหืด, มีผื่น, ลมพิษ, บวมแดง, คันตามผิวหนัง, คันหรือเคืองตา, หนังตาบวม รวมไปถึงอาการร้องไห้นานจนหน้าแดงตัวแดงและปลอบให้หยุดยาก เป็นต้น ซึ่งทางเลือกที่ดีที่สุดในการลดความเสี่ยงภูมิแพ้ของลูกตั้งแต่ช่วงแรกของชีวิต คือให้ทานนมแม่เพราะนมแม่มีสารอาหารมากกว่า 200 ชนิด และยังมีคุณสมบัติเป็น Hypo-Allergenic หรือ H.A. ที่ช่วยลดความเสี่ยงของโรคภูมิแพ้ได้ด้วย และนมแม่ ยังมีพรีไบโอติกโอลิโกแซคคาไรด์ใยอาหารหลักที่สำคัญ ที่ช่วยเรื่องระบบภูมิคุ้มกันและลดความเสี่ยงของการติดเชื้อต่าง ๆ ซึ่งโอลิโกแซคคาไรด์ ประกอบด้วยใยอาหารหลากหลายชนิด ซึ่ง 5 ใยอาหารหลัก (5 Oligosaccharide หรือ 5 HMO เช่น 2’FL, DFL, LNT, 6’SL และ 3’SL ) มีช่วยเรื่องระบบภูมิคุ้มกันในเด็กเล็ก รวมทั้งนมแม่มีโพรไบโอติกหลายชนิด เช่น B.lactis (บีแล็กทิส) ซึ่งเป็นหนึ่งในสายพันธุ์ที่มีส่วนช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและลดความเสี่ยงของการเกิดภูมิแพ้ นอกจากการสังเกตอาการแล้ว ยังมีวิธีการทดสอบมาตรฐานวิธีต่าง ๆ ที่สามารถช่วยคัดกรองความเสี่ยงในการแพ้ของลูกน้อย ให้รู้ได้แน่ชัดยิ่งขึ้นว่าลูกน้อยของเราบอบบางหรือแพ้อะไรบ้าง หากคุณพ่อคุณแม่พาลูกไปพบคุณหมอ ก็จะมีการซักประวัติสุขภาพรวมถึงประวัติความเจ็บป่วยของคนในครอบครัวร่วมด้วย

1. การทดสอบภูมิแพ้ผิวหนัง (Allergy Skin test)

ทำโดยนำน้ำยาที่มีสารก่อภูมิแพ้ในอากาศ เช่น ไรฝุ่น, ซากแมลงสาบ, รังแคของสุนัขและแมว, เกสรหญ้า, เชื้อรา เป็นต้น มาทดสอบกับผิวหนัง มักใช้วิธีการสะกิดผิวหนัง (Skin Prick test) โดยหยดน้ำยาที่มีสารก่อภูมิแพ้ลงบนผิวหนังที่แขน แล้วใช้เข็มสะกิดตรงกลางหยดน้ำยา ใช้เวลารอผลประมาณ 10-15 นาที หากเกิดผื่นแดง และรอยนูนขนาดโตกว่า 3 มม. แสดงว่าให้ผลบวก ซึ่งถือว่าเป็นวิธีที่ทำง่าย เร็ว ไม่เจ็บ ใช้อุปกรณ์น้อย และเสี่ยงต่อการเกิดอาการแพ้ทั่วร่างกายน้อย

 

2. การหาปริมาณของ IgE ที่จำเพาะต่อสารก่อภูมิแพ้แต่ละชนิด

ทำได้โดยการเจาะเลือดจากผู้ป่วยแล้วนำไปวิเคราะห์หา IgE เพื่อหาปริมาณของสารก่อภูมิแพ้ในร่างกาย ซึ่งเป็นวิธีที่นิยมในต่างประเทศ แต่ไม่ค่อยนิยมในประเทศไทย เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายสูงและไม่สามารถทราบผลได้ทันที โดยการตรวจ IgE จะแม่นยำ และถือว่าเป็นมาตรฐานการตรวจเพื่อหาสารก่อภูมิแพ้ซึ่งต่างจากการตรวจ IgG ที่ไม่แนะนำให้ทำเลย เพราะไม่สามารถนำมาแปลผลได้

 

3. คุณแม่กำลังตั้งครรภ์หรือกำลังวางแผนจะมีเจ้าตัวน้อย

ก็สามารถทำแบบทดสอบอาการแพ้เบื้องต้น เพื่อตรวจเช็กโอกาสการแพ้ของลูกน้อยได้ด้วยตัวเองได้ที่ S-Mom Club เพื่อเริ่มดูแลตัวเองตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ ลดโอกาสเสี่ยงที่ลูกน้อยจะแพ้ง่าย

 

คุณพ่อคุณแม่ช่วยเสริมสร้างเกราะภูมิคุ้มกันลูกน้อยได้อย่างไร

 

คุณพ่อคุณแม่ช่วยเสริมสร้างเกราะภูมิคุ้มกันลูกน้อยได้อย่างไร

ในวันที่ลูกยังบอบบาง คุณพ่อคุณแม่สามารถดูแลและป้องกันลูกน้อยจากอาการแพ้ หรือภูมิแพ้ในเด็ก ง่าย ๆ ด้วย 6 วิธี ดังนี้

  1. หมั่นคอยดูแลสุขอนามัยของลูกน้อย ทำความสะอาดบ้านสม่ำเสมอ, เก็บกวาดบ้านทุกซอกมุม, ซักผ้าม่าน ผ้าปูโต๊ะ และล้างแอร์เป็นประจำ รวมถึงเก็บของที่มักเก็บกักฝุ่นให้ห่างจากลูก เช่น พรมหรือตุ๊กตาที่มีขน
  2. หลีกเลี่ยงการพาลูกน้อยไปยังสถานที่ที่เต็มไปด้วยฝุ่นละออง, ควันธูป, ควันบุหรี่ หรือสถานที่ที่มีผู้คนแออัด
  3. หากลูกน้อยแพ้ขนสัตว์ อาจต้องควบคุมและแยกสัตว์เลี้ยงออกจากลูก
  4. หากลูกมีอาการแพ้อาหาร ก็ควรหลีกเลี่ยงอาหารประเภทนั้น
  5. ในกรณีที่นมแม่มีไม่เพียงพอ การเลือกนมที่มีโปรตีนที่ผ่านการย่อยบางส่วน หรือนมแม่ ที่โปรตีนในนมแม่บางส่วน ได้ถูกย่อยให้มีขนาดเล็กลง หรือที่เรียกว่า PHP (Partially Hydrolyzed Proteins ) ซึ่งง่ายต่อการดูดซึมเข้าร่างกายของลูกน้อย ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดภูมิแพ้ได้ ในบางครั้งแพทย์อาจแนะนำการใช้นมสูตรโปรตีนที่ผ่านการย่อยบางส่วนแทนนมสูตรทั่วไป เพื่อเป็นการช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดภูมิแพ้ เพราะโปรตีนที่ผ่านการย่อยบางส่วน นอกจากจะย่อยง่ายแล้ว ยังอ่อนโยนต่อระบบทางเดินอาหาร ลดโอกาสการกระตุ้นให้เกิดการแพ้ด้วย
  6. ฉีดวัคซีนรักษาโรคภูมิแพ้ที่เกิดจากสารก่อภูมิแพ้ในอากาศ เป็นวิธีการที่คุณหมอจะเลือกใช้เมื่อการหลีกเลี่ยงสิ่งที่แพ้และการใช้ยาแล้วไม่ได้ผล


หากคุณแม่ดูแลลูกน้อยตามแนวทางเบื้องต้น ร่วมกับการให้โภชนาการที่เหมาะสมตามวัยและปฏิบัติตามคำแนะนำของคุณหมอแล้ว จะช่วยป้องกันปัจจัยเสี่ยงโรคภูมิแพ้ ให้ลูกรักเติบโตแข็งแรง มีพัฒนาการสมวัยพร้อมเรียนรู้ และช่วยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีในอนาคต

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่มือใหม่

 

อ้างอิง:

  1. รับมือกับปัญหาลูกทารก. คู่มือเลี้ยงลูกยุคใหม่ ฉบับสมบูรณ์, Amarin Baby&Kids
  2. จะทราบได้อย่างไรว่าเป็นโรคภูมิแพ้หรือไม่, คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  3. โรคภูมิแพ้ .สืบค้นจาก, คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  4. Allergy, ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย
  5. ภูมิแพ้ในเด็ก เรื่องที่พ่อแม่ต้องรู้, โรงพยาบาลกรุงเทพสิริโรจน์
     

บทความแนะนำ

ลูกหายใจครืดคราดแต่ไม่มีน้ำมูก เป็นเพราะอะไร เป็นสัญญาณอันตรายไหม

ลูกหายใจครืดคราดแต่ไม่มีน้ำมูก เกิดจากอะไร อันตรายกับลูกน้อยไหม

อาการลูกหายใจครืดคราดแต่ไม่มีน้ำมูก เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ คุณพ่อคุณแม่ควรหมั่นสังเกตอาการของลูกน้อยให้ดี เมื่อลูกหายใจครืดคราดแต่ไม่มีน้ำมูก

ลูกบิดตัวบ่อยหลับไม่สนิท เป็นเพราะอะไร คุณพ่อคุณแม่ต้องดูแลแบบไหน

ลูกบิดตัวบ่อยหลับไม่สนิท เป็นเพราะอะไร คุณพ่อคุณแม่ต้องดูแลแบบไหน

ลูกบิดตัวบ่อยหลับไม่สนิท ทารกนอนหลับไม่สนิทบิดตัวไปมา เกิดจากสาเหตุอะไร ปัญหาที่สร้างความกังวลใจให้คุณพ่อคุณแม่ ลูกบิดตัวบ่อยหลับไม่สนิท อันตรายหรือเปล่า ไปดูกัน

โรคซางในเด็กเล็กมีจริงไหม เกิดจากอะไร ดูแลและป้องกันได้หรือเปล่า

โรคซางในเด็กเล็กมีจริงไหม เกิดจากอะไร ดูแลและป้องกันได้หรือเปล่า

โรคซางในเด็กเล็ก เกิดจากสาเหตุอะไร หากลูกของคุณแม่มีอาการเหมือนจะเป็นโรคซาง มีไข้ เบื่ออาหาร หรือน้ำหนักลด คุณแม่ควรเฝ้าดูอาการและรีบพาไปพบแพทย์ทันที

วัคซีนเด็กแรกเกิด สำคัญแค่ไหน ลูกน้อยต้องฉีดอะไรบ้าง

วัคซีนเด็กแรกเกิด สำคัญแค่ไหน ลูกน้อยต้องฉีดอะไรบ้าง

วัคซีนเด็กแรกเกิดสำคัญกับลูกน้อยแค่ไหน ทำไมควรฉีดวัคซีนเด็กแรกเกิด เพื่อสร้างเกราะป้องกันและเสริมภูมิต้านทานโรคให้ลูก คุณแม่ควรเตรียมตัวให้ลูกน้อยอย่างไร ไปดูกัน

ลูกตัวร้อน ทำอย่างไรดี พร้อมวิธีสังเกตอาการลูกมีไข้ไม่ทราบสาเหตุ

ลูกตัวร้อนอย่างเดียวทำไงดี พร้อมวิธีสังเกตเมื่อลูกตัวร้อนไม่ทราบสาเหตุ

ลูกตัวร้อนอย่างเดียว ลูกตัวร้อนมีไข้ไม่ทราบสาเหตุ เกิดจากอะไร คุณแม่ดูแลลูกน้อยอย่างไรได้บ้าง หากลูกร้องไห้ไม่หยุด อ่อนเพลียและมีอาการอาเจียน

ทารกนอนสะดุ้ง เกิดจากอะไร พร้อมวิธีแก้ลูกนอนสะดุ้งและวิธีรับมือ

ทารกนอนสะดุ้ง เกิดจากอะไร พร้อมวิธีแก้ลูกนอนสะดุ้งและวิธีรับมือ

ทารกนอนสะดุ้ง เป็นภาวะที่เกิดขึ้นได้ คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องกังวลใจไปด้วยวิธีรับมือช่วยให้ลูกนอนหลับสบาย แต่ก็ควรหมั่นสังเกตว่าลูกนอนสะดุ้งถี่มากเกินไปหรือเปล่า

วิธีบีบน้ำนม บีบนมอย่างไรให้ถูกวิธี ช่วยกระตุ้นน้ำนมคุณแม่

วิธีบีบน้ำนมด้วยมือ บีบนมอย่างไรให้ถูกวิธี ช่วยกระตุ้นน้ำนมคุณแม่

วิธีบีบน้ำนมสำหรับคุณแม่ บีบนมด้วยมือแบบไหนช่วยกระตุ้นน้ำนมคุณแม่ได้ และช่วยลดการคัดเต้านมได้ดี ช่วยให้คุณแม่สามารถสต๊อกนมให้ลูกได้อย่างปลอดภัย

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก