ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

เลือกบทความพัฒนาการตามช่วงวัย

คุณแม่ตั้งครรภ์

คุณแม่ตั้งครรภ์

ทารก

ทารก

คุณแม่ให้นมบุตร

คุณแม่ให้นมบุตร

เด็กวัยเตาะแตะ

เด็กวัยเตาะแตะ

ข้อมูลเพิ่มเติม

การย่อยอาหารและการขับถ่ายของลูก

การย่อยอาหารและการขับถ่ายของลูก

การพัฒนาสมอง

การพัฒนาสมอง

สฟิงโกไมอีลิน

สฟิงโกไมอีลิน

สมัครสมาชิก

สมัครสมาชิก

สิทธิพิเศษสำหรับสมาชิก

Digital Parenting Class

Digital Parenting Class

ติดต่อเรา
Facebook
Twitter
Linkedin

เลือกบทความพัฒนาการตามช่วงวัย

คุณแม่ตั้งครรภ์

คุณแม่ตั้งครรภ์

ทารก

ทารก

คุณแม่ให้นมบุตร

คุณแม่ให้นมบุตร

เด็กวัยเตาะแตะ

เด็กวัยเตาะแตะ

ข้อมูลเพิ่มเติม

การย่อยอาหารและการขับถ่ายของลูก

การย่อยอาหารและการขับถ่ายของลูก

การพัฒนาสมอง

การพัฒนาสมอง

สฟิงโกไมอีลิน

สฟิงโกไมอีลิน

สมัครสมาชิก

สมัครสมาชิก

สิทธิพิเศษสำหรับสมาชิก

Digital Parenting Class

Digital Parenting Class

Home
faceเข้าระบบ
more_vert
Line
Tel
Register
ภาวะการย่อยแลคโตสบกพร่อง เป็นอาการที่ร่างกายไม่
สามารถย่อยน้ำตาลแลคโตสที่อยู่ในนมแม่หรือนมวัว
ได้ ทำให้ลูก
น้อยเกิดอาการท้องเสีย ถ่ายเหลว และอาเจียนหลังจากทานนม
เข้าไป ส่วนสาเหตุสามารถเกิดขึ้นได้หลาย
ปัจจัยด้วยกัน หากพ่อ
แม่สงสัยว่าลูกเกิดภาวะการย่อยแลคโตสบกพร่องหรือไม่ ควรรีบ
พาไปพบแพทย์ทันที
เพื่อให้ลูกได้รับแนวทางการรักษาที่ถูกต้อง
ภาวะการย่อยแลคโตสบกพร่อง หรือ การย่อยแลคโตสผิด
ปกติ (Lactose Intolerance) คือ ภาวะที่ร่างกาย
ไม่สามารถย่อย
น้ำตาลแลคโตสที่พบมากในน้ำนมของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอย่าง
น้ำนมแม่ได้



โดยปกติแล้วเมื่อน้อง ๆ หนู ๆ ทานนมเข้าไป เซลล์เยื่อบุลำไส้เล็กจะ
ผลิตเอนไซม์แลคเตส (Lactase) ออกมาเพื่อย่อย
น้ำตาลแลคโตส
ที่เป็นน้ำตาลโมเลกุลคู่ให้เป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว เพื่อให้ร่างกาย
ดูดซึมน้ำตาลเข้าสู่ผิวบุผนังลำไส้
แล้วเปลี่ยนเป็นพลังงานให้แก่
ร่างกายได้ง่ายยิ่งขึ้น
หากลูกน้อยมีภาวะการย่อยแลคโตสบกพร่อง
จะทำให้ร่างกายผลิต
เอนไซม์แลคเตสไม่เพียงพอ
หรือไม่สร้างเลย เราเรียกว่าลักษณะ
อาการ
แบบนี้ว่า ภาวะขาดเอนไซม์แลคเตส (Lactase)



เมื่อน้ำตาลแลคโตสไม่ถูกทำให้ย่อย จึงเกิดการ
หมักจากแบคทีเรีย
ที่อยู่ในลำไส้ใหญ่ ทำให้เกิด
การสร้างกรดและแก๊สในท้องจนเป็น
เหตุให้เกิด
อาการท้องอืด ปวดท้อง มีลมในท้อง ท้องเสีย

เสียดท้อง และท้องร่วงได้
 
ความผิดปกติทางพันธุกรรมจาก
พ่อและแม่ที่ถูกถ่ายทอดมาสู่ลูก
ทำให้เด็กมีภาวะขาดเอนไซม์
แลคเตสตั้งแต่แรกเกิด
เกิดจากภาวะพร่องเอนไซม์แลคเตส ในเด็ก
บางคนอาจมีภาวะนี้ตั้งแต่เกิดแต่เพิ่งจะมา
แสดงอาการเมื่อโตขึ้น และอาจมาจากช่วง
อายุ เพราะปกติแล้วปริมาณเอนไซม์
แลคเตสจะมีมากในช่วงวัยทารก แล้วจะลด
น้อยลงเรื่อย ๆ เมื่อเด็กโตขึ้นหรือในวัย
ผู้ใหญ่ ทำให้ร่างกายไม่สามารถสร้างน้ำย่อย
แลคโตสได้เพียงพอหรือไม่สร้างเลย
เกิดภายหลังติดเชื้อ หรือการอักเสบของ
ลำไส้เล็กจากการท้องเสียบ่อย ๆ หรือท้องเสีย
เรื้อรัง เช่น ท้องเสียจากการติดเชื้อ
ไวรัสโรต้า ทำให้ร่างกายสร้างน้ำย่อยได้
น้อยลงชั่วคราวได้จากการที่เยื่อบุลำไส้เล็ก
เกิดอาการบาดเจ็บจนเซลล์เยื่อบุลำไส้เล็ก
สร้างน้ำย่อยไม่เพียงพอจนส่งผลให้ย่อยนม
และอาหารได้น้อยลง ทำให้ลำไส้ขาดน้ำย่อย
น้ำตาลแลคโตส หรือมีอาการพร่อง
เอนไซม์แลคเตสเอาได้
เด็กคลอดก่อนกำหนดมักมีอาการ
ภาวะการย่อยแลคโตสบกพร่อง
เนื่องจากระบบทางเดินอาหารของเด็ก
ยังเติบโตไม่เต็มที่ ทำให้มีปัญหาเกี่ยว
กับลำไส้เล็กจนนำไปสู่ภาวะ
ดังกล่าวได้
ความรุนแรงของอาการย่อย
แลคโตสบกพร่องจะมากหรือน้อยขึ้น
อยู่กับปริมาณนมหรืออาหารที่ลูกน้อย
ได้ทานเข้าไป และปริมาณน้ำย่อย
แลคเตสที่ผลิตได้ สำหรับอาการ
ที่พบบ่อย ได้แก่
โดยปกติแล้วอาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นหลังจากที่ลูกน้อยได้รับนมไป
ประมาณ 30 นาที จนถึง 2 ชั่วโมง ในช่วงระยะเวลานี้ คุณแม่ต้อง
คอยสังเกตดูว่าลูกน้อยมีอาการท้องเสียมากน้อยเพียงใด
หากลูกมีอาการท้องเสียมากควรรีบไปพบแพทย์ทันที โดยปกติแล้ว
อาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นหลังจากที่ลูกน้อยได้รับนมไปประมาณ
30 นาที จนถึง 2 ชั่วโมง ในช่วงระยะเวลานี้ คุณแม่ต้องคอยสังเกต
ดูว่าลูกน้อยมีอาการท้องเสียมากน้อยเพียงใด หากลูกมีอาการ
ท้องเสียมากควรรีบไปพบแพทย์ทันที
หากคุณแม่สงสัยว่าลูกน้อยอาจมีภาวะการย่อยแลค
โตสบกพร่องหรือไม่
สามารถขอรับคำปรึกษาและคำแนะนำ
จากแพทย์ได้ โดยคุณหมออาจจะแนะนำให้มีการปฏิบัติตัว
เพื่อหลีกเลี่ยงอาการย่อยแลคโตสผิดปกติ ดังนี้
เด็กเล็กมีภาวะขาดเอนไซม์แลคเตส
ตั้งแต่กำเนิด หรือจากความผิดปกติของ
พันธุกรรม ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของ
แพทย์ เพื่อที่หนูน้อยได้รับสารอาหาร
ที่เพียงพออย่างต่อเนื่อง
ในกรณีที่เกิดภาวะบกพร่องเอนไซม์
แลคเตสชั่วคราว แพทย์ส่วนใหญ่จะ
แนะนำให้คุณแม่หลีกเลี่ยงการให้นมลูก
ที่มีน้ำตาลแลคโตส หรือลดปริมาณนมลง
ครึ่งหนึ่งจากที่กินอยู่เป็นประจำ ส่วน
คุณแม่ให้นม แพทย์จะแนะนำให้ปั๊มนม
ส่วนหน้าที่มีน้ำตาลแลคโตสสูงออกไป
ก่อน แล้วค่อยให้ลูกน้อยทานนมส่วนหลัง
ทีละน้อยทีหลังเมื่ออาการดีขึ้นมากแล้ว
เพื่อให้ลำไส้ของน้อง ๆ หนูๆ มีเวลาปรับ
ตัวนั่นเอง
คุณแม่จะต้องระวังอาหารหรือผลิตภัณฑ์
ที่มีน้ำตาลแลคโตสหรือนมวัวเป็นส่วน
ประกอบ เช่น เต้าหู้ เนย ไอศกรีม ชีส
ครีมเทียม ขนมปัง เค้ก เป็นต้น
เพื่อหลีกเลี่ยงอาการรุนแรง
การย่อยแลคโตสบกพร่องไม่เหมือนกับอาการแพ้นม
หรือแพ้โปรตีนนม เนื่องจากการแพ้น้ำตาลแลคโตสไม่ได้เป็น
ปฏิกิริยาที่ทำให้เกิดภูมิแพ้ จึงไม่พบอาการทางผิวหนัง
ในขณะที่อาการแพ้โปรตีนนมมักเกิดจากระบบภูมิคุ้มกันของ
ร่างกายที่เกิดจากการตอบสนองกับนมหรืออาหารบางประเภท
ทำให้ร่างกายเกิดการสนองด้วยอาการต่าง ๆ ตั้งแต่อาการ
เล็กน้อย เช่น ผดผื่น ตามร่างกาย คัน ไปจนถึงอาการรุนแรง
เช่น หายใจติดขัด
อีกทั้งอาการย่อยแลคโตสบกพร่อง คุณแม่ยังสามารถให้ลูกน้อย
ทานนมแม่หรือนมวัวได้ แต่จำเป็นต้องลดปริมาณลงก่อนในช่วง
แรก ๆ เพื่อให้ร่างกายมีการปรับตัว

หากมีอาการพร่องเอนไซม์ชั่วคราวเด็กก็จะกลับมาทานนมแม่หรือ
นมวัวได้ แต่ในกรณีที่เด็กมีอาการแพ้โปรตีนนมวัว จะไม่สามารถ
ทานนมวัว หรือผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมจากนมวัวได้เลย เพราะการ
ที่หนูน้อยได้รับสารก่อภูมิแพ้เพียงนิดเดียวก็อาจกระตุ้นให้เด็กเกิด
อาการแพ้นมได้
โพรไบโอติก (probiotics) หรือจุลินทรีย์สุขภาพ เป็นเชื้อจุลินทรีย์
อาศัยอยู่ร่วมกับสิ่งมีชีวิตเจ้าบ้าน (host) ที่ก่อให้เกิดผลดีต่อ
สุขภาพ และได้รับการยืนยันด้วยการศึกษาทางคลินิกว่าสามารถ
ป้องกันและรักษาโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร และโรคหรือ
ความผิดปกตินอกระบบทางเดินอาหาร1 จุลินทรีย์ที่เป็นโพรไบโอติก
สามารถพบได้ทั้งในแบคทีเรีย ยีสต์ และรา ปัจจุบันมีการนำมาใช้
ทางด้านสุขภาพในหลากหลายรูปแบบ และแตกต่างกันออกไป
เป็นจุลินทรีย์สุขภาพกลุ่มแลคโตบาซิลัส (Lactobacillus)
ที่มีการศึกษาหลากหลายตั้งแต่ทารกจนถึงผู้ใหญ่ มีประโยชน์ต่อ
ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย สามารถพบได้ในร่างกายมนุษย์ เช่น
ระบบทางเดินอาหาร ทางเดินปัสสาวะ ผิวหนัง และน้ำนมแม่ ซึ่ง
มีความสามารถในการผลิตเปปไทด์ต้านจุลชีพ (antimicrobial
peptides) จำพวกกรดอินทรีย์หลายชนิดที่ช่วยยับยั้งการเจริญ
เติบโตของเชื้อก่อโรค ทั้งยังช่วยปรับสมดุลการตอบสนองของ
ภูมิคุ้มกันในร่างกาย ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของลำไส้ให้แข็งแรง
และลดการเคลื่อนย้ายจุลินทรีย์ออกจากลำไส้ไปยังเนื้อเยื่อ
ต่าง ๆ2

รวมถึงลดการติดเชื้อ อีกทั้งยังช่วยในเรื่องของการดูดซึม แร่ธาตุ
และวิตามินจากอาหารเข้าสู่ร่างกายอีกด้วย นอกจากนี้ จากการ
ศึกษาประโยชน์ของ L. reuteri ในเด็กท้องเสีย พบว่า การใช้
L. reuteri เสริมร่วมกับการรักษาอื่นในเด็กท้องเสีย เช่น เกลือแร่
ดื่ม (oral rehydration solution, ORS) อาจช่วยลดระยะเวลา
ท้องเสีย ลดระยะเวลานอนโรงพยาบาล และ ลดความรุนแรง
ของการเกิดโรคได้3
ในระยะที่ทารกกินนมแม่อย่างเดียวอาจมีการถ่าย
นิ่มอยู่บ่อย ๆ เนื่องจากลูกได้รับ
นมส่วนหน้า
มากกว่านมส่วนหลัง จากการที่แม่พยายามให้ลูก
ดูดนมบ่อย และเปลี่ยน
ข้างบ่อย เพราะในนมส่วน
หน้านี้มีน้ำ และน้ำตาลแลคโตสในปริมาณมาก ลูก
น้อย
จึงถ่ายบ่อย บางรายถ่ายจนก้นแดง ซึ่งคุณ
แม่สามารถแก้ไขได้โดยให้ลูก
กินนมแม่ต่อไป



แต่ควรให้นมลูกอย่างถูกต้อง โดยพยายามให้ลูก
ดูดนมให้นานพอ ดูดให้เกลี้ยงเต้า
และควรบีบนม
ส่วนหน้า (fore milk) ทิ้งก่อนแล้วค่อยให้ลูกดูด
นมส่วนหลัง
(hind milk) เพราะนมแม่มีคุณ
ประโยชน์มากมาย เช่น แอล รียูเทอรี
(L. reuteri)
ที่ช่วยปรับสมดุลและยับยั้งการเจริญ
เติบโตของเชื้อโรคภายในลำไส้ มี DHA และ
AA
ที่เป็นกรดไขมันที่จำเป็นต่อระบบประสาทและการ
มองเห็น ทั้งยังมีสารอาหารที่
ช่วยสร้างเนื้อ
สมอง และพัฒนาการทางสมองที่ดีด้วย อย่างไร
ก็ตาม หากคุณแม่พบ
ว่าลูกไม่สบายจากอาการ
ท้องเสีย ซึม ดูดนมได้ไม่ดี มีลักษณะของการติด
เชื้อ และ
น้ำหนักลด ควรรีบพาลูกไปพบแพทย์
เพื่อหาสาเหตุของปัญหาทางท้องเสีย4-5
การรับประทานอาหารที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการ ทั้งในระหว่างตั้งครรภ์และ
หลังคลอด ช่วยให้แม่มีปริมาณน้ำนม
ที่เพียงพอ หลังการคลอดบุตร การเลี้ยง
ลูกด้วยนมแม่ เป็นสิ่งที่สุดสำหรับทารก เนื่องจาก นมแม่มีคุณค่าทางโภชนาการ

สูงสุด และช่วยปกป้องลูกน้อยจากภาวะเจ็บป่วยต่างๆ



หลังจาก 6 เดือน สามารถเริ่มให้อาหารเสริมตามวัยที่มีคุณค่าโภชนาการ
เพียงพอร่วมกับนมแม่จนครบ 2 ปี
หรือนานกว่านั้น
เอกสารอ้างอิง
  1. อรวรรณ ละอองคำ. โพรไบโอติก: จุลินทรีย์คัดสรรเพื่อสุขภาพ, วารสารอาหาร. ต.ค.-ธ.ค. 2562;49(4)
  2. Qinghui Mu, Vincent J. Tavella and Xin M. Luo. Role of Lactobacillus reuteri in Human Health and
    Diseases. 2018:757(9)
  3. สมาคมกุมารเวชศาสตร์ทางเดินอาหารและตับ. แนวทางเวชปฏิบัติการดูแลรักษาโรคท้องร่วงเฉียบพลันในเด็ก. 2562
  4. เจษฎา โทนุสิน. Breastfeeding in Special Condition. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์
  5. ผกากรอง วนไพศาล. น้ำนมแม่ ประโยชน์อเนกอนันต์. ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
    อ้างอิง ณ วันที่ 18 พฤศจิกายน 2564
Recruit BannerRecruit Banner
Footer logo
  • ประกาศความเป็นส่วนตัว
  • ข้อกำหนดการใช้งาน
  • ประกาศเกี่ยวกับคุกกี้
  • ติดต่อเรา
  • แสดงความคิดเห็น

WYETH is used under license of Wyeth LLC, registered owner.
All other trademarks are owned by Societe des Produits Nestlé, SA or used with permission.

©2023 All rights reserved

store register store register store register store register parenting class registration parenting class registration store locator button store locator button product button product button
What are you looking for?
search

BreastfeedingST_popup

นมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก เราสนับสนุนข้อแนะนำขององค์การอนามัยโลกในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือน และหลังจาก 6 เดือนเริ่มให้อาหารเสริมตามวัยร่วมกับนมแม่ จนครบ 2 ปี หรือนานกว่านั้น

S-Mom Club เราพร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลท่าน ด้วยการมอบข้อมูลโภชนาการที่น่าเชื่อถือ ไว้วางใจได้ เพื่อสนับสนุนครอบครัวของท่านในการดูแลโภชนาการที่ดีที่สุด