วิธีสังเกตการได้ยินของลูกวัยแรกเกิด - 6 เดือน ที่พ่อแม่ไม่ควรละเลย

วิธีสังเกตการได้ยินของลูกวัยแรกเกิด - 6 เดือน ที่พ่อแม่ไม่ควรละเลย

คุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตการได้ยินของลูกน้อยได้ตั้งแต่แรกเกิด เพื่อช่วยตรวจหาความผิดปกติของการได้ยินตั้งแต่ระยะเริ่มต้น ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญต่อพัฒนาการด้านภาษา การสื่อสาร และการเรียนรู้ของเด็ก การสังเกตพฤติกรรมของลูกน้อยสามารถช่วยให้คุณพ่อคุณแม่รับรู้ถึงสัญญาณความผิดปกติได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ เด็กที่มีปัญหาการได้ยินอาจไม่แสดงปฏิกิริยาตอบสนองต่อเสียง เช่น ไม่ผวาหรือมองหาเมื่อได้ยินเสียงดัง ไม่ค่อยส่งเสียงอืออาหรือเล่นเสียง ไม่พยายามเลียนเสียงพูดและเสียงจากสิ่งแวดล้อม รวมถึงมีพัฒนาการทางภาษาช้ากว่าปกติ เช่น เริ่มพูดคำที่มีความหมายช้าหรือไม่พูดเลย ไม่สามารถทำตามคำสั่งง่าย ๆ หรือไม่เข้าใจคำพูด หรืออาจมีสาเหตุมาจากความผิดปกติของหูชั้นนอก เช่น การติดเชื้อในช่องหู รูหูตีบตัน เนื้องอกหรือขี้หูอุดตันในรูหู เป็นต้น ดังนั้น หากคุณพ่อคุณแม่สังเกตพบพฤติกรรมดังกล่าว ควรรีบพาลูกไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทันที เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและการรักษาที่ถูกต้องโดยเร็วที่สุด เพื่อให้เด็กได้รับโอกาสในการพัฒนาทักษะการได้ยินอย่างทันท่วงที

วิธีสังเกตการได้ยินของลูกวัยแรกเกิด - 6 เดือน ที่พ่อแม่ไม่ควรละเลย

สรุป

  • การตรวจการได้ยินในทารกแรกเกิดไปจนถึงเด็กเล็ก เป็นเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรมองข้าม เพราะหากทารกมีปัญหาด้านการได้ยิน อาจส่งผลกระทบต่อพัฒนาการในหลายด้าน โดยเฉพาะการพูดและการเรียนรู้ หากไม่ได้รับการตรวจพบและดูแลตั้งแต่เนิ่น ๆ อาจทำให้ทารกมีพัฒนาการช้าในด้านการสื่อสารและด้านทักษะทางสังคมได้
  • วิธีสังเกตอาการของทารกว่ามีปัญหาทางการได้ยินหรือไม่นั้น สามารถทำได้โดยสังเกตพฤติกรรมของทารก เช่น ไม่ผวาหรือมองหาเมื่อได้ยินเสียงดัง ไม่ค่อยส่งเสียงอืออาหรือเล่นเสียง ไม่พยายามเลียนเสียงพูดและเสียงจากสิ่งแวดล้อม และอาจมีสาเหตุมาจากความผิดปกติของหูชั้นนอกก็ได้เช่นกัน เช่น การติดเชื้อในช่องหู รูหูตีบตัน เนื้องอกหรือขี้หูอุดตันในรูหู เป็นต้น ซึ่งเมื่อคุณพ่อคุณแม่มีการตรวจพบปัญหาทางการได้ยินตั้งแต่แรก ก็จะช่วยให้สามารถวางแผนการรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพการได้ยินได้อย่างเหมาะสมและทันท่วงที

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ


วิธีสังเกตการได้ยินของลูก: ทำไมถึงสำคัญสำหรับพัฒนาการของเด็ก?

คุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตพฤติกรรมของลูกน้อย ซึ่งจะช่วยให้ทราบถึงสัญญาณความผิดปกติทางการได้ยินของลูกได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ เช่น ลูกไม่ผวาหรือมองหาเมื่อได้ยินเสียงดัง ไม่ค่อยส่งเสียงอืออาหรือเล่นเสียง ไม่พยายามเลียนเสียงพูดและเสียงจากสิ่งแวดล้อม รวมถึงมีพัฒนาการทางภาษาช้ากว่าปกติ เช่น เริ่มพูดคำที่มีความหมายช้าหรือไม่พูดเลย ไม่สามารถทำตามคำสั่งง่าย ๆ หรือไม่เข้าใจคำพูด หรืออาจมีสาเหตุมาจากความผิดปกติของหูชั้นนอก เช่น การติดเชื้อในช่องหู รูหูตีบตัน เนื้องอกหรือขี้หูอุดตันในรูหู เป็นต้น ดังนั้น หากคุณพ่อคุณแม่สังเกตพบพฤติกรรมดังกล่าว ควรรีบพาลูกไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทันที เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและการรักษาที่ถูกต้องโดยเร็วที่สุด เพื่อให้เด็กได้รับโอกาสในการพัฒนาทักษะการได้ยินอย่างทันท่วงที

 

พัฒนาการด้านการได้ยินของเด็ก 6 เดือนควรเป็นอย่างไร?

เมื่ออายุได้ 6 เดือน ลูกน้อยจะเริ่มใช้เสียงเพื่อสื่อถึงอารมณ์และแสดงความต้องการ อาจเลียนแบบเสียงที่ได้ยิน เช่น "มา" "ดา" "อา" "โอ" หรือแม้แต่ "ไม่" รวมถึงเริ่มจำชื่อตัวเองได้และตอบสนองเมื่อมีคนเรียก นอกจากนี้ยังเริ่มผสมเสียงสระเข้าด้วยกัน ส่งเสียงโต้ตอบกับคนรอบข้าง มีการส่งเสียงแสดงอารมณ์ทั้งดีและไม่ดี เพื่อเสริมสร้างพัฒนาการด้านการได้ยินและการสื่อสารของลูก คุณพ่อคุณแม่ควรมีส่วนร่วมในการพูดคุยและเล่นกับลูกอย่างสม่ำเสมอ การเลียนแบบเสียงที่ลูกเปล่งออกมาจะช่วยให้เกิดปฏิสัมพันธ์ที่ดีและกระตุ้นให้ลูกพัฒนาทักษะการฟังและการพูดได้อย่างเป็นธรรมชาติ การพูดคุยกับลูกบ่อย ๆ ใช้คำพูดที่ชัดเจน สีหน้าและน้ำเสียงที่อบอุ่น รวมถึงการอ่านนิทานหรือร้องเพลงให้ฟัง จะช่วยกระตุ้นการเรียนรู้และพัฒนาการทางภาษาของลูกให้ดียิ่งขึ้น

 

วิธีสังเกตการได้ยินของลูกในชีวิตประจำวัน

 

วิธีสังเกตการได้ยินของลูกในชีวิตประจำวัน

คุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตพัฒนาการทางการได้ยินและการพูดของลูกน้อยได้ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงวัย 2 ปี เด็กแรกเกิดถึง 3 เดือนจะแสดงอาการสะดุ้งตกใจหรือร้องไห้เมื่อได้ยินเสียงดัง มีการเล่นเสียงในลำคอ และเริ่มแสดงปฏิกิริยาตอบสนองต่อเสียงที่คุ้นเคย เช่น เสียงของพ่อแม่ พอเข้าสู่ช่วง 3-6 เดือน เด็กจะแสดงท่าทางคล้ายหยุดฟังเมื่อพ่อแม่พูดคุยด้วย สามารถกลอกตาหรือหันหาแหล่งกำเนิดเสียง แม้เป็นเสียงเบา ๆ และเริ่มออกเสียงพยัญชนะและสระรวมกัน เช่น "กากา" "บาบา" เป็นต้น

 

สัญญาณเตือนที่อาจบ่งบอกถึงปัญหาการได้ยินในเด็ก 6 เดือน

คุณพ่อคุณแม่มีวิธีสังเกตอาการผิดปกติทางด้านการได้ยินของเด็ก 6 เดือนได้ดังนี้ เช่น ลูกที่มีอายุน้อยกว่า 6 เดือน แต่ไม่มีอาการสะดุ้งตกใจเวลาเกิดเสียงดัง ไม่หันศีรษะหาเสียง ไม่หยุดร้องเมื่อได้ยินเสียงปลอบ ไม่ส่งเสียงอืออา และไม่มีการตอบสนองต่อเสียงเรียกชื่อหรือไม่หันไม่เข้าใจคำสั่งง่าย ๆ หรืออาจมีสาเหตุมาจาก การติดเชื้อในช่องหู ขี้หูอุดตัน สิ่งเหล่านี้ล้วนคืออาการของเด็กที่มีปัญหาการได้ยินทั้งสิ้น

 

เด็ก 6 เดือนควรได้รับการตรวจการได้ยินเมื่อไหร่?

การตรวจคัดกรองการได้ยินสามารถทำได้ตั้งแต่แรกเกิด โดยเฉพาะในทารกที่มีอายุตั้งแต่ 2 วันขึ้นไป ซึ่งวิธีการตรวจที่ใช้กันอย่างแพร่หลายคือ Otoacoustic Emissions (OAE) ซึ่งเป็นการประเมินการทำงานของเซลล์ประสาทในหูชั้นในที่เกี่ยวข้องกับการรับเสียง โดยอาศัยหลักการที่ว่า หากหูชั้นในสามารถตอบสนองต่อเสียงได้อย่างปกติ แสดงว่าเด็กมีการได้ยินที่ดี กระบวนการตรวจนี้ดำเนินการขณะที่เด็กหลับหรือนิ่งสงบ โดยการปล่อยเสียงกระตุ้นเข้าสู่หูเด็ก ผ่านเครื่องมือที่ออกแบบมาเฉพาะทาง ซึ่งไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวดหรือความไม่สบายตัว เมื่อการตรวจเสร็จสิ้น เครื่องจะวิเคราะห์และแสดงผลโดยอัตโนมัติ ใช้ระยะเวลาตรวจเพียงไม่นาน สามารถทราบผลการตรวจได้ทันที โดยหากผลการตรวจพบความผิดปกติ เด็กอาจต้องได้รับการทดสอบซ้ำ หรือเข้ารับการตรวจเพิ่มเติมเพื่อยืนยันผล

 

วิธีช่วยเสริมพัฒนาการการได้ยินของลูกวัย 6 เดือน

คุณพ่อคุณแม่สามารถช่วยเสริมพัฒนาการการได้ยินของเด็ก 6 เดือนได้ โดยเริ่มจากการพูดคุยกับลูก เช่น การเรียกชื่อเล่นของลูก การเล่นกับลูกโดยใช้เสียงเช่น เล่นจ๊ะเอ๋ หรือจะเป็นการอ่านหนังสือที่มีรูปภาพเยอะ ๆ มีสีสันต่าง ๆ ให้ลูกได้ฟัง ก็สามารถทำได้เช่นกัน ทั้งนี้เพื่อให้ลูกมีความคุ้นเคยกับเสียงของคุณพ่อและคุณแม่ เป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างคุณพ่อคุณแม่และลูกน้อย อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมพัฒนาการการได้ยินที่ดีอีกด้วย

 

เมื่อไหร่ที่ควรกังวลและปรึกษาแพทย์?

คุณพ่อคุณแม่ควรให้ความสำคัญกับพัฒนาการการได้ยินของเด็กตั้งแต่แรกเกิด เนื่องจากการได้ยินที่ผิดปกติอาจส่งผลกระทบต่อพัฒนาการทางการพูดและการเรียนรู้ของเด็ก หากสงสัยว่าเด็กมีความบกพร่องในการได้ยินหรือมีพัฒนาการทางการพูดล่าช้า ควรรีบพาเด็กเข้าพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านหู คอ จมูก เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและรักษาโดยเร็วที่สุด ซึ่งปัจจัยที่อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะหูหนวกหรือความบกพร่องในการได้ยินของลูกน้อย ได้แก่ ประวัติครอบครัวที่มีญาติเป็นโรคหูหนวกหรือเป็นใบ้แต่กำเนิด ความผิดปกติของศีรษะและใบหน้า โดยเฉพาะการผิดรูปของใบหูและช่องหู ประวัติการติดเชื้อระหว่างตั้งครรภ์ เช่น หัดเยอรมัน ซิฟิลิส หรือไข้สุกใส การได้รับสารอันตรายในครรภ์จากมารดาที่สูบบุหรี่ ดื่มสุรา หรือติดยาเสพติดในระหว่างตั้งครรภ์ การรักษาในหออภิบาลวิกฤตทารกแรกเกิดเป็นเวลานานกว่า 48 ชั่วโมง ประวัติการเจ็บป่วยในช่วงแรกเกิด เช่น การติดเชื้อในช่องหู ภาวะตัวเหลืองรุนแรงจนต้องได้รับการเปลี่ยนถ่ายเลือด หรือปัญหาการหายใจที่ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ เป็นต้น

 

เมื่อไหร่ที่ควรกังวลและปรึกษาแพทย์?


 

หากคุณพ่อคุณแม่พบว่าลูกน้อยมีพฤติกรรมที่อาจเกี่ยวข้องกับปัญหาการได้ยิน เช่น ในวัยไม่เกิน 6 เดือน ไม่สะดุ้งตกใจเมื่อได้ยินเสียงดัง ไม่หันศีรษะตามเสียง หรือไม่หยุดร้องเมื่อได้ยินเสียงปลอบ และในช่วงอายุเด็ก 6 เดือน ถึง 1 ปี ไม่ตอบสนองต่อเสียงเรียกชื่อ ไม่หันหาเสียง หรือไม่เข้าใจคำสั่งง่าย ๆ คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรนิ่งนอนใจ เพราะยิ่งเวลาผ่านไปนาน ปัญหาการได้ยินของลูกอาจรุนแรงขึ้นและส่งผลกระทบต่อพัฒนาการด้านอื่น ๆ ได้ ควรพาลูกเข้าพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านหูและการได้ยินโดยเร็วที่สุด เพื่อรับการวินิจฉัยและการรักษาที่เหมาะสม ซึ่งจะช่วยให้เด็กสามารถพัฒนาศักยภาพและมีคุณภาพชีวิตที่ดีในอนาคตต่อไป

อ้างอิง:

  1. ตรวจการได้ยินในเด็กแรกเกิดและเด็กเล็ก เรื่องสำคัญที่พ่อแม่ไม่ควรละเลย, โรงพยาบาลไทยนครินทร์
  2. การตรวจคัดกรองการได้ยินในทารกสำคัญอย่างไร, ศูนย์ศรีพัฒน์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  3. การตรวจการได้ยินในเด็กแรกเกิดและเด็กเล็ก, โรงพยาบาลพญาไท
  4. พัฒนาการของลูกน้อยเมื่ออายุ 6 เดือน ทุกสิ่งที่คุณควรรู้เมื่อลูกน้อยอายุได้ 6 เดือน, Unicef Thailand
  5. สังเกตพัฒนาการการได้ยินของลูก, รศ.พญ.ประสบศรี อึ้งถาวร อุปนายกแพทยสภา
  6. จะทราบได้อย่างไรว่าลูกหูตึง หูหนวก บกพร่องทางการได้ยิน, พญ. จุฑามาส สุวัฒนภักดี โรงพยาบาลนครธน
  7. พัฒนาการทารก 6 เดือน, นาทีที่ 2.09, พญ.กัลย์สุดา อริยะวัตรกุล
  8. สูญเสียการได้ยิน (Hearing Loss), โรงพยาบาลเมดพาร์ค

อ้างอิง ณ วันที่ 18 มีนาคม 2568