ลูกท้องผูกเรื้อรัง ลูกไม่ถ่าย ลูกถ่ายยาก บ่งบอกถึงอะไร
ลูกท้องผูก ลูกถ่ายยาก อาการถ่ายไม่ออก ถ่ายยาก มักจะเป็นอาการที่เราพบกันบ่อย ๆ ในเด็ก ซึ่งการดูแลที่ไม่ถูกต้องหรือรู้ไม่เท่าทันโรคนั้นจะทำให้เกิดความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ
สาเหตุอาการลูกท้องผูก ลูกไม่ถ่าย
ความผิดปกติทางกายภาพและอาการลูกท้องผูก ลูกถ่ายยาก โดยแบ่งเป็น
- ความผิดปกติบริเวณทวารหนัก
- ความผิดปกติของประสาทที่ควบคุมการขับถ่ายอุจจาระ
- ความผิดปกติของประสาทไขสันหลังส่วนปลาย ซึ่งควบคุมการถ่ายอุจจาระ
- ได้รับยาบางชนิดยาที่มีฤทธิ์ยับยั้งระบบประสาทที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของลำไส้ ยาระงับประสาท และยารักษาโรคมะเร็งบางชนิด เป็นต้น
- โรคทางเมตาบอลิคเช่น โรคต่อมไธรอยด์ทำงานน้อยกว่าปกติ หรือโรคที่ทำให้มีระดับแคลเซี่ยมสูงในเลือด เป็นต้น
- ลูกท้องผูกหรือลูกไม่ถ่ายโดยไม่มีความผิดปกติทางกายภาพ มักจะมีประวัติท้องผูกในครอบครัวร่วมด้วย
- ความผิดปกติทางจิตใจการฝึกขับถ่ายแก่เด็กไม่ถูกต้อง เช่น ฝึกให้เด็กนั่งกระโถนเร็วเกินไป โดยเด็กยังไม่พร้อม เด็กอาจกลัวการนั่งกระโถน และพยายามกลั้นอุจจาระ พฤติกรรมเหล่านี้อาจจะทำให้ลูกท้องผูกและลูกถ่ายยากได้

ลูกท้องผูกบ่อย นอกจากเสียสุขภาพร่างกายแล้วยังส่งผลถึงสภาพจิตใจ
อาการลูกท้องผูก หรือ ลูกถ่ายยาก มักจะเป็นอาการที่เราพบกันบ่อย ๆ ในเด็ก ซึ่งการดูแลที่ไม่ถูกต้องหรือรู้ไม่เท่าทันโรคนั้นจะทำให้เกิดความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ แถมยังเกิดความยุ่งยากซับซ้อนในการดูแลรักษาในเวลาต่อมา และอาจจะกลายเป็นความทุกข์ทรมานของเด็ก เพราะการที่เด็กถ่ายลำบากจนกลายเป็น อาการท้องผูกเรื้อรัง หรืออาจจะทำอุจจาระเปรอะเปื้อน จะทำให้พวกเค้าเกิดความหวาดระแวง สูญเสียความเชื่อมั่นในตนเอง หรือกลายเป็นพฤติกรรมเก็บกดทางอารมณ์ได้ ดังนั้นเราควรเข้าใจถึงวิธีแก้ลูกท้องผูก ลูกถ่ายยาก และปัญหาที่ถูกต้อง สำหรับเด็ก ๆ ที่เป็นโรคนี้กันค่ะ
อาการของลูกท้องผูก ลูกไม่ถ่าย
อาการลูกท้องผูก หรือ อาการลูกถ่ายแข็ง หมายถึง การถ่ายอุจจาระที่มีลักษณะแข็ง แห้งหรือเหนียว และมีการถ่ายลำบากร่วมอยู่ด้วย จำนวนครั้งที่ถ่ายมีความสำคัญน้อยกว่าลักษณะของอุจจาระ บางคนถ่าย 2 – 3 วันต่อครั้ง แต่ถ้าอุจจาระนิ่มถ่ายไม่ลำบากก็ถือว่าเป็นการถ่ายที่ปกติค่ะ
ซึ่งหากท้องผูกเรื้อรังอยู่นานจะทำให้ลำไส้ใหญ่ยืดตัวออกขยายใหญ่มากขึ้น การบีบตัวของลำไส้จะน้อยลงพร้อมกับความรู้สึกอยากถ่ายจะน้อยลงด้วย อุจจาระก็จะแข็งขึ้นเพราะน้ำจะถูกดูดซึมกลับไปหมดทำให้ถ่ายลำบาก ขณะถ่ายความแข็งของอุจจาระจะบาดเยื่อรูทวารหนักและทำให้เป็นแผล ทำให้เด็ก ๆ รู้สึกเจ็บและพยายามกลั้น จึงส่งผลให้อาการเด็กท้องผูก ลูกถ่ายยาก มีความรุนแรงมากขึ้นโดยอาจมีเลือดปนได้ หรือบางครั้งอุจจาระที่ยังค้างอยู่ถูกแบคทีเรียในลำไส้ย่อยสลายเป็นของเหลวก็จะทำให้ถ่ายออกมาทีละน้อยกะปริบกะปรอยได้โดยไม่รู้ตัว
วิธีแก้ลูกท้องผูกและการรักษาลูกท้องผูก
- วิธีแก้ลูกท้องผูกในวัยทารก เด็กที่ดื่มนมมารดาส่วนใหญ่จะไม่มีอาการลูกท้องผูก นอกจากมารดารับประทานนมวัวหรือรับประทานอาหารโปรตีนมากเกินไป
- วิธีแก้ลูกท้องผูกในเด็กที่ดื่มนมผสม ดื่มน้ำให้มากขึ้น หรือดื่มน้ำผลไม้ เช่น น้ำลูกพรุน น้ำส้ม เพิ่ม ผัก ผลไม้ และธัญพืช เสริมอีกทางหนึ่ง
- บริหารกล้ามเนื้อหน้าท้อง เช่น การนวดท้อง และยกขาเด็กขึ้นลงจะทำให้การขับถ่ายดีขึ้น
- ฝึกนิสัยในการขับถ่ายแล้ว หากมีอาการลูกท้องผูกเรื้องรัง ให้ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางค่ะ
ทารกวัยขวบปีแรก มักมีปัญหาลูกท้องผูกอยู่ 2 ระยะ คือ
- เมื่อเปลี่ยนนม ทั้งการเปลี่ยนจากนมแม่เป็นนมผสม หรือเปลี่ยนสูตรนม เนื่องจากนมแม่มีเวย์โปรตีนสูง ซึ่งเป็นโปรตีนคุณภาพและย่อยง่ายกว่านมผสม ทารกที่กินนมแม่จึงมีปัญหาท้องผูกน้อยกว่า
- เมื่อเริ่มให้อาหารเสริม ซึ่งมักพบในกรณีให้อาหารเสริมเร็วเกินไป หรือให้อาหารเสริมที่มีเส้นใยน้อย เช่น ผักหรือผลไม้
- เด็กที่ดื่มน้ำน้อยไป สูญเสียน้ำหรือขณะมีไข้อาจจะทำให้อุจจาระแข็งและท้องผูกได้
อาการแบบนี้อาจเรียกว่า ลูกท้องผูก
- ถ่ายอุจจาระน้อยกว่า หรือเท่ากับ 2 ครั้งต่อสัปดาห์
- ถ่ายอุจจาระแข็งมาก อาจถ่ายเป็นเม็ดเล็กๆ เหมือนลูกกระสุน หรือเป็นแท่งแข็ง อุจจาระก้อนใหญ่ๆ
- ลูกถ่ายไม่ออก ลูกมีอาการถ่ายลำบาก เจ็บเวลาขับถ่าย บางครั้งอาจมีเลือดปนออกมาขณะถ่าย เนื่องจากอุจจาระแข็งมากจนทำให้รูทวารหนังเป็นแผลฉีกขาด
- ลูกท้องผูก อาจมีอาการแน่นท้อง ท้องอืด ร่วมกับถ่ายลำบากและเจ็บ
เปลี่ยนนมอย่างไร ห่างไกลลูกน้อยท้องผูก
เพื่อลดปัญหาลูกท้องผูก ลูกไม่ถ่าย คุณแม่ควรให้ลูกกินนมแม่ เพราะนมแม่ย่อยง่าย ทำให้น้องขับถ่ายได้ดี หรือถ้ากินนมผสมก็ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนสูตร ลูกกินสูตรเดิมต่อเนื่องได้ แต่ถ้าต้องการเปลี่ยนสูตรนม เพื่อให้ลูกได้รับโปรตีนและแคลเซียมสูงขึ้น คุณแม่อาจค่อย ๆ เปลี่ยนโดยเริ่มให้ผสมนมสูตรเดิมปริมาณมากกว่าสูตรใหม่ แล้วจึงค่อย ๆ ลดปริมาณนมสูตรเดิมลง และเพิ่มปริมาณนมสูตรใหม่ ตามลำดับ วิธีนี้จะช่วยให้ลูกชินกับรสชาติของนมใหม่และลำไส้ปรับตัวกับการย่อยนม ลูกน้อยสุขภาพดี Healthy ทุกวัน
สมองและพัฒนาการของลูกน้อยจะพัฒนาได้อย่างเต็มที่อยู่ที่การมีสุขภาพร่างกายที่ดีอยู่เสมอ ด้วยเหตุนี้คุณแม่จึงควรหมั่นสังเกตสุขภาพและพัฒนาการเด็กเล็กเป็นประจำ ว่ามีความผิดปกติอย่างไรหรือไม่ ลูกกินนมนี้แล้วเป็นอย่างไร เพื่อสุขภาพที่ดีของลูกน้อย หากทารกท้องเสียหรือมีอาการถ่ายเหลวร่วมด้วย คุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกน้อยไปหาหมอ เพื่อตรวจเช็กอาการเบื้องต้นและรักษาได้ทันเวลา
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
ลูกขับถ่ายดี ท้องไม่ผูก ด้วย “โอลิโกฟรุกโตส”
ลูกถ่ายเหลว ถ่ายบ่อยจนก้นแดงต้องทำอย่างไร
อ้างอิง
https://www.samitivejhospitals.com/th/article/detail/เด็กท้องผูก
อ้างอิงวันที่ 7 มีนาคม 2563
1.หนังสือ 26 เคล็ดลับหน้ารู้ Tips for Modern Mom Vol.3, Vol.4 2.หนังสือ Miracle Baby สร้างมหัศจรรย์ให้ลูกรักเต็มศักยภาพ
บทความแนะนำ

1,000 ชื่อจริงมงคล ตั้งชื่อลูกดีเสริมชีวีเป็นสุข
เตรียมพร้อมเป็นคุณพ่อคุณแม่มือใหม่อีกหนึ่งสเต็ป ด้วยการเลือกชื่อที่เป็นสิริมงคลให้กับลูกน้อย วันนี้เรามีชื่อจริงมงคลถึง 1,000 ชื่อมาให้ทุกคนเลือกกันอย่างจุใจค่ะ โดยเราจะแยกเป็นหมวดหมู่ชื่อของเด็กที่เกิดในแต่ละวันในสัปดาห์ ซึ่งจะเข้ามาเสริมสิริมงคลรอบด้านในชีวิตของน้อง ๆ ให้อยู่ร่มเย็นเป็นสุขค่ะ ถ้าพร้อมแล้วไปชมพาเหรดชื่อมงคลกันเลยค่ะ

15 คำถามเรื่องเบบี๋ ที่แม่มือใหม่อยากรู้
ทารกเป็นวัยที่มีความบอบบาง ต้องการการปกป้องดูแลมากเป็นพิเศษ นอกจากนี้เบบี๋ตัวน้อย ๆ ยังไม่สามารถสื่อสารความต้องการ หรือความเจ็บปวดออกมาเป็นคำพูดได้ ดังนั้น คุณแม่มือใหม่จึงมีเรื่องมากมายที่สงสัยใคร่รู้อยู่เสมอ เราจึงรวบรวม 15 คำถามเรื่องเบบี๋ ที่คุณแม่มือใหม่อยากรู้ มาฝากดังนี้

โภชนาการลูกวัย 0-1 ปี ลูกวัยนี้กินอะไรดีนะ
สำหรับช่วงวัยทารกขวบปีแรก หรือ วัย 0-1 ปีแรกของลูกนั้น การได้รับโภชนาการที่ดี ถูกต้อง เหมาะสม มีส่วนสำคัญสำหรับพัฒนาการและการเจริญเติบโตของลูกเป็นอย่างมาก ดังนั้นคุณแม่จึงควรใส่ใจและดูแลเรื่องโภชนาการของลูกน้อยอย่างใกล้ชิด ที่สำคัญ การเสริมอาหารของลูกในแต่ละวัยมีความแตกต่างกันไปตามช่วงอายุ ในวันนี้เราจะมาแนะนำอาหารที่เหมาะสมกับลูกตั้งแต่แรกเกิด (0 เดือน) จนถึง 1 ขวบปีกัน