ท้องผูก

ทารกถ่ายแข็ง อุจจาระแข็ง ถ่ายยาก มีลักษณะอย่างไร ดูแลรักษาอย่างไร

ภาวะท้องผูก หรือ ทารกถ่ายแข็ง (Constipation) เป็นภาวะที่พบได้บ่อยในเด็ก และเป็นปัญหาที่พบมากขึ้นเรื่อยๆ โดยความหมายของท้องผูกอาจจะแตกต่างกันระหว่างมุมมองของผู้ดูแลกับแพทย์

headphones
อ่าน 3 นาที

ทารกถ่ายแข็ง อุจจาระเด็กท้องผูกเป็นอย่างไร 

 

ภาวะท้องผูก หรือ ลูกน้อยถ่ายแข็ง (Constipation) เป็นภาวะที่พบได้บ่อยในเด็ก และเป็นปัญหาที่พบมากขึ้นเรื่อยๆ โดยความหมายของ ลูกท้องผูก อาจจะแตกต่างกันระหว่างมุมมองของผู้ดูแลกับแพทย์
 

นิยามของท้องผูกในเด็ก


ภาวะท้องผูกในเด็ก หมายถึง การอุจจาระน้อยกว่าหรือเท่ากับ 2 ครั้งต่อสัปดาห์ อาการอุจจาระแข็งร่วมกับมีอาการเจ็บปวด ต้องเบ่งถ่ายมาก หรือมีเลือดปน ถึงแม้ว่าบางครั้งอาจจะอุจจาระทุกวัน หรือวันละ 2-3 ครั้งก็ตาม แต่ในเด็กทารกวัย 1-2 เดือนที่ได้รับนมมารดาอย่างเดียว อาจจะอุจจาระวันละหลายครั้ง หรือหลายวันครั้งก็ได้ โดยทารกกลุ่มนี้จะไม่มีอาการผิดปกติอื่นใด ดูดนมได้ดี น้ำหนักขึ้นตามปกติ บางรายอาจไม่อุจจาระนาน 5-10 วันก็ได้
ดังนั้นการวินิจฉัยท้องผูกในทารกแรกเกิดจะไม่ดูที่ความถี่ในการอุจจาระอย่างเดียว ต้องอาศัยประวัติและการตรวจร่างกายร่วมด้วย

 

สาเหตุของ ทารกถ่ายแข็ง


ปัญหาท้องผูกเรื้อรังมักจะเกิดจากหลายปัจจัยและแตกต่างกันไปตามแต่ละช่วงวัย อาจจะเกิดจากความผิดปกติของลำไส้เอง จากปัจจัยทางด้านจิตใจ การฝึกขับถ่ายที่ไม่ถูกต้อง หรือโรคทางกายอื่นๆในทารกหรือเด็กเล็กจำเป็นต้องหาโรคที่เป็นสาเหตุก่อน หรือบางครั้งอาจเกิดจากภาวะแพ้โปรตีนจากนมวัว แต่ในเด็กโตส่วนใหญ่มักจะไม่พบสาเหตุ (Functional constipation) แต่เกิดจากการพฤติกรรมกลั้นอุจจาระ เนื่องจากกลัวเจ็บขณะขับถ่าย หรือกลั้นเนื่องจากไม่มีเวลา ต้องรีบไปโรงเรียน ไม่ยอมเข้าห้องน้ำที่โรงเรียน ทำให้มีอุจจาระค้างในลำไส้ใหญ่มาก ความรู้สึกอยากถ่ายอุจจาระจะค่อยๆ ลดลง (ประสาทรับความรู้สึกที่ผนังลำไส้ใหญ่ตอบสนองต่อความรู้สึกอยากถ่ายอุจจาระลดลง)
อุจจาระสะสมมาก ก้อนใหญ่ และแข็งขึ้น ทำให้เวลาขับถ่ายลำบาก และเจ็บปวด หรือเกิดบาดแผล มีเลือดออก ยิ่งทำให้กลั้นอุจจาระ เป็นวงจรทำให้ท้องผูกมากขึ้น นานขึ้น และต้องใช้เวลารักษาที่ยาวนานมากขึ้น  

 

สีอุจาระของเด็กท้องผูก

 

การรักษา


การรักษาท้องผูกเรื้อรังในเด็ก จำเป็นที่ผู้ปกครองต้องยอมรับว่าผู้ป่วยมีภาวะท้องผูกเรื้อรังก่อน และต้องทราบถึงลักษณะของท้องผูก ปัจจัยส่งเสริมให้เกิดอาการ อาหารที่ควรกระตุ้นให้เด็กทาน โดยเฉพาะอาหารที่มีกากใย การดื่มน้ำอย่างเพียงพอ การฝึกขับถ่ายอย่างเหมาะสม และการใช้ยาที่เหมาะสม รวมถึงต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจากผู้ปกครองและคุณครู

สำหรับทารกถ่ายแข็ง และเด็กเล็ก ควรงดการกระตุ้นการอุจจาระโดยใช้แท่งสวน หรือกลีเซอรีนแท่งโดยไม่จำเป็น เนื่องจากอาจทำให้เด็กเกิดความคุ้นเคยกับการขับถ่ายด้วยการกระตุ้นที่ทวารหนัก หรือบางรายอาจกลัวการสอดใส่สิ่งแปลกปลอมเข้าทางทวารหนัก ทำให้เด็กต่อต้าน และนำไปสู่พฤติกรรมการกลั้นอุจจาระไม่กล้าขับถ่ายได้ในที่สุดระยะเวลาในการรักษาโรคท้องผูกเรื้อรัง อาจต้องใช้เวลานาน 2-3 เดือน บางรายอาจใช้เวลาเป็นปีในการใช้ยารักษา โดยแพทย์จะเป็นผู้แนะนำวิธีกระตุ้นการขับถ่าย และเลือกใช้ยาที่เหมาะสมให้แก่ผู้ป่วย

 


บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ  

ลูกถ่ายดี ท้องไม่ผูกด้วยโอกิโกฟรุกโตส

ทารกท้องเสียจากน้ำนมแม่ ลูกถ่ายจนก้นแดง

ลูกถ่ายเหลว ท้องเสีย แก้ปัญหาอย่างไร

เมื่อลูกท้องผูก แก้ปัญหาอย่างไร


 

อ้างอิง

http://www.khonkaenram.com/th/services/health-information/health-articl…
อ้างอิงวันที่  7 มีนาคม 2563 

บทความแนะนำ

สีอึของลูกบอกอะไรแม่ได้บ้าง อึแบบนี้ลูกแฮปปี้หรือไม่ อึได้แบบไหนบอกสัญญาณร้ายสุขภาพลูก

สีอึของลูกบอกอะไรแม่ได้บ้าง อึแบบนี้ลูกแฮปปี้หรือไม่ อึได้แบบไหนบอกสัญญาณร้ายสุขภาพลูก

อึแบบนี้ลูกแฮปปี้หรือไม่ อึได้แบบไหนบอกสัญญาณร้ายสุขภาพลูก ทุกครั้งที่ลูกขับถ่าย คุณแม่รู้มั๊ยว่าสีและลักษณะอึของลูกนั้น สามารถที่จะบ่งบอกถึงสุขภาพของเค้าได้ สีหรือลักษณะอึทารกจะเปลี่ยนแปลงได้จากการดื่มนมแม่หรือนมผงและการได้เริ่มกินอาหารหรือแม้แต่การเกิดความผิดปกติกับร่างกาย เรามาดูค่ะว่าอึของเจ้าตัวน้อยบอกอะไรคุณแม่ได้บ้าง 

ทารกท้องเสียจากน้ำนมแม่

ลูกถ่ายเหลวจนก้นแดง เป็นสิบครั้ง ทั้งที่กินนมแม่อย่างเดียว : ทารกท้องเสียจากน้ำนมแม่

ทารกท้องเสียจากน้ำนมแม่ ลูกถ่ายเหลว จนก้นแดง เป็นสิบครั้ง ทั้งที่กินนมแม่อย่างเดียว ผิดปกติหรือเปล่า กับอาการของลูกรัก กินนมแม่ทีปู๊ดป๊าด ท้องเสียตลอด ลูกถ่ายจนก้นแดงไปหมดแล้ว แม่นี้สงสาร แม่ต้องทำยังไง   

อึลูกกินนมแม่กับอึลูกกินนมผง ต่างกันอย่างไร??!!

อึลูกกินนมแม่กับอึลูกกินนมผง ต่างกันอย่างไร??!!

อึอึ๊นี้สามารถช่วยตรวจสอบและส่งสัญญาณให้คุณพ่อคุณแม่ได้รู้ถึงสุขภาพของลูกว่าปกติหรือไม่ได้นะคะ ไปดูกันค่ะว่า อึลูกมีแบบไหนบ้าง อึลูกกินนมแม่กับอึลูกกินนมผง ต่างกันอย่างไร