อาหารคนท้องไตรมาสแรก คุณแม่ควรได้รับสารอาหารอะไรบ้าง

อาหารคนท้องไตรมาสแรก คุณแม่ควรได้รับสารอาหารอะไรบ้าง

โภชนาการแม่ตั้งครรภ์หรืออาหารคนท้องไตรมาสแรก มีความสำคัญเป็นอย่างมาก เนื่องจากร่างกายแม่ต้องการสารอาหารที่มีความหลากหลาย เพื่อนำไปใช้ในการสร้างระบบและอวัยวะต่าง ๆ ของทารก นอกจากนี้ อาหารคนท้องไตรมาสแรก ที่คุณแม่รับประทาน ยังเป็นช่วงเวลาสำคัญในการพัฒนาเซลล์สมองของทารกให้มีความสมบูรณ์ที่สุด

headphones
อ่าน 5 นาที

 

 อาหารคนท้องไตรมาสแรกและโภชนาการแม่ตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์ ไตรมาส 1

 

อาหารคนท้องไตรมาสแรก ที่เหมาะสำหรับแม่ตั้งครรภ์ ช่วง 1 – 3 เดือนแรก จำเป็นต้องมีความหลากหลาย ครบถ้วนทั้ง 5 หมู่ ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน วิตามิน เกลือแร่ และไขมัน ควรหลีกเลี่ยงอาหารรสจัด ชา กาแฟ แอลกอฮอลล์ อาหารไขมันสูง อาหารที่ไม่ผ่านการปรุงสุก และของหมักดอง รวมทั้งงดสูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงการสัมผัสสารพิษ สารเคมี และปรึกษาแพทย์ก่อนทานยาทุกชนิด

 

อาหารคนท้องไตรมาสแรกและโภชนาการแม่ตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์

 

 

อาหารคนท้องไตรมาสแรก คุณแม่ต้องการสารอาหารชนิดไหนบ้าง

 

  1. โฟเลต หรือ กรดโฟลิก มีมากในผักใบเขียว และตับ คืออาหารคนท้องไตรมาสแรก ที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาสมองของทารกในช่วงแรกเป็นอย่างมาก คุณหมอจะแนะนำให้คุณแม่ทานโฟเลตก่อนวางแผนตั้งครรภ์อย่างน้อย 1-2 เดือน และกินต่อเนื่องระหว่างตั้งครรภ์อีก 3 เดือน เพื่อป้องกันภาวะพิการแต่กำเนิดของทารก เช่น กระโหลกศีรษะไม่ปิด ไขสันหลังไม่ปิด ปากแหว่งเพดานโหว่ ฯลฯ

     

  2. พลังงาน หญิงตั้งครรภ์ไตรมาสแรก มีความต้องการพลังงานไม่แตกต่างจากช่วงก่อนตั้งครรภ์นัก ร่างกายจะได้รับพลังงานจาก อาหารคนท้องไตรมาสแรก อย่าง คาร์โบไฮเดรต เช่น ข้าว เผือก มัน ธัญพืช และไขมัน เช่น น้ำมันพืช ไขมันสัตว์ กะทิ เนย เป็นต้น

     

  3. โปรตีน พบในเนื้อสัตว์ต่าง ๆ แม่ตั้งครรภ์ควรทานอาหารคนท้องไตรมาสแรก  อย่างเนื้อปลา เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน เต้าหู้ ไข่ ถั่วต่าง ๆ เสริมด้วยนมวันละ 2 แก้ว เพื่อนำไปใช้ในการสร้างเซลล์และอวัยวะต่าง ๆ ได้อย่างสมบูรณ์

     

  4. ธาตุเหล็ก อาหารคนท้องไตรมาสแรก ที่มีมากในเนื้อสัตว์ ตับ ไข่ และผักใบเขียว ร่างกายจะนำธาตุเหล็กไปใช้ในการสร้างเม็ดเลือดแดงให้เพียงพอสำหรับระบบหมุนเวียนโลหิต หากแม่ขาดธาตุเหล็กไปอาจเสี่ยงเป็นภาวะโลหิตจางได้

     

  5. แคลเซียม มีผลต่อการเจริญเติบโตของทารก และช่วยรักษาปริมาณมวลกระดูกของมารดา ทั้งยังช่วยในการพัฒนาระบบประสาท กล้ามเนื้อ หัวใจ หลอดเลือด และช่วยในการแข็งตัวของเลือด หญิงตั้งครรภ์ไตรมาสแรก ควรได้รับแคลเซียมประมาณ 800 มิลลิกรัมต่อวัน จากการทานนม ผลิตภัณฑ์จากนม ปลาเล็กปลาน้อย กุ้งฝอย ผักคะน้า ฯลฯ

     

  6. ไอโอดีน การขาดไอโอดีนของแม่ตั้งครรภ์ ส่งผลให้ทารกเกิดความบกพร่องของระดับสติปัญญา เซลล์สมองเติบโตไม่สมบูรณ์ การพัฒนาระบบประสาทและกล้ามเนื้อบกพร่อง จึงควรทานอาหารทะเล และใช้เกลือเสริมไอโอดีน ในการปรุงอาหารเป็นประจำ

     

  7. วิตามินต่าง ๆ ช่วยเพิ่มความสมดุลภายในร่างกายแม่ และเสริมสร้างพัฒนาการและการเจริญเติบโตของทารก แม่ตั้งครรภ์ไตรมาสแรก ควรทานผัก ผลไม้ เป็นประจำ 

     

  8. น้ำสะอาด การดื่มน้ำสะอาดวันละ 6 – 8 แก้ว ช่วยแก้ปัญหาอาการท้องผูกได้ดี ช่วยให้ผิวพรรณชุ่มชื่น และช่วยป้องกันภาวะขาดน้ำ

     

 

แม้ว่าหญิงตั้งครรภ์ ที่มีอาการคนท้องระยะแรกจำนวนมาก มักจะประสบปัญหาแพ้ท้องจนทานอะไรแทบไม่ได้ จนมีความเสี่ยงต่อการขาดสารอาหาร ส่งผลให้คุณแม่มีสุขภาพอ่อนแอ และทารกไม่ได้รับสารอาหารบำรุงสมองเท่าที่ต้องการ หากแม่ท้องไตรมาสแรกมีอาการแพ้ท้องจนไม่สามารถทานอะไรได้เลย ควรปรึกษาแพทย์ทันที 
 
นอกจากนี้ คุณแม่ตั้งครรภ์ ยังจำเป็นต้องนอนพักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อยวันละ 8 ชั่วโมง ผ่อนคลายอารมณ์ ทำจิตใจให้แจ่มใส และออกกำลังกายด้วยการ เดิน หรือบริหารร่างกายเบา ๆ เป็นประจำ เพื่อช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานดีขึ้น เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ และลดอาการแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ได้ดี ที่สำคัญคุณแม่ควรรีบฝากครรภ์ให้เร็วที่สุด ไปพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง หากพบว่ามีอาการผิดปกติ ต้องรีบปรึกษาแพทย์ทันที ทั้งนี้เพื่อสุขภาพที่ดีของคุณแม่และเจ้าตัวเล็กนั่นเอง 

 


 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ 

นมสำหรับแม่ตั้งครรภ์ นมแบบไหนที่ใช่

สิทธิประกันสังคมคนท้อง เบิกได้เท่าไหร่ 

อ้างอิง

  1. https://www.samitivejhospitals.com/th/article/detail/ตั้งครรภ์ไตรมาสแรก
  2. https://www.si.mahidol.ac.th/th/division/hph/admin/news_files/534_49_1…
  3. http://nutrition.anamai.moph.go.th/images/file/คู่มือส่งเสริมสุขภาพด้าน…
  4. https://www.thaihealth.or.th/Content/43764-หมอสูฯย้ำหญิงตั้งครรภ์ต้องได…

บทความแนะนำ

หลังผ่าคลอดกินอะไรได้บ้าง แม่หลังคลอดทานอะไรให้แผลหายเร็ว

หลังผ่าคลอดกินอะไรได้บ้าง แม่หลังคลอดทานอะไรให้แผลหายเร็ว

หลังผ่าคลอดกินอะไรได้บ้าง คำถามหลังผ่าคลอดที่คุณแม่มือใหม่มักกังวลใจ หลังผ่าคลอดกินอะไรได้บ้าง เมนูอาหารแบบไหนที่คุณแม่ผ่าคลอดกินได้ และควรหลีกเลี่ยงหลังผ่าคลอด

12 เมนูอาหารคนท้อง บำรุงคุณแม่ อาหารคนท้องที่ดีต่อลูกในครรภ์

12 เมนูอาหารคนท้องบำรุงคุณแม่ อาหารคนท้อง ดีต่อลูกในครรภ์

รวมเมนูอาหารคนท้อง ช่วยบำรุงครรภ์คุณแม่ให้แข็งแรงและสมบูรณ์ เพื่อให้ลูกน้อยในครรภ์ได้รับโภชนาการที่ดีและครบถ้วน เมนูคนท้องและอาหารคนท้องอะไรบ้างที่ดีกับลูก ไปดูกัน

วันตกไข่ คืออะไร นับวันตกไข่อย่างไรให้แม่นยำ ไม่มีพลาด

วันตกไข่ คืออะไร นับวันตกไข่อย่างไรให้แม่นยำ ไม่มีพลาด

ใครอยากมีลูกต้องอ่าน วันตกไข่ คืออะไร ทำไมถึงสำคัญ อาการแบบไหนถึงรู้ว่าตัวเองอยู่ในช่วงวันตกไข่ และนับวันตกไข่แบบไหน ช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ให้คนที่อยากมีลูก

วิธีนับอายุครรภ์ คำนวณอายุครรภ์ด้วยตัวเอง ก่อนคลอด

วิธีนับอายุครรภ์ คำนวณอายุครรภ์ด้วยตัวเอง ก่อนคลอด

วิธีการนับอายุครรภ์คืออะไร ทำไมคุณแม่ต้องรู้และวิธีคำนวณอายุครรภ์ที่ถูกต้อง นับแบบไหนได้บ้าง เพื่อให้คุณแม่วางแผนการคลอดและติดตามพัฒนาการของลูกในครรภ์ได้อย่างแม่นยำ

แผลฝีเย็บหลังคลอด ดูแลอย่างไรให้ปลอดภัย แผลหายเร็ว

แผลฝีเย็บหลังคลอด ดูแลอย่างไรให้ปลอดภัย แผลหายเร็ว

แผลฝีเย็บหลังคลอด ดูแลอย่างไรให้ปลอดภัย แผลหายเร็ว

ผ่าคลอดดีไหม ผ่าคลอดเจ็บไหม ดูแลแผลผ่าคลอดอย่างไร

ผ่าคลอดดีไหม ผ่าคลอดเจ็บไหม ดูแลแผลผ่าคลอดอย่างไร

ไขข้อสงสัยเกี่ยวกับการ ผ่าคลอด พร้อมคำแนะนำต่างๆ เพื่อเตรียมพร้อมให้คุณแม่มั่นใจเมื่อผ่าคลอด

แม่ท้องพร้อม เข้าใจอาการคนท้อง

แม่ท้องพร้อม! วิธีดูแลครรภ์ จัดการกับความกังวล เข้าใจอาการคนท้อง

เคล็ดลับการดูแลครรภ์ วิธีจัดการกับความกังวล รวมไปถึงการรับมือกับอาการคนท้อง