7 วิธีกระตุ้นให้ลูกพูด ฝึกลูกพูดช้าให้พูดเร็วตามช่วงวัย

7 วิธีกระตุ้นให้ลูกพูด ฝึกลูกพูดช้าให้พูดเร็วตามช่วงวัย

การเรียนรู้ การตอบสนอง และการสื่อสารกับเด็ก อย่างการฝึกลูกพูดในช่วงขวบปีแรกมีความสำคัญต่อพัฒนาการเด็กเป็นอย่างมาก หากพ่อแม่พยายามสร้างปฏิสัมพันธ์กับลูกน้อยผ่านการเล่นที่เหมาะสมกับวัย รวมถึงพยายามพูดคุยกับลูกอยู่เป็นประจำ จะช่วยกระตุ้นพัฒนาการของลูกน้อยในด้านต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี  และยังสามารถเห็นถึงพัฒนาการของลูกรักได้อย่างชัดเจน อีกทั้งการเฝ้ามองลูกน้อยและฝึกลูกพูดในทุก ๆ วัน จะทำให้พ่อแม่สามารถสังเกตเห็นถึงความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นของลูกน้อยได้

headphones
อ่าน 9 นาที

 

วิธีกระตุ้นให้ลูกพูด พัฒนาการด้านการสื่อสารของเด็กอายุ 1 – 12 เดือน

 

พัฒนาการด้านการสื่อสารของเด็กอายุ 1 – 12 เดือน ในแต่ละช่วงวัย

ในเด็กที่มีอายุระหว่าง 1 – 12 เดือน ย่อมมีพัฒนาการตามวัยที่แตกต่างกัน เช่น เด็กอายุ 3-6 เดือนจะเริ่มพูด ส่วนเด็กอายุ 6-9 เดือน จะสามารถรับรู้ชื่อของตนเองได้ ซึ่งการแสดงออกถึงพัฒนาการเหล่านี้ของเด็กแต่ละคนอาจไม่เท่ากัน บางคนมีพัฒนาการช้า บางคนมีพัฒนาการไว และพัฒนาการในแต่ละเดือนนี้เองที่พ่อแม่ควรทราบ จะได้รู้ว่าตอนนี้ลูกน้อยมีพัฒนาการอย่างไร

 

  • เด็กอายุ 1-2 เดือน เริ่มมีการเล่นเสียงในลำคอ เช่น การร้องไห้ ไอ หรือหาว และจะแสดงอาการตกใจจนสะดุ้งเมื่อได้ยินเสียงดังกะทันหัน

  • เด็กอายุ 3-4 เดือน เริ่มยิ้มเมื่อได้ยินเสียงพ่อแม่หรือคนที่คุ้นเคยใกล้ชิด เริ่มส่งเสียงอ้อแอ้ หรือเสียงอู/อา จากการพยายามพูดกับพ่อแม่ และจะเงียบเสียงเมื่อต้องการฟังพ่อแม่พูด

  • เด็กอายุ 5-6 เดือน เด็กจะเริ่มเล่นเป่าน้ำลาย เริ่มหันหาเสียงเสียงรบกวนที่ไม่ดังมากนัก เริ่มเล่นเสียงบริเวณริมฝีปาก สามารถเลียนแบบเสียงของผู้อื่นได้ มีการเล่นเสียงทีละพยางค์หรือสองพยางค์ เช่น “บา” “ดา” “มา”รวมถึงมีการตอบสนองเมื่อมีการเรียกชื่อของตัวเอง

  • เด็กอายุ 7-8 เดือน จะสามารถจำชื่อตัวเองได้แล้ว รู้จักการเขินอายหรือกลัวคนแปลกหน้า สามารถฟังคำถามง่าย ๆ มีการตอบสนองออกมาด้วยภาษาท่าทางแทนการพูดได้ เช่น มองดู ชี้ หยิบ และสามารถเล่นเสียงหลายพยางค์ได้ เช่น “ดาดาดา” “บาบาบา” เป็นต้น

  • เด็กอายุ 9-12 เดือน จะมีการโต้ตอบกับพ่อแม่หรือคนใกล้ชิดแต่ยังไม่เป็นภาษา ยังคงชอบที่จะเลียนแบบเสียงของผู้อื่นอยู่แต่สามารถเลียนเสียงแปลก ๆ ได้ เช่น เสียงเห่าของสุนัข และเสียงจิ้งจกร้อง เริ่มทำเสียงเพื่อเรียกร้องความสนใจจากพ่อแม่ เริ่มพูดได้เป็นคำพยางค์เดียวที่มีความหมายได้ 2-3 คำ เช่น “พ่อ” “แม่” “หม่ำ” เป็นต้น และสามารถใช้ท่าทางสื่อความหมายต่อคำพูด เช่น การพยักหน้า และการสั่นหัว ทำตามคำสั่งได้ เช่น การโบกมือบ๊ายบาย การส่งจูบ เป็นต้น เพราะลูกน้อยเข้าใจคำพูดที่ได้ยินบ่อย ๆ แล้ว และสามารถทำตามคำสั่งที่มีท่าทางประกอบได้

 

เทคนิคคุยกับลูก ฝึกลูกพูดตามวัย เสริมพัฒนาการเด็กวัยแรกเกิด – 1 ปี

 

7 วิธีกระตุ้นให้ลูกพูด ฝึกลูกพูดและคุยกับลูกน้อย ให้ลูกเข้าใจและสื่อสารได้

การเตรียมพร้อมก่อนที่จะฝึกลูกพูดจะช่วยให้พ่อแม่ทราบว่าในขณะนั้นลูกน้อยพร้อมที่จะเรียนรู้หรือไม่ หากลูกอยู่ในช่วงอารมณ์ไม่ดี หงุดหงิด หรือร้องไห้โยเย แสดงว่าน้องยังไม่พร้อมที่จะเรียนรู้ต้องรอให้เด็กสงบลงก่อน  สำหรับวิธีกระตุ้นให้ลูกพูด มีวิธีดังนี้

  1. เล่นแบบมีปฏิสัมพันธ์
    การเล่นกับลูกจะช่วยฝึกฝนพัฒนาการทางด้านการพูดและการสื่อสารได้เป็นอย่างดี โดยพ่อแม่ต้องมีส่วนร่วมในกิจกรรมในการฝึกลูกพูดของลูกด้วย เช่น เล่นจ๊ะเอ๋กับลูก เล่นซ่อนของ เล่านิทานให้ลูกฟังพร้อมใช้ท่าทางประกอบเพื่อให้ลูกสนใจและสนุกสนานมากขึ้น หรือจะร้องเพลงสำหรับเด็กให้ลูกฟัง โดยพ่อแม่ต้องพยายามร้องซ้ำ ๆ ร้องบ่อย ๆ เพราะเด็กจะใช้เวลาในการจดจำในสิ่งที่ได้ยิน การเล่นของเด็ก คือ การเรียนรู้ การฝึกทักษะ การแก้ปัญหา และเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันที่จำเป็นต่อพัฒนาการของลูก

  2. คุยกับลูกบ่อย ๆ
    พ่อแม่ควรฝึกลูกพูดและขยันคุยกับลูกให้มาก ๆ และควรพูดให้กระชับ ใช้น้ำเสียงที่เน้นคำพร้อมกับทำกิจกรรมไปด้วย เช่น ถอดเสื้อ กินข้าว อาบน้ำ สำหรับเด็กเล็กอาจจะใช้วิธีตั้งคำถามกับลูก เช่น คนไหนแม่ หมาอยู่ไหน กล้วยอยู่ไหน หลังจากนั้นควรรอให้ลูกตอบคำถามเพื่อสังเกตว่าลูกเข้าใจในสิ่งที่พ่อแม่พูดหรือไม่ หากลูกไม่แน่ใจพ่อแม่สามารถช่วยลูกได้โดยการจับมือชี้ไปที่คำตอบของคำถามนั้น

  3. สบตากับลูกน้อย
    เมื่อพ่อแม่ต้องการสอนลูกให้รู้จักคำศัพท์ใหม่ ๆ รอบตัว วิธีกระตุ้นให้ลูกพูดที่ดี จำเป็นต้องมองที่ใบหน้าของลูก เพราะลูกน้อยจะใช้วิธีการสบตา และอ่านรูปปากของพ่อแม่เช่นเดียวกัน หากพ่อแม่ต้องการสอนคำศัพท์อะไร ให้หยิบสิ่งนั้นมาไว้ใกล้ปากแล้วพูดคำนั้นออกมา เด็กจะทำความเข้าใจต่อสิ่งนั้นพร้อม ๆ สังเกตรูปปาก เพราะการที่จะเริ่มสอนคำศัพท์ใหม่ ๆ นั้น พ่อแม่ต้องให้ลูกเข้าใจต่อสิ่งที่ต้องการสอนก่อน

  4. สอนพูดเป็นคำ ๆ
    การเริ่มต้นสอนพูดพ่อแม่ควรเลือกสอนคำเดี่ยว ๆ ที่ลูกน้อยสามารถมองเห็นรูปปากได้ชัดเจน รวมถึงต้องเลือกคำที่สามารถออกเสียงได้ง่าย เช่น คำที่ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ “ม” ได้แก่ แม่ หมา หรือ คำที่ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ “ป” ได้แก่ ปาก ปลา ปู เป็นต้น รวมถึงควรเลือกคำที่อยู่ใกล้ตัวในชีวิตประจำวันจะสามารถช่วยให้เด็กสามารถเชื่อมโยงคำนั้นได้ เกิดความเข้าใจต่อคำนั้นได้ดี และสามารถจดจำคำนั้นได้ในที่สุด

  5. ออกเสียงให้ชัด
    วิธีกระตุ้นให้ลูกพูด จังหวะในการพูด การสื่อสารของพ่อแม่เป็นสิ่งสำคัญ เช่น ถ้าลูกพ่อแม่เป็นคนเริ่มพูดคุยกับลูก ต้องรอให้ลูกตอบก่อนแล้วค่อยพูดกับลูกต่อ การพูดสลับกันแบบนี้จะทำให้ลูกน้อยเรียนรู้ว่าเมื่อใดเป็นการสิ้นสุดคำถามได้ เพื่อเป็นการบอกว่าตอนนี้ถามเสร็จแล้วลูกต้องตอบนะ ออกมา เช่น แม่ถามว่า “นี่อะไร” แต่ถ้าถามแล้วลูกไม่แสดงอาการ อาจจะกระตุ้นลูกโดยการจ้องหน้าแล้วถามอีกครั้ง แล้วพยายามเน้นคำ ออกเสียงให้ชัดเจน พร้อมกับพูดช้า ๆ ลูกจะได้พูดตามได้ หากลูกมีการเล่นระดับเสียงพ่อแม่ก็ควรออกเสียงสูงต่ำตามลูกด้วย ถ้าลูกสามารถพูดเป็นคำได้แล้ว พ่อแม่สามารถเริ่มสอนคำที่ยาวขึ้น หรือฝึกลูกพูดประโยคสั้น ๆ ได้

  6. เน้นฝึกลูกพูด ให้ลูกพยายามสื่อสาร
    กระบวนการเรียนรู้ของลูกพ่อแม่ต้องมีส่วนร่วมด้วย แต่ควรเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไปและเปิดจังหวะให้ลูกพยายามสื่อสารด้วยตัวเองจากภาษาท่าทางต่าง ๆ อย่าบังคับให้ลูกพูด เช่น ให้ลูกชี้ตอบ เดินไปหยิบสิ่งของ เป็นต้น หากลูกมีการโต้ตอบแบบไม่เป็นภาษา หรือเป็นภาษาที่พูดแม่ไม่เข้าใจ พ่อแม่ควรพยายามเดาว่าลูกต้องการพูดอะไร แล้วพูดตอบในเรื่องนั้นออกมา

  7. ชื่นชมลูก
    พ่อแม่ควรชมเชยหรือให้รางวัลแก่ลูก เช่น การปรบมือ หรือยิ้มแย้มให้กับลูกเมื่อลูกทำตามคำสั่งได้สำเร็จแม่จะเป็ความสำเร็จเพียงเล็กน้อยก็ตาม เพราะคำชม เป็นกำลังใจที่เป็นแรงผลักดันให้ลูกอยากทำอะไรก็ตามให้สำเร็จ ทั้งยังเป็นการเสริมสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกน้อยเอง แม้ว่าสิ่งที่ต้องทำนั้นเป็นสิ่งที่ยากและไม่เคยทำมาก่อน ทำให้เด็กสามารถก้าวผ่านความกลัว ความยากลำบากไปได้ ดังนั้น คำชมเล็ก ๆ อาจเป็นวิธีกระตุ้นให้ลูกพูด และเป็นความสำเร็จในทุก ๆ ด้านของลูกในอนาคตได้

 

ลูกมีพัฒนาการช้าหรือไม่ สังเกตจากอะไร

  • ช่วงวัยแรกเกิด ไม่มีการตอบสนองหรือปฏิกิริยาต่อเสียง เช่น ไม่ส่งเสียงร้องเมื่อมีเสียงดัง ลูกไม่ยอมจ้องหน้าพ่อแม่ขณะพูดคุยด้วย

  • อายุ 10 เดือน ไม่มีการเริ่มออกเสียงบริเวณริมฝีปาก เช่น “บา” “กา”

  • อายุ 15-18 เดือน พูดได้ทีละคำ ไม่มีการพูดคำ 2 คำที่ติดกัน

  • พัฒนาการทางด้านภาษาไม่เป็นไปตามลำดับขั้นตามช่วงวัย เช่น ไม่สบตา ไม่บอกความต้องการของตน ไม่ทำตามคำสั่ง ไม่เรียกพ่อแม่ เป็นต้น

 

โดยปกติแล้วเด็กทุกรายต้องได้รับการตรวจพัฒนาการตั้งแต่ช่วงวัยแรกเกิด ในเด็กทารกควรได้รับการตรวจคัดกรองการได้ยินตั้งแต่ช่วงแรก เพราะถ้าพบความผิดปกติในการได้ยินตั้งแต่ต้น จะสามารถรักษาได้ทันท่วงที เพื่อให้ลูกน้อยมีพัฒนาการพูดและการได้ยินกลับมาเป็นปกติได้ในอนาคต

สำหรับเด็กเล็กเป็นไปได้คุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกน้อยไปตรวจคัดกรองพัฒนาการเด็กกับแพทย์ตามช่วงอายุ 9 เดือน 18 เดือน  24 เดือน หรือ 30 เดือน เพื่อให้แพทย์ทำการประเมินพัฒนาการของลูกว่ามีความผิดปกติหรือไม่ หรือมีพัฒนาการช้าหรือเปล่า ถ้าตรวจแล้วพบว่าเด็กมีปัญหาเรื่องพัฒนาการ คุณหมอจะได้ทำการรักษาได้ทันท่วงทีพร้อมทั้งให้คำแนะนำในการดูแลลูกน้อยในอนาคตด้วย

 

วิธีกระตุ้นให้ลูกพูด ฝึกลูกพูด เพื่อพัฒนาการที่ดีของลูกน้อย

 

กิจกรรมที่พ่อแม่ควรทำเพื่อเสริมสร้างพัฒนาการเด็ก ในช่วงขวบปีแรก

  • เด็กอายุ 1 เดือน จัดท่าให้ลูกนอนหงาย แล้วใช้เรียกชื่อหรือพูดคุยกับลูกจากทางด้านซ้ายสลับกับทางด้านขวา หากลูกน้อยมีการสะดุ้งตกใจให้ลดเสียงลง พร้อมกับสัมผัสที่ตัวลูก

  • เด็กอายุ 2 เดือน  พ่อแม่ยื่นหน้าเข้าหาลูกเว้นระยะห่างประมาณ 60 ซม. สบตาแล้วเริ่มพูดคุยด้วยเสียง “อู” อือ ในลำคอ แล้วหยุดให้ลูกน้อยทำเสียงตาม เมื่อลูกทำเสียงตามให้เปลี่ยนไปฝึกเสียง “อือ”

  • เด็กอายุ 3 - 4 เดือน ให้พ่อแม่พูดคุยและเล่นกับลูกผ่านการสัมผัสจุดต่าง ๆ ของร่างกาย โดยใช้นิ้วกดที่บริเวณฝ่าเท้า เอว หน้าท้อง หรือลองใช้จมูกสัมผัสบริเวณหน้าผาก แก้ม ปากและหน้าท้องของหนูน้อย ให้มีน้ำหนักหนักเบาที่แตกต่างกัน

  • เด็กอายุ 5 - 6 เดือน สบตา พูดคุยกับลูก และทำเสียง “จุ๊บจุ๊บ” หรือ “วา..วา..” ให้ลูกน้อยดูหลาย ๆ ครั้ง เพื่อให้เด็กจดจำและเกิดการเลียนแบบทำตาม หากลูกน้อยไม่สามารถออกเสียงได้ เพื่ออาจจับมือลูกแล้วให้ลูกทำตาม

  • เด็กอายุ 7 - 9 เดือน ลองสื่อสารกับเด็กโดยให้ลูกน้อยพยายามเลียนเสียงและออกเสียงคำตามพ่อแม่ เช่น “มามา” “ปาปา” หรือ “หม่ำหม่ำ” เป็นต้น

  • เด็กอายุ 10 - 12 เดือน พยายามเล่นกับลูกโดยให้ลูกเลียนแบบท่าทางของพ่อแม่ เช่น โบกมือ ปรบมือ ถ้าลูกทำไม่ได้ให้ค่อย ๆ จับมือให้น้องทำตาม พอลูกพอทำได้แล้วก็ค่อยไม่ต้องให้การช่วยเหลือ และลองนำของเล่นเสริมพัฒนาการเด็กที่ดึงดูดความสนใจแล้วลองยื่นให้ลูกดูแล้วถามประมาณว่า “หนูเอาไหม” ถ้าเด็กต้องการแล้วค่อยยื่นให้

 

วิธีกระตุ้นให้ลูกพูดที่ดีของเด็กเล็ก พ่อแม่ควรเน้นให้ลูกฟังอย่างเข้าใจ และตอบสนองด้วยท่าทางเสียก่อน ไม่จำเป็นต้องคาดคั้นให้ลูกพูดออกมา เพราะการฝึกลูกพูดและการสื่อภาษานั้นสามารถทำได้หลายรูปแบบ นอกจากการพูดออกเสียง เช่น ภาษาท่าทาง และภาษากาย โดยเฉพาะหนูน้อยวัย 8 เดือน เป็นช่วงวัยที่สมองกำลังทำงานหนัก คุณพ่อคุณแม่ควรพูดกับกับลูกบ่อย ๆ โดยเน้นการพูดช้า ๆ ชัด ๆ เริ่มจากคำง่าย ๆ ใกล้ตัว พยายามให้ลูกได้มีการโต้ตอบออกมาให้มากที่สุดไม่ว่าจะเป็นการเปล่งเสียงหรือใช้ภาษาท่าทาง หรืออาจใช้เพลงเด็กเพื่อช่วยให้เกิดการจดจำ เพื่อเป็นการกระตุ้นพัฒนาการเด็กเล็กที่ดีและวิธีกระตุ้นให้ลูกพูด เพราะทุกการเรียนรู้ที่ยิ่งใหญ่เริ่มได้ใน 1000 วันแรกของชีวิต

 

บทความแนะนำ

6 เรื่องน่ารู้ DHA สารอาหารสำคัญ ช่วยพัฒนาสมองของลูกน้อย

6 เรื่องน่ารู้ DHA สารอาหารสำคัญ ช่วยพัฒนาสมองของลูกน้อย

ทำความรู้จัก DHA เกร็ดความรู้เกี่ยวกับ DHA คืออะไร สารอาหารสำคัญต่อสมอง ระบบประสาทและสายตา ที่ช่วยพัฒนาการเรียนรู้ให้ลูกน้อย เพื่อให้ลูกเติบโตได้อย่างแข็งแรงและสมวัย

1000ชื่อจริงมงคลตั้งชื่อลูกดีเสริมชีวีเป็นสุข

1,000 ชื่อจริงมงคล ตั้งชื่อลูกดีเสริมชีวีเป็นสุข

เตรียมพร้อมเป็นคุณพ่อคุณแม่มือใหม่อีกหนึ่งสเต็ป ด้วยการเลือกชื่อที่เป็นสิริมงคลให้กับลูกน้อย วันนี้เรามีชื่อจริงมงคลถึง 1,000 ชื่อมาให้ทุกคนเลือกกันอย่างจุใจค่ะ โดยเราจะแยกเป็นหมวดหมู่ชื่อของเด็กที่เกิดในแต่ละวันในสัปดาห์ ซึ่งจะเข้ามาเสริมสิริมงคลรอบด้านในชีวิตของน้อง ๆ ให้อยู่ร่มเย็นเป็นสุขค่ะ ถ้าพร้อมแล้วไปชมพาเหรดชื่อมงคลกันเลยค่ะ

10,000 ชื่อเล่น ลูกชาย ลูกสาว เพราะๆ ทั้งไทยและอินเตอร์ ก – ฮ

10,000 ชื่อเล่น ลูกชาย ลูกสาว เพราะๆ ทั้งไทยและอินเตอร์ ก – ฮ

ชื่อเล่นลูกตั้งแบบไหนดีน้า? พ่อแม่คนไหนที่กำลังเครียด ไม่รู้ว่าจะตั้งชื่อเล่นลูกแบบไหนดี ลองมาดูไอเดียตั้งชื่อเล่นให้กับลูกชาย ลูกสาวกันแบบจุก ๆ ที่มีให้เลือกทั้งภาษาไทย อังกฤษ ญี่ปุ่น เกาหลี ฝรั่งเศส ฯลฯ กันดีกว่าค่ะ มาดูกันเลย!

15 คำถามเรื่องเบบี๋ ที่แม่มือใหม่อยากรู้

15 คำถามเรื่องเบบี๋ ที่แม่มือใหม่อยากรู้

ทารกเป็นวัยที่มีความบอบบาง ต้องการการปกป้องดูแลมากเป็นพิเศษ นอกจากนี้เบบี๋ตัวน้อย ๆ ยังไม่สามารถสื่อสารความต้องการ หรือความเจ็บปวดออกมาเป็นคำพูดได้ ดังนั้น คุณแม่มือใหม่จึงมีเรื่องมากมายที่สงสัยใคร่รู้อยู่เสมอ เราจึงรวบรวม 15 คำถามเรื่องเบบี๋ ที่คุณแม่มือใหม่อยากรู้ มาฝากดังนี้

 โภชนาการลูกวัย 0-1 ปี

โภชนาการลูกวัย 0-1 ปี ลูกวัยนี้กินอะไรดีนะ

สำหรับช่วงวัยทารกขวบปีแรก หรือ วัย 0-1 ปีแรกของลูกนั้น การได้รับโภชนาการที่ดี ถูกต้อง เหมาะสม มีส่วนสำคัญสำหรับพัฒนาการและการเจริญเติบโตของลูกเป็นอย่างมาก ดังนั้นคุณแม่จึงควรใส่ใจและดูแลเรื่องโภชนาการของลูกน้อยอย่างใกล้ชิด ที่สำคัญ การเสริมอาหารของลูกในแต่ละวัยมีความแตกต่างกันไปตามช่วงอายุ ในวันนี้เราจะมาแนะนำอาหารที่เหมาะสมกับลูกตั้งแต่แรกเกิด (0 เดือน) จนถึง 1 ขวบปีกัน

ตารางการนอนของทารก 0-1 ปี ทารกควรนอนวันละกี่ชั่วโมง

ตารางการนอนของทารก 0-1 ปี ทารกควรนอนวันละกี่ชั่วโมง

เด็กทารกควรนอนวันละกี่ชั่วโมง เช็กตารางการนอนของทารกแรกเกิด 0-1 ปี คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ ควรให้เด็กทารกควรนอนเท่าไหร่ถึงดีกับลูกน้อยและช่วยให้ลูกเติบโตได้อย่างเต็มที่

พัฒนาด้านต่าง ๆ ของลูกวัย 1 ขวบ

พัฒนาการลูกรักวัย 1 ขวบ ในขวบปีแรกลูกควรมีพัฒนาการอะไรบ้าง?

ช่วงเวลา 3 ปีแรกของลูกน้อยนั้น เปรียบได้ดั่งรากฐานสำคัญของสุขภาพและพัฒนาการในด้านต่าง ๆ ตลอดชีวิตของเขา เพราะในช่วงนี้จะเป็นช่วงเวลาที่พวกเขามีการเติบโตและมีการเปลี่ยนแปลงมากมายของพัฒนาการในทุก ๆ ด้าน ซึ่งในวันนี้เราอยากนำเสนอถึงข้อมูลอันสำคัญเกี่ยวกับพัฒนาการด้านต่าง ๆ ของลูกรักในวัย 1 ขวบ ว่าในช่วงวัยนี้ เขาควรมีพัฒนาการอะไรบ้าง และคุณพ่อคุณแม่ควรทำอย่างไรเพื่อกระตุ้นพัฒนาการของลูกให้ดียิ่งขึ้น