ตอบข้อสงสัย เรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

1.ทำไมให้ลูกกินแต่นม จนถึง 6 เดือน

ทำไมให้ลูกกินแต่นม จนถึง 6 เดือน

 

จริงๆแล้ว กระเพาะของทารกแรกเกิด มีขนาดเล็กมากค่ะ โดยในช่วงแรกเกิด ขนาดกระเพาะของทารกจะมีขนาดเท่ากับลูกเชอร์รี่ และขนาดของกระเพาะจะค่อยๆขยายขึ้นช้าๆ เท่ากับขนาดของ ไข่ไก่ ประมาณ 1 เดือน หลังคลอด

ตารางขนาดกระเพาะเด็กทารกหลังคลอด

นอกจากนี้ ตับอ่อนของทารกยังทำงานไม่สมบูรณ์ ทำให้การหลั่งน้ำย่อยไม่สมบูรณ์เช่นกัน แปลง่ายๆคือ ย่อยไม่เก่ง ธรรมชาติจึงสร้างสิ่งที่เรียกว่านมแม่ ให้มีคุณสมบัติย่อยง่าย ดูดซึมง่าย มีปริมาณน้ำและสารอาหารที่ครบถ้วนเพียงพอ สำหรับทารก

ในทางกลับกัน บางคนที่มีความเชื่อผิดๆว่า ทารกกินแต่นมไม่น่าอิ่ม และพยายามหาป้อนอาหารอื่นๆให้ทารก ทั้งที่กระเพาะยังไม่สามารถจุปริมาณได้เพียงพอ เมื่อป้อนอาหารอื่นๆ เช่น กล้วย หรือข้าว ที่มีสารอาหารต่ำกว่านมแม่ ทำให้

นอกจากนี้ การป้อนอาหารอื่นๆ ที่ทารกยังไม่พร้อมจะย่อย เนื่องจากน้ำย่อยยังทำงานได้ไม่เต็มที่ ทำให้อาหารเหล่านี้ไม่ ย่อย เกิดลำไส้อุดตันได้ ทำให้ทารกมีอาการท้องอืด ปวดท้อง ลำไส้อักเสบ ซึ่งสามารถเสียชีวิตได้ จากที่เคยมีข่าวปรากฎอยู่ โดยตับอ่อนจะเริ่มหลั่งน้ำย่อยตอนประมาณ 4 เดือน ดังนั้น จึงเป็นที่มาว่า ทำไมปัจจุบัน เราควรให้ทารกกินแต่นม จนถึง 6 เดือนค่ะ

 

2. หลังฉีดวัคซีน ต้องปั๊มนมทิ้งไหม

หลังฉีดวัคซีน ต้องปั๊มนมทิ้งไหม

หลังฉีดวัคซีนใดๆ ไม่ว่าจะเป็น วัคซีน Covid19 หรือวัคซีนอื่นๆ เช่น วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ไม่ต้องปั๊มนม ทิ้งค่ะ เนื่องจากเชื้อที่นำมาทำ วัคซีน เป็นเชื้อที่ทำให้อ่อนฤทธิ์อยู่แล้ว ก่อโรคไม่ได้ เมื่อแม่ฉีดวัคซีน และให้นมลูก จะไม่ส่งผ่านเชื้อ ก่อโรคไปยังลูกแน่นอน

 

Covid 19 Vaccine

 

ถึงแม้ว่า หลังฉีดวัคซีนอาจมีอาการไม่สบายตัว มีไข้ ปวดบวมแดงบริเวณที่ฉีด ก็ยังสามารถให้นมแม่ได้ค่ะ ทารกจะไม่ติดไข้จากแม่ เนื่องจากไข้ของแม่เกิดจากปฏิกิริยาของ ภูมิต้านทานโรคที่กำลังทำงาน และไข้นี้ไม่สามารถส่งผ่านทางน้ำนม ไปสู่ลูกได้

 

3. แม่ไม่สบายให้นมได้ไหม

แม่ไม่สบายให้นมได้ไหม

ตามปกติแล้ว ไม่ว่าคุณแม่จะมีอาการไม่สบาย เป็นหวัด มีไข้ ท้องเสีย เชื้อเหล่านี้ ไม่ได้ผ่าน ทางน้ำนมดังนั้น เมื่อแม่ไม่สบายด้วยอาการทั่วๆ ไปเหล่านี้ยังสามารถให้นมแม่ได้ค่ะ แต่ควรระวังการติดลูกทางอื่นแทนค่ะ เช่น หวัด ไม่ได้ติดทางการให้นม แต่ลูกอาจติดจากการไอจามหายใจรดกัน ดังนั้นขณะให้นมควรล้างมือให้สะอาด หรือใส่หน้ากากอนามัย ป้องกันการไอจามใส่ลูก หรือหากแม่เป็นเริม / สุกใส ก็ยังสามารถให้นมได้ เพราะเชื้อไม่ผ่านน้ำนม แต่ลูกอาจติดได้ทางการสัมผัส ดังนั้นควรระวังลูกสัมผัสโดนตุ่มน้ำของเรา ต้องล้างมือก่อน ให้นม อาจใช้การปั๊มนมให้ลูกกินแทนการกินจากเต้าก็ได้ค่ะ หากมีตุ่มขึ้นบริเวณใกล้กับเต้านมด้วย หากคุณแม่ให้นมจำเป็นต้องกินยา แนะนำให้ปรึกษา บุคลากรทางการแพทย์

 

4. นมแม่ใส แปลว่า ไม่มีสารอาหาร?

ในนมแม่ ทุกๆครั้งที่หลั่งออกมา จะมี 2 ส่วน คือ ส่วนหน้า กับส่วนหลัง ซึ่งรู้ไหมคะ ว่า ส่วนประกอบไม่เหมือนกัน

น้ำนมส่วนหน้าของคุณแม่

นมแม่ส่วนหน้า (foremilk)

มีส่วนประกอบของน้ำเป็นหลัก ดังนั้นจึงดูใส แต่จริงๆแล้วมีสารอาหารเต็มเปี่ยม ทั้งน้ำตาลแลคโตสที่เป็นสารอาหาร ที่สำคัญของสมอง โปรตีน วิตามิน และแร่ธาตุที่จำเป็น สำหรับการเติบโต

 

นมส่วนหลังของคุณแม่

นมส่วนหลัง (hindmilk)

มีส่วนประกอบหลักเป็นไขมัน ทำให้ข้นหนืดกว่า แต่คุณแม่หลายคนที่ปั๊มไม่เกลี้ยงเต้า หรือให้ลูกกินจากเต้าจะไม่เห็นว่ามีนมส่วนนี้ จึงทำให้เข้าใจ ผิดว่านมแม่มีแต่ใสๆได้ค่ะ

 

นอกจากนี้สารอาหารหลายตัว เป็นสารอาหารที่ละลายในน้ำ ดังนั้นจึงใส และไม่จำเป็นต้องเป็นตะกอนให้เห็นด้วยตาเปล่า ซึ่งสารอาหารหนึ่งที่สำคัญมาก และมองไม่ เห็นด้วยตาเปล่าจริงๆ นั่นคือ ภูมิต้านทานจากแม่ค่ะ ที่ส่งผ่านทางน้ำนมสู่ลูก ดังนั้น หมอจึงยืนยันว่า นมแม่ที่ใส ก็มีสารอาหารครบถ้วน แน่นอนค่ะ

 

5. หลัง 6 เดือน นมแม่มีสารอาหาร น้อยลงจริงหรือ?

หลัง 6 เดือน นมแม่มีสารอาหาร น้อยลงจริงหรือ

หลัง 6 เดือน นมแม่ ยังมีประโยชน์เหมือนเดิมค่ะ ไม่ได้ลดคุณค่าทางสารอาหารลง แต่เด็กหลัง 6 เดือน ต้องการสารอาหารที่มากขึ้น เพื่อใช้ในการเจริญเติบโต และพัฒนาการที่มากขึ้น โดยเฉพาะธาตุเหล็ก ที่ต้องการมากขึ้น จึงเป็นเหตุผลที่เด็กต้อง “กินเพิ่ม” เริ่มกินอาหารตามวัยเมื่ออายุครบ 6 เดือน แต่ไม่ได้แปลว่า นมแม่ “มีสารอาหารน้อยลง”

มันไม่เกี่ยวกันเลยค่ะ นมแม่ยังคงมีสารอาหารครบถ้วน และมีสิ่งที่จำเป็นสำหรับ ลูกเช่นเคย นั่นคือ ภูมิต้านทานที่ส่งผ่านจากนมแม่สู่ลูก ดังนั้น หลัง 6 เดือน แม่ท่านไหนที่ยังมีนมแม่อยู่ ยังไม่จำเป็นต้องเลิกนะคะ ยังสามารถให้นมลูกต่อได้ยาวๆ ตราบที่แม่ยังไหว ได้เลยค่ะ

 

6. แม่ให้นม กินกาแฟได้ไหม

โดยทั่วไปแล้ว คุณแม่ให้นมสามารถดื่มกาแฟได้ในปริมาณที่ไม่มากเกินไปได้ค่ะ โดยดูจากปริมาณของคาเฟอีนในเครื่องดื่ม เป็นหลัก แต่นอกจากกาแฟแล้ว ชาและช็อคโกแลตก็เป็นเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนเช่นกัน ต้องอย่าลืมจำกัดปริมาณด้วยเช่นกันค่ะ

ปริมาณคาเฟอีนที่แนะนำคือ ไม่เกิน 200 มก.ต่อวัน ซึ่งเทียบเท่ากับ (โดยประมาณ เนื่องจากปริมาณคาเฟอีนขึ้นกับหลายปัจจัย)

คาเฟอีนมีผลต่อทารกอย่างไร-1
กาแฟ 2 แก้ว

 

คาเฟอีนมีผลต่อทารกอย่างไร-2

กาแฟชองพร้อมชง 3 ซอง

 

คาเฟอีนมีผลต่อทารกอย่างไร-3

น้ำอัดลมสีดำ 6 กระป๋อง

 

คาเฟอีนมีผลต่อทารกอย่างไร-4

อเมริกาโน่ 1 แก้ว

 

คาเฟอีนมีผลต่อทารกอย่างไร-5

ลาเต้ 3 แก้ว

 

คาเฟอีนมีผลต่อทารกอย่างไร

คาเฟอีนในปริมาณที่มากเกินไป อาจทำให้ทารกกระสับกระส่าย ร้องกวน งอแง หัวใจเต้นเร็ว หรือนอนไม่หลับได้ค่ะ โดยคาเฟอีนสามารถอยู่ในร่างกายคุณแม่ได้ 4-6 ชั่วโมง สูงสุดในช่วง 1-2 ชั่วโมงหลังดื่ม และความไวต่อคาเฟอีนของทารกแต่ละคน อาจไม่เท่ากัน ดังนั้นนอกจากจำกัดปริมาณคาเฟอีนต่อวันแล้ว คุณแม่อาจสังเกตอาการของลูกหากกระสับกระส่ายมาก ควรปั๊มนมทิ้งในช่วง 4-6 ชั่วโมงหลังดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนทิ้งได้ค่ะ

 

7. โด๊ปอะไรดี ให้มีน้ำนมเยอะๆ

จริงๆแล้วสูตรการเพิ่มน้ำนม มีเยอะมาก แต่หมอขอแนะนำ “ตัวช่วย” มาให้แม่ๆเช็กลิสต์ตัวเองกันดูค่ะ

คุณแม่มือใหม่โด๊ปอะไรดี ให้มีน้ำนมเยอะ

 

1. ต้องดื่มน้ำให้เพียงพอ

อันนี้เป็นสิ่งสำคัญที่สุดของคนที่ให้นมค่ะ เนื่องจากถ้าปริมาณน้ำในร่างกายไม่เพียงพอ บำรุงด้วยอย่างอื่นยังไง นมแม่ก็มา น้อยได้เพราะปริมาณน้ำในร่างกายไม่เพียงพอ นอกจากนี้การฝืนปั๊มนมเยอะทั้งที่ดื่มน้ำไม่พอ จะทำให้ร่างกายของแม่ขาดน้ำ และยิ่งทำให้สุขภาพของแม่ทรุดโทรมเร็วขึ้นด้วยค่ะ โดยปริมาณที่แนะนำคือ มากกว่า 2-3 ลิตรต่อวันค่ะ

 

2. สมุนไพรที่มีฤทธิ์กระตุ้นน้ำนม

ที่นิยมนำมาใช้ เช่น ลูกซัด หัวปลี น้ำขิง ฯลฯ สามารถใช้ร่วมกันได้ค่ะ แต่ควรควบคู่กับการดื่มน้ำให้เพียงพอ กระตุ้นเต้านมสม่ำเสมอทุก 3 ชั่วโมง และพักผ่อนให้เพียงพอ ถึงจะเห็นผลค่ะ

สิ่งสำคัญคือ คุณแม่ต้องอย่าลืมดูแลตัวเองควบคู่ไปด้วย ด้วยการปรับสภาพอารมณ์ พยายามไม่เครียด พักผ่อนให้เพียงพอ เนื่องจากสุขภาพที่ทรุดโทรมและฮอร์โมนความเครียดก็ทำให้น้ำนมมาน้อยได้ค่ะ และสุดท้าย หากคุณแม่ยังกังวลใจเรื่องน้ำนมน้อยควรปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำเพิ่มเติมได้ค่ะ

 

8. สูตรปั๊มให้น้ำนมแม่ ไหลมาเทมา

สำหรับแม่ๆสายปั๊ม ที่อยากให้น้ำนมมาเยอะๆ วิธีคือ

 

1. ปั๊มนมทุก 3 ชั่วโมง

คุณแม่ปั๊มนมทุก 3 ชั่วโมง

เพื่อกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมน oxytocin ให้สม่ำเสมอ ทำให้น้ำนมแม่ไหลดี ต่อเนื่องได้ค่ะ

 

2. ปั๊มทีละ 2 ข้าง พร้อมกัน

คุณแม่ปั๊มทีละ 2 ข้าง พร้อมกัน

หรือกรณีที่ให้ ลูกเข้าเต้า อาจใช้เครื่อง ปั๊มนมปั๊มอีกข้างพร้อมกัน เพื่อหลอกร่างกายว่า มีลูกแฝด ทำให้ร่างกาย ต้องเพิ่มการผลิตน้ำนม

 

3. สูตรปั๊ม แบบ Power Pump (20-10-10-10-10)

วิธีทำคือ ปั๊มนมทีละ 2 ข้าง ปั๊มแล้วพักเป็นรอบๆ โดยปั๊ม 20 นาที - พัก 10 นาที - ปั๊ม10นาที - พัก 10 นาที - ปั๊ม 10 นาที นับเป็น 1 เซ็ต ทำ Power Pump วันละ 1-2 เซ็ต

แต่ที่สำคัญที่สุดคือ การเลือกเครื่องปั๊มนมให้เหมาะกับเราด้วยค่ะ เลือกกรวยปั๊มนมที่มีขนาดเหมาะสม เนื่องจากถึงใช้สูตร ปั๊มทุกสูตรแล้ว แต่หากกรวยปั๊มนมขนาดไม่เหมาะสม หรือเครื่องปั๊มเบาไป/แรงไป ปั๊มแล้วเจ็บ ก็ทำให้น้ำนมมาน้อย ได้เช่นกันค่ะ

 

9. ลูกกินนมแม่จากเต้า จะรู้ได้อย่างไรว่า ได้รับน้ำนมเพียงพอ

ลูกกินนมแม่จากเต้า จะรู้ได้อย่างไรว่า ได้รับน้ำนมเพียงพอ

ในกรณีกินนมจากเต้า คุณแม่หลายคนสงสัยว่า น้ำนมแม่ ไหลดีไหม? ลูกได้รับนมพอไหม? จะดูอย่างไร ในขณะให้นม วิธีสังเกตว่า ลูกได้รับน้ำนมพอหรือไม่ ให้ดูว่าที่เต้า นมอีกข้างมีน้ำนมไหลซึมออกมาหรือไม่ค่ะ

ซึ่งอาการที่น้ำนมอีกข้างไหลออกมาด้วยนี้ เรียกว่า Led down reflex เนื่องจากเป็นการตอบสนองของฮอร์โมนหลั่งน้ำนม ทำให้น้ำนมอีกข้างไหลออกมาด้วย ช่วยให้แม่ ๆ มั่นใจได้ค่ะว่าข้างที่ลูกดูด มีน้ำนมไหลออกมาแน่นอน

ส่วนปริมาณนม การดูว่าลูกได้รับปริมาณนมเพียงพอไหม ให้ดูการขับถ่ายของลูกค่ะ โดยเด็กทารกแรกเกิด เมื่อได้รับ น้ำนมเพียงพอ จะปัสสาวะวันละ 6 ครั้งขึ้นไป อุจจาระ 4 ครั้ง ขึ้นไป (นับรวมกันใน 24 ชั่วโมง) นอกจากนี้ ยังสามารถดูได้จาก น้ำหนักของลูก โดยเด็กทารกควรมีน้ำหนักขึ้นตามนี้

 

น้ำหนักตามเกณฑ์ของเด็กทารก

 

  • 0-3 เดือน น้ำหนักทารก ขึ้นเดือนละ 600-800 กรัม
  • 4-6 เดือน น้ำหนักทารก ขึ้นเดือนละ 400-600 กรัม

ควรติดตามน้ำหนักลูกทุกครั้งที่ไปฉีดวัคซีน โดยเทียบกับกราฟมาตรฐานการเจริญเติบโตเกณฑ์ปกติค่ะ เพื่อดูว่าน้ำหนัก ของลูก ขึ้นตามเกณฑ์หรือไม่ เนื่องจากการดูด้วยตาเปล่าอาจทำให้คลาดเคลื่อนได้

 

10. ทำไมห้ามอุ่นนมแม่ ด้วยไมโครเวฟ

ทำไมห้ามอุ่นนมแม่ ด้วยไมโครเวฟ

 

ในกรณีที่แม่ๆที่ทำนมสต็อกให้ลูกกิน การเอานมสต็อกมาอุ่น ควรอุ่นในชามน้ำร้อน ไม่ควรอุ่นในไมโครเวฟค่ะ เนื่องจาก การอุ่นในไมโครเวฟ ความร้อนในนมไม่สม่ำเสมอ ทำให้เกิดการไหม้ในบางจุดได้ ในขณะที่บางจุดยังเย็น เมื่อทารกกินอาจทำให้บางจุดที่ความร้อนสูง ลวกปากและลิ้นของ ทารกได้

นอกจากนี้ การอุ่นในไมโครเวฟ ยังทำลายสารภูมิต้านทานและสารอาหารในนมแม่อีกด้วย ดังนั้นจึงไม่ควรอุ่นนมแม่ในไมโครเวฟ วิธีการที่ถูกต้องคือ

1. ย้ายถุงนมแม่แช่แข็งจากช่องฟรีส ลงมาช่องธรรมดา ให้ละลายเองในตู้เย็นข้ามคืน

2. ก่อนให้ลูกกิน ใช้วิธีแช่ถุงนมในชามน้ำอุ่น

การอุ่นนมที่ถูกวิธี นอกจากไม่ลวกปากและลิ้นของลูก ยังช่วย รักษาคุณค่าและสารอาหารของนมแม่ให้ได้มากที่สุดอีกด้วยค่ะ

All articles

View details คนท้องกินอินทผาลัมได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า
คนท้องกินอินทผาลัมได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า
บทความ
รวมบทความอาหารสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 1-3

คนท้องกินอินทผาลัมได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องกินอินทผาลัมได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า คุณแม่ท้องอยากกินอินทผาลัม สามารถกินได้บ่อยแค่ไหน ควรกินเท่าไรถึงพอดีและได้ประโยชน์ ปลอดภัยทั้งแม่และลูก

4นาที อ่าน

View details คนท้องทาเล็บได้ไหม ทาเล็บบ่อย อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า
คนท้องทาเล็บได้ไหม ทาเล็บบ่อย อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า
บทความ
คุณแม่ตั้งครรภ์

คนท้องทาเล็บได้ไหม ทาเล็บบ่อย อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องทาเล็บได้ไหม คุณแม่ท้องทาเล็บบ่อย จะเป็นอันตรายกับลูกหรือเปล่า สารเคมีในน้ำยาทาเล็บ ส่งผลอะไรกับคุณแม่และลูกในท้องบ้าง อยากทำเล็บต้องระวังอะไร

6นาที อ่าน

View details คนท้องนวดได้ไหม นวดตัว นวดเท้าบ่อย อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า
คนท้องนวดได้ไหม นวดตัว นวดเท้าบ่อย อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า
บทความ
คุณแม่ตั้งครรภ์

คนท้องนวดได้ไหม นวดตัว นวดเท้าบ่อย อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องนวดได้ไหม คุณแม่ปวดเมื่อยตัวบ่อย อยากหายปวดตัว ทำอย่างไรได้บ้าง นวดตัว นวดเท้าบ่อย อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า คุณแม่ควรปรึกษาแพทย์ก่อนไปนวดไหม

5นาที อ่าน

View details คนท้องกินหอยแครงได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า
คนท้องกินหอยแครงได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า
บทความ
รวมบทความอาหารสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 1-3

คนท้องกินหอยแครงได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องกินหอยแครงได้ไหม คุณแม่ท้องชอบกินหอยแครง กินเท่าไหร่ถึงพอดี กินเยอะเกินไป จะเป็นอันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า กินหอยแครงแบบไหนให้ปลอดภัยกับลูกในครรภ์

5นาที อ่าน

View details อาการท้องลด หนึ่งในสัญญาณเตือนคุณแม่ใกล้คลอด
อาการท้องลด หนึ่งในสัญญาณเตือนคุณแม่ใกล้คลอด
บทความ
คุณแม่ตั้งครรภ์

อาการท้องลด หนึ่งในสัญญาณเตือนคุณแม่ใกล้คลอด

ท้องลด คืออะไร อาการท้องลดขณะตั้งครรภ์จะเกิดขึ้นตอนไหน อาการท้องลดของคุณแม่ คือสัญญาณใกล้คลอดจริงไหม หลังเกิดอาการท้องลด นานแค่ไหนถึงจะคลอด ไปดูกัน

5นาที อ่าน

View details คนท้องปวดก้นกบ อันตรายไหม ปวดก้นบ่อย ทำยังไงให้หายปวด
คนท้องปวดก้นกบ อันตรายไหม ปวดก้นบ่อย ทำยังไงให้หายปวด
บทความ
คุณแม่ตั้งครรภ์

คนท้องปวดก้นกบ อันตรายไหม ปวดก้นบ่อย ทำยังไงให้หายปวด

คนท้องปวดก้นกบ เกิดจากอะไร คุณแม่ปวดก้นกบบ่อย อันตรายไหม ส่งผลอะไรกับลูกหรือเปล่า ถ้าไม่กินยา คนท้องปวดก้นหายเองได้ไหม ต้องทำยังไงให้อาการปวดหายไป

6นาที อ่าน

View details เด็กนอนกัดฟัน เกิดจากอะไร ลูกนอนกัดฟัน อันตรายกับสุขภาพฟันไหม
เด็กนอนกัดฟัน เกิดจากอะไร ลูกนอนกัดฟัน อันตรายกับสุขภาพฟันไหม
บทความ
ดูแลลูกตามช่วงวัย

เด็กนอนกัดฟัน เกิดจากอะไร ลูกนอนกัดฟัน อันตรายกับสุขภาพฟันไหม

เด็กนอนกัดฟัน เกิดจากอะไร ลูกนอนกัดฟันทุกคืน อันตรายต่อสุขภาพฟันของลูกน้อยไหม ลูกนอนกัดฟันบ่อย คุณแม่ดูแลลูกน้อยยังไงดี พร้อมวิธีป้องกันที่คุณแม่ควรรู้

5นาที อ่าน

View details คนท้องกินเผือกได้ไหม กินมากเกินไป อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า
คนท้องกินเผือกได้ไหม กินมากเกินไป อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า
บทความ
รวมบทความอาหารสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 1-3

คนท้องกินเผือกได้ไหม กินมากเกินไป อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องกินเผือกได้ไหม คุณแม่ท้องอยากกินเผือก เพื่อบำรุงสุขภาพครรภ์ เผือกดีกับลูกในท้องหรือเปล่า กินเท่าไหร่ถึงพอดีและปลอดภัยกับคุณแม่และลูกในครรภ์

5นาที อ่าน

View details คนท้องกินโยเกิร์ตได้ไหม ควรกินแบบไหน อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า
คนท้องกินโยเกิร์ตได้ไหม ควรกินแบบไหน อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า
บทความ
รวมบทความอาหารสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 1-3

คนท้องกินโยเกิร์ตได้ไหม ควรกินแบบไหน อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องกินโยเกิร์ตได้ไหม คุณแม่ท้องอยากกินโยเกิร์ต เพื่อบำรุงสุขภาพครรภ์ โยเกิร์ตดีกับลูกในท้องหรือเปล่า กินเท่าไหร่ถึงพอดีและปลอดภัยกับคุณแม่และลูกในครรภ์

7นาที อ่าน

View details วิธีส่งเสริมพัฒนาการทางกายของทารก
พัฒนาการทางกายของลูกน้อยที่ทำให้พ่อ-แม่มีความสุข
บทความ

วิธีส่งเสริมพัฒนาการทางกายของทารก

หากคุณแม่คิดว่า ลูกน้อยมีพัฒนาการไม่ค่อยเร็วในช่วงเดือนแรกๆ ก็อย่าเพิ่งกังวลเกินไป เพราะในแต่ละเดือนลูกน้อยจะมีทักษะใหม่ๆ และความก้าวหน้าเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา

3นาที อ่าน

View details 5 พฤติกรรมควรหลีกเลี่ยง เพื่อให้ลูกพร้อมเข้าสังคม
5 พฤติกรรมที่พ่อแม่ต้องหลีกเลี่ยง เพื่อให้ลูกมีความฉลาดทางสัมคมที่ดี
บทความ

5 พฤติกรรมควรหลีกเลี่ยง เพื่อให้ลูกพร้อมเข้าสังคม

5 พฤติกรรมที่คุณพ่อคุณแม่ต้องหลีกเลี่ยง เพราะความหวังดีบางอย่างของคุณพ่อคุณแม่ อาจทำลายคุณค่าในตัวลูกอย่างคาดไม่ถึง

3นาที อ่าน

View details เช็กลิสต์เตรียมความพร้อม เมื่อลูกไปโรงเรียนวันแรก
เช็กลิสต์เตรียมความพร้อม เมื่อลูกไปโรงเรียนวันแรก
บทความ

เช็กลิสต์เตรียมความพร้อม เมื่อลูกไปโรงเรียนวันแรก

เมื่อลูกถึงวัยต้องเข้าเนอร์สเซอรี่ เรามีบทความที่ช่วยให้คุณพ่อคุณแม่คลายกังวลด้วย 4 เช็กลิสต์เลือกเนอร์สเซอรี่ให้ลูก พร้อมวิธีเตรียมความพร้อมเมื่อลูกไปโรงเรียนวันแรก

6นาที อ่าน

View details การเตรียมต้อนรับลูกน้อย
การเตรียมต้อนรับลูกน้อย
บทความ

การเตรียมต้อนรับลูกน้อย

ลูกน้อยจะลืมตาดูโลกในอีกไม่กี่อาทิตย์ ของทุกสิ่งถูกเตรียมไว้พร้อมสำหรับลูก ทั้งเตียงเด็ก โต๊ะเปลี่ยนผ้าอ้อม ตู้เสื้อผ้า และชั้นวางของ เหลือเพียงลูกน้อยที่คุณเฝ้ารอ

3นาที อ่าน

View details รู้จริงเรื่องระบบภูมิคุ้มกันของลูกน้อย
รู้จริงเรื่องระบบภูมิคุ้มกันของลูกน้อย
บทความ

รู้จริงเรื่องระบบภูมิคุ้มกันของลูกน้อย

แต่ละวันลูกน้อยอยู่ท่ามกลาง “เชื้อโรค” ที่พยายามบุกรุกเข้าสู่ร่างกาย “ระบบภูมิคุ้มกัน” ที่พยายามอย่างเต็มที่ในการป้องกันและปกป้องลูกน้อยจากการติดเชื้อเหล่านั้น

4นาที อ่าน

View details วิธีสร้างกำลังใจระหว่างคู่รัก
คุณพ่อคุณแม่ยุคใหม่ ดูเเลกันเเละกันในครอบครัว เตรียมพร้อมว่าที่คุณแม่
บทความ

วิธีสร้างกำลังใจระหว่างคู่รัก

มีคู่รักจำนวนไม่น้อยที่อยากมีลูก แต่ยิ่งคุณพยายามมีลูกมากเท่าไหร่กลับไม่ได้ลูกน้อยสมใจสักที ซึ่งบางคู่ก็พยายามมากเกินไปจนทำให้สภาพจิตใจแย่ลงและเกิดความเครียดได้

2นาที อ่าน

View details 5 ทักษะสำคัญให้ลูกได้เรียนรู้ก่อนเข้าโรงเรียน
รับมือ ลูกไปโรงเรียนวันแรก
บทความ

5 ทักษะสำคัญให้ลูกได้เรียนรู้ก่อนเข้าโรงเรียน

คุณแม่ที่มีลูกกำลังจะเข้าโรงเรียนอนุบาลคนไหนอยากได้เคล็ดลับดีๆ ในการสอนลูกให้ไปโรงเรียนได้โดยไม่ร้องไห้ เรามี 5 เรื่องง่ายๆ ที่คุณแม่สอนลูกได้ตั้งแต่วันนี้มาฝาก

2นาที อ่าน

View details ฉันจะทำอย่างไรเพื่อให้แน่ใจว่าลูกนอนหลับสนิท
ลูกนอนหลับสนิท
บทความ

ฉันจะทำอย่างไรเพื่อให้แน่ใจว่าลูกนอนหลับสนิท

การนอนคือการพักผ่อนที่ดีที่สุด หากลูกมีความผิดปกติด้านการนอนหลับอาจส่งผลกระทบต่อพัฒนาการในทุกด้าน คุณแม่สามารถเรียนรู้เคล็ดลับเพื่อช่วยให้ลูกหลับสนิทได้ที่นี่

4นาที อ่าน

View details 4 เคล็ดลับส่งเสริมพรสวรรค์ เติมความฝันของลูกให้เป็นจริง
4 เคล็ดลับส่งเสริมพรสวรรค์ เติมความฝันของลูกให้เป็นจริง
บทความ

4 เคล็ดลับส่งเสริมพรสวรรค์ เติมความฝันของลูกให้เป็นจริง

พรสวรรค์ของลูกน้อยจะฉายแสงได้อย่างเต็มที่ หากมีแรงสนับสนุนที่สำคัญอย่างคุณพ่อคุณแม่ คอยให้กำลังใจและส่งเสริมลูกให้กล้าคิดกล้าทำได้อย่างตรงจุด

3นาที อ่าน

View details วิธีสอนให้ลูกรู้จักแบ่งปัน ให้อภัย มีน้ำใจ
สอนลูกรักให้รู้จัก “อภัย” แบ่งปันมีน้ำใจจากการ “แพ้ให้เป็น”
บทความ

วิธีสอนให้ลูกรู้จักแบ่งปัน ให้อภัย มีน้ำใจ

การสอนให้ลูกรู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย เป็นหนทางที่จะทำให้ชีวิตของลูกมีความสงบสุข แม้แพ้ก็ไม่คิดแค้น หากชนะก็อย่าผยองยึดติด จนกลายเป็นเด็กที่ไร้การแบ่งปันมีน้ำใจ

3นาที อ่าน

View details ให้ลูกอยู่กับปู่ย่าตายายอย่างไร ให้สุขใจทั้งสองฝ่าย
ให้ลูกอยู่กับปู่ย่าตายายอย่างไร ให้สุขใจทั้งสองฝ่าย
บทความ

ให้ลูกอยู่กับปู่ย่าตายายอย่างไร ให้สุขใจทั้งสองฝ่าย

เมื่อพ่อแม่ต้องออกไปทำงานนอกบ้าน ปู่ย่าตายายจึงเป็นที่พึ่งในการเลี้ยงหลานที่ดีที่สุด มาดู 4 วิธีทำความเข้าใจแนวทางเลี้ยงหลานของปู่ย่าตายายเพื่อให้สบายใจ

2นาที อ่าน

View details การรักษาความสะอาดของเล่นของลูกน้อย
การรักษาความสะอาดให้ของเล่นของลูกน้อย
บทความ

การรักษาความสะอาดของเล่นของลูกน้อย

คุณแม่ทราบหรือไม่ว่าสาเหตุของการเจ็บป่วยของลูกน้อยส่วนใหญ่เกิดจากการขาดความใส่ใจเรื่องความสะอาดของเล่นลูกน้อย ทำให้เกิดโรคในระบบทางเดินอาหารได้ง่าย

1นาที อ่าน

View details เล่นสนุกอย่างไรให้ “พอดี” สำหรับทารกและวัยเตาะแตะ
เล่นสนุกอย่างไรให้ “พอดี” สำหรับทารกและวัยเตาะแตะ
บทความ

เล่นสนุกอย่างไรให้ “พอดี” สำหรับทารกและวัยเตาะแตะ

การเล่นสนุกกับของเล่นและเกมจำเป็นสำหรับพัฒนาการของลูกน้อยหรือไม่? การมีของเล่นรายล้อมรอบตัวลูกน้อยเท่ากับคุณกำลังกระตุ้นความสนใจของลูกมากเกินไปหรือเปล่า?

2นาที อ่าน

View details 3 เหตุผลที่คุณพ่อ-คุณแม่ควรเล่นกับลูก
3 เหตุผลที่คุณพ่อ-คุณแม่ควรเล่นกับลูก
บทความ

3 เหตุผลที่คุณพ่อ-คุณแม่ควรเล่นกับลูก

ขวบปีแรกเป็นช่วงเวลาที่ดีในการวางรากฐานการเจริญเติบโตและพัฒนาการต่างๆ คุณแม่ควรแทรกช่วงเวลาของการเล่นขณะเตรียมพร้อมสำหรับการเริ่มให้ลูกน้อยเรียนรู้สิ่งต่างๆ

2นาที อ่าน

View details เคล็ดลับเพื่อลูกน้อยสุขภาพแข็งแรง
เคล็ดลับเพื่อลูกน้อยสุขภาพแข็งแรง
บทความ

เคล็ดลับเพื่อลูกน้อยสุขภาพแข็งแรง

การดูแลลูกน้อยให้มีสุขภาพแข็งแรงต้องใช้เวลา ความทุ่มเท และความรักจากพ่อ-แม่ หัวใจสำคัญที่สุดในการดูแลลูกน้อยวัยเตาะแตะคือการมอบความสุขและสุขภาพที่แข็งแรงให้เขา

1นาที อ่าน