พังผืดใต้ลิ้นทารก ปัญหาพังผืดของลูกที่พ่อแม่ควรระวัง
นมแม่อุดมไปด้วยสารอาหารสำคัญ และภูมิคุ้มกันที่จำเป็นสำหรับทารก ทารกควรได้รับนมแม่อย่างเพียงพอในแต่ละวัน เพื่อช่วยเสริมสร้างความเจริญเติบโตทางสมองและร่างกาย แต่หากทารกมีปัญหาในการดูดนม ทำให้ได้รับน้ำนมน้อย เนื่องจากมีพังผืดใต้ลิ้น ทำให้มีปัญหาในการขยับลิ้น ดูดนมได้ไม่ดีพอ คุณแม่ควรพาลูกเข้ารับการปรึกษาจากแพทย์ เพื่อได้รับการแก้ไขอย่างเหมาะสมถูกวิธี เพื่อให้ลูกน้อยได้รับนมเพียงพอและมีสุขภาพที่แข็งแรง
สรุป
- พังผืดใต้ลิ้น คือเยื่อบาง ๆ ตรงโคนลิ้น เป็นเรื่องปกติที่สามารถเกิดได้ในทารก ในทารกบางรายอาจมีพังผืดมาก จากโคนลิ้นจนถึงบริเวณปลายลิ้น ทำให้เกิดปัญหาการขยับเคลื่อนไหวของลิ้น ทำให้ทารกมีปัญหาในการดูดนม และได้รับน้ำนมไม่เพียงพอ
- พังผืดใต้ลิ้น ทำให้ทารกไม่สามารถดูดนมแม่ได้ถึงลานนม งับหัวนมไม่ติด แรงดูดนมเบากว่าปกติ ดูดบ่อย ทำให้มีปัญหาในการดูดนม แทนที่ทารกจะใช้ลิ้นช่วยในการดูดนม กลับต้องใช้เหงือกช่วยดูดนมแทน ส่งผลให้แม่เจ็บเต้านม หัวนมแตก หัวนมเป็นแผลได้
- พังผืดใต้ลิ้นทารกเป็นมาแต่กำเนิด เกิดจากกรรมพันธุ์ ไม่สามารถป้องกันได้ แต่สามารถดูแลแก้ไขได้ หากลูกมีผังผืดใต้ลิ้น มีปัญหาในการดูดนม ได้รับน้ำนมไม่เพียงพอ น้ำหนักตัวน้อย น้ำหนักไม่ขึ้นตามเกณฑ์ ควรพาลูกไปพบแพทย์เพื่อตรวจให้ละเอียด
เลือกอ่านตามหัวข้อ
- พังผืดใต้ลิ้น คืออะไร
- พังผืดใต้ลิ้นทารก เกิดจากกรรมพันธุ์จริงไหม
- อาการของพังผืดใต้ลิ้นทารก
- พังผืดใต้ลิ้นทารก ส่งผลร้ายกับทารกยังไง
- ลูกมีพังผืดใต้ลิ้น ควรไปพบแพทย์ไหม
พังผืดใต้ลิ้น คืออะไร
พังผืดใต้ลิ้น สามารถเกิดขึ้นได้ปกติกับทารกทุกคน ซึ่งพังผืดใต้ลิ้น คือ เยื่อบาง ๆ ตรงบริเวณโคนลิ้นของทารก พังผืดใต้ลิ้นไม่ส่งผลอันตรายต่อทารก แต่ในทารกบางคนที่มีพังผืดใต้ลิ้นมากกว่าปกติ มีพังผืดใต้ลิ้นยาวจากโคนลิ้นยาวมาถึงบริเวณปลายลิ้น จะทำให้การเคลื่อนไหวของลิ้นทารกไม่ดีเท่าที่ควร หรือทำให้ทารกเกิดปัญหาในการขยับปลายลิ้น ปลายลิ้นของทารกจะขยับออกมาเลียลานหัวนมแม่ไม่ได้ ส่งผลให้เกิดปัญหาต่อการดูดนมแม่ งับหัวนมไม่ติด ดูดนมได้เบากว่าปกติ ดูดนมบ่อยแต่ได้รับน้ำนมน้อย ทำให้น้ำหนักตัวทารก ไม่เพิ่มขึ้นตามเกณฑ์
นอกจากนั้นแล้วพังผืดใต้ลิ้นทารกที่มากกว่าปกติ ยังส่งผลให้ทารกไม่สามารถแลบลิ้นออกมาดูดรีดน้ำนมเข้าปากได้ จึงใช้เหงือกช่วยในการดูดรีดน้ำนมแทน เมื่อทารกใช้เหงือกในการดูดนมแม่บ่อยๆ จะทำให้หัวนมของแม่แตกเป็นแผล เกิดการเจ็บหัวนม หรือทำให้เต้านมอักเสบได้ หากลูกมีพังผืดใต้ลิ้นมากกว่าปกติ หรือมีปัญหาในการดูดนมแม่ ควรพาลูกไปพบแพทย์ เพื่อรับการดูแลแก้ไขอ ย่างถูกต้องเหมาะสม เพื่อที่ลูกจะได้รับน้ำนมอย่างเพียงพอกับร่างกาย
พังผืดใต้ลิ้นทารก เกิดจากกรรมพันธุ์จริงไหม
พังผืดใต้ลิ้นทารก สามารถเกิดขึ้นได้กับทารกทุกคน หากทารกมีพังผืดใต้ลิ้นมากเกินไป จะส่งผลให้มีปัญหาในการดูดนมแม่ พังผืดใต้ลิ้นทารก ไม่สามารถป้องกันได้ เพราะเกิดจากกรรมพันธุ์ เป็นมาแต่กำเนิด แต่สามารถดูแลแก้ไขได้ หากคุณแม่สังเกตว่าลูกมีพังผืดใต้ลิ้น มีปัญหาในการดูดนม ได้รับน้ำนมไม่เพียงพอ น้ำหนักทารกน้อยไม่เป็นไปตามเกณฑ์ ควรพาลูกไปพบแพทย์เพื่อตรวจให้ละเอียด และรับการดูแลอย่างถูกต้องเหมาะสม เพื่อป้องกันปัญหาทางสุขภาพแทรกซ้อนในอนาคต
อาการของพังผืดใต้ลิ้นทารก
โดยปกติแล้วลิ้นมีหน้าที่สำคัญหลายอย่าง แต่สำหรับทารกนั้น ลิ้นมีหน้าที่ในการช่วยดูดนมจากเต้าของแม่ เมื่อเกิดพังผืดใต้ลิ้นทารกมากเกินไป จะส่งผลกระทบให้ปลายลิ้นของทารกขยับออกมาเลียลานหัวนมของแม่ไม่ได้ ทำให้มีปัญหาในการดูดนมแม่ ทำให้งับหัวนมไม่ติด มีแรงในการดูดนมได้เบากว่าปกติ นอกจากนั้นแล้วยังทำให้ลิ้นติด เคลื่อนไหวลิ้นลำบาก แลบลิ้นไม่พ้นริมฝีปาก พังผืดใต้ลิ้นทารกยังมีอาการที่คุณแม่สามารถสังเกตได้ คือ
- ดูดหัวนมแล้วหลุดบ่อย งับหัวนมแม่ไม่ติดเมื่อดูดนม
- ทารกแลบลิ้นออกมาไม่พ้นเหงือกบน ทารกแลบลิ้นได้ไม่พ้นริมฝีปาก ทารกกระดกปลายลิ้นขึ้นไปแตะที่เพดานปากไม่ได้
- ดูดนมเบากว่าปกติ ดูดนมบ่อย มีอาการหงุดหงิด
- หลังลิ้นหยักเข้ามาเป็นรูปหัวใจ เวลาทารกแลบลิ้นหรือร้องไห้
- ลิ้นติด หรือเคลื่อนไหวลิ้นลำบาก ขยับ เคลื่อนไหวปลายลิ้นได้ไม่ดี มีปัญหาในการขยับปลายลิ้น
พังผืดใต้ลิ้นทารก ส่งผลร้ายกับทารกยังไง
เมื่อลิ้นของทารกมีพังผืดมากเกินไป จะส่งผลให้ทารกมีปัญหาในการดูดนม เกิดปัญหาการขยับปลายลิ้น หรือการเคลื่อนไหวของลิ้นไม่ดี และทำให้แม่เจ็บหัวนม หัวนมแตก อักเสบ ส่งผลให้เจริญเติบโตช้า สุขภาพช่องปากและฟันไม่ดี พังผืดใต้ลิ้นทารก ยังส่งผลกระทบต่าง ๆ ต่อสุขภาพของทารก ดังนี้
- พัฒนาการด้านการพูดช้า เช่น พูดไม่ได้ พูดไม่ชัด หรือออกเสียงควบกล้ำไม่ได้ ทำให้ส่งผลกระทบต่อการพูด เนื่องจากพังผืดยึดบริเวณปลายลิ้น อาจทำให้ลูกมีปมด้อยได้ในอนาคต
- สุขภาพช่องปากและฟันไม่ดี ส่งผลถึงสุขภาพทางช่องปากและฟัน
- เจริญเติบโตช้า ตัวเหลือง เพราะดูดนมได้ไม่มากพอ น้ำหนักน้อย น้ำหนักไม่ขึ้นตามเกณฑ์
- แม่จะมีอาการเจ็บเมื่อให้นมลูก หัวนมแตก หัวนมอักเสบ หรือมีผลแทรกซ้อนทำให้เต้านมแม่อักเสบได้
หากลูกน้อยมีปัญหาพัฒนาการด้านการพูดช้า หรือ หากคุณแม่ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับพัฒนาการลูกน้อย สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่นี่ โปรแกรม Baby Development เช็คพัฒนาการลูกน้อยแต่ละช่วงวัย
ลูกมีพังผืดใต้ลิ้น ควรไปพบแพทย์ไหม
พังผืดใต้ลิ้น เป็นเยื่อบาง ๆ เกิดเป็นพังผืดที่บริเวณโคนลิ้น ซึ่งในทารกบางรายจะมีพังผืดมากจากโคนลิ้นยาวไปจนถึงปลายลิ้น ทำให้เมื่อทารกดูดนมแม่ จะเกิดปัญหาในการเคลื่อนไหวขยับตัวของลิ้น ทำให้ปลายลิ้นขยับออกมาที่ลานหัวนมไม่ได้ แทนที่จะใช้ลิ้นช่วยในการรีดดูดน้ำนมทารกกลับต้องใช้เหงือกช่วยรีดดูดน้ำนมแทน ทำให้เกิดปัญหาในการงับหัวนม ทารกดูดงับหัวนมไม่ค่อยติด ดูดนมเบา ดูดนมบ่อย ๆ แต่น้ำหนักตัวไม่ได้ตามเกณฑ์ น้ำหนักตัวไม่เพิ่ม มีอาการตัวเหลือง เพราะได้รับน้ำนมไม่เพียงพอ นอกจากนั้นแล้ว ยังส่งผลให้คุณแม่เกิดความเจ็บปวดเต้านม หัวนมแตก และอาจลุกลามเป็นเต้านมอักเสบ ทำให้เกิดอุปสรรคต่อการให้นม
ดังนั้น หากทารกมีพังผืดใต้ลิ้น มีอาการและปัญหาในการดูดนมดังที่กล่าวมา คุณแม่ไม่ควรรอช้า ควรพาลูกไปพบแพทย์ เพื่อได้รับการดูแลแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างทันท่วงที
ตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO) ว่า “เด็กตั้งแต่แรกเกิดถึง 6 เดือน ควรได้ทานนมแม่อย่างเดียว และทานนมแม่ควบคู่อาหารตามวัยจนถึงอายุ 2 ปี หรือนานกว่านั้น เพราะในนมแม่มีสารอาหารมากกว่า 200 ชนิด เช่น ดีเอชเอ วิตามิน แคลเซียม และสฟิงโกไมอีลิน ที่ช่วยสร้างความเจริญเติบโต เพิ่มความแข็งแรงให้กับร่างกายและสมองของทารก หากทารกมีปัญหาในการดูดนมแม่ มีพังผืดใต้ลิ้น ทำให้ได้รับน้ำนมน้อย จนทำให้มีการเจริญเติบโตช้า คุณแม่ควรพาลูกไปพบแพทย์เพื่อรับการดูแลอย่างถูกต้องเหมาะสม เพื่อให้ลูกน้อยได้รับน้ำนมเพียงพอต่อร่างกาย
บทความแนะนำสำหรับคุณแม่มือใหม่
- จุกหลอก ดีกับลูกน้อยจริงไหม จุกนมหลอก ข้อดีข้อเสียมีอะไรบ้าง
- สายสะดือทารก สะดือใกล้หลุดเป็นแบบไหน พร้อมวิธีทำความสะอาด
- กลากน้ำนม เกิดจากอะไร โรคผิวหนังในเด็ก พร้อมวิธีดูแลเกลื้อนน้ำนม
- ลูกเลือดกำเดาไหลตอนกลางคืน อันตรายไหม พ่อแม่รับมืออย่างไรดี
- วิธีห่อตัวทารกที่ถูกต้อง ให้ลูกน้อยสบายตัว เหมือนอยู่ในท้องแม่
- โรคซางในเด็กเล็กมีจริงไหม เกิดจากอะไร ดูแลและป้องกันได้หรือเปล่า
- ลูกหัวแบน ทารกหัวแบน คุณแม่ทำอย่างไรได้บ้าง พร้อมวิธีแก้ไขเบื้องต้น
- วิธีบรรเทาอาการไอของลูกน้อย เมื่อลูกไอไม่หยุด พร้อมวิธีดูแลและป้องกัน
- วิธีลดไข้ทารกแรกเกิด อาการทารกเป็นไข้ ทารกตัวร้อน พร้อมวิธีวัดไข้
- นิทานเด็กทารกสำคัญกับลูกไหม คุณแม่ควรอ่านเรื่องอะไรให้ลูกน้อยฟังดี
อ้างอิง:
- พังผืดใต้ลิ้นไม่ใช่เรื่องเล็ก, คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
- พังผืดใต้ลิ้น ทำให้ลูกดูดนมใม่ได้ พูดไม่ชัด ตัดหรือไม่ตัดดี ?, โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 3 อินเตอร์
- พังผืดใต้ลิ้น ปัญหาที่ถูกซ่อนเร้นของลูกน้อย, โรงพยาบาลพญาไท
- “พังผืดใต้ลิ้น” ปัญหาของเจ้าตัวเล็ก, คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
อ้างอิง ณ วันที่ 23 กันยายน 2567
บทความที่เกี่ยวข้อง