เมื่อแม่หลังคลอดต้องกลับไปทำงาน เตรียมตัวอย่างไรก่อนกลับไปทำงาน

คุณแม่หลังคลอด ควรเตรียมตัวอย่างไรก่อนกลับไปทำงาน

26.03.2020

เมื่อถึงเวลากลับไปทำงานหลังลาคลอดแล้ว เวลาที่จะต้องจากลูกรักเพื่อกลับไปทำงาน แม้ว่าคุณแม่จะรู้สึกใจหายเพราะได้เลี้ยงใกล้ชิดมาตลอด 3 เดือน ในช่วงแรก ๆ อาจจะขลุกขลักไปบ้าง แต่ค่อยเป็นค่อยไปนะคะ เดี๋ยวทุกอย่างจะดีขึ้นเอง มาเตรียมตัวกลับไปทำงานหลังลาคลอดอย่างสบายใจกันค่ะ สู้เพื่อลูก เป็นกำลังใจให้ Working mom ทุกคนนะคะ และ Working mom ต้องรู้ นมแม่ไม่ใช่แค่ดีต่อใจ แต่ดีต่อสมองของลูกด้วย

headphones

PLAYING: คุณแม่หลังคลอด ควรเตรียมตัวอย่างไรก่อนกลับไปทำงาน

อ่าน 4 นาที

เมื่อแม่หลังคลอดต้องเตรียมตัวกลับไปทำงาน 

เมื่อถึงเวลากลับไปทำงานหลังลาคลอดแล้ว เวลาที่จะต้องจากลูกรักเพื่อกลับไปทำงาน แม้ว่าคุณแม่จะรู้สึกใจหายเพราะได้เลี้ยงใกล้ชิดมาตลอด 3 เดือน ในช่วงแรก ๆ อาจจะขลุกขลักไปบ้าง แต่ค่อยเป็นค่อยไปนะคะ เดี๋ยวทุกอย่างจะดีขึ้นเอง มาเตรียมตัวกลับไปทำงานหลังลาคลอดอย่างสบายใจกันค่ะ สู้เพื่อลูก เป็นกำลังใจให้เวิร์กกิ้ง มัม ทุกคนนะคะ

 

เมื่อแม่หลังคลอดต้องกลับไปทำงาน เตรียมตัวอย่างไรก่อนกลับไปทำงาน

เมื่อถึงเวลาต้องเตรียมตัวกลับไปทำงาน...


ก่อนจะกลับไปทำงานต้องรู้อะไรบ้าง คุณแม่ เวิร์กกิ้ง มัม ที่การลาคลอดเดินทางมาใกล้ถึง 90 วัน คงกังวลไม่น้อยกับวันที่ 91 ที่กำลังจะมาถึง บางคนอาจจะเพิ่งตื่นตัว หากคุณแม่ กำลังหา how-to ดีดี สำหรับการเตรียมตัวกลับไปทำงาน วันนี้เรามีเคล็ดลับการเตรียมตัวมาบอกค่ะ 


1. ฝากลูกไว้กับใครหลังกลับไปทำงาน 
หากคุณอยู่กับพ่อและแม่ คนแรกที่ควรนึกถึงคือ คุณแม่ของคุณเองหรือคุณยาย เพราะท่านจะคอยดูแลลูกของคุณอย่างสุดฝีมือ และนั่นก็จะทำให้คุณรู้สึกอุ่นใจ ที่ลูกน้อยได้อยู่กับคนที่คุณไว้ใจ แต่หากคุณไม่มีผู้ใหญ่ที่จะช่วยดูแลลูก คงต้องมองหาเนอร์สเซอรีที่มีคุณภาพในสภาพแวดล้อมที่ดี เพื่อฝากดูแลลูกในเวลากลางวัน


2. Checklist สิ่งที่ต้องเตรียมหลังกลับไปทำงาน 
คุณแม่อาจแบ่งสิ่งที่ต้องทำออกเป็น งานในบ้านและงานนอกบ้าน หรือไม่ก็งานของคุณแม่และงานของคุณพ่อ รวมถึงสิ่งที่จำเป็นต้องทำ สิ่งที่รอได้ และสิ่งที่เว้นไปก่อนก็ได้ เพื่อให้คุณสามารถจัดลำดับงานต่าง ๆ ของคุณได้อย่างลงตัว เช่น หากต้องฝากเลี้ยง คุณแม่ควรเตรียมของใช้ให้พร้อมตั้งแต่ก่อนเข้านอน จัดของลูกที่จำเป็นให้ครบ ทั้งเสื้อผ้า แพมเพิส ขวดนม นมแม่ที่บรรจุถุงเรียบร้อย หรือนมผงจัดแบ่งให้พร้อม เลือกชุดใส่ไปทำงานเตรียมไว้ ล้างอุปกรณ์และเตรียมปั๊มนมไว้ให้เรียบร้อย เมื่อถึงตอนเช้าคุณแม่จะได้ไม่ต้องฉุกละหุกกับการจัดเตรียมของ


3. มีแผนสำรองเตรียมไว้เสมอ 
สิ่งต่าง ๆ อาจเกิดขึ้นโดยไม่คาดฝันก็สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งนั้น คุณแม่จึงต้องเตรียมตัวให้พร้อมอยู่เสมอ ต้องรู้ว่าจะทำอย่างไรหากลูกน้อยของคุณไม่สบาย หรือหากคุณยายไม่สบายไม่สามารถดูแลลูกให้คุณได้ หรือวันไหนที่คุณแม่มีประชุมต้องกลับค่ำ ควรหาแผนสำรองว่าจะฝากใครช่วยเลี้ยงได้บ้าง


4. คุยกับเจ้านายและทำความเข้าใจกับเพื่อนร่วมงาน 
คุณแม่ควรพูดคุยกับเจ้านายว่าต้องการเวลาสำหรับปั๊มนมให้ลูก เพื่อหัวหน้างานจะได้จัดสรรเวลาการทำงานให้ได้อย่างเหมาะสม คุณแม่ควรเตรียมปั๊มนมสต๊อกเก็บไว้สม่ำเสมอนะคะ เก็บตั้งแต่ก่อนเริ่มไปทำงานเลยค่ะ รวมถึงเมื่อไปทำงานแล้วในระหว่างวันที่ต้องทำงานก็ควรหาเวลาว่างเพื่อนั่งปั๊มนมเก็บไว้ อาจจะปั๊มทุก ๆ 2 ชั่วโมง เพื่อเป็นการกระตุ้นการผลิตน้ำนมไปด้วย แต่หากไม่สะดวกคุณอาจใช้เวลาก่อนออกจากบ้านและทันทีที่กลับถึงบ้านควรปั๊มน้ำนมเก็บไว้ให้ลูกได้ค่ะ


5. ดูแลลูกแล้ว อย่าลืมดูแลตัวเองด้วย
เมื่อถึงเวลาต้องเตรียมตัวกลับไปทำงาน หลังจากในวันหยุดที่คุณแม่ต้องดูแลลูกด้วยตัวเอง คุณแม่มือใหม่อาจจะเป็นกังวลว่าจะดูแลลูกน้อยได้ไม่เต็มที่ จนบางทีไม่ยอมหลับยอมนอนเพราะห่วงลูกมากเกินไป ซึ่งคุณแม่ต้องผ่อนคลายจิตใจของตนเองด้วย และควรหาเวลาให้กับตัวเองบ้าง เช่น หลับพักผ่อนสักหน่อย เวลาที่คุณแม่ดูแลเจ้าตัวน้อยจนหลับปุ๋ยแล้ว คุณแม่อาจจะอ่านหนังสือเล่มโปรด นั่งฟังเพลงสบาย ๆ เพื่อผ่อนคลาย เวลาที่ลูกน้อยเข้านอนเป็นเวลาพักผ่อนที่ดีสำหรับคุณแม่ ทางที่ดีควรใช้ช่วงเวลานี้งีบหลับด้วยเช่นกัน คุณแม่จะได้ไม่เหนื่อยจนเกินไป ต้องพยายามรักษาสุขภาพให้แข็งแรงนะคะ
 

เวิร์คกิ้งมัมต้องรู้ นมแม่ไม่ใช่แค่ดีต่อใจ แต่ดีต่อสมองของลูกด้วย 

นมแม่นอกจากจะดีต่อใจทั้งแม่และลูกแล้ว ยังดีต่อสุขภาพและความฉลาดของลูกน้อยในอนาคตอีกด้วย นมแม่ ประกอบด้วยสารอาหารมากมายโดยสารอาหารหลักคือ ไขมัน โปรตีน แลคโตส วิตามิน เกลือแร่และสารอาหารอื่นๆ อีกมากมาย สมองของคนเราประกอบด้วยไขมัน 60%

โดยไขมันเป็นส่วนประกอบหลักของไมอีลินในสมอง ส่วนดีเอชเอ ธาตุเหล็ก โคลีน วิตามิน บี12  โปรตีน และสฟิงโกไมอีลินก็เป็นหนึ่งในสารอาหารที่มีส่วนช่วยในการสร้างเจ้าตัวไมอีลินค่ะ  “สฟิงโกไมอีลิน” คือหนึ่งในสารอาหารช่วยสร้างไมอีลิน  และไมอีลินก็ช่วยให้สมองส่งข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เมื่่อสมองส่งข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลูกก็จะฉลาดเรียนรู้ไว ไอคิวสูง นั่นเองค่ะ  เห็นหรือยังคะว่าดื่มนมแม่ก็มีส่วนช่วยให้ลูก ฉลาด สมองดี เรียนรู้ไวได้แล้ว “สฟิงโกไมอีลิน” พบมากในนมแม่ ไข่ ผลิตภัณฑ์นม และชีส ดังนั้นในช่วง 2 ปีแรกของชีวิตของเด็กทารก หากได้รับสารนี้อย่างเหมาะสม จะทำให้สมองดี เรียนรู้ไว


บทความอื่นๆ ที่สนใจ 

วิธีการให้นมลูกอย่างถูกวิธี  

สฟิงโกไมอีลิน หนึ่งในสารอาหารสำคัญต่อสมองลูก

อ้างอิง

https://www.thairath.co.th/lifestyle/woman/momandkid/1659948 

https://www.thairath.co.th/lifestyle/woman/momandkid/1360713

บทความแนะนำ

หลังคลอดเลือดออกเป็นก้อนลิ่ม เลือดออกหลังคลอด 1-2 เดือน อันตรายไหม

หลังคลอดเลือดออกเป็นก้อนลิ่ม เลือดออกหลังคลอด 1-2 เดือน อันตรายไหม

คุณแม่หลังคลอดเลือดออกเป็นก้อน หลังคลอด 1 เดือน และหลังคลอด 2 เดือน มีเลือดออกนิดหน่อย เลือดออกหลังคลอด 1-2 เดือน ปกติไหม ไปเช็กอาการคุณแม่เลือดออกเป็นก้อนกัน

คนท้องเป็นริดสีดวงอันตรายไหม แม่ท้องเป็นริดสีดวงสังเกตยังไง

คนท้องเป็นริดสีดวงอันตรายไหม แม่ท้องเป็นริดสีดวงสังเกตยังไง

แม่ท้องเป็นริดสีดวง เกิดจากอะไร คุณแม่ท้องจะรู้ได้อย่างไรว่าตัวเองเป็นริดสีดวง พร้อมวิธีสังเกตริดสีดวงคนท้อง พร้อมวิธีป้องกันริดสีดวงคนท้องระหว่างตั้งครรภ์

ลูกพูดช้า ลูกรู้ทุกอย่างแต่ลูกไม่พูด แบบนี้ผิดปกติไหม

ลูกพูดช้า ลูกรู้ทุกอย่างแต่ลูกไม่พูด แบบนี้ผิดปกติไหม

ลูกพูดช้า ส่งผลต่อพัฒนาการของลูกน้อยไหม ลูกไม่พูดสักที จะเป็นอันตรายหรือเปล่า เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง พร้อมวิธีฝึกลูกพูดตามช่วงวัย เสริมพัฒนาการลูกน้อย

รับมือยังไง เมื่อลูกมีอาการวัยทอง 1 ขวบ ลูก 1 ขวบ ร้องกรี๊ดเอาแต่ใจ

รับมือยังไง เมื่อลูกมีอาการวัยทอง 1 ขวบ ลูก 1 ขวบ ร้องกรี๊ดเอาแต่ใจ

วัยทอง 1 ขวบ คืออะไร ลูก 1 ขวบ ร้องกรี๊ดเอาแต่ใจ เกิดจากอะไร คุณพ่อคุณแม่ควรรับมืออย่างไร เมื่อลูกน้อยมีอาการวัยทอง 1 ขวบ เอาแต่ใจ พร้อมวิธีรีบมือ

เด็กก้าวร้าว ลูกอารมณ์ร้าย ทำตัวไม่น่ารัก พ่อแม่ควรรับมืออย่างไร

เด็กก้าวร้าว ลูกอารมณ์ร้าย ทำตัวไม่น่ารัก พ่อแม่ควรรับมืออย่างไร

เด็กก้าวร้าว ลูกอารมณ์ร้าย พฤติกรรมก้าวร้าวของลูกน้อยอันตรายกับเด็กไหม เด็กก้าวร้าวกับพ่อแม่ เกิดจากสาเหตุอะไร พร้อมวิธีรับมือเมื่อลูกอารมณ์ร้าย

สักทับรอยผ่าคลอดอันตรายไหม พร้อมวิธีดูแลรอยสักทับแผลผ่าคลอด

สักทับรอยผ่าคลอดอันตรายไหม พร้อมวิธีดูแลรอยสักทับแผลผ่าคลอด

คุณแม่ผ่าคลอดสักทับรอยผ่าคลอดเพื่อกลบรอยแผลเป็นได้ไหม คุณแม่สามารถเริ่มสักทับรอยผ่าคลอดได้ตอนไหน อันตรายกับลูกเมื่อต้องให้นมหรือเปล่า ไปดูกัน

คันแผลผ่าคลอด คุณแม่ทำยังไงดี พร้อมวิธีแก้อาการคันแผลผ่าคลอด

คันแผลผ่าคลอด คุณแม่ทำยังไงดี พร้อมวิธีแก้อาการคันแผลผ่าคลอด

คันแผลผ่าคลอดทำยังไงดี คุณแม่มีอาการคันแผลผ่าคลอดหลังคลอดลูก มีวิธีบรรเทาอาการคันหลังคลอดยังไงบ้าง พร้อมวิธีแก้อาการคันแผลผ่าคลอดที่แม่ควรรู้