พัฒนาการเด็ก 1 ขวบ 6 เดือน ลูกน้อยมีพัฒนาการไปถึงไหนแล้ว

พัฒนาการเด็ก 1 ขวบ 6 เดือน ลูกน้อยมีพัฒนาการไปถึงไหนแล้ว

พัฒนาการเด็ก 1 ขวบ 6 เดือน ลูกน้อยมีพัฒนาการไปถึงไหนแล้ว

เด็กโต
บทความ
มี.ค. 5, 2024
2นาที

เมื่อลูกน้อยครบ 18 เดือน หรือเป็นเด็ก 1 ขวบ 6 เดือน คุณแม่และสมาชิกในครอบครัวคงเฝ้าสังเกตพัฒนาการของสมาชิกตัวน้อยอย่างตื่นเต้น กิจกรรมใหม่ ๆ ที่เจ้าตัวน้อยทำได้ดีขึ้น หรือทำได้เพิ่มมากขึ้น คงทำให้คุณแม่และทุก ๆ คนปลาบปลื้มระคนเอ็นดู และผู้ใหญ่ในบ้านก็คงเริ่มคิดถึงของเล่นหรือกิจกรรมมากมายที่เหมาะสมกับเขาอย่างอดใจไม่ได้ บทความนี้นำเสนอรายละเอียดของพัฒนาการด้านต่าง ๆ ของลูกรักเพื่อเป็นประโยชน์แก่คุณแม่และทุก ๆ คนในครอบครัว เป็นแนวทางในการปฏิสัมพันธ์ และหาของเล่นที่เหมาะสมให้เจ้าตัวน้อย

 

สรุป

  • เด็ก 1 ขวบ 6 เดือน หรืออายุ 18 เดือน สามารถคลานไปทั่วได้อย่างอิสระ และอาจเริ่มหัดเดินแล้ว มักจะปีนป่ายและใช้มือเพื่อจับ สัมผัส และเรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ คุณแม่สามารถปล่อยให้ลูกน้อยลองกินอาหารด้วยตัวเอง และไม่ต้องคอยอยู่ใกล้ตลอด แค่เพียงอยู่ในระยะสายตาให้เขามีความสบายใจ
  • ลูกน้อยในวัยนี้ มักจะเลียนแบบคำพูด ท่าทาง และน้ำเสียงได้ การพูดคุยด้วยคือวิธีการสอนให้เขาเรียนรู้คำศัพท์ใหม่ ๆ แต่คุณแม่และสมาชิกทุกคนในบ้านก็ต้องระมัดระวัง เลือกแสดงออกเพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมเชิงบวกให้กับลูกน้อย
  • คุณแม่สามารถสอนมารยาทพื้นฐาน การกล่าว “ขอบคุณ” หรือ “ขอโทษ” ด้วยการกระตุ้น กล่าวนำและแสดงออกเป็นตัวอย่างให้กับลูกน้อยในวัยนี้
  • ของเล่นที่หาให้เด็กในวัยนี้ ควรเน้นที่ทำการตอบสนองการเคลื่อนไหวของเขาได้ เมื่อลูกน้อยเป่า แตะ เข้าใกล้ ถ้าลูกน้อยเปรียบเทียบได้ว่าก่อนและหลังที่เขามีปฏิสัมพันธ์กับของเล่นนั้นมีความแตกต่าง เขาจะเรียนรู้วิธีการเล่นได้

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

พัฒนาการของลูกรักเกิดขึ้นหลายด้านพร้อมกัน ถ้าคุณแม่ลองสังเกตทีละด้าน จะพบว่าสามารถแบ่งรายละเอียดออกได้ ดังนี้

พัฒนาการเด็ก 1 ขวบ 6 เดือน ด้านการเคลื่อนไหว

  • เคลื่อนไหวไปไหนมาไหนเองได้ด้วยการคลาน
  • สามารถยืนขึ้นได้ ยืนเฉย ๆ ไม่ต้องมีคนช่วยประคอง หรือหาสิ่งจับยึดเพื่อพยุงตัว บางคนเริ่มหัดเดิน
  • ปีนขึ้นลงโซฟา เก้าอี้ หรือพื้นที่มีความสูงกว่าตนเองได้โดยไม่ต้องมีคนช่วย
  • ยกภาชนะขึ้นดื่มน้ำ หรือเครื่องดื่มต่าง ๆ ได้เอง แต่อาจจะยังมีพลาดทำหกได้บ้าง
  • ควบคุมนิ้วหยิบจับสิ่งของได้ดี แม่นยำ
  • สามารถใช้ช้อนกินข้าวเองได้
  • ระบายสี หรือเขียนตัวหนังสือได้ แต่เส้นลากยังไม่เรียบร้อย

 

คำแนะนำเพิ่มเติม

  1. ลูกน้อยอาจพยายามปีนออกจากเปลหรือเตียง ถ้าหากคุณแม่ให้นอนเปลควรจะมีกระดิ่งติดไว้ที่เปล เพื่อจะได้รู้เวลาที่ลูกน้อยกำลังพยายามปีนออกมา
  2. ที่นอนไม่ใช่เปล กระดิ่งอาจจะไม่ได้ผล คุณแม่และครอบครัวอาจลองคิดเรื่องการหาที่กั้นมาติดเพื่อสร้างพื้นที่ปลอดภัยให้กับลูกน้อย
  3. ตรวจสอบสิ่งของในห้อง คุณแม่ควรตรวจเช็กด้วยว่าในห้องนอนไม่มีสิ่งของที่หล่นได้หรืออาจจะเป็นอันตราย ถ้าหากลูกน้อยไปเจอเข้า

 

พัฒนาการเด็ก 1 ขวบ 6 เดือน ด้านการสื่อสาร

  • สื่อสารโดยใช้คำตั้งแต่ 3 คำขึ้นไป
  • ทำตามคำบอกหรือคำสั่งที่คุ้นเคยได้ แม้ว่าผู้ใหญ่จะไม่ทำท่าทางประกอบ เช่น บอกให้หยิบของใช้ ก็จะหยิบขึ้นมาอย่างรู้ความ ไม่ต้องทำท่าทางให้ดู

 

คำแนะนำเพิ่มเติม

  • เสริมทักษะการพูดของลูกรัก คุณแม่สามารถเริ่มอ่านหนังสือให้เขาฟังได้ คุณแม่ควรหาหนังสือที่เหมาะสมตามอายุและน่าสนใจมาเพิ่มเติมคลังคำศัพท์ของเขาอย่างค่อยเป็นค่อยไป
  • ใช้เวลาในการอ่านเนื้อเรื่องช้า ๆ อาจลองพากย์เสียงต่าง ๆ ขณะเล่าเรื่องเพื่อดึงดูดความสนใจและ ชี้ให้ลูกมองภาพประกอบ
  • ย้ำคำและประโยคสำคัญในเนื้อเรื่อง และถามคำถามเกี่ยวกับเรื่องในหนังสือ เน้นเรียกร้องความสนใจของลูกน้อย
  • สลับหนังสือที่ใช้เพื่อความสนุกสนาน เพื่อประสบการณ์การอ่าน ควรสร้างสภาพแวดล้อมที่เปิดโอกาสให้ลูกได้เรียนรู้ ความอดทนและความมุ่งมั่น ประกอบกับความรักของคุณแม่เป็นสิ่งที่สำคัญในพัฒนาการด้านการสื่อสาร

 

พัฒนาการเด็ก 1 ขวบ 6 เดือน ด้านการเรียนรู้

  • พัฒนาการของเด็ก 1 ขวบ  มักจะชอบเลียนแบบท่าทางของคนรอบตัว เช่น ท่าทางตอนทำงานบ้าน คือ กวาดพื้น เช็ดโต๊ะ ซักผ้า เป็นต้น
  • เริ่มเข้าใจการใช้งานสิ่งของรอบตัวขณะเลียนแบบไปด้วย เช่น ไม้กวาดไว้กวาดพื้น ผ้าไว้เช็ดโต๊ะ ช้อนไว้กินข้าว แปรงสีฟันไว้ทำความสะอาดช่องปาก หรือเก้าอี้ไว้นั่ง เป็นต้น
  • เข้าใจการเล่นของเล่น หรือประยุกต์วิธีการเล่นกับของเล่น

 

คำแนะนำเพิ่มเติม

  • ลูกน้อยของคุณแม่จะชอบของเล่นที่ “ตอบสนอง” เมื่อเล่นด้วยในช่วงวัยนี้ เขาเรียนรู้ว่าการกดจะทำให้มีเสียงเพลงออกมา หรือกดปุ่ม ใช้งานปุ่มต่างกัน หรือเคาะต่างที่กัน จะมีเสียงเพลงหรือของที่ต่างกันออกมา
  • ของเล่นอย่างฟองสบู่เองก็ดึงดูดความสนใจของลูกน้อยได้ เพราะสามารถแตะและฟองสบู่แตก รวมถึงมีเงื่อนไขว่าให้เป่าเพื่อสร้างฟอง
  • การเล่นทุกอย่างที่ต้องมีกระบวนการและใช้ความคิดเปรียบเทียบ ว่ามีความแตกต่างก่อนและหลังทำบางสิ่งกับของเล่น ทำให้เขาพัฒนาการเรียนรู้
  • เฝ้าระวังการอยู่หน้าจอ ลูกรักที่อายุน้อยกว่า 18 เดือนมีแนวโน้มจะไม่สามารถเข้าใจได้ว่าสิ่งของที่เห็นในหน้าจอโทรทัศน์หรือหน้าจอต่าง ๆ เป็นภาพของสิ่งของในโลกความเป็นจริง แต่ถ้าอายุพ้น 18 เดือน จริง ๆ แล้วลูกน้อยสามารถเรียนรู้จากรายการสื่อที่นำเสนอในลักษณะการสอนหรือเพื่อการพัฒนาการตามวัยของเขา แต่ห้ามปล่อยลูกรักดูคนเดียว จะดูได้ต้องมีคุณแม่หรือผู้ปกครองท่านอื่นประกบ และก็คอยย้ำสอนหรือถ่ายทอด เหมือนกับที่ใช้หนังสือนิทาน

 

พัฒนาการเด็ก 1 ขวบ 6 เดือน ด้านอารมณ์

  • แสดงความสนใจด้วยการชี้ และอยากให้คุณแม่มาดูด้วย
  • สบายใจแม้อยู่ห่างจากคุณแม่หรือคนดูแล ตราบใดที่คุณแม่หรือคนดูแลยังอยู่ในระยะสายตา เขาจะคอยสอดส่ายสายตามองคนที่ดูแลเขาเป็นระยะ ๆ
  • เห็นดีด้วยกับการล้างมือ เห็นน้ำแล้วมักชอบยื่นมือออกไปล้าง
  • สบายใจที่จะยกแขนขึ้นเพื่อให้คุณแม่หรือคนที่ดูแลช่วยในการใส่เสื้อผ้า
  • สนุก หรือมีปฏิกิริยากับหน้าในหนังสือที่คุณแม่ สมาชิกในครอบครัว หรือพี่เลี้ยงอ่านให้ฟัง

 

คำแนะนำพิเศษ:

  • ลูกรักกำลังเรียนรู้ถึงขีดจำกัดจากคนรอบตัว คุณแม่และคุณพ่ออาจได้ยินลูกรักบอกว่า “ไม่” หรือแสดงอารมณ์เกรี้ยวกราดกับสถานการณ์ที่เขาไม่คุ้นเคย หรือไม่สบายใจ เขากำลังเรียนรู้ถึงขอบเขตของอิสระที่เขามีในการทำสิ่งต่าง ๆ ขณะที่มีความกล้าที่จะลองทำหลาย ๆ อย่างในแบบของพวกเขา
  • ลูกน้อยจะเริ่มแสดงออกว่าต้องการแบ่งปัน จะเสนอของที่พวกเขามีให้บางคน แต่บางทีก็จะขอคืนแทบจะทันที
  • สามารถช่วยพัฒนาการด้านอารมณ์โดยใช้ความอดทนกับลูกน้อย ควรค่อย ๆ สื่อสารด้วยความใจเย็นให้เขารับรู้ว่าอารมณ์ฉุนเฉียวเป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสม และจะส่งผลบางอย่างตามมา แต่หลีกเลี่ยงการลงโทษด้วยการตี เขย่าตัว หรือมีผลทำให้เจ็บ

 

สิ่งที่พ่อแม่ควรระมัดระวัง สำหรับลูกน้อย พร้อมพัฒนาการเด็ก 1 ขวบ 6 เดือน

 

สิ่งที่พ่อแม่ควรระมัดระวัง ในการเลี้ยงลูกอายุ 1 ขวบ 6 เดือน

1. ระมัดระวังคำหยาบ คำพูดที่ไม่เหมาะสม เพราะลูกจะจดจำและพูดตาม

เด็กวัยนี้เป็นเหมือนกับฟองน้ำที่ดูดซับทุกสิ่งที่ได้ยิน ลูกน้อยอาจหยิบยกคำหรือวลีที่ได้ยินมาพูดซ้ำ เป็นไปได้ทุกคำหรือวลีที่ได้ยิน รวมถึงคำหยาบคายหรือไม่เหมาะสม ดังนั้นต้องรักษาสภาพแวดล้อมในการสื่อสารเชิงบวกไว้ พูดอย่างให้ความเคารพต่อกันและกันที่บ้าน ลูกน้อยวัยนี้ไม่แค่จดจำคำศัพท์หรือรูปแบบคำ แต่อาจจะพยายามเลียนแบบท่าทางและน้ำเสียงด้วย

 

2. อย่าละเลยในการสอนให้พูดขอโทษ หรือขอบคุณ

คุณแม่หมั่นสอนมารยาทขั้นพื้นฐานให้ลูกน้อย เช่น การพูดว่า "ขอโทษ" และ "ขอบคุณ" กระตุ้นให้ลูกน้อยแสดงความขอบคุณเมื่อเจอกับสถานการณ์ที่เหมาะสม และขอโทษเมื่อเห็นว่าลูกน้อยทำผิดพลาด การกระตุ้นคือการพูดนำก่อน จะทำให้ลูกน้อยเข้าใจว่าพฤติกรรมเหล่านี้ต้องแสดงออกเป็นรูปแบบ การเตือนอย่างอ่อนโยนสม่ำเสมอและอดทนจะช่วยปลูกฝังทักษะทางสังคมที่สำคัญ รวมถึงสร้างลูกน้อยให้เกิดความเห็นอกเห็นใจต่อผู้อื่น

 

3. ระวังปลั๊กไฟ เครื่องใช้ไฟฟ้า และของมีคมในบ้านให้ดี

คุณแม่และผู้ใหญ่ท่านอื่น ๆ ในบ้านควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าบ้านมีการป้องกันอุบัติเหตุและการบาดเจ็บของเด็ก ควรระมัดระวังเป็นพิเศษกับปลั๊กไฟและเครื่องใช้ไฟฟ้าตลอดจนวัตถุมีคมในบ้าน ปิดปลั๊กไฟด้วยกล่องปลั๊กนิรภัย ยึดเครื่องใช้ไฟฟ้าหรือเฟอร์นิเจอร์ที่มีน้ำหนักมากไว้กับพื้นให้แน่นเพื่อป้องกันการล้ม และเก็บของมีคมให้พ้นมือเด็ก สมาชิกในครอบครัวควรตรวจสอบบ้านเป็นประจำ สำรวจดูว่ามีอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับลูกน้อยได้ไหม และดำเนินการเพื่อจัดการหรือกำจัดสิ่งที่เป็นอันตรายเหล่านั้น  

 

เคล็ดลับเสริมสร้างพัฒนาการเด็ก 1 ขวบ 6 เดือน

1. หมั่นอ่านหนังสือนิทานกับลูกบ่อย ๆ

การอ่านหนังสือนิทานกับลูกเป็นประจำ เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการกระตุ้นทักษะทางภาษา จินตนาการ และพัฒนาการทางสติปัญญาของพวกเขา โดยหนังสือที่เลือกต้องเหมาะสมกับวัยพร้อมมีภาพประกอบสีสันสดใส เลือกเรื่องราวที่น่าสนใจ การอ่านร่วมกันไม่เพียงแต่ทำให้ลูกน้อยได้รู้จักคำศัพท์และแนวคิดใหม่ ๆ แต่ยังส่งเสริมความรักในหนังสือและการอ่านอีกด้วย

 

2. ใช้เพลงในการสอนสิ่งต่างๆ กับลูก

เพลงเป็นเครื่องมือที่ยอดเยี่ยมสำหรับการสอนและเสริมสร้างทักษะต่าง ๆ การร้องเพลงกล่อมเด็กหรือเพลงที่มีภาษาสอดคล้องกับการเรียนรู้ในช่วงวัยจะช่วยในการพัฒนาภาษา ความจำ และแม้กระทั่งทักษะการเคลื่อนไหว เพลงหลายเพลงมีการกำหนดท่าทางขยับมือหรือการเคลื่อนไหวที่ส่งเสริมการประสานงานทางกายภาพ นอกจากนี้ยังมีหลายเพลงที่มีเนื้อหาด้านการศึกษา เช่น ตัวเลข สี และรูปทรง

 

3. เน้นโภชนาการที่ดี ส่งเสริมอาหารที่มีประโยชน์

อาหารและนิสัยในการกินที่สร้างได้จากคุณแม่และผู้ปกครองท่านอื่น ๆ ในบ้าน เป็นพื้นฐานของการเจริญเติบโตและพัฒนาการของลูกน้อย โดยหลักการแล้วอาหารของลูกน้อยในวัยนี้ควรประกอบด้วยอาหารหลากหลายที่อุดมไปด้วยสารอาหารที่จำเป็น

  • อาหารที่สมดุลด้วยผัก ผลไม้ โปรตีน และดูแลให้ร่างกายลูกน้อยให้ได้รับน้ำอย่างเพียงพอ
  • ผลิตภัณฑ์จากนม นมวัว 100 เปอร์เซ็นต์ มีโปรตีนและแคลเซียมสูง ช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโตสมวัย ส่วนนม UHT สำหรับเด็ก  ที่พัฒนาขึ้นสำหรับเด็กวัย 1 ปีขึ้นไปโดยเฉพาะ ช่วยให้ลูกน้อยได้รับสารอาหารหลากหลาย เช่น สฟิงโกไมอีลิน  สารอาหารสำคัญที่ช่วยสร้างไมอีลินในสมองซึ่งส่งผลต่อพัฒนาการทางสมองและสติปัญญาของลูกน้อย
  • หลีกเลี่ยงของว่างและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลมากเกินไป ส่งเสริมนิสัยการกินเพื่อสุขภาพตั้งแต่อายุยังน้อย
  • คำนึงถึงปริมาณอาหารที่เตรียมให้ลูกกิน ไม่ใช่เรื่องใหญ่ถ้าลูกจะพูดว่า “ไม่” คุณแม่ควรให้เขาได้กำหนดเองว่าจะกินอะไร มากน้อยแค่ไหน ถ้าคิดว่าไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกายลูกน้อย เอาไว้ถามเขาอีกครั้งเมื่อสบโอกาสว่า “กินไหม”

 

การติดตามและดูแลพัฒนาการของลูกในวัย 1 ปี 6 เดือน เป็นบทบาทที่สำคัญของคุณแม่และผู้ใหญ่ในครอบครัว คุณแม่และทุก ๆ คนควรมีส่วนร่วมช่วยกันสอนมารยาทพื้นฐาน เช่น การขอโทษและขอบคุณ และดูแลรักษาความปลอดภัยในบ้านเพื่อสวัสดิภาพของลูกน้อย เคล็ดลับในการเสริมพัฒนาการของลูก คือ อ่านหนังสือนิทานร่วมกัน การใช้เพลงเป็นเครื่องมือในการสอน และการให้ความสำคัญกับอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ จะช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตทั้งทางร่างกายและอารมณ์ของลูกน้อยผู้เป็นขวัญใจของคุณแม่และทุกคนในครอบครัว

 

บทความแนะนำสำหรับพัฒนาการลูกน้อย

 

 

อ้างอิง:

  1. Your Child's Development: 1.5 Years (18 Months), Nemours Children's Health
  2. Your Child at 18 Months: Milestones, WebMD
  3. Is Your Toddler Being Disrespectful? Here's Why and What to Do, What To Expect
  4. Toddlers (1-2 years of age), CDC
  5. Your Ultimate Baby Proofing Checklist, The Bump
  6. Age-by-Age Guide to Reading to Your Baby, Parents
  7. Musical Play for Babies and Toddlers, What to Expect
  8. Toddler Parenting Tips (1- and 2-Year-Olds), Verywell Family

อ้างอิง ณ วันที่ 21 มกราคม 2567

บทความที่เกี่ยวข้อง

View details อาหารเสริมภูมิคุ้มเด็ก ช่วยให้ลูกสุขภาพดี มีภูมิคุ้มกัน
บทความ
อาหารเสริมภูมิคุ้มเด็ก ช่วยให้ลูกสุขภาพดี มีภูมิคุ้มกัน

อาหารเสริมภูมิคุ้มเด็ก ช่วยให้ลูกสุขภาพดี มีภูมิคุ้มกัน

รวมอาหารเสริมภูมิคุ้มกันเด็กให้ลูกสุขภาพดี มีประโยชน์ ได้สารอาหารครบ 5 หมู่ เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย ไปดูเมนูอาหารเสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกกัน

View details นมกล่องเด็ก 1 ขวบขึ้นไป นมสำหรับเด็ก เพื่อพัฒนาการสมองลูก
บทความ
นมกล่องเด็ก 1 ขวบขึ้นไป นมสำหรับเด็ก เพื่อพัฒนาการสมองลูก

นมกล่องเด็ก 1 ขวบขึ้นไป นมสำหรับเด็ก เพื่อพัฒนาการสมองลูก

นมกล่องเด็ก 1 ขวบขึ้นไป นม UHT เด็ก 1 ขวบแบบไหนดีกับลูกน้อย ช่วยให้ลูกได้รับสารอาหารที่หลากหลาย นมสำหรับเด็ก 1 ปี แต่ละแบบแตกต่างกันอย่างไร ไปดูกัน

View details เด็กแพ้อากาศ อาการภูมิแพ้อากาศในเด็ก พร้อมวิธีดูแล
บทความ
เด็กแพ้อากาศ อาการภูมิแพ้อากาศในเด็ก พร้อมวิธีดูแล

เด็กแพ้อากาศ อาการภูมิแพ้อากาศในเด็ก พร้อมวิธีดูแล

ภูมิแพ้ในเด็กหรือเด็กแก้อากาศในวัยบอบบางเสี่ยงต่อโรคภูมิแพ้ได้ง่าย พ่อแม่สามารถรับมือและคัดกรองความเสี่ยงให้ลูกห่างจากอาการแพ้อากาศ พร้อมเสริมสร้างเกราะคุ้มกัน

7นาที อ่าน

View details ใบเกิดหาย สูติบัตรหาย ทำอย่างไรดี พร้อมขั้นตอนขอสูติบัตรใหม่
บทความ
ใบเกิดหาย สูติบัตรหาย ทำอย่างไรดี พร้อมขั้นตอนขอสูติบัตรใหม่

ใบเกิดหาย สูติบัตรหาย ทำอย่างไรดี พร้อมขั้นตอนขอสูติบัตรใหม่

ใบเกิดหาย สูติบัตรหาย ทำอย่างไรได้บ้าง อยากขอใบเกิดและสูติบัตรใหม่ต้องแจ้งที่ไหน มีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง คัดลอกสำเนานานไหม พร้อมขั้นตอนการขอสูติบัตรใหม่

1นาที อ่าน

View details นม UHT เด็ก ความแตกต่างของนมยูเอชที พร้อมสารอาหารสำคัญ
บทความ
นม UHT เด็ก ความแตกต่างของนมยูเอชที พร้อมสารอาหารสำคัญ

นม UHT เด็ก ความแตกต่างของนมยูเอชที พร้อมสารอาหารสำคัญ

นม UHT สำหรับเด็ก นมกล่อง UHT ที่อุดมไปด้วยสารอาหารสำคัญ เพื่อพัฒนาการที่ดีของลูก พร้อมความแตกต่างของนมยูเอชทีแต่ละประเภทและสารอาหารสำคัญในนม UHT ที่คุณแม่ควรรู้

14นาที อ่าน

View details 10 สุดยอดอาหารบำรุงสมองลูกน้อย ให้ลูกฉลาด สมองไว เติบโตสมวัย
บทความ
10 สุดยอดอาหารบำรุงสมองลูกน้อย ให้ลูกฉลาด สมองไว เติบโตสมวัย

10 สุดยอดอาหารบำรุงสมองลูกน้อย ให้ลูกฉลาด สมองไว เติบโตสมวัย

รวมอาหารบำรุงสมองเด็กตามช่วงวัย ให้ลูกมีพัฒนาการสมองที่ดีตั้งแต่ขวบปีแรก อาหารบำรุงสมองเด็กแบบไหน ช่วยให้ลูกได้รับสารอาหารครบถ้วน เติบโตได้อย่างสมวัย ไปดูกัน

View details นมสูตร 3 เพื่อการเติบโต นมผงสูตร 3 สำหรับเด็ก 1 ปีขึ้นไป
บทความ
นมสูตร 3 เพื่อการเติบโต นมผงสูตร 3 สำหรับเด็ก 1 ปีขึ้นไป

นมสูตร 3 เพื่อการเติบโต นมผงสูตร 3 สำหรับเด็ก 1 ปีขึ้นไป

นมสูตร 3 สำหรับเด็กอายุ 1 ปีขึ้นไป นมผงสูตร 3 มีสารอาหารที่สำคัญและมีประโยชน์กับเด็ก นมผงแต่ละสูตรต่างกันอย่างไร ไปทำความเข้าใจความแตกต่างของนมผงเด็กสูตร 3 กัน

View details ลูกคัดจมูกหรืออาการโควิด 19 ภูมิแพ้ในเด็ก ที่แม่ควรสังเกต
บทความ
ลูกคัดจมูกหรืออาการโควิด 19 ภูมิแพ้ในเด็ก ที่แม่ควรสังเกต

ลูกคัดจมูกหรืออาการโควิด 19 ภูมิแพ้ในเด็ก ที่แม่ควรสังเกต

อาการลูกคัดจมูก ลูกเป็นหวัดง่าย ไม่สบายบ่อย พบได้บ่อยในเด็กเป็นภูมิแพ้และอาจเกิดจากการติดเชื้อ คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตอาการลูกน้อย พร้อมวิธีป้องกันภูมิแพ้ในเด็ก

8นาที อ่าน

View details เหาเกิดจากอะไร กำจัดเหาในเด็กเล็กยังไงได้บ้าง
บทความ
เหาเกิดจากอะไร กำจัดเหาในเด็กเล็กยังไงได้บ้าง

เหาเกิดจากอะไร กำจัดเหาในเด็กเล็กยังไงได้บ้าง

เหาเกิดจากอะไร ลูกเป็นเหา คันหนังศีรษะ คุณแม่มีวิธีกำจัดเหาอย่างไร หากปล่อยไว้นาน ไม่กำจัดเหา จะเป็นอันตรายกับลูกน้อยไหม พร้อมวิธีป้องกันเหาในเด็ก

10นาที อ่าน

View details วัยทอง 2 ขวบ ลูกดื้อมาก รับมือวัยทองเด็ก 2 ขวบ ยังไงดี
บทความ
วัยทอง 2 ขวบ ลูกดื้อมาก รับมือวัยทองเด็ก 2 ขวบ ยังไงดี

วัยทอง 2 ขวบ ลูกดื้อมาก รับมือวัยทองเด็ก 2 ขวบ ยังไงดี

วัยทอง 2 ขวบ มักเกิดขึ้นเมื่อลูกใกล้อายุ 2 ขวบ เด็กส่วนใหญ่จะมีอาการวัยทองเด็ก บางครั้งลูกร้องไห้เอาแต่ใจและไม่ยอมเชื่อฟัง ไปดูวิธีรับมือวัยทอง 2 ขวบกัน

View details พัฒนาการเด็ก 3 ขวบ พร้อมวิธีส่งเสริมพัฒนาการลูกน้อย
บทความ
พัฒนาการเด็ก 3 ขวบ พร้อมวิธีส่งเสริมพัฒนาการลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก 3 ขวบ พร้อมวิธีส่งเสริมพัฒนาการลูกน้อย

พัฒนาการลูกน้อย 3 ขวบ มีอะไรสำคัญบ้าง ลูกน้อยวัย 3 ขวบ ควรได้รับสารอาหารและโภชนาการอย่างไรถึงดีต่อร่างกาย และช่วยส่งเสริมพัฒนาการลูกน้อย 3 ขวบในวัยอนุบาล

View details น้ำหนักตามเกณฑ์อายุ 0-12 ปี และส่วนสูงเด็กตามช่วงวัย
บทความ
น้ำหนักตามเกณฑ์อายุ 0-12 ปี และส่วนสูงเด็กตามช่วงวัย

น้ำหนักตามเกณฑ์อายุ 0-12 ปี และส่วนสูงเด็กตามช่วงวัย

ตารางเกณฑ์น้ำหนักส่วนสูงทารก น้ำหนักเด็ก-ส่วนสูงเด็กตามเกณฑ์ อายุ 0-12 ปี ควรอยู่ที่เท่าไหร่ เพื่อสุขภาพที่ดีและพัฒนาการของลูกน้อยในช่วงขวบปีแรก

7นาที อ่าน

View details แม่เป็นโรคภูมิแพ้ ลูกน้อยจะเป็นโรคภูมิแพ้ในเด็กด้วยหรือไม่
บทความ
แม่เป็นโรคภูมิแพ้ ลูกน้อยจะเป็นโรคภูมิแพ้ในเด็กด้วยหรือไม่

แม่เป็นโรคภูมิแพ้ ลูกน้อยจะเป็นโรคภูมิแพ้ในเด็กด้วยหรือไม่

คุณแม่ตั้งครรภ์หลายคนที่เป็นโรคภูมิแพ้ มักมีความกังวลว่า แม่เป็นโรคภูมิแพ้แล้วลูกจะเป็นโรคภูมิแพ้ในเด็กด้วยหรือเปล่า ไปดูสาเหตุพร้อมวิธีป้องกันเบื้องต้นกัน

1นาที อ่าน

View details เปลี่ยนนามสกุลใช้เอกสารอะไร พร้อมขั้นตอนการเปลี่ยนนามสกุลลูก
บทความ
เปลี่ยนนามสกุลใช้เอกสารอะไร พร้อมขั้นตอนการเปลี่ยนนามสกุลลูก

เปลี่ยนนามสกุลใช้เอกสารอะไร พร้อมขั้นตอนการเปลี่ยนนามสกุลลูก

เปลี่ยนนามสกุลใช้เอกสารอะไรบ้าง ทำผ่านออนไลน์ได้ไหม มีขั้นตอนอย่างไร ลูกน้อยต้องอายุเท่าไหร่ถึงเปลี่ยนนามสกุลได้ พร้อมขั้นตอนการเปลี่ยนนามสกุลลูก

4นาที อ่าน

View details ตารางวัคซีนเด็กตั้งแต่แรกเกิดถึง 1 ขวบ เรื่องสำคัญที่พ่อแม่ต้องรู้
บทความ
ตารางวัคซีนเด็กตั้งแต่แรกเกิดถึง 1 ขวบ เรื่องสำคัญที่พ่อแม่ต้องรู้

ตารางวัคซีนเด็กตั้งแต่แรกเกิดถึง 1 ขวบ เรื่องสำคัญที่พ่อแม่ต้องรู้

ตารางฉีดวัคซีนเด็ก ตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 1 ขวบ ตารางฉีดวัคซีนเด็ก สิ่งสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่ต้องเซฟเก็บไว้ เพื่อไม่ให้ลูกน้อยพลาดวัคซีนสำคัญ เพื่อสุขภาพที่ดีของลูก

View details พัฒนาการเด็ก 1 ขวบ พร้อมวิธีส่งเสริมพัฒนาการเด็กอายุ 1 ขวบ
บทความ
พัฒนาการเด็ก 1 ขวบ พร้อมวิธีส่งเสริมพัฒนาการลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก 1 ขวบ พร้อมวิธีส่งเสริมพัฒนาการเด็กอายุ 1 ขวบ

พัฒนาการเด็ก 1 ขวบหรือพัฒนาการเด็ก 12 เดือน มีอะไรเปลี่ยนแปลงไปบ้าง เด็กอายุ 1 ขวบ ควรได้รับสารอาหารและโภชนาการอะไรที่ดีต่อร่างกายและสมองลูก

View details พัฒนาการเด็ก 5 ขวบ พร้อมวิธีส่งเสริมพัฒนาการลูกน้อย
บทความ
พัฒนาการเด็ก 5 ขวบ พร้อมวิธีส่งเสริมพัฒนาการลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก 5 ขวบ พร้อมวิธีส่งเสริมพัฒนาการลูกน้อย

พัฒนาการลูกน้อย 5 ขวบ มีอะไรเปลี่ยนแปลงไปบ้าง เด็ก 5 ขวบ ควรได้รับสารอาหารและโภชนาการอะไรที่ดีต่อร่างกายและพัฒนาการทางสมอง พร้อมวิธีเสริมพัฒนาการเด็ก 5 ขวบ

2นาที อ่าน

View details โรคซางในเด็กมีจริงไหม เกิดจากอะไร ป้องกันได้หรือเปล่า
บทความ
โรคซางในเด็กมีจริงไหม เกิดจากอะไร ป้องกันได้หรือเปล่า

โรคซางในเด็กมีจริงไหม เกิดจากอะไร ป้องกันได้หรือเปล่า

โรคซางในเด็กเล็ก เกิดจากสาเหตุอะไร หากลูกของคุณแม่มีอาการเหมือนจะเป็นโรคซาง มีไข้ เบื่ออาหาร หรือน้ำหนักลด คุณแม่ควรเฝ้าดูอาการและรีบพาไปพบแพทย์ทันที

8นาที อ่าน

View details ลูกหัวโน หัวปูด อันตรายไหม ลูกหัวโนกี่วันหาย พร้อมวิธีดูแล
บทความ
ลูกหัวโน หัวปูด อันตรายไหม ลูกหัวโนกี่วันหาย พร้อมวิธีดูแล

ลูกหัวโน หัวปูด อันตรายไหม ลูกหัวโนกี่วันหาย พร้อมวิธีดูแล

ลูกหัวโน ลูกหกล้มจนหัวปูด อันตรายไหม คุณพ่อคุณแม่มีวิธีสังเกตอาการหัวโนของลูกน้อยอย่างไร เมื่อลูกหกล้มหัวโน อาการแบบไหนที่ควรรีบพาลูกไปหาหมอ

5นาที อ่าน