หลังคลอดกี่เดือนถึงท้องได้ อยากมีลูกหัวปีท้ายปี แบบไหนปลอดภัย

หลังคลอดกี่เดือนถึงท้องได้ อยากมีลูกหัวปีท้ายปี แบบไหนปลอดภัย

08.04.2024

การตั้งครรภ์แต่ละครั้ง จำเป็นต้องดูแลร่างกายเป็นอย่างดี ตั้งแต่การเตรียมตัวตั้งครรภ์หรือวางแผนการมีบุตร จนกระทั่งหลังคลอด ที่ต้องใช้ระยะเวลาในการฟื้นฟูสุขภาพ แต่คุณพ่อคุณแม่บางคนอาจมีความคิดอยากเร่งสร้างครอบครัว อยากมีลูกหัวปีท้ายปี แต่ประจำเดือนหลังคลอดมา ๆ หาย ๆ ทำให้ไม่แน่ใจว่าตั้งครรภ์ได้แล้วหรือยัง อีกเรื่องที่สำคัญ คือ การดูระยะเวลาที่เหมาะสมว่า หลังคลอดกี่เดือนถึงท้องได้ เพื่อให้คุณแม่ได้เตรียมตัว ดูแลสุขภาพร่างกาย เตรียมความพร้อมด้านจิตใจ ก่อนการตั้งครรภ์อีกครั้ง

headphones

PLAYING: หลังคลอดกี่เดือนถึงท้องได้ อยากมีลูกหัวปีท้ายปี แบบไหนปลอดภัย

อ่าน 6 นาที

 

สรุป

  • คุณแม่ไม่ควรตั้งครรภ์หัวปีท้ายปี เพราะสุขภาพร่างกายยังฟื้นฟูได้ไม่เต็มที่ ควรปรึกษาคุณหมอว่า หลังคลอดนานเท่าใดถึงควรตั้งครรภ์ใหม่ได้ เพื่อวางแผนการตั้งครรภ์ต่อไป
  • ประจำเดือนหลังคลอดมา ๆ หาย ๆ เกิดขึ้นได้ เพราะคุณแม่ต้องใช้เวลาในการฟื้นฟู ก่อนที่ร่างกายจะกลับมาเป็นปกติ
  • คุณแม่ให้นมลูก ประจำเดือนจะมาช้า หรืออาจไม่มาเลยในระหว่างที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ แต่หากประจำเดือนไม่มาหลังคลอด 1 ปี ควรปรึกษาคุณหมอเพื่อหาสาเหตุ

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

หลังคลอดกี่เดือนถึงท้องได้ ปัจจัยสำคัญของร่างกายคุณแม่

การตั้งครรภ์ในแต่ละครั้ง ต้องอาศัยความพร้อมของสุขภาพเป็นสิ่งสำคัญ ทั้งคุณพ่อและคุณแม่ควรมีร่างกายที่แข็งแรง เพื่อให้การตั้งครรภ์เป็นไปอย่างราบรื่นและปลอดภัย คุณแม่คงสงสัยว่า หลังคลอดกี่เดือนถึงท้องได้ ซึ่งต้องดูจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น

1. ความพร้อมของร่างกายคุณแม่

ร่างกายคุณแม่หลังคลอดจะเกิดการเปลี่ยนแปลง และต้องอาศัยเวลาในการฟื้นฟูสุขภาพ ให้ร่างกายกลับสู่ภาวะปกติ การดูแลสุขภาพหลังคลอด และการปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของคุณหมอจึงเป็นเรื่องสำคัญ

 

2. การดูแลมดลูกหลังคลอด

การตั้งครรภ์ ทำให้มดลูกเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว มดลูกจึงเป็นอวัยวะที่รับบทหนักมาตลอด 9 เดือน จากเดิมที่ขนาดมดลูกคล้ายกับผลของชมพู่ ก็ต้องค่อย ๆ ขยายใหญ่ขึ้น เพื่อรองรับทารกในครรภ์ ขณะที่คลอดเจ้าตัวน้อย มดลูกก็ต้องคอยบีบตัวเพื่อให้ทารกออกมา การบีบตัวของมดลูกตอนคลอดยังช่วยขับรก ขับของเสียต่าง ๆ ออกมา เมื่อผ่านการคลอดลูกแล้ว มดลูกยังต้องใช้เวลาในการบีบรัดให้กลับสู่สภาพเดิม ระหว่างนั้นคุณแม่ควรดูแลด้วยการประคบอุ่นบ้างจะช่วยบรรเทาความเจ็บปวดหลังคลอดได้

 

3. การดูแลฝีเย็บ

ฝีเย็บจะอยู่ระหว่างอวัยวะเพศและทวารหนัก เมื่อคลอดธรรมชาติ คุณหมอจะกรีดให้คุณแม่คลอดได้ง่ายขึ้น และเย็บติดไว้ ทำให้คุณแม่รู้สึกเจ็บตึงหลังคลอดได้ การเตรียมตัวก่อนมีลูกคนต่อไป จึงควรดูแลแผลฝีเย็บให้หายดีก่อน

 

4. การเลือกรับประทานอาหาร

คุณแม่ควรเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เพราะคุณแม่ต้องเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ จึงควรได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอ ขณะเดียวกันร่างกายของคุณแม่เองก็ต้องได้รับการฟื้นฟู อาหารสำหรับคุณแม่ท้องจึงเป็นสิ่งสำคัญที่คุณแม่ไม่ควรมองข้าม เช่นเดียวกับการดื่มน้ำเปล่าให้ได้วันละ 6-8 แก้วต่อวัน

 

เมื่อคุณแม่ดูแลสุขภาพหลังคลอดได้อย่างดี และมีพร้อมแล้วสำหรับการมีลูกอีกคน ควรปรึกษาคุณหมอเพื่อวางแผนการตั้งครรภ์ ขอคำแนะนำว่า หลังคลอดกี่เดือนถึงท้องได้ เพื่อให้การตั้งครรภ์ครั้งต่อไปราบรื่นและปลอดภัย

 

5. การตกไข่หลังคลอด

การตกไข่หลังคลอดของคุณแม่แต่ละคนแตกต่างกัน หากคุณแม่ไม่ได้ให้นมลูกอย่างสม่ำเสมอ อาจตกไข่ได้เร็วที่สุด 33 วันหลังคลอด ต่างจากคุณแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นประจำ ที่การตกไข่ไม่บ่อยเท่า ประจำเดือนจะมาช้าหรืออาจไม่มีประจำเดือนเลยในช่วงที่ให้นมลูกอย่างต่อเนื่อง

 

สำหรับคุณแม่ที่วางแผนการมีบุตร และปรึกษาคุณหมอแล้วว่า หลังคลอดกี่เดือนถึงท้องได้ คุณแม่สามารถนับวันไข่ตก เพื่อเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ ซึ่งในแต่ละเดือนจะมีการตกไข่เดือนละ 1 ครั้ง โดยรังไข่ทั้ง 2 ข้างจะสลับกันตกไข่ ตามปกติแล้วผู้หญิงจะมีประจำเดือนทุก 28-30 วัน ให้นับหลังจากวันที่ประจำเดือนมาเป็นวันที่ 1 เมื่อถึงวันที่ 14 จะเป็นวันที่ไข่ตกพอดี ให้มีเพศสัมพันธ์ 1-2 วันก่อนวันไข่ตก เพราะอสุจิจะสามารถรอปฏิสนธิที่รังไข่นาน 2 วัน ก็จะพอดีกับวันที่ไข่ตก

 

หลังคลอดกี่เดือนถึงท้องได้ อยากมีลูกหัวปีท้ายปี ทำได้หรือไม่

 

อยากมีลูกหัวปีท้ายปี ทำได้หรือไม่

การมีลูกหัวปีท้ายปี คือการที่คุณแม่ตั้งครรภ์ตั้งแต่ช่วง 2-6 เดือนหลังคลอด อาจเป็นช่วงที่ร่างกายยังไม่ได้รับการฟื้นฟูอย่างเต็มที่ ช่วงเวลาที่เหมาะสมควรตั้งครรภ์ให้ห่างกันอย่างน้อย 2 ปี ร่างกายคุณแม่จึงจะฟื้นตัวอย่างเต็มที่

 

มีลูกหัวปีท้ายปี มีผลเสียอย่างไร

การมีลูกหัวปีท้ายปี ส่งผลต่อสุขภาพร่างกายของคุณแม่มากกว่าที่คิด เพราะร่างกายยังฟื้นฟูได้ไม่เต็มที่ คุณแม่อาจรู้สึกเหน็ดเหนื่อยที่ต้องเลี้ยงดูลูกเล็กในระหว่างที่ตั้งครรภ์ มีความเสี่ยงที่ลูกในท้องจะมีน้ำหนักน้อย หรือเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนดได้ หากคุณแม่ตั้งครรภ์เร็ว มีลูกหัวปีท้ายปี จำเป็นต้องได้รับการดูแลจากแพทย์อย่างใกล้ชิด ควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้เพียงพอต่อการฟื้นฟูร่างกาย และให้ลูกในท้องได้รับสารอาหารอย่างเต็มที่

 

ประจำเดือนหลังคลอด ต้องรอนานแค่ไหน

ประจำเดือนหลังคลอดของคุณแม่ อาจเริ่มมีได้ภายใน 6-8 สัปดาห์หลังคลอด กรณีที่คุณแม่ไม่ได้ให้นมลูกอย่างต่อเนื่อง แต่หากเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ มีการให้นมลูกอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ ประจำเดือนอาจมาช้า หรือไม่มีประจำเดือนเลยระหว่างที่ให้นมบุตรก็เป็นได้

 

ทำไมประจำเดือนหลังคลอดมา ๆ หาย ๆ

สาเหตุที่ประจำเดือนหลังคลอดมา ๆ หาย ๆ เพราะหลังคลอดร่างกายของคุณแม่กำลังฟื้นฟู และปรับตัวก่อนเข้าสู่สภาวะปกติ ทำให้รอบเดือนมาน้อยกะปริบกะปรอย หรือประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ อาจมา 1 เดือน แล้วเว้นไป 1-2 เดือนก็ได้ โดยช่วงเวลาการมีประจำเดือนและปริมาณของประจำเดือน อาจไม่เหมือนช่วงก่อนการตั้งครรภ์ แม้ว่าประจำเดือนจะไม่มา หรือมาไม่สม่ำเสมอ คุณแม่ก็เสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ได้ จึงควรปรึกษาแพทย์เพื่อวางแผนการคุมกำเนิดที่เหมาะสม และไม่กระทบต่อการให้นมลูก

 

ประจำเดือนไม่มาหลังคลอด 1 ปี ควรปรึกษาแพทย์

ร่างกายของคุณแม่แต่ละคนแตกต่างกัน ประจำเดือนอาจมาช้า หรือไม่มาเพราะว่าให้นมลูก แต่หากประจำเดือนขาดนานเกินไป หรือประจำเดือนไม่มาหลังคลอด 1 ปี ควรปรึกษาคุณหมอ

 

สำหรับคุณแม่ที่อยากท้องลูกคนต่อไปเร็ว ๆ ควรพูดคุยกับคุณหมอ วางแผนการมีบุตรว่า หลังคลอดกี่เดือนถึงท้องได้ และคอยดูแลสุขภาพร่างกาย พักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่ในทุกมื้อ ดื่มน้ำเปล่าบ่อย ๆ รักษาสุขภาพกายและใจให้แข็งแรง เพื่อเตรียมความพร้อมกับการตั้งครรภ์อย่างมีคุณภาพในครั้งต่อไป

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

 

 

อ้างอิง:

  1. คู่มือมารดาหลังคลอด และการดูแลทารกสำหรับคุณแม่, กรมอนามัย
  2. การดูแลสตรีระยะหลังคลอด (puerperium care), คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  3. นับวันไข่ตกอย่างไรไม่ให้พลาด, กรมอนามัย
  4. ลูกหัวปีท้ายปี… มีวิธีดูแลตัวเองอย่างไร, โรงพยาบาลเปาโล
  5. หลังคลอดประจำเดือนจะมาเมื่อไหร่ และคุณแม่ต้องดูแลตนเองอย่างไร?, โรงพยาบาลพญาไท

อ้างอิง ณ วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2567

บทความแนะนำ

ลูกแฝด เกิดจากอะไร ตั้งครรภ์แฝดเสี่ยงอันตรายจริงไหมต้องระวังอะไรบ้าง

ลูกแฝด เกิดจากอะไร ตั้งครรภ์แฝดเสี่ยงอันตรายจริงไหมต้องระวังอะไรบ้าง

ลูกแฝด เกิดจากอะไร คุณพ่อคุณแม่อยากมีลูกแฝดด้วยวิธีธรรมชาติ ต้องทำอย่างไร ตั้งครรภ์แฝดอันตรายไหม มีเรื่องอะไรบ้างที่คุณแม่ต้องระวังเป็นพิเศษ

ทำกิ๊ฟ คืออะไร การทำกิ๊ฟ GIFT ต่างจากการทำเด็กหลอดแก้วไหม

ทำกิ๊ฟ คืออะไร การทำกิ๊ฟ GIFT ต่างจากการทำเด็กหลอดแก้วไหม

การทำกิ๊ฟ คืออะไร คุณแม่มีลูกยากอยากทำกิ๊ฟ มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง การทำกิ๊ฟมีข้อดีข้อเสียอย่างไร ค่าใช้จ่ายแพงไหม ว่าที่คุณพ่อคุณแม่ต้องเตรียมตัวอย่างไร

อยากได้ลูกชายทำไงดี พร้อมเคล็ดลับสำหรับคนอยากมีลูกชาย

อยากได้ลูกชายทำไงดี พร้อมเคล็ดลับสำหรับคนอยากมีลูกชาย

อยากได้ลูกชาย ว่าที่คุณพ่อคุณแม่ทำยังไงได้บ้าง อยากมีลูกชายด้วยวิธีธรรมชาติทำได้จริงไหม พร้อมวิธีคำนวณวันตกไข่ นับวันตกไข่ ช่วยเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์

หลังคลอด 1 เดือน มีเพศสัมพันธ์ได้ไหม เริ่มมีเพศสัมพันธ์ได้เมื่อไหร่

หลังคลอด 1 เดือน มีเพศสัมพันธ์ได้ไหม เริ่มมีเพศสัมพันธ์ได้เมื่อไหร่

หลังคลอด 1 เดือน มีเพศสัมพันธ์ได้ไหม คุณแม่หลังคลอดมีเพศสัมพันธ์เลยทันทีจะเป็นอันตรายหรือเปล่า มีเพศสัมพันธ์ตอนไหนปลอดภัยกับคุณแม่ที่สุด ไปดูกัน

อยากได้ลูกสาวทำไงดี พร้อมเคล็ดลับสำหรับคนอยากมีลูกสาว

อยากได้ลูกสาวทำไงดี พร้อมเคล็ดลับสำหรับคนอยากมีลูกสาว

อยากได้ลูกสาว ว่าที่คุณพ่อคุณแม่ทำยังไงได้บ้าง อยากมีลูกสาวด้วยวิธีธรรมชาติทำได้จริงไหม พร้อมวิธีคำนวณวันตกไข่ นับวันตกไข่ ช่วยเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์

มดลูกหย่อนอันตรายไหม คุณแม่ควรรับมือยังไง เมื่อมดลูกหย่อน

มดลูกหย่อนอันตรายไหม คุณแม่ควรรับมือยังไง เมื่อมดลูกหย่อน

มดลูกหย่อน คืออะไร อาการมดลูกหย่อนเป็นแบบไหน มีทั้งหมดกี่ระยะ เกิดขึ้นกับช่วงวัยไหนบ้าง รักษาให้หายขาดได้ไหม พร้อมวิธีป้องกันมดลูกหย่อนในผู้หญิง

ฝังยาคุมดีไหม ได้ผลกี่เปอร์เซ็นต์ ฝังยาคุมมีผลข้างเคียงอะไรบ้าง

ฝังยาคุมดีไหม ได้ผลกี่เปอร์เซ็นต์ ฝังยาคุมมีผลข้างเคียงอะไรบ้าง

ฝังยาคุมเพื่อคุมกำเนิดได้ผลดีแค่ไหน การฝังยาคุมกำเนิด เหมาะกับใคร มีข้อดีข้อเสียยังไง ฝังยาคุมอยู่ได้นานกี่ปี ปลอดภัยไหม มีผลข้างเคียงหรือเปล่า

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก