ตารางการนอนของทารก 0-1 ปี ทารกควรนอนวันละกี่ชั่วโมง
การนอน เป็นอีกหนึ่งกิจวัตรที่สำคัญต่อลูก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กแรกเกิดวัย 0-1 ปี ที่ควรนอนหลับให้เพียงพอ เพราะการนอนมีส่วนสำคัญต่อการเจริญเติบโตของลูก ส่งผลต่อการพัฒนาสมอง
ตารางการนอนของลูกวัย 0-1 ปี
ในวันนี้เราจึงอยากนำเสนอ ตารางการนอนหลับของลูกน้อยในวัย 0-1 ปี เพื่อให้คุณแม่ได้นำไปเรียนรู้พื้นฐานการนอนของทารก และนำไปปรับใช้กับลูกน้อย
อายุ |
จำนวนการนอน (ครั้งต่อวัน) |
ชั่วโมงการนอน (กลางวัน) |
ชั่วโมงการนอน (กลางคืน) |
ชั่วโมงที่ควรนอนต่อวัน |
แรกเกิด |
นอนไม่เป็นเวลา | 8-9 | 8-9 | 16-18 |
1 เดือน |
3-4 | 7-8 | 8-9 | 15-16 |
3 เดือน |
3 | 6-7 | 9-10 | 15 |
6 เดือน |
2- 3 | 3-4 | 10-11 | 14-15 |
1 ปี |
1-2 | 2-3 | 11-12 | 15-16 |
โดยทั่วไปแล้ว เด็กแรกเกิดจะนอนไม่เป็นเวลา ใช้เวลาในการนอนกว่า 70-80% ต่อวัน หรือราว 16-18 ชั่วโมง ซึ่งเด็กทารกจะนอนวันละหลายรอบ รอบละ 1-2 ชั่วโมง และเด็กในวัยนี้จะไม่สามารถแยกเวลากลางวันหรือกลางคืนได้ และจะค่อย ๆ ปรับตัวนอนได้นานมากขึ้นต่อรอบเมื่ออายุได้ประมาณ 4-6 เดือน จากนั้นการนอนกลางวันจะค่อย ๆ ลดลง แล้วไปนอนตอนกลางคืนมากขึ้น จนกระทั่งไม่นอนกลางวันอีกเลยในอนาคต
ปัญหาการนอนของลูกวัย 0-1 ปี และวิธีแก้ไข
คุณแม่อาจพบปัญหาการนอนของลูกวัย 0-1 ปี เช่น ลูกนอนไม่หลับเมื่อไม่มีสถานการณ์เป็นตัวช่วย เด็กทารกหลายคนอาจเรียนรู้ที่จะหลับภายใต้สถานการณ์บางอย่าง เช่น ดูดนม, อุ้ม หรือเขย่าตัว จนหลับในอ้อมกอดของพ่อแม่ ซึ่งนั่นเป็นสิ่งที่พ่อแม่ควรหลีกเลี่ยง ไม่ควรฝึกให้ลูกจำ เพราะจะทำให้ลูกไม่เคยฝึกกล่อมให้ตัวเองหลับได้ด้วยตัวเองตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นของการนอนหลับ ซึ่งเมื่อลูกตื่นกลางดึกจะทำให้ลูกตื่นนานเกินไป และทำให้ทั้งลูกและพ่อแม่นอนหลับไม่เพียงพอ

วิธีปรับพฤติกรรม
พ่อแม่จำเป็นต้องกำหนดตารางการนอน และกิจวัตรประจำวันก่อนนอนให้ชัดเจน โดยต้องทำอย่างสม่ำเสมอในทุกวัน และงดช่วยเหลือลูกขณะจะหลับ โดยสามารถปล่อยให้ลูกร้องไห้ จนกระทั่งหลับไปเองตอนกลางดึก หรือใช้วิธีค่อยเป็นค่อยไป โดยเน้นให้วางลูกลงบนเตียงนอนขณะง่วงแต่ยังหลับไม่สนิท ลดระยะเวลาที่อยู่กับลูกลงเมื่อตื่นกลางดึก
ส่วนปัญหาลูกไม่ยอมเข้านอนนั้น ในช่วงวัยแรกเกิดนี้ คุณแม่ควรฝึกให้ทารกนอนอยู่บนที่นอนของเขาตั้งแต่แรก คอยลูบตัว ลูบหลังให้หลับไปเองโดยไม่ต้องอุ้มขึ้นมาตั้งแต่แรกเกิดเลยก็ได้ ทำซ้ำ ๆ จนทารกเคยชินกับการเข้านอนด้วยตัวเองที่พ่อแม่ได้สอน
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
สุดยอดวิธีพัฒนาสมองลูกตั้งแต่แรกเกิดถึง 6 ปี
กินอะไรให้ลูกฉลาด สารอาหารชนิดไหนช่วยพัฒนาสมองลูก
อ้างอิง
- https://th.rajanukul.go.th/preview-3501.html
- http://www.thaipediatrics.org/Media/media-20171010123052.pdf
- https://si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=834
- https://th.theasianparent.com/%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%81
บทความแนะนำ

เทคนิคคุยกับลูก ฝึกลูกพูดตามวัย เสริมพัฒนาการเด็กวัยแรกเกิด – 1 ปี
การเรียนรู้ การตอบสนอง และการสื่อสารกับเด็กในช่วงขวบปีแรกมีความสำคัญต่อพัฒนาการเด็กเป็นอย่างมาก หากพ่อแม่พยายามสร้างปฏิสัมพันธ์กับลูกน้อยผ่านการเล่นที่เหมาะสมกับวัย รวมถึงพยายามพูดคุยกับลูกอยู่เป็นประจำจะช่วยกระตุ้นพัฒนาการของลูกน้อยในด้านต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี

1,000 ชื่อจริงมงคล ตั้งชื่อลูกดีเสริมชีวีเป็นสุข
เตรียมพร้อมเป็นคุณพ่อคุณแม่มือใหม่อีกหนึ่งสเต็ป ด้วยการเลือกชื่อที่เป็นสิริมงคลให้กับลูกน้อย วันนี้เรามีชื่อจริงมงคลถึง 1,000 ชื่อมาให้ทุกคนเลือกกันอย่างจุใจค่ะ โดยเราจะแยกเป็นหมวดหมู่ชื่อของเด็กที่เกิดในแต่ละวันในสัปดาห์ ซึ่งจะเข้ามาเสริมสิริมงคลรอบด้านในชีวิตของน้อง ๆ ให้อยู่ร่มเย็นเป็นสุขค่ะ ถ้าพร้อมแล้วไปชมพาเหรดชื่อมงคลกันเลยค่ะ

15 คำถามเรื่องเบบี๋ ที่แม่มือใหม่อยากรู้
ทารกเป็นวัยที่มีความบอบบาง ต้องการการปกป้องดูแลมากเป็นพิเศษ นอกจากนี้เบบี๋ตัวน้อย ๆ ยังไม่สามารถสื่อสารความต้องการ หรือความเจ็บปวดออกมาเป็นคำพูดได้ ดังนั้น คุณแม่มือใหม่จึงมีเรื่องมากมายที่สงสัยใคร่รู้อยู่เสมอ เราจึงรวบรวม 15 คำถามเรื่องเบบี๋ ที่คุณแม่มือใหม่อยากรู้ มาฝากดังนี้

โภชนาการลูกวัย 0-1 ปี ลูกวัยนี้กินอะไรดีนะ
สำหรับช่วงวัยทารกขวบปีแรก หรือ วัย 0-1 ปีแรกของลูกนั้น การได้รับโภชนาการที่ดี ถูกต้อง เหมาะสม มีส่วนสำคัญสำหรับพัฒนาการและการเจริญเติบโตของลูกเป็นอย่างมาก ดังนั้นคุณแม่จึงควรใส่ใจและดูแลเรื่องโภชนาการของลูกน้อยอย่างใกล้ชิด ที่สำคัญ การเสริมอาหารของลูกในแต่ละวัยมีความแตกต่างกันไปตามช่วงอายุ ในวันนี้เราจะมาแนะนำอาหารที่เหมาะสมกับลูกตั้งแต่แรกเกิด (0 เดือน) จนถึง 1 ขวบปีกัน

พัฒนาการลูกรักวัย 1 ขวบ ในขวบปีแรกลูกควรมีพัฒนาการอะไรบ้าง?
ช่วงเวลา 3 ปีแรกของลูกน้อยนั้น เปรียบได้ดั่งรากฐานสำคัญของสุขภาพและพัฒนาการในด้านต่าง ๆ ตลอดชีวิตของเขา เพราะในช่วงนี้จะเป็นช่วงเวลาที่พวกเขามีการเติบโตและมีการเปลี่ยนแปลงมากมายของพัฒนาการในทุก ๆ ด้าน ซึ่งในวันนี้เราอยากนำเสนอถึงข้อมูลอันสำคัญเกี่ยวกับพัฒนาการด้านต่าง ๆ ของลูกรักในวัย 1 ขวบ ว่าในช่วงวัยนี้ เขาควรมีพัฒนาการอะไรบ้าง และคุณพ่อคุณแม่ควรทำอย่างไรเพื่อกระตุ้นพัฒนาการของลูกให้ดียิ่งขึ้น