คุณแม่ปวดท้องข้างขวา บอกอะไรบ้าง ปวดท้องแบบไหนต้องไปหาหมอ

คุณแม่ปวดท้องข้างขวาจี๊ด ๆ หน่วง ๆ บอกอะไรได้บ้าง

10.07.2024

อาการปวดท้องช่วงตั้งครรภ์นั้นอาจเกิดขึ้นกับคุณแม่ได้โดยมีความถี่แตกต่างกันไป มากบ้างน้อยบ้าง ยิ่งระหว่างช่วงไตรมาสสุดท้าย ที่ลูกตัวใหญ่ขึ้นจนเบียดอวัยวะต่าง ๆ ภายในช่องท้องของคุณแม่จนอึดอัด แต่เราก็ยังอยากให้คุณแม่ลองสังเกตตัวเองสักนิด เพราะบางครั้งอาการปวดท้องนั้นดูเหมือนจะเล็กน้อยและคุณแม่อาจมองข้ามไป แต่อาจเป็นอาการที่สามารถบ่งบอกถึงโรคร้ายก็เป็นได้

headphones

PLAYING: คุณแม่ปวดท้องข้างขวาจี๊ด ๆ หน่วง ๆ บอกอะไรได้บ้าง

อ่าน 6 นาที

 

สรุป

  • ว่าที่คุณแม่ปวดท้องข้างขวา บริเวณนั้นอาจเกี่ยวกับไส้ติ่ง ท่อไต ปากมดลูก และรังไข่ข้างขวา
  • คุณแม่ปวดท้องข้างขวา อาจเกิดจากอาหารไม่ย่อยได้ในทุกไตรมาสของการตั้งครรภ์
  • ปวดท้องน้อยหน่วง ๆ อาจเกิดจากมีการเกร็งตัวของมดลูกเล็กน้อยไม่รุนแรง
  • ถ้ามีอาการปวดหน่วงบ่อย ๆ มากกว่า 10 ครั้งในหนึ่งวัน อาจเป็นสัญญาณเตือนของการแท้งหรือคลอดก่อนกำหนดได้
  • บทความนี้เป็นการให้ความรู้เบื้องต้นที่อาจเกี่ยวข้องกับอาการปวดท้องด้านขวา ไม่แนะนำให้คุณแม่คาดเดาโรคด้วยตนเอง หรือซื้อยาเองเพื่อรักษาอาการ ควรพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยที่ถูกต้องและรับการรักษาอย่างทันท่วงที

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

หากจะมองแค่เรื่องอาการปวดท้องด้านขวานั้น ก็ต้องขอบอกว่าอาจจะเชื่อมโยงกับโรคที่เป็นไปได้หลายโรคเลยทีเดียว เราได้รวบรวมความเสี่ยงจากอาการปวดท้องด้านขวา ที่อาจจะเป็นสาเหตุของการเกิดโรคต่าง ๆ ในคุณแม่ตั้งครรภ์มาให้แล้ว อยากให้คุณแม่ทุกท่านไม่ประมาทและคอยสังเกตอาการตัวเองอย่างสม่ำเสมอ โดยบทความนี้เขียนขึ้นเพื่อเป็นการแนะนำให้ความรู้เบื้องต้น เพื่อช่วยให้คุณแม่สังเกตตัวเองและอาการต่าง ๆ เพื่อเข้าสู่การรักษากับคุณหมอได้อย่างทันท่วงที

 

ว่าที่คุณแม่ปวดท้องข้างขวา อาจเกี่ยวกับอวัยวะภายในส่วนไหนบ้าง

บริเวณนั้นเป็นตำแหน่งของอวัยวะต่าง ๆ เช่น ไส้ติ่ง ท่อไต ปากมดลูก และรังไข่ข้างขวา จึงมีความเป็นไปได้ว่าคุณแม่อาจจะมีปัญหาที่ระบบย่อยอาหาร ระบบทางเดินปัสสาวะ หรือระบบสืบพันธุ์ โดยจำเป็นต้องสังเกตอาการร่วมด้วย เช่น ปวดเกร็งเป็นระยะ ๆ แล้วร้าวมาที่ต้นขา ซึ่งอาจจะเป็นอาการของกรวยไตอักเสบ หรือนิ่วท่อไต หากเป็นไส้ติ่งอักเสบจะมีอาการปวดเสียดตลอดเวลา กดแล้วเจ็บมากบริเวณท้องน้อยด้านขวา ส่วนถ้าปวดและมีไข้สูงร่วมด้วย มีตกขาว อาจเป็นอาการของปีกมดลูกอักเสบ ซึ่งหากเกิดอาการเหล่านี้ คุณแม่ควรรีบไปพบแพทย์

 

คุณแม่ปวดมวนท้องอึดอัดท้อง อาจเกิดจากท้องผูกใช่หรือเปล่า

อาการปวดท้อง ( Abdominal discomfort ) นั้นเกิดได้ในทุกส่วนของท้อง ไม่ว่าจะเป็นส่วนบน ส่วนล่าง หรือกลางท้อง โดยมีอาการมวนท้อง พะอืดพะอม อึดอัดท้อง อาการนี้อาจจะเกิดได้จากหลายสาเหตุ ตั้งแต่โรคที่เรารู้จักกันดีอย่างเช่น อาหารไม่ย่อย ท้องผูก ไปจนถึงโรคที่อันตรายที่ต้องรักษาอย่างเร่งด่วน เช่น ไส้ติ่งอักเสบ นิ่วในถุงน้ำดี เป็นต้น คุณแม่จึงต้องหมั่นสังเกตตนเองให้ดี หากปวดท้องในลักษณะนี้อย่างต่อเนื่องและยาวนานเกิน 48 ชั่วโมง และไม่มีทีท่าว่าจะเบาลง ก็ควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วน

 

ปวดท้องน้อยข้างขวาจี๊ด ๆ ผู้หญิงเป็นอะไรได้บ้าง

สำหรับผู้หญิงนั้น การปวดท้องน้อยจี๊ด ๆ เป็น ๆ หาย ๆ คลื่นไส้ร่วมกับมีไข้ อาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกโรคหรืออาการบางอย่างได้ เช่น

  • กรวยไตอักเสบ : ปวดท้องไปจนถึงบริเวณบั้นเอวข้างขวา ปวดเจ็บแปลบเป็นบางช่วง มักมีไข้หนาวสั่น ปัสสาวะขุ่นร่วมด้วย
  • ไส้ติ่งอักเสบ : ปวดท้องแบบเสียดแน่น ตั้งแต่บริเวณสะดือขึ้นไปจนถึงท้องน้อยด้านขวา กดแล้วรู้สึกเจ็บ และคลำดูแล้วเจอก้อนเนื้อนูนออกมา
  • ลำไส้อักเสบ : หากเป็นลำไส้ใหญ่อักเสบ จะปวดเสียดท้องด้านขวาส่วนกลาง มักเกิดร่วมกับอาการท้องเสียหรือถ่ายเป็นเลือด หากเป็นลำไส้เล็กอักเสบปวดท้องใต้ซี่โครงขวา เสียดท้องอย่างรุนแรง ร่วมกับมีอาการจุกเสียด

 

ปวดท้องน้อยข้างขวาจี๊ด ๆ ผู้หญิงเป็นอะไรได้บ้าง

 

ปวดท้องน้อยหน่วง ๆ บ่งบอกอะไรได้หลายอย่าง

สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์นั้นอาการปวดหน่วง ๆ อาจเกิดได้ตั้งแต่ไตรมาสแรก หากมีอาการปวดหน่วงท้องน้อยนาน ๆ ครั้งต่อวัน (ไม่เกิน 5 ครั้งต่อวัน) ซึ่งอาการนี้สามารถพบได้ในภาวะครรภ์ปกติ เพราะอาจเกิดจากการเกร็งตัวของมดลูกเล็กน้อยไม่รุนแรง แต่ถ้ามีอาการปวดหน่วงบ่อย ๆ มากกว่า 10 ครั้งในหนึ่งวัน หรือ 2-3 ครั้งต่อชั่วโมงติดต่อกันหลายชั่วโมงอันนี้คุณแม่ไม่ควรวางใจ เพราะอาจเป็นสัญญาณเตือนของการแท้งลูกหรือคลอดก่อนกำหนดได้ ควรรีบไปพบแพทย์ค่ะ

 

นอกจากนี้ยังมีอาการปวดท้องน้อยหน่วง ๆ และมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย ซึ่งอาจเกิดจาก

  • ปวดท้องน้อยหน่วง ๆ พร้อมกับปวดหลัง และปวดสีข้าง ร่วมกับมีไข้ อาจเกิดการติดเชื้อในไต
  • ปวดท้องน้อยด้านขวาหน่วง ๆ พร้อมกับมีตกขาวที่มีกลิ่นเหม็น ร่วมกับมีไข้สูงและหนาวสั่น อาจเป็นอาการปีกมดลูกขวาอักเสบ
  • ปวดหน่วงบริเวณท้องน้อยด้านขวา ร่วมกับมีอาการท้องอืด แน่นท้อง คลำได้ก้อนที่ท้องน้อยขวาอาจมีความผิดปกติที่รังไข่ หรือไส้ติ่งอักเสบ

 

ปวดท้องข้างขวาแบบไหน เสี่ยงไส้ติ่งอักเสบ!

อาการไส้ติ่งอักเสบเกิดได้กับทุกคนค่ะ คุณแม่ตั้งครรภ์ก็เช่นกัน โดยส่วนใหญ่ไส้ติ่งอักเสบมักพบในคุณแม่ตั้งครรภ์ช่วง 6 เดือนแรก เนื่องจากในระยะนี้มดลูกมีการขยายใหญ่ขึ้นทำให้ไส้ติ่งถูกดันและถูกมดลูกบดบังไว้ เมื่อตรวจร่างกายด้วยการกดหน้าท้อง อาจจะไม่รู้สึกปวดมากนัก แต่เมื่ออายุครรภ์มากขึ้นอาจจะเลื่อนมาปวดด้านบนขวาได้ เพราะฉะนั้นอาการปวดท้องด้านขวาจึงสำคัญ

 

เราจึงอยากให้คุณแม่คอยสังเกตตัวเอง ว่ามีอาการ ปวดท้องแบบเสียดแน่น ตั้งแต่บริเวณสะดือขึ้นไปจนถึงท้องน้อยด้านขวา กดแล้วรู้สึกเจ็บ และเจ็บมากขึ้นเมื่อขยับตัว ปวดติดต่อกันเป็นเวลานาน ปวดแรงขึ้นเรื่อย ๆ (อาจจะนานถึง 6 ชั่วโมง) เมื่อมีอาการปวดแบบนี้ควรรีบมาพบแพทย์ทันที ซึ่งในระยะนี้มีความเสี่ยงต่อคุณแม่และลูก เพราะหากปล่อยไว้อาจรุนแรงถึงขั้นไส้ติ่งแตกทั่วท้องและอาจส่งผลให้มีโอกาสคลอดก่อนกำหนดหรือแท้งได้

 

ปวดท้องข้างขวา และมีอาการร่วมแบบนี้ ควรไปหาหมอ

การปวดท้องระหว่างตั้งครรภ์ โดยเฉพาะปวดท้องน้อยด้านขวาอาจไม่ใช่เรื่องปกติ คุณแม่ควรรีบสังเกตตัวเองหากมีอาการเหล่านี้จะชะล่าใจไม่ได้ ต้องรีบไปพบแพทย์โดยด่วน

  • ปวดท้องมากขึ้นเรื่อย ๆ หรือปวดนานมากกว่า 6 ชั่วโมง
  • ปวดท้องและอาเจียน มากกว่า 3-4 ครั้ง
  • ปวดท้องมากขึ้นเมื่อขยับตัว
  • ปวดท้องบริเวณท้องน้อยด้านขวา
  • ปวดท้องรุนแรง จนนอนไม่ได้ ทานอาหารไม่ได้
  • ปวดท้องร่วมกับมีเลือดออกจากช่องคลอด
  • ปวดท้องและมีไข้ร่วมด้วย

 

อาการปวดท้องของคุณแม่ตั้งครรภ์นั้นเกิดได้หลายช่วง ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ไตรมาสแรกจนถึงช่วงคลอด คุณแม่บางคนอาจะมีอาการปวดท้องข้างซ้ายร่วมด้วย ซึ่งก็จะมีความเจ็บปวดในตำแหน่งและอาการที่แตกต่างกันไป สิ่งที่สำคัญคือคุณแม่ไม่ควรชะล่าใจกับอาการปวดเหล่านั้นจนคิดว่าเป็นเรื่องธรรมดาหรือคาดเดาโรคด้วยตนเอง ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยที่ถูกต้อง และรับการรักษาได้อย่างทันท่วงที เพราะเรื่องนี้อาจส่งผลต่อทั้งคุณแม่และลูกน้อยได้เช่นกัน

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

 

 

อ้างอิง:

  1. ปวดท้องข้างขวา สื่อถึงโรคอะไรได้บ้าง?, โรงพยาบาลศิครินทร์
  2. ปวดท้องไส้ติ่งอักเสบ สังเกตให้เป็นก่อนเสี่ยง “ไส้ติ่งแตก”, โรงพยาบาลเปาโล
  3. ตำแหน่งปวดท้อง บอกโรคได้, โรงพยาบาลของแก่นราม
  4. ปวดท้องน้อย (Pelvic pain) แบบไหนอันตราย ต้องหาหมอโดยเร็ว, MedPark Hospital
  5. ไส้ติ่งอักเสบ อาการปวดท้องของคุณแม่ที่ต้องระวังขณะตั้งครรภ์, โรงพยาบาลกรุงเทพ
  6. ปวดท้องแบบไหนต้องไปหาหมอ, โรงพยาบาลนครธน
  7. อาการระหว่างตั้งครรภ์ เรื่องสำคัญที่คุณแม่ตั้งครรภ์ควรรู้, โรงพยาบาลพญาไท

อ้างอิง ณ วันที่ 26 มีนาคม 2567
 

บทความแนะนำ

อารมณ์คนท้องแปรปรวน เกิดจากอะไร คุณพ่อมือใหม่รับมือยังไงดี

อารมณ์คนท้องแปรปรวน เกิดจากอะไร คุณพ่อมือใหม่รับมือยังไงดี

อารมณ์คนท้องแปรปรวน คนท้องมีอารมณ์ขึ้น ๆ ลง ๆ เกิดจากสาเหตุอะไร คุณแม่ท้องอารมณ์แปรปรวนบ่อย ส่งผลกระทบกับลูกในครรภ์ไหม พร้อมวิธีรับมือเมื่อคนท้องอารมณ์แปรปรวน

อาหารคนแพ้ท้องสำหรับคุณแม่ อาหารคนแพ้ท้องที่คุณแม่ควรกิน

อาหารคนแพ้ท้องสำหรับคุณแม่ อาหารคนแพ้ท้องที่คุณแม่ควรกิน

อาหารคนแพ้ท้อง สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์มีอยู่จริงไหม อาหารแบบไหนช่วยลดอาการเวียนหัว คลื่นไส้และอาเจียนของคุณแม่ได้ ไปดูอาหารคนแพ้ท้องที่ปลอดภัยกัน

สะดือคนท้องบอกอะไรได้บ้าง สะดือหงายสะดือคว่ำดูยังไง

สะดือคนท้องบอกอะไรได้บ้าง สะดือหงายสะดือคว่ำดูยังไง

สะดือคนท้อง บอกอะไรได้บ้าง สะดือหงายสะดือคว่ำดูยังไง การเปลี่ยนแปลงของสะดือคุณแม่ บ่งบอกถึงปัญหาสุขภาพของแม่ท้องและลูกได้ไหม สะดือคนท้องทายเพศลูกได้จริงหรือเปล่า

คนท้องเลือดจางห้ามกินอะไร ควรกินอะไรบ้าง พร้อมวิธีรับมือ

คนท้องเลือดจางห้ามกินอะไร ควรกินอะไรบ้าง พร้อมวิธีรับมือ

คนท้องเลือดจางห้ามกินอะไร ภาวะเลือดจากในคนท้อง เกิดจากอะไร อาหารอะไรบ้างที่คนท้องเลือดจางห้ามกินและกินได้ คุณแม่มีภาวะเลือดจากจะเป็นอันตรายกับลูกในท้องไหม

รก คืออะไร หน้าที่ของรกมีอะไรบ้าง รกผิดปกติ อันตรายกับคุณแม่แค่ไหน

รก คืออะไร หน้าที่ของรกมีอะไรบ้าง รกผิดปกติ อันตรายกับคุณแม่แค่ไหน

รก คืออะไร หน้าที่ของรกสำคัญแค่ไหน เมื่อคุณแม่เริ่มตั้งครรภ์ พร้อมวิธีสังเกตความผิดปกติของรก ที่คุณแม่ควรรู้ เพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิดกับทารกในครรภ์

น้ำคร่ำน้อย เกิดจากอะไร น้ำคร่ำน้อยตอนใกล้คลอด อันตรายไหม

น้ำคร่ำน้อย เกิดจากอะไร น้ำคร่ำน้อยตอนใกล้คลอด อันตรายไหม

น้ำคร่ำน้อย สัญญาณอันตรายที่คุณแม่ตั้งครรภ์ไม่ควรมองข้าม น้ำคร่ำน้อยระหว่างตั้งครรภ์ มีอาการอย่างไร น้ำคร่ำน้อยตอนใกล้คลอดอันตรายไหม พร้อมวิธีดูแลตัวเอง 

คุณแม่เจ็บแผลทำหมันกี่วัน พร้อมวิธีดูแลตัวเองหลังทำหมัน

คุณแม่เจ็บแผลทำหมันกี่วัน พร้อมวิธีดูแลตัวเองหลังทำหมัน

คุณแม่เจ็บแผลทำหมันกี่วัน ใช้เวลานานแค่ไหนกว่าแผลทำหมันจะหายดี เจ็บแผลทำหมัน พร้อมวิธีดูแลตัวเองหลังทำหมันที่ถูกต้อง ช่วยให้แผลหายเร็วและปลอดภัย

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก