ฝังยาคุมดีไหม ได้ผลกี่เปอร์เซ็นต์ ฝังยาคุมมีผลข้างเคียงอะไรบ้าง

ฝังยาคุมดีไหม ได้ผลกี่เปอร์เซ็นต์ ฝังยาคุมมีผลข้างเคียงอะไรบ้าง

ฝังยาคุมดีไหม ได้ผลกี่เปอร์เซ็นต์ ฝังยาคุมมีผลข้างเคียงอะไรบ้าง

คุณแม่ตั้งครรภ์
บทความ
ส.ค. 29, 2024
2นาที

การฝังยาคุมกำเนิดเป็นวิธีคุมกำเนิดที่ปลอดภัย มีประสิทธิภาพสูง และใช้ได้อย่างยาวนาน การฝังยาคุมจึงเป็นอีกหนึ่งวิธีคุมกำเนิดที่ได้รับความสนใจในหมู่คุณแม่ แต่ถ้าคุณแม่คนไหนที่ยังมีความลังเลและอยากหาข้อมูลเพิ่มเติม สามารถศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการฝังยาคุมเบื้องต้นได้เลย และควรขอคำแนะนำจากคุณหมอเพื่อหาวิธีการฝังยาคุมที่เหมาะสมกับคุณแม่มากที่สุด

 

สรุป

  • การฝังยาคุม (Contraceptive Implant) เป็นการฝังหลอดยาเล็ก ๆ ฝังไว้ใต้ท้องแขนด้านในให้ตัวยาค่อย ๆ ซึมเข้าไปสู่ร่างกายไปยับยั้งการตกไข่ การฝังยาคุมจึงสามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้สูงสุดที่ 99.9 เปอร์เซ็นต์
  • การฝังยาคุมมีอยู่ 2 แบบด้วยกัน คือ การฝังยาคุมแบบ 1 แท่ง และการฝังยาคุมแบบ 2 แท่ง ขึ้นอยู่กับชนิดของยา โดยที่มีระยะเวลาในการป้องกันการตั้งครรภ์ได้นานถึง 3-5 ปี
  • การฝังยาคุมอาจทำให้เกิดผลข้างเคียง คือ ประจำเดือนมาไม่ปกติ มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น ปวดศีรษะ เจ็บเต้านม บางคนอาจมีอารมณ์แปรปรวน ส่วนบริเวณผิวหนังที่ฝังยาคุมอาจเกิดอาการบวม แดง ระคายเคืองขึ้นมาได้

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

การฝังยาคุม มีทั้งหมดกี่แบบ

การฝังยาคุม (Contraceptive Implant) เป็นวิธีการคุมกำเนิดแบบชั่วคราว มีอยู่ 2 แบบด้วยกันที่แบ่งตามชนิดของยา คือ การฝังยาคุมแบบ 1 แท่ง และการฝังยาคุมแบบ 2 แท่ง โดยการฝังยาคุมทั้ง 2 แบบนี้ เป็นการฝังหลอดยาเล็ก ๆ ที่มีการบรรจุฮอร์โมนไว้ยาวประมาณ 3-4 เซนติเมตร ขนาดใกล้เคียงกับไม้จิ้มฟัน แล้วนำไปฝังไว้ใต้ท้องแขนด้านในภายในระยะเวลา 7 วันแรกของการมีรอบเดือน เมื่อฝังยาเสร็จเรียบร้อยแล้วตัวยาจะค่อย ๆ ซึมเข้าสู่ร่างกาย เพื่อยับยั้งการเจริญเติบโตของฟองไข่ ทำให้ไม่เกิดการตกไข่ ส่วนบริเวณปากมดลูกจะเกิดเป็นมูกเหนียวข้นขึ้นมา เพื่อป้องกันให้อสุจิเข้าไปยังโพรงมดลูกได้ยากขึ้น อีกทั้งฤทธิ์ยายังทำให้โพรงมดลูกมีสภาพที่ไม่เหมาะสำหรับการฝังตัวอ่อน ทำให้ในช่วงการฝังยาคุมสามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้นั่นเอง

 

ฝังยาคุมให้ผลชัวร์กี่เปอร์เซ็นต์

การฝังยาคุม เป็นหนึ่งในวิธีของการคุมกำเนิดที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์ที่สูงสุดที่ 99.9 เปอร์เซ็นต์ โดยมีโอกาสที่ล้มเหลวอยู่ที่ 0.05-0.1 เปอร์เซ็นต์ หรือ 1 ใน 2,000 คนเท่านั้นเอง

 

การฝังยาคุม เหมาะกับใครบ้าง

  • การฝังยาคุม เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการเว้นการมีลูก 3 ปีขึ้นไป เนื่องจากการฝังยาคุม สามารถทำได้เลยตั้งแต่คลอดลูก
  • การฝังยาคุม เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการคุมกำเนิดที่มีประสิทธิภาพสูงในระยะยาว
  • การฝังยาคุม เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่สามารถใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจนได้

 

อย่างไรก็ตาม การฝังยาคุมควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์ เนื่องจากการฝังยาคุมอาจไม่เหมาะสำหรับผู้ที่เป็นมะเร็งเต้านม โรคตับรุนแรง และโรคหลอดเลือดดำอุดตัน รวมถึงผู้ที่ใช้ยาบางประเภทค่ะ

 

ฝังเข็มยาคุมอยู่ได้นานกี่ปี

การฝังยาคุมกำเนิดทั้งแบบ 1 แท่ง และแบบ 2 แท่ง จะมีระยะเวลาในการออกฤทธิ์ได้นานถึง 3-5 ปี ขึ้นอยู่กับชนิดของยา เมื่อยาหมดฤทธิ์แล้วจะต้องนำหลอดยาที่ฝังอยู่ออกและเปลี่ยนหลอดใหม่ เนื่องจากหลอดยาไม่สามารถสลายไปได้เอง

 

หลังฝังยาคุม จะมีอาการอย่างไร

หลังจากที่มีการฝังยาคุมจะทำให้คุณผู้หญิงมีประจำเดือนมาไม่ปกติ หรือมาแบบกะปริบกะปรอย มีน้ำหนักตัวที่เพิ่มมากขึ้น มีอาการปวดศีรษะ เจ็บเต้านม บางคนอาจมีอารมณ์แปรปรวน ส่วนบริเวณผิวหนังที่ฝังยาคุมอาจเกิดอาการบวม แดง ระคายเคืองขึ้นมาได้

 

ข้อดี-ข้อเสีย ของการฝังยาคุม มีอะไรบ้าง

ข้อดีของการฝังยาคุม

  • เป็นวิธีการคุมกำเนิดที่มีประสิทธิภาพสูง
  • มีผลข้างเคียงน้อย
  • ไม่มีผลต่อการให้นมของคุณแม่
  • คุมกำเนิดได้นาน 3-5 ปี
  • ไม่ต้องทานยาทุกวัน ไม่ต้องฉีดยา และไม่ต้องเช็กสายห่วงคุมกำเนิด
  • หลังถอดแล้วสามารถกลับมาตั้งครรภ์ได้เร็ว โดย 90 เปอร์เซ็นต์ จะมีไข่ตกภายใน 1 เดือน
  • สามารถถอดแล้วเปลี่ยนเป็นวิธีการคุมกำเนิดแบบอื่นได้
  • สามารถลดอาการปวดประจำเดือน และประจำเดือนมามากได้

 

ข้อเสียของการฝังยาคุม

  • ไม่สามารถหยุดยาหรือถอดยาได้เอง
  • อาจมีผลข้างเคียงบริเวณที่ฝังยา เช่น บวม แดง ระคายเคือง เป็นต้น
  • ยาออกฤทธิ์ได้นาน เมื่อต้องการถอดหลอดยาออกต้องรอให้ระดับยาลดลงก่อน
  • ในช่วงแรกของการฝังยาคุมอาจทำให้ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ หรือมากะปริบกะปรอย หลังจากนั้นอาจจะมาบ้าง หรือไม่มาเลยก็ได้
  • มีผลข้างเคียง เช่น ปวดหัว เป็นสิว น้ำหนักตัวขึ้น อารมณ์แปรปรวน เป็นต้น
  • ไม่สามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ ต้องใช้อุปกรณ์ป้องกันเอย่างถุงยางอนามัย

 

ผลข้างเคียงของการฝังยาคุมที่คุณควรรู้

 

ผลข้างเคียงของการฝังยาคุม

  1. มีสิว ฝ้า: เป็นอาการของผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นได้หลังจากฝังยาคุม
  2. น้ำหนักตัวเพิ่ม: ผู้ที่ฝังยาคุมกำเนิดบางราย อาจมีการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักตัวทำให้มีน้ำหนักตัวที่เพิ่มมากขึ้นได้
  3. ประจำเดือนมาผิดปกติ: ในช่วง 3-6 เดือนแรกของการฝังยาคุม ประจำเดือนจะมาไม่สม่ำเสมอ ประจำเดือนมาผิดปกติ หลังจากนั้นจะมาน้อยลงและประจำเดือนอาจหายไปเลยตลอดที่มีการฝังยาคุม
  4. ประจำเดือนมาบ่อยกว่าปกติ: ในบางรายที่มีการฝังยาคุม อาจมีประจำเดือนมาบ่อย มาทุกวัน หรือมาแต่ละครั้งมานานมากแต่พบได้น้อยมาก
  5. อารมณ์แปรปรวน: ผู้ที่ฝังยาคุมอาจมีอาการอารมณ์แปรปรวนได้
  6. เจ็บเต้านม: อาการเจ็บเต้านม หรือปวดเต้านม เป็นอาการที่ไม่พึงประสงค์ของการฝังยาคุม
  7. เวียนหัว: การฝังยาคุมอาจทำให้เกิดอาการวิงเวียนศีรษะได้
  8. ช่องคลอดแห้ง: การฝังยาคุมกำเนิดอาจทำให้ช่องคลอดของคุณแม่มีอาการอักเสบหรือแห้งได้

 

การฝังเข็มยาคุม ทำให้อ้วนจริงไหม

คำตอบคือ จริง เนื่องจากการฝังยาคุมทำให้เกิดผลข้างเคียงตามมาในช่วงระยะแรก ในแต่ละรายอาจแสดงอาการที่แตกต่างกัน ส่วนใหญ่พบว่าการฝังยาคุมจะทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ หรือมีประจำเดือนกะปริบกะปรอย และมีน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น หมายความว่า การฝังยาคุมอาจทำให้คุณแม่อ้วนขึ้นได้

 

คุณแม่อยู่ในช่วงให้นมลูก ฝังยาคุมได้ไหม

คุณแม่ให้นมลูกน้อย สามารถฝังยาคุมได้ เนื่องจากการฝังยาคุมเป็นการฝังฮอร์โมนชนิดหนึ่งที่จะเข้าไปยับยั้งการตกไข่ ทำให้ช่วยป้องกันการตั้งครรภ์ โดยที่ตัวยาหรือฮอร์โมนไม่ส่งผลต่อปริมาณหรือคุณภาพของน้ำนมคุณแม่ ได้ คุณแม่ที่กำลังให้นมและควรขอคำแนะนำจากคุณหมอเพื่อหาวิธีการฝังยาคุมที่เหมาะสมกับคุณแม่มากที่สุด

 

ว่าที่คุณแม่วางแผนจะมีลูก ควรเอาเข็มฝังยาคุมออกตอนไหน

หากคุณแม่กำลังวางแผนที่จะมีลูกและต้องการมีลูกในเร็ว ๆ นี้ คุณแม่สามารถปรึกษาคุณหมอเพื่อให้คุณหมอถอดยาคุมที่ฝังออกให้ได้เลยค่ะ เพราะหลังจากที่คุณแม่เอาเข็มยาคุมออกแล้ว ไข่จะกลับมาตกภายใน 1 เดือน คุณแม่จึงมีโอกาสตั้งครรภ์ได้อีกครั้ง

 

ฝังยาคุมแพงไหม มีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง

ค่าใช้จ่ายในการฝังยาคุม อาจมีค่าใช้จ่ายที่แตกต่างกันไปตามสถานพยาบาลที่คุณแม่เข้ารับบริการ ดังนั้น ถ้าหากคุณแม่สนใจหรือวางแผนที่จะฝังยาคุม ควรศึกษาหรือขอคำแนะนำจากแพทย์

 

นอกจากนี้ คุณแม่ยังสามารถฝังยาคุมกำเนิดได้ “ฟรี” ตามสิทธิประโยชน์บริการคุมกำเนิดถาวร ภายใต้กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) ผ่านแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” โดยต้องมีเกณฑ์ ดังนี้

  • เป็นผู้ที่มีอายุน้อยกว่า 20 ปี และมีความต้องการคุมกำเนิด หรืออยู่ภาวะหลังคลอด หรือหลังแท้ง
  • เป็นผู้ที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป ใช้สิทธิได้เฉพาะ “กรณีหลังยุติการตั้งครรภ์”

 

ตอนนี้คุณแม่คงเข้าใจเกี่ยวกับการฝังยาคุมกันบ้างแล้ว การฝังยาคุมในช่วงแรกอาจทำให้คุณแม่รู้สึกถึงความผิดปกติของร่างกายไม่มากก็น้อย และอาจจะรู้สึกระคายเคืองบริเวณแผลที่ฝังยาคุม หากในระหว่างที่ฝังยาคุมอยู่คุณแม่รู้สึกไม่สบายตัว หรืออยากกลับมาตั้งครรภ์อีกครั้ง สามารถปรึกษาคุณหมอเพื่อนำยาที่ฝังอยู่ออกเมื่อใดก็ได้เลย อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการฝังยาคุมจะมีประสิทธิภาพสูง แต่ปัญหาสุขภาพบางอย่างอาจทำให้ประสิทธิภาพของการฝังยาลดน้อยลงได้เช่นกัน ดังนั้น คุณแม่ที่มีความสนใจเกี่ยวกับการฝังยาคุม ควรปรึกษาคุณหมอก่อนตัดสินใจเสมอ

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

 

 

อ้างอิง:

  1. “ยาฝังคุมกำเนิด” เรื่องควรรู้และผลข้างเคียงที่ต้องระวัง!, โรงพยาบาลศิครินทร์
  2. รู้จัก..ยาฝังคุมกำเนิด อีกหนึ่งวิธีคุมกำเนิดที่มีความปลอดภัย, โรงพยาบาลนครธน
  3. ยาฝังคุมกำเนิดทางเลือกใหม่ของวัยรุ่น, กรมอนามัย
  4. คุมกำเนิดแบบไหนดี?, โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชหารุณย์
  5. ยาคุมกำเนิดชนิดฝัง, คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  6. สปสช. ชี้แจง “ฝังยาคุมกำเนิด” สิทธิประโยชน์ฟรี สำหรับหญิงไทยตามกลุ่มเป้าหมายทุกสิทธิการรักษา, สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

อ้างอิง ณ วันที่ 18 กรกฎาคม 2567
 

บทความที่เกี่ยวข้อง

View details เบาหวานขณะตั้งครรภ์ ภาวะอันตราย ที่คุณแม่ท้องต้องรับมือ
บทความ
เบาหวานขณะตั้งครรภ์ ภาวะอันตราย ที่คุณแม่ท้องต้องรับมือ

เบาหวานขณะตั้งครรภ์ ภาวะอันตราย ที่คุณแม่ท้องต้องรับมือ

เบาหวานขณะตั้งครรภ์ อาการเป็นอย่างไร หากคุณแม่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ จะเป็นอันตรายกับลูกในครรภ์ไหม ไปดูวิธีรับมืออาการเบาหวานขณะตั้งครรภ์กัน

5นาที อ่าน

View details อาการแพ้ท้องบอกเพศลูก ทายเพศลูกจากการแพ้ท้องได้ไหม
บทความ
อาการแพ้ท้องบอกเพศลูก ทายเพศลูกจากการแพ้ท้องได้ไหม

อาการแพ้ท้องบอกเพศลูก ทายเพศลูกจากการแพ้ท้องได้ไหม

อาการแพ้ท้องบอกเพศลูกได้จริงไหม สัญญาณท้องลูกชายและอาการแพ้ท้องลูกสาวเป็นยังไง อาการแบบไหนที่บอกให้คุณแม่รู้ว่ากำลังจะได้ลูกสาวหรือลูกชาย

4นาที อ่าน

View details คุณแม่ท้อง 9 เดือน อาการตั้งครรภ์ 9 เดือน เวียนหัวคลื่นไส้
บทความ
คุณแม่ท้อง 9 เดือน อาการตั้งครรภ์ 9 เดือน เวียนหัวคลื่นไส้

คุณแม่ท้อง 9 เดือน อาการตั้งครรภ์ 9 เดือน เวียนหัวคลื่นไส้

คุณแม่ท้อง 9 เดือน เวียนหัวคลื่นไส้ ลูกน้อยในครรภ์ 9 เดือน มีพัฒนาการอย่างไร เมื่อคุณแม่ท้อง 9 เดือน พร้อมวิธีรับมือและวิธีดูแลทารกในครรภ์

2นาที อ่าน

View details ลูกดิ้นตอนกี่เดือน การนับลูกดิ้นครั้งแรก สำหรับคุณแม่ท้อง
บทความ
ลูกดิ้นตอนกี่เดือน การนับลูกดิ้นครั้งแรก สำหรับคุณแม่ท้อง

ลูกดิ้นตอนกี่เดือน การนับลูกดิ้นครั้งแรก สำหรับคุณแม่ท้อง

ลูกดิ้นตอนกี่เดือน ลูกดิ้นแบบไหนอันตราย ลูกไม่ดิ้นบ่งบอกถึงอะไรได้บ้างสำหรับคุณแม่ช่วงตั้งครรภ์ ไปดูสัญญาณเตือนเมื่อลูกไม่ดิ้นและการนับลูกดิ้นกัน

8นาที อ่าน

View details หลังปฏิสนธิกี่วันถึงจะรู้ว่าท้อง วิธีตรวจตั้งครรภ์เร็วสุดกี่วัน
บทความ
หลังปฏิสนธิกี่วันถึงจะรู้ว่าท้อง วิธีตรวจตั้งครรภ์เร็วสุดกี่วัน

หลังปฏิสนธิกี่วันถึงจะรู้ว่าท้อง วิธีตรวจตั้งครรภ์เร็วสุดกี่วัน

ปฏิสนธิกี่วันถึงจะรู้ว่าท้อง ตรวจตั้งครรภ์เร็วสุดกี่วันถึงชัวร์ที่สุด ไปดูกันว่าหลังปฏิสนธิกี่วันถึงจะรู้ว่าท้อง พร้อมวิธีตรวจครรภ์ด้วยตัวเองสำหรับคุณแม่มือใหม่

2นาที อ่าน

View details หัวนมคนท้อง การเปลี่ยนแปลงของเต้านมระหว่างตั้งครรภ์
บทความ
หัวนมคนท้อง การเปลี่ยนแปลงของเต้านมระหว่างตั้งครรภ์

หัวนมคนท้อง การเปลี่ยนแปลงของเต้านมระหว่างตั้งครรภ์

หัวนมคนท้องและเต้านมคนท้องจะมีเปลี่ยนแปลงตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ ไปจนถึงช่วงให้นมลูก คุณแม่ตั้งครรภ์ควรดูแลและสังเกตความผิดปกติของหัวนม เตรียมพร้อมให้นมลูกน้อย

7นาที อ่าน

View details มูกไข่ตก มีเมือกใส ๆ ออกมาจากช่องคลอด ต่างกับตกขาวไหม
บทความ
มูกไข่ตก มีเมือกใส ๆ ออกมาจากช่องคลอด ต่างกับตกขาวไหม

มูกไข่ตก มีเมือกใส ๆ ออกมาจากช่องคลอด ต่างกับตกขาวไหม

มูกไข่ตก มีเมือกใส ๆ ออกมาจากช่องคลอด ช่วงหลังหมดประจำเดือน คืออะไร คุณแม่มีมูกไข่ตกท้องไหม สัญญาณแบบนี้บอกอะไรได้บ้าง ต่างจากตกขาวยังไง ไปดูกัน

7นาที อ่าน

View details คนท้องติดโควิด เป็นโควิดตอนท้อง อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า
บทความ
คนท้องติดโควิด เป็นโควิดตอนท้อง อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องติดโควิด เป็นโควิดตอนท้อง อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องติดโควิด ทารกในครรภ์จะเป็นอันตรายไหม คนท้องเป็นโควิดฉีดวัคซีนและให้นมลูกได้หรือไม่ คนท้องติดโควิด ควรดูแลตัวเองอย่างไร ไปดูวิธีดูแลตัวเองเมื่อติดโควิดกัน

5นาที อ่าน

View details คนท้องยืดผมได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า
บทความ
คนท้องยืดผมได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องยืดผมได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีผมชี้ฟู อยากยืดผม คงมีคำถามในใจว่าคนท้องยืดผมได้ไหม สารเคมีที่ใช้ยืดผมจะเป็นอันตรายกับลูกหรือเปล่า เสริมสวยยังไงให้ปลอดภัยกับลูกในท้อง ไปดูกัน

6นาที อ่าน

View details ที่ตรวจครรภ์แบบจุ่มแม่นยำแค่ไหม พร้อมวิธีใช้
บทความ
ที่ตรวจครรภ์แบบจุ่มแม่นยำแค่ไหม พร้อมวิธีใช้

ที่ตรวจครรภ์แบบจุ่มแม่นยำแค่ไหม พร้อมวิธีใช้

ที่ตรวจครรภ์แบบจุ่มใช้งานยังไง มีความแม่นยำแค่ไหนสำหรับตรวจการตั้งครรภ์ครั้งแรก ไปดูวิธีตรวจครรภ์แบบจุ่มที่คุณแม่มือใหม่ควรรู้ พร้อมวิธีเลือกซื้อที่ตรวจครรภ์

8นาที อ่าน

View details คุณแม่ตั้งครรภ์เบิกค่าฝากครรภ์ได้กี่บาท มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง
บทความ
คุณแม่ตั้งครรภ์เบิกค่าฝากครรภ์ได้กี่บาท มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง

คุณแม่ตั้งครรภ์เบิกค่าฝากครรภ์ได้กี่บาท มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง

คุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีสิทธิประกันสังคมต้องรู้ เบิกค่าฝากครรภ์ได้เท่าไหร่ มีขั้นตอนอะไรบ้าง เบิกค่าฝากครรภ์ออนไลน์ได้ไหม และรายละเอียดที่ช่วยให้คุณแม่สะดวกขึ้น

2นาที อ่าน

View details วิธีลดน้ำหนักหลังคลอด ให้คุณแม่ฟิตหุ่นสวยหลังคลอดได้ด้วยตัวเอง
บทความ
วิธีลดน้ำหนักหลังคลอด ให้คุณแม่ฟิตหุ่นสวยหลังคลอดได้ด้วยตัวเอง

วิธีลดน้ำหนักหลังคลอด ให้คุณแม่ฟิตหุ่นสวยหลังคลอดได้ด้วยตัวเอง

รวมวิธีลดน้ำหนักหลังคลอดด้วยวิธีธรรมชาติ คุณแม่หลังคลอดอยากกลับมาหุ่นสวยฟิตเหมือนเดิม ทำยังไงได้บ้าง ไปดูวิธีลดน้ำหนักหลังคลอด ที่คุณแม่ทำได้ที่บ้านกัน

2นาที อ่าน

View details อาการปวดท้องน้อยขณะตั้งครรภ์อ่อนๆ จะเสี่ยงแท้งไหม
บทความ
อาการปวดท้องน้อยขณะตั้งครรภ์อ่อนๆ จะเสี่ยงแท้งไหม

อาการปวดท้องน้อยขณะตั้งครรภ์อ่อนๆ จะเสี่ยงแท้งไหม

อาการปวดท้องขณะตั้งครรภ์อ่อน ๆ อันตรายไหม อาการปวดหน่วงท้องน้อยขณะตั้งครรภ์ เกิดจากอะไรได้บ้าง ปวดท้องขณะตั้งครรภ์อ่อน ๆ จะสังเกตได้อย่างไร

9นาที อ่าน

View details คนท้องกินสปอนเซอร์ได้ไหม แพ้ท้องจนไม่มีแรง รับมือแบบไหนดี
บทความ
คนท้องกินเครื่องดื่มเกลือแร่ได้ไหม คุณแม่แพ้ท้องจนไม่มีแรง รับมือแบบไหนดี

คนท้องกินสปอนเซอร์ได้ไหม แพ้ท้องจนไม่มีแรง รับมือแบบไหนดี

คนท้องกินสปอนเซอร์ได้ไหม เมื่อคุณแม่ท้องมีอาการแพ้ท้องจนเหนื่อยและอ่อนแรง สามารถกินเครื่องดื่มสปอนเซอร์ได้หรือเปล่า จะส่งผลต่อลูกน้อยในครรภ์ไหม

2นาที อ่าน

View details คุณแม่ปวดท้องข้างซ้าย เจ็บท้องข้างซ้าย บอกอะไรได้บ้าง
บทความ
คุณแม่ปวดท้องข้างซ้าย เจ็บท้องข้างซ้าย บอกอะไรได้บ้าง

คุณแม่ปวดท้องข้างซ้าย เจ็บท้องข้างซ้าย บอกอะไรได้บ้าง

คุณแม่ปวดท้องข้างซ้าย มีอาการปวดท้องน้อยด้านซ้าย อาการแบบนี้เกิดกับคุณแม่ท้องทุกคนหรือไม่ คุณแม่มีอาการปวดท้องข้างซ้าย ควรดูแลตัวเองยังไง ไปดูกัน

7นาที อ่าน

View details อาการมโนว่าท้อง กังวลไปเองว่าท้อง พร้อมวิธีเช็กอาการตัวเอง
บทความ
อาการมโนว่าท้อง กังวลไปเองว่าท้อง พร้อมวิธีเช็กอาการตัวเอง

อาการมโนว่าท้อง กังวลไปเองว่าท้อง พร้อมวิธีเช็กอาการตัวเอง

อาการมโนว่าท้อง กังวลไปเองว่าท้อง คืออะไร มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดหัว เหมือนจะตั้งครรภ์ แบบนี้ใช่อาการตั้งท้องหรือเปล่า จะรู้ได้อย่างไรว่าตั้งท้องไหม ไปดูกัน

6นาที อ่าน

View details คุณแม่ท้อง 1 เดือน อายุครรภ์ 1 เดือน เป็นแบบไหน พร้อมวิธีรับมือ
บทความ
คุณแม่ท้อง 1 เดือน อาการตั้งครรภ์ 1 เดือน เป็นแบบไหน พร้อมวิธีรับมือ

คุณแม่ท้อง 1 เดือน อายุครรภ์ 1 เดือน เป็นแบบไหน พร้อมวิธีรับมือ

คุณแม่ท้อง 1 เดือน อายุครรภ์ 1 เดือน มีอาการแบบไหน ลูกอยู่ตรงไหน มีพัฒนาการอย่างไร เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์ 1 เดือน พร้อมวิธีรับมือและวิธีดูแลทารกในครรภ์

2นาที อ่าน

View details ลูกในท้องสะอึกอันตรายไหม ลูกในท้องกระตุกเป็นจังหวะ บอกอะไร
บทความ
ลูกในท้องสะอึกอันตรายไหม ลูกในท้องกระตุกเป็นจังหวะ บอกอะไร

ลูกในท้องสะอึกอันตรายไหม ลูกในท้องกระตุกเป็นจังหวะ บอกอะไร

ลูกในท้องสะอึก ลูกในท้องกระตุกเป็นจังหวะ เกิดจากอะไร ลูกในท้องสะอึกบ่อยจะเป็นอันตรายกับลูกในครรภ์หรือไม่ วิธีไหนบ้างที่ช่วยให้ลูกในครรภ์หยุดสะอึก

4นาที อ่าน

View details ที่ตรวจครรภ์แบบไหนดี ชุดตรวจครรภ์ ใช้งานง่าย รู้ผลเร็ว
บทความ
ที่ตรวจครรภ์แบบไหนดี ชุดตรวจครรภ์ ใช้งานง่าย รู้ผลเร็ว

ที่ตรวจครรภ์แบบไหนดี ชุดตรวจครรภ์ ใช้งานง่าย รู้ผลเร็ว

ที่ตรวจครรภ์ คืออะไร ที่ตรวจครรภ์ เหมาะสำหรับคุณแม่มือใหม่ที่ต้องการเช็กว่าท้องหรือยัง ที่ตรวจครรภ์แบบไหนดี ใช้งานง่าย พร้อมวิธีใช้ที่ตรวจครรภ์ด้วยตัวเอง

9นาที อ่าน