พัฒนาการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 32

พัฒนาการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 32

พัฒนาการการตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์  พัฒนาการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 32 

headphones
อ่าน 3 นาที

พัฒนาการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 32 

เนื่องจากมดลูกยืดขยายใหญ่มากขึ้น และทับหลอดเลือดดำใหญ่ในอุ้งเชิงกราน การไหลเวียนกลับของเลือดไม่ดี ทำให้คุณแม่มักมีอาการขาบวม ซึ่งจะบวมชัดเจนมากขึ้นเรื่อยๆ ในช่วงบ่ายและค่ำ เมื่อนอนพักและพาดขาสูง ในตอนเช้าตื่นมาก็จะยุบบวม และจะเริ่มบวมอีกครั้งในช่วงบ่ายและเย็น แต่หากคุณแม่มีอาการบวมตั้งแต่เช้า บวมทั้งหน้า เปลือกตา แขน ขา และเป็นต่อเนื่องทั้งวันไม่ยุบ  น้ำหนักขึ้นมากผิดปกติจากการบวม ให้สงสัยว่าเป็นอาการเริ่มแรกของครรภ์เป็นพิษ หรือความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ 

 

  • คุณแม่ที่เสี่ยงต่อการเกิดครรภ์เป็นพิษ ได้แก่ คุณแม่อายุ 35 ปีขึ้นไป, เป็นการตั้งครรภ์แรกหรือครรภ์แฝด  หรือเคยมีประวัติครรภ์เป็นพิษมาก่อน หรือในกรณีคุณแม่ที่มีโรคประจำตัว (เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน โรคไต เป็นต้น)

 

พัฒนาการลูก


ลูกมีความยาว 40.5 ซม. เริ่มมีพัฒนาการการทำงานของถุงลมปอดมากขึ้นจนเกือบสมบูรณ์ ลูกมีกล้ามเนื้อแข็งแรงมากขึ้น คุณแม่บางท่านที่รูปร่างผอมบาง อาจรู้สึกลูกดิ้นแรงจนเจ็บ หรือเห็นลักษณะมือ เท้าของลูกปูดมาทางผิวหน้งหน้าท้อง

 

 พัฒนาการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 32


Tips

  • การวินิจฉัยครรภ์เป็นพิษ จะตรวจพบภาวะบวมผิดปกติ ทั้งหน้า แขน ขา และน้ำหนักขึ้นมากผิดปกติซึ่งสาเหตุเกิดจากการบวม หรือตรวจพบความดันโลหิตสูงตั้งแต่ 140/90 มม.ปรอทขึ้นไป หรือเกิดจากตรวจพบโปรตีนในปัสสาวะ ซึ่งเมื่อได้รับการวินิจฉัย  คุณหมอจะอธิบายถึงความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นทั้งต่อตัวคุณแม่เองและลูก  ร่วมกับการเฝ้าระวังและรักษา เนื่องจากครรภ์เป็นพิษที่ไม่ได้รับการควบคุมหรือควบคุมไม่ได้ ส่งผลอันตรายต่อชีวิตคุณแม่ เช่น มีอาการชัก เลือดออกในสมอง หรือเสียชีวิตได้ รวมถึงยังส่งผลอันตรายต่อชีวิตลูกในท้อง ทั้งทางตรง และทางอ้อมคือผลแทรกซ้อนจากการคลอดก่อนกำหนด
  • เมื่อได้รับการวินิจฉัย คุณหมอจะเน้นให้คุณแม่นอนพัก งดกิจกรรม และเฝ้าระวังอาการเตือนที่จะบ่งถึงโอกาสที่จะชักหรือพัฒนาเป็นครรภ์เป็นพิษขั้นรุนแรง ซึ่งได้แก่ ปวดศีรษะบริเวณขมับ ตุ๊บๆ, จุกแน่นอกเหมือนมีหินมาทับ, ตาพร่ามัว ซึ่งหากมีอาการเหล่านี้ ควรรีบไปพบคุณหมอ ซึ่งคุณหมอจะพิจารณาให้ยากันชักจนปลอดภัยและรีบพิจารณายุติการตั้งครรภ์ เพราะเชื่อว่าปัจจัยที่ทำให้มีอาการเกิดจากสารและฮอร์โมนจากการตั้งครรภ์และรก
  • ในคุณแม่ที่มีประวัติครรภ์เป็นพิษในครรภ์ที่แล้ว และยิ่งถ้ามีอาการรุนแรงมาก่อน คุณหมอจะให้ยาป้องกันตั้งแต่เริ่มฝากครรภ์ในช่วงแรกๆ ซึ่งจะช่วยป้องกันการเกิดหรือลดความรุนแรงของครรภ์เป็นพิษได้

 


บทความอื่นๆ ที่สนใจ 

พัฒนาการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 31

พัฒนาการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 33

อ้างอิง

บทความโดยแพทย์หญิง ธิศรา  วีรสมัย
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้าน สูตินรีเวช เวชศาสตร์ครอบครัว 
และเวชศาสตร์ชะลอวัย โรงพยาบาลพญาไท 1

บทความแนะนำ

หลังผ่าคลอดกินอะไรได้บ้าง  แม่หลังคลอดทานอะไรให้แผลหายเร็ว

หลังผ่าคลอดกินอะไรได้บ้าง แม่หลังคลอดทานอะไรให้แผลหายเร็ว

หลังผ่าคลอดกินอะไรได้บ้าง  คำถามหลังผ่าคลอดที่คุณแม่มือใหม่มักกังวลใจ หลังผ่าคลอดกินอะไรได้บ้าง  เมนูอาหารแบบไหนที่คุณแม่ผ่าคลอดกินได้ และควรหลีกเลี่ยงหลังผ่าคลอด

12 เมนูคนท้อง อาหารคนท้องบำรุงคุณแม่ท้อง ดีต่อลูกในครรภ์

12 เมนูอาหารคนท้องบำรุงคุณแม่ อาหารคนท้อง ดีต่อลูกในครรภ์

รวมเมนูคนท้อง อาหารคนท้อง ช่วยบำรุงครรภ์คุณแม่ให้แข็งแรงและสมบูรณ์ เพื่อให้ลูกน้อยในครรภ์ได้รับโภชนาการที่ดีและครบถ้วน ไปดูเมนูคนท้องและอาหารคนท้องที่ดีกับลูกกัน

วันตกไข่ คืออะไร คุณแม่นับวันตกไข่อย่างไรให้แม่นยำ ไม่มีพลาด

วันตกไข่ คืออะไร คุณแม่นับวันตกไข่อย่างไรให้แม่นยำ ไม่มีพลาด

วันตกไข่ คืออะไร อาการแบบไหนที่บอกว่าคุณแม่อยู่ในช่วงวันตกไข่ พร้อมวิธีนับวันตกไข่ให้แม่นยำสำหรับคุณแม่มือใหม่ ช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ ให้คุณแม่ที่อยากมีลูก

6 วิธีนับอายุครรภ์ คำนวณอายุครรภ์ด้วยตัวเอง ก่อนคลอด

6 วิธีนับอายุครรภ์ คำนวณอายุครรภ์ด้วยตัวเอง ก่อนคลอด

วิธีการนับอายุครรภ์คืออะไร ทำไมคุณแม่ต้องรู้และวิธีคำนวณอายุครรภ์ที่ถูกต้อง นับแบบไหนได้บ้าง เพื่อให้คุณแม่วางแผนการคลอดและติดตามพัฒนาการของลูกในครรภ์ได้อย่างแม่นยำ

แผลฝีเย็บหลังคลอด คุณแม่ดูแลอย่างไรให้ปลอยภัย ฝีเย็บหายไว ไม่ติดเชื้อ

แผลฝีเย็บหลังคลอด คุณแม่ดูแลอย่างไรให้ปลอดภัย ฝีเย็บหายไว ไม่ติดเชื้อ

รู้จักกับแผลฝีเย็บ คุณแม่หลังคลอด ดูแลแผลฝีเย็บอย่างไรให้หายไว ปลอดภัยและไม่ติดเชื้อ พร้อมวิธีดูแลแผลฝีเย็บให้แห้งเร็ว ลดความเสี่ยงการติดเชื้อ สำหรับคุณแม่มือใหม่

ผ่าคลอดดีไหม ผ่าคลอดเจ็บไหม ดูแลแผลผ่าคลอดอย่างไร

ผ่าคลอดดีไหม ผ่าคลอดเจ็บไหม ดูแลแผลผ่าคลอดอย่างไร

ไขข้อสงสัยเกี่ยวกับการ ผ่าคลอด พร้อมคำแนะนำต่างๆ เพื่อเตรียมพร้อมให้คุณแม่มั่นใจเมื่อผ่าคลอด

แม่ท้องพร้อม เข้าใจอาการคนท้อง

แม่ท้องพร้อม! วิธีดูแลครรภ์ จัดการกับความกังวล เข้าใจอาการคนท้อง

เคล็ดลับการดูแลครรภ์ วิธีจัดการกับความกังวล รวมไปถึงการรับมือกับอาการคนท้อง