พัฒนาการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 20

พัฒนาการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 20

พัฒนาการการตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์  พัฒนาการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 20 

 

headphones
อ่าน 2 นาที

  พัฒนาการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 20 

 

เป็นอายุครรภ์ที่ลูกมีการสร้างอวัยวะสมบูรณ์ คุณหมอจึงมักนัดคุณแม่มาตรวจอัลตร้าซาวด์เพื่อตรวจเช็คความพิการของลูก ซึ่งคุณแม่หลายท่านเข้าใจว่า ได้ตรวจเลือดเมื่อตอนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ หรือเจาะน้ำคร่ำตอนอายุครรภ์ 16 สัปดาห์แล้ว ไม่จำเป็นต้องตรวจอัลตร้าซาวด์ เพราะลูกจะไม่มีความพิการแล้ว แต่อันที่จริงนั้น ความผิดปกติของลูกมีทั้งที่เป็นโรค กลุ่มอาการที่เกี่ยวกับโครโมโซมผิดปกติ หรือลูกมีโครโมโซมปกติ สติปัญญาดี แต่มีความพิการเฉพาะอวัยวะใดอวัยวะหนึ่ง ที่ไม่เป็นโรคในหลายอวัยวะก็ได้ เช่น ปากแหว่งเพดานโหว่ โดยไม่พบความผิดปกติอื่น เป็นต้น ดังนั้น แม้ตรวจเจาะน้ำคร่ำแล้ว ก็ยังควรตรวจอัลตร้าซาวด์ประเมินความผิดปกติของอวัยวะอื่นของลูกด้วย

พัฒนาการลูก 


 ลูกมีความยาว 25.5 ซม. น้ำหนักประมาณ 320-340 กรัม และระบบการทำงานของอวัยวะเริ่มพัฒนาเต็มที่ และเริ่มสร้างไขมันควบคุมอุณหภูมิ และปกป้องผิวจากน้ำคร่ำ 

 

 พัฒนาการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 20

Tips

 

  • อายุครรภ์ 20 สัปดาห์ มดลูกที่ยืดขยายจะยืดและโตเอียงไปทางขวาของคุณแม่ ร่างกายคนเราจะมีเส้นเลือดดำใหญ่ซึ่งนำเลือดกลับสู่หัวใจอยู่ทางขวา ดังนั้นหากคุณแม่นอนหงาย มดลูกจะเอียงไปกดทับเส้นเลือดดำใหญ่ ทำให้เลือดไหลเวียนกลับห้องหัวใจได้ไม่ดี เลือดจากหัวใจสูบฉีดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ลดลง  คุณแม่ก็จะมีอาการหน้ามืดเป็นลมได้ง่าย 
  • ท่านอนที่เหมาะสมสำหรับคุณแม่เมื่อเข้าสู่ครึ่งหลังของการตั้งครรภ์คือ นอนตะแคงซ้าย ซึ่งเท่ากับเป็นการโยกมดลูกออกจากทางขวาให้เอียงมาทางซ้ายหน่อย ก็จะไม่กดทับเส้นเลือดดำใหญ่ อาการต่างๆ ก็จะดีขึ้น
  • การนอนตะแคงซ้าย จะเพิ่มเลือดไปเลี้ยงมดลูก ทำให้มดลูกคลายตัว เป็นการป้องกันการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด แต่เป็นธรรมดา เมื่อมดลูกมีการคลายตัว คุณแม่จะรู้สึกลูกดิ้นชัดเจนขึ้น ดังนั้น ไม่ต้องตกใจนะคะ เพราะหลายท่านเข้าใจว่า พอนอนตะแคงซ้ายแล้ว ไปทับลูกทำให้ลูกดิ้นมากผิดปกติ อันที่จริง ไม่ใช่เลย ไม่ต้องกังวลนะคะ

 


 

อ้างอิง

บทความโดยแพทย์หญิง ธิศรา  วีรสมัย
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้าน สูตินรีเวช เวชศาสตร์ครอบครัว 
และเวชศาสตร์ชะลอวัย โรงพยาบาลพญาไท 1

บทความแนะนำ

หลังผ่าคลอดกินอะไรได้บ้าง  แม่หลังคลอดทานอะไรให้แผลหายเร็ว

หลังผ่าคลอดกินอะไรได้บ้าง แม่หลังคลอดทานอะไรให้แผลหายเร็ว

หลังผ่าคลอดกินอะไรได้บ้าง  คำถามหลังผ่าคลอดที่คุณแม่มือใหม่มักกังวลใจ หลังผ่าคลอดกินอะไรได้บ้าง  เมนูอาหารแบบไหนที่คุณแม่ผ่าคลอดกินได้ และควรหลีกเลี่ยงหลังผ่าคลอด

12 เมนูคนท้อง อาหารคนท้องบำรุงคุณแม่ท้อง ดีต่อลูกในครรภ์

12 เมนูอาหารคนท้องบำรุงคุณแม่ อาหารคนท้อง ดีต่อลูกในครรภ์

รวมเมนูคนท้อง อาหารคนท้อง ช่วยบำรุงครรภ์คุณแม่ให้แข็งแรงและสมบูรณ์ เพื่อให้ลูกน้อยในครรภ์ได้รับโภชนาการที่ดีและครบถ้วน ไปดูเมนูคนท้องและอาหารคนท้องที่ดีกับลูกกัน

วันตกไข่ คืออะไร คุณแม่นับวันตกไข่อย่างไรให้แม่นยำ ไม่มีพลาด

วันตกไข่ คืออะไร คุณแม่นับวันตกไข่อย่างไรให้แม่นยำ ไม่มีพลาด

วันตกไข่ คืออะไร อาการแบบไหนที่บอกว่าคุณแม่อยู่ในช่วงวันตกไข่ พร้อมวิธีนับวันตกไข่ให้แม่นยำสำหรับคุณแม่มือใหม่ ช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ ให้คุณแม่ที่อยากมีลูก

6 วิธีนับอายุครรภ์ คำนวณอายุครรภ์ด้วยตัวเอง ก่อนคลอด

6 วิธีนับอายุครรภ์ คำนวณอายุครรภ์ด้วยตัวเอง ก่อนคลอด

วิธีการนับอายุครรภ์คืออะไร ทำไมคุณแม่ต้องรู้และวิธีคำนวณอายุครรภ์ที่ถูกต้อง นับแบบไหนได้บ้าง เพื่อให้คุณแม่วางแผนการคลอดและติดตามพัฒนาการของลูกในครรภ์ได้อย่างแม่นยำ

แผลฝีเย็บหลังคลอด คุณแม่ดูแลอย่างไรให้ปลอยภัย ฝีเย็บหายไว ไม่ติดเชื้อ

แผลฝีเย็บหลังคลอด คุณแม่ดูแลอย่างไรให้ปลอดภัย ฝีเย็บหายไว ไม่ติดเชื้อ

รู้จักกับแผลฝีเย็บ คุณแม่หลังคลอด ดูแลแผลฝีเย็บอย่างไรให้หายไว ปลอดภัยและไม่ติดเชื้อ พร้อมวิธีดูแลแผลฝีเย็บให้แห้งเร็ว ลดความเสี่ยงการติดเชื้อ สำหรับคุณแม่มือใหม่

ผ่าคลอดดีไหม ผ่าคลอดเจ็บไหม ดูแลแผลผ่าคลอดอย่างไร

ผ่าคลอดดีไหม ผ่าคลอดเจ็บไหม ดูแลแผลผ่าคลอดอย่างไร

ไขข้อสงสัยเกี่ยวกับการ ผ่าคลอด พร้อมคำแนะนำต่างๆ เพื่อเตรียมพร้อมให้คุณแม่มั่นใจเมื่อผ่าคลอด

แม่ท้องพร้อม เข้าใจอาการคนท้อง

แม่ท้องพร้อม! วิธีดูแลครรภ์ จัดการกับความกังวล เข้าใจอาการคนท้อง

เคล็ดลับการดูแลครรภ์ วิธีจัดการกับความกังวล รวมไปถึงการรับมือกับอาการคนท้อง