คุณแม่ตั้งครรภ์ - น้ำหนักควรเพิ่มขึ้นเท่าไร

คุณแม่ตั้งครรภ์ - น้ำหนักควรเพิ่มขึ้นเท่าไร เพื่อพัฒนาการที่ดีต่อลูกน้อย

น้ำหนักคุณแม่ตั้งครรภ์ เป็นอีกหนึ่งหัวข้อสนทนาที่คุณแม่ตั้งครรภ์ให้ความสนใจและสอบถามบ่อย ทั้งนี้ เพราะเรื่องอาหารเป็นเรื่องที่สำคัญสำหรับผู้ที่จะเตรียมตัวเป็นแม่ในอนาคต

headphones
อ่าน 5 นาที

 

คุณแม่ตั้งครรภ์  น้ำหนักควรเพิ่มขึ้นเท่าไร

 

น้ำหนักคุณแม่ตั้งครรภ์ เป็นอีกหนึ่งหัวข้อสนทนาที่คุณแม่ตั้งครรภ์ให้ความสนใจและสอบถามบ่อย ทั้งนี้ เพราะเรื่องอาหารเป็นเรื่องที่สำคัญสำหรับผู้ที่จะเตรียมตัวเป็นแม่ในอนาคต โดยในระหว่างการตั้งครรภ์จำเป็นอย่างยิ่งที่คุณแม่ควรรับประทานอาหารที่หลากหลายครบ 5 หมู่ เพื่อพัฒนาการทารกในครรภ์และสุขภาพของตัวเอง แต่ขณะเดียวกัน หากรับประทานมากเกินไป อาจจะทำให้น้ำหนักตัวของคุณแม่มากเกินความจำเป็น ซึ่งในแต่ละวัน คุณแม่ตั้งครรภ์จะมีความต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นจากเดิมประมาณ 300 กิโลแคลอรีต่อวัน คือจากประมาณ 2,000 กิโลแคลอรี เพื่อสร้างเนื้อเยื่อทั้งของแม่และลูกในครรภ์

 

คุณแม่ตั้งครรภ์ - น้ำหนักควรเพิ่มขึ้นเท่าไร

น้ำหนักที่ควรเพิ่มขึ้นสำหรับคุณแม่แต่ละท่าน จะไม่เหมือนกันเนื่องจากน้ำหนักและส่วนสูงแตกต่างกันไปแต่ละคน ดังนั้น น้ำหนักที่ควรเพิ่มขึ้นตลอดการตั้งครรภ์ ควรคำนวณจากดัชนีมวลกาย ซึ่งจะบอกสถานะว่าคุณแม่ก่อนตั้งตั้งครรภ์มีน้ำหนักเข้าเกณฑ์ใด และตลอดระยะเวลาตั้งครรภ์ น้ำหนักที่ควรเพิ่มเป็นเท่าไร โดยทั่วไปตลอดระยะเวลาตั้งครรภ์ น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นไม่ควรน้อยกว่า 7 กิโลกรัม และไม่ควรมากกว่า 13 กิโลกรัม ขึ้นอยู่กับน้ำหนักตัวก่อนตั้งครรภ์ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

 

 

ดัชนีมวลกายก่อนตั้งครรภ์ (BMI)
คำนวณโดยน้ำหนัก (..) / ความสูง (เมตร2)

 

น้ำหนักควรเพิ่มขึ้นเป็นกี่กิโลกรัม 

BMI < 18.5 (ผอม)

 

12.5 – 18.0

 

BMI 18.5 – 24.9 (น้ำหนักตัวปกติ)

 

11.5 – 16.0

 

BMI 25.0 – 29.9 (น้ำหนักตัวเกิน)

 

7.0 – 11.5

 

BMI ≥ 30 (โรคอ้วน)

 

5.0 – 9.0

 

การตั้งครรภ์แฝด

 

15.9 – 20.4

 

 

  1. คุณแม่ตั้งครรภ์ที่ควรจะมีน้ำหนักตัวเพิ่มมากเป็นกรณีพิเศษ คือ คุณแม่ที่ก่อนตั้งครรภ์ผอม ในช่วง 3 เดือนแรกควรจะพยายามปรับให้มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นให้ตรงตามเกณฑ์ แล้วใช้เวลาในระยะ 6เดือนต่อมาเพิ่มน้ำหนักให้ได้เท่าที่ต้องการตลอดการตั้งครรภ์
  2. คุณแม่ตั้งครรภ์ที่ควรให้ความสำคัญดูแลน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นในอัตราส่วนที่เหมาะสม คือ คุณแม่ที่ก่อนตั้งครรภ์มีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน โดยควรเลือกกินอาหารเป็นพิเศษ
  3. คุณแม่ตั้งครรภ์แฝดสองหรือแฝดสาม
    ไม่ได้หมายความว่า จะต้องมีน้ำหนักเพิ่มเป็นสองหรือสามเท่าตามจำนวนของทารกในครรภ์ แต่อาจจะเพิ่มน้ำหนักโดยเฉลี่ย 5 กิโลกรัมต่อทารก 1 คน การรับประทานอาหารควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์
     
  4. จำไว้เสมอว่า ระยะเวลาตลอดการตั้งครรภ์ไม่ใช่เวลาที่จะควบคุมน้ำหนักด้วยการงดอาหาร
    อย่างเด็ดขาด เพราะทารกในครรภ์จะได้พลังงานจากการเผาผลาญไขมันของคุณแม่เท่านั้น แต่จะไม่ได้สารอาหารใดๆ ทั้งสิ้น
     
  5. การเพิ่มขึ้นของน้ำหนักตัวคุณแม่ตั้งครรภ์ ในช่วงระยะไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ เดือนที่ 1 – 3
  • น้ำหนักของคุณแม่ตั้งครรภ์จะมีการเพิ่มน้อย คือ โดยเฉลี่ยแค่ประมาณ 1 – 2 กิโลกรัมเท่านั้น เนื่องจากอาการแพ้ท้อง
  • ในช่วงระยะไตรมาสสองของการตั้งครรภ์ เดือนที่ 4 – 6
    น้ำหนักของคุณแม่จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉลี่ย ½ กิโลกรัมต่อสัปดาห์
  • ในช่วงระยะไตรมาสที่สามของการตั้งครรภ์ เดือนที่ 7 – 9
    น้ำหนักของคุณแม่ตั้งครรภ์จะเพิ่มขึ้นเพียง 2 – 3 กิโลกรัมเท่านั้น ในระยะเดือนสุดท้ายอาการใกล้คลอดน้ำหนักจะคงที่ หรือลดลงบ้างเล็กน้อยประมาณ ½ กิโลกรัม กล่าวคือ

 

  • ในกรณีที่คุณแม่ตั้งครรภ์ไม่มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นเลยในระยะอายุ 2 – 4 เดือน หรือกรณีที่คุณแม่ตั้งครรภ์ไม่มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นเลยภายใน 2 สัปดาห์ทั้งที่อยู่ในเกณฑ์ที่ควรมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น ควรรีบปรึกษาแพทย
  • กรณีที่คุณแม่ตั้งครรภ์มีน้ำหนักตัวเพิ่มมากกว่า 1 กิโลกรัมต่อสัปดาห์ในช่วงไตรมาส 2 หรือเดือนที่ 4 – 6 หรือมีน้ำหนักเพิ่มมากกว่า ½ กิโลกรัมต่อสัปดาห์ ในไตรมาสที่สาม เดือนที่ 7 – 9 คุณแม่ตั้งครรภ์ควรไปปรึกษาแพทย์ทันที โดยเฉพาะผู้ที่นิยมกินอาหารรสจัดหรือกินบ่อยเกินไป 

 


บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ 

คลอดลูก

สิ่งที่ต้องเตรียมก่อนคลอด

อ้างอิง

  1. เอกสารเผยแพร่ทางวิชาการ โภชนาการคุณแม่ตั้งครรภ์ ฝ่ายโภชนาการ โรงพยาบาลศิริราช
  2. Institute of Medicine NRC. Weight Gain During Pregnancy: Reexamining the Guidelines. Washington, DC: The National Academies Press, 2009.
  3. เว็บไซต์ haamor.com

บทความแนะนำ

วันตกไข่ คืออะไร นับวันตกไข่อย่างไรให้แม่นยำ ไม่มีพลาด

วันตกไข่ คืออะไร นับวันตกไข่อย่างไรให้แม่นยำ ไม่มีพลาด

ใครอยากมีลูกต้องอ่าน วันตกไข่ คืออะไร ทำไมถึงสำคัญ อาการแบบไหนถึงรู้ว่าตัวเองอยู่ในช่วงวันตกไข่ และนับวันตกไข่แบบไหน ช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ให้คนที่อยากมีลูก

วิธีนับอายุครรภ์ คำนวณอายุครรภ์ด้วยตัวเอง ก่อนคลอด

วิธีนับอายุครรภ์ คำนวณอายุครรภ์ด้วยตัวเอง ก่อนคลอด

วิธีการนับอายุครรภ์คืออะไร ทำไมคุณแม่ต้องรู้และวิธีคำนวณอายุครรภ์ที่ถูกต้อง นับแบบไหนได้บ้าง เพื่อให้คุณแม่วางแผนการคลอดและติดตามพัฒนาการของลูกในครรภ์ได้อย่างแม่นยำ

แผลฝีเย็บหลังคลอด ดูแลอย่างไรให้ปลอดภัย แผลหายเร็ว

แผลฝีเย็บหลังคลอด ดูแลอย่างไรให้ปลอดภัย แผลหายเร็ว

แผลฝีเย็บหลังคลอด ดูแลอย่างไรให้ปลอดภัย แผลหายเร็ว

ฤกษ์ดีผ่าคลอด ปี 2565

ฤกษ์ผ่าคลอด 2565 ฤกษ์คลอด ฤกษ์มงคล เสริมดวงลูกรัก

ฤกษ์ดีผ่าคลอด ปี 2565 การกำหนด ฤกษ์ผ่าคลอด หรือ ฤกษ์คลอด ควรทำควบคู่ไปกับการขอรับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้ทำคลอดด้วย เพราะหากผู้ปกครองดื้อรั้นกำหนดวันคลอดเองโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ นอกจากจะไม่ได้รับอนุญาตให้คลอดในวันดังกล่าวแล้ว ยังอาจมีผลกระทบต่อสุขภาพของคุณแม่และทารกในครรภ์ไปตลอดชีวิตอีกด้วย

ผ่าคลอดดีไหม ผ่าคลอดเจ็บไหม ดูแลแผลผ่าคลอดอย่างไร

ผ่าคลอดดีไหม ผ่าคลอดเจ็บไหม ดูแลแผลผ่าคลอดอย่างไร

ไขข้อสงสัยเกี่ยวกับการ ผ่าคลอด พร้อมคำแนะนำต่างๆ เพื่อเตรียมพร้อมให้คุณแม่มั่นใจเมื่อผ่าคลอด

แม่ท้องพร้อม เข้าใจอาการคนท้อง

แม่ท้องพร้อม! วิธีดูแลครรภ์ จัดการกับความกังวล เข้าใจอาการคนท้อง

เคล็ดลับการดูแลครรภ์ วิธีจัดการกับความกังวล รวมไปถึงการรับมือกับอาการคนท้อง

ฤกษ์ผ่าคลอด ฤกษ์คลอด ปี 2566

ฤกษ์ผ่าคลอด 2566 ฤกษ์คลอด วัน เวลาดี เสริมดวงลูกรัก

สำหรับลูกน้อยที่เกิดในปี 2566 ตรงกับนักษัตรเถาะ มักเป็นคนที่นุ่มนวล มารยาทงาม มีสัมมาคารวะ เป็นที่รักของผู้ใหญ่และคนรอบข้าง คุณพ่อคุณแม่ที่กำลังกำลังวางแผนการตั้งครรภ์ หรือหาฤกษ์คลอด ฤกษ์ผ่าคลอดมหามงคล เพื่อส่งเสริมดวงให้ลูกน้อยในปีนี้ S-Mom Club มีฤกษ์ผ่าคลอดสุดเฮงสำหรับปีนี้มาแนะนำค่ะ