EF คืออะไร สำคัญต่อพัฒนาการสมองของเด็กในแต่ละช่วงวัยอย่างไร

EF คืออะไร สำคัญต่อพัฒนาการสมองของเด็กในแต่ละช่วงวัยอย่างไร

20.01.2024

EF ย่อมาจาก Executive Function คือ ความสามารถของแต่ละคนในการควบคุม ความคิด อารมณ์ พฤติกรรมต่าง ๆ ซึ่งเกิดจากความสามารถในการทำงานของสมองส่วนหน้าหรือทักษะสมองที่ทำให้เกิดความสำเร็จ รวมไปถึงการปรับตัวที่จะช่วยให้เด็กอยู่กับสิ่งต่าง ๆ รอบตัวได้อย่างมีความสุข ทั้งหมดนี้ล้วนทำให้เด็กเติบโตได้อย่างมั่นคง มีความสุข และประสบผลสำเร็จในการดำเนินชีวิตต่อไป

headphones

PLAYING: EF คืออะไร สำคัญต่อพัฒนาการสมองของเด็กในแต่ละช่วงวัยอย่างไร

อ่าน 7 นาที

 

สรุป

  • ทักษะ EF หรือ Executive Function เป็นกระบวนการหรือความสามารถขั้นสูงของสมองส่วนหน้า ในด้านความคิด ความรู้สึก และการกระทำ โดยช่วงวัยที่ดีที่สุดในการพัฒนาทักษะ EF คือ อายุ 4 ถึง 6 ปี ซึ่งเป็นช่วงอายุที่สมองส่วนหน้ามีการพัฒนาเติบโตอย่างรวดเร็ว
  • ความสำคัญของทักษะ EF ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตในแต่ละช่วงวัยให้ประสบผลสำเร็จในการดำเนินชีวิต หรือการทำให้ถึงเป้าหมายตามที่วางแผนไว้ รวมถึงการปรับตัวกับสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาได้ดี และดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข
  • EF ประกอบด้วย ทักษะพื้นฐาน 3 ด้าน คือ ความสามารถในการจดจำ (Working Memory) ความยืดหยุ่นทางความคิด (Cognitive Flexibility) และความสามารถในการควบคุมและยับยั้งตนเอง (Inhibitory Control) ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ควรส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาทักษะ EF ได้ด้วยกิจกรรมต่าง ๆ รวมถึงการให้ความเอาใจใส่ มอบความรัก ความผูกพันที่ดีแก่ลูก

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

ทักษะ EF หรือ Executive Function คือ กระบวนการหรือความสามารถขั้นสูงของสมองส่วนหน้า ในด้านความคิด ความรู้สึก และการลงมือกระทำ ซึ่งล้วนส่งผลต่อความสำเร็จในการดำเนินชีวิต หรือการทำให้ถึงเป้าหมายความสำเร็จที่วางไว้ ทักษะ EF สามารถพัฒนาและฝึกฝนได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งช่วงวัยที่ดีที่สุดในการพัฒนาทักษะ EF คือ อายุ 4 ถึง 6 ปี ซึ่งเป็นช่วงอายุที่สมองส่วนหน้ามีการพัฒนาเติบโตอย่างรวดเร็ว และคงอยู่ตลอดช่วงชีวิต

 

ทักษะ EF มีความสำคัญกับลูกช่วงอายุเท่าใด

ความสำคัญของทักษะ EF มีผลการศึกษาว่าส่งผลต่อการดำเนินชีวิตในแต่ละช่วงวัยของคนเรา ไม่ว่าจะเป็น พฤติกรรมแสดงออกต่าง ๆความสามารถในการเรียนรู้ ศึกษาซึ่งแสดงออกด้วยผลการเรียน หรือ การประสบผลสำเร็จในการทำงาน รวมไปถึงสุขภาพกายและใจที่แข็งแรง มีความสุขในทุกช่วงชีวิต โดยเราอาจแบ่งความสำคัญของทักษะ EF ได้ตามช่วงวัย ดังนี้

  • วัยเด็ก การเรียนคือเรื่องสำคัญในช่วงวัยนี้ ซึ่งทักษะ EF จะช่วยส่งเสริมให้เด็กมีสมาธิและความสามารถในการจดจำบทเรียนต่าง ๆ การฝึกฝนความตั้งใจในการเรียนรู้และทำแบบฝึกหัดจนสำเร็จ ความอดทนอดกลั้นต่อกฎระเบียบต่าง ๆ รวมไปถึงการปรับตัวกับสังคมเพื่อน และครูอาจารย์ในโรงเรียน ฝึกฝนภาวะผู้นำ และการกล้าแสดงออก ซึ่งสังคมในโรงเรียนเป็นสังคมที่ต้องเรียนรู้และปรับตัวถัดจากครอบครัว
  • วัยผู้ใหญ่ การประสบความสำเร็จในชีวิต เกิดจากการวางแผนอย่างมีระบบ รู้เป้าหมายที่ชัดเจน คนที่มีทักษะ EF ที่ดี จะส่งผลต่อความสำเร็จและฐานะการเงินที่ดีในอนาคต เพราะรู้จักวางแผน รับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมายได้เป็นอย่างดี รวมถึงการปรับตัวกับสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาได้ดี

 

Executive Function มีความสำคัญกับลูกอย่างไร

 

Executive Function มีความสำคัญกับลูกอย่างไร

เด็กทุกคนไม่ได้เกิดมาพร้อมทักษะ EF หรือ Executive Function แต่สามารถพัฒนาขึ้นได้ โดยอาจเริ่มฝึกฝนพัฒนาทักษะ EF ได้ตั้งแต่ 3 ขวบ และพัฒนาได้เรื่อยไปจนถึงวัยผู้ใหญ่ตอนต้น

 

ซึ่งการดำเนินชีวิตตั้งแต่เด็กจนถึงผู้ใหญ่ การเล่น การเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัวที่พบเจอ ปฏิสัมพันธ์กับผู้คนและสังคม พฤติกรรมและประสบการณ์ต่าง ๆ เหล่านี้ ล้วนก่อให้เกิดการพัฒนาทักษะ EF ที่สำคัญต่อการดำเนินชีวิตให้ประสบผลสำเร็จได้ในอนาคตและช่วยส่งเสริมพัฒนาการตามวัยของลูกน้อย

 

EF ประกอบไปด้วยหน้าที่สำคัญ 3 อย่าง

  1. ความสามารถในการจดจำ (Working Memory) คือ การจดจำสิ่งต่าง ๆ เข้าสู่สมองและสามารถประมวลผลเพื่อนำข้อมูลที่เก็บไว้ในสมองออกมาใช้เมื่อผ่านระยะเวลานั้น ๆ มาแล้ว อาทิ เด็กที่ทำข้อสอบได้ดี คือ เด็กที่สามารถจดจำบทเรียนขณะที่ศึกษาในชั้นเรียนและอ่านทบทวนมาได้เป็นอย่างดี ซึ่งเป็นหนึ่งในทักษะ EF ของเด็กแต่ละคน
  2. ความยืดหยุ่นทางความคิด (Cognitive Flexibility) คือ การมีมุมมองความคิดที่หลากหลาย หรือการหาวิธีการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้หลายวิธี อาทิ การหาเส้นทางการเดินทางจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง เด็กคนนึงอาจจะมีหลายเส้นทาง แล้วมาพิจารณาเลือกเส้นทางที่ดีที่สุด
  3. ความสามารถในการควบคุมและยับยั้งตนเอง (Inhibitory Control) คือ การควบคุมตนเองไม่ให้หลุดออกจากสิ่งที่ต้องรับผิดชอบทั้งการเรียนหรือการทำงาน อดทนต่อสิ่งกระตุ้น หรือสิ่งเร้าต่าง ๆ เด็กต้องมี EF เพื่อช่วยควบคุมตนเองเพื่อรู้หน้าที่ของตน อาทิ เมื่ออยู่ในห้องเรียนก็ควรตั้งใจเรียน ไม่ชวนเพื่อนคุยหรือเล่นระหว่างเรียน เป็นต้น

 

แนะนำกิจกรรมที่ช่วยสร้าง EF ให้ลูก

  • เกมบอกเล่าเรื่องต่อ กิจกรรมพัฒนาสมองให้เด็ก ๆ เรียงลำดับต่อกัน แล้วกระซิบประโยคเดียวกันต่อไปจนถึงคนสุดท้าย
  • การแสดงบทบาทสมมติ อาจแสดงตามบทบาทที่ได้รับ เช่น แสดงเป็นครูกับนักเรียน หรือแม่ค้ากับลูกค้า
  • การเล่านิทาน โดยอาจเล่าด้วยน้ำเสียงที่เลียนแบบแต่ละตัวละคร และเสริมคำถามหลังเล่านิทานจบ
  • ทำงานประดิษฐ์หรือศิลปะต่าง ๆ เช่น การปั้นแป้งโดว์, วาดรูประบายสี, พับกระดาษ เป็นต้น

 

EF ส่งผลดีต่อผู้ใหญ่อย่างไรบ้าง

ทักษะ EF เป็นพื้นฐานที่สำคัญในการจัดการที่เกี่ยวข้องกับความคิด ความรู้สึก และการลงมือกระทำ เด็กที่มีทักษะ EF ที่ดีจะสามารถควบคุมอารมณ์ ยับยั้งตนเอง และแสดงออกด้วยพฤติกรรมที่เหมาะสม เพื่อนำไปสู่เป้าหมายที่วางแผนไว้ได้สำเร็จ ซึ่งการพัฒนาทักษะ EF ให้ดีควรเริ่มตั้งแต่วัยเด็ก เพื่อเป็นรากฐานสำหรับความคิดที่มีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้นเมื่อเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ เพื่อช่วยในการวางจัดลำดับความสำคัญในชีวิต วางแผนเป้าหมายชีวิตในอนาคตที่ชัดเจน และมุ่งมั่นลงมือทำให้บรรลุถึงเป้าหมายได้อย่างมีความสุข

 

การพัฒนาทักษะ EF หรือ Executive Function เป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรให้สำคัญในการส่งเสริมและพัฒนาตั้งแต่วัยเด็ก เพื่อเป็นรากฐานในการควบคุมความคิด ความรู้สึก และการกระทำต่างๆ ให้แสดงออกอย่างเหมาะสมและต่อเนื่อง สามารถดำเนินชีวิตประสบความสำเร็จในแต่ละช่วงวัย ทั้งการเรียน การทำงาน และการดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข

 

บทความแนะนำสำหรับพัฒนาการลูกน้อย

 

อ้างอิง:

  • EF Executive Function สำคัญต่อพัฒนาการเด็กแต่ละช่วงวัยอย่างไร ?, โรงพยาบาลมนารมย์
  • EF ฝึกทักษะสมองพัฒนาสมาธิเด็ก, โรงพยาบาลกรุงเทพ
  • EF Executive Function สำคัญต่อพัฒนาการเด็กแต่ละช่วงวัยอย่างไร ?, โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา
  • การเรียนรู้ Active Learning เพื่อส่งเสริมทักษะ Executive Functions (EF), โครงการความร่วมมือทางวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทากับกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
  • การพัฒนาทักษะทางสมอง EF (Executive Functions), สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดชัยนาท

อ้างอิง ณ วันที่ 23 ธันวาคม 2566

บทความแนะนำ

เทคนิคพัฒนาสมอง เสริมสร้างศักยภาพให้ลูกน้อยฉลาด พร้อมเรียนรู้

เทคนิคพัฒนาสมอง เสริมสร้างศักยภาพให้ลูกน้อยฉลาด พร้อมเรียนรู้

สมองของลูกน้อยมีพัฒนาการ ตลอดเวลาตั้งแต่อยู่ในท้องของคุณแม่ 1000 วันแรก เป็นช่วงเวลาทอง ที่คุณแม่สามารถช่วยพัฒนาสมองลูกน้อยได้อย่างไม่มีขีดจำกัด

10 กิจกรรมฝึกสมองวัยซน เสริมพัฒนาการให้ลูกสมองไว

10 กิจกรรมฝึกสมองวัยซน เสริมพัฒนาการให้ลูกสมองไว

กิจกรรมฝึกสมองเด็ก ช่วยพัฒนาสมองลูกน้อยวัย 3-5 ปี ให้ลูกน้อยมีพัฒนาการทางสมองที่ดี ฉลาดสมวัย และมีความคิดสร้างสรรค์ กิจกรรมฝึกสมองเด็กแบบไหน เหมาะสำหรับลูก ไปดูกัน  

5 อาหารเสริมให้ลูกฉลาด กินอะไรให้ลูกฉลาด พัฒนาสมองลูก

5 อาหารเสริมให้ลูกฉลาด กินอะไรให้ลูกฉลาด พัฒนาสมองลูก

กินอะไรให้ลูกฉลาดและมีพัฒนาการทางสมองที่ดี ไปดู 5 อาหารเสริมให้ลูกฉลาด และสารอาหารสำคัญที่มีส่วนช่วยในการพัฒนาสมองของลูกน้อย พร้อมให้ลูกน้อยเรียนรู้ได้อย่างสมวัย  

กิจกรรมพัฒนาสมอง วิธีพัฒนาสมองเด็ก 2 ขวบ ให้ลูกสมองไว

กิจกรรมพัฒนาสมอง วิธีพัฒนาสมองเด็ก 2 ขวบ ให้ลูกสมองไว

รวมกิจกรรมพัฒนาสมอง สำหรับลูกน้อยวัย 2 ปี ช่วยให้ลูกมีพัฒนาการสมองที่ดี ฉลาด และเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว ไปดูวิธีพัฒนาสมองเด็ก 2 ขวบ ที่ช่วยให้เด็กมีพัฒนาการที่ดีกัน

วิธีเลี้ยงลูกให้ฉลาด สมองไว ตั้งแต่แรกเกิด ถึง 6 ปี

วิธีเลี้ยงลูกให้ฉลาด สมองไว ตั้งแต่แรกเกิด ถึง 6 ปี

วิธีเลี้ยงลูกให้ฉลาด ฉลองไว เพื่อพัฒนาสมองของลูกน้อย คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ทำอย่างไรได้บ้าง ไปดูวิธีเลี้ยงลูกให้ฉลาด เพื่อพัฒนาการที่ดีตั้งแต่แรกเกิดถึง 6 ปีแรก

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก