น้ำคร่ำ คืออะไร น้ำคร่ำรั่ว อาการแบบไหน สัญญาณใกล้คลอดที่ต้องรับมือ

น้ำคร่ำ คืออะไร น้ำคร่ำรั่ว อาการแบบไหน สัญญาณใกล้คลอดที่ต้องรับมือ

17.02.2024

น้ำคร่ำ คืออะไร มีหน้าที่ มีประโยชน์กับทารกในครรภ์หรือเปล่า และระหว่างตั้งครรภ์คุณแม่จะรู้ได้อย่างไรว่าตัวเองกำลังมีอาการของน้ำคร่ำรั่ว หรือน้ำคร่ำแตก ต้องเช็กอย่างไรหรือมีสัญญานเตือนแบบไหน ไปทำความรู้จักน้ำคร่ำ และภาวะต่าง ๆ ของน้ำคร่ำที่สามารถเกิดขึ้นได้ระหว่างตั้งครรภ์ เพื่อให้คุณแม่รู้เท่าทัน และรับมือได้อย่างถูกต้องค่ะ

headphones

PLAYING: น้ำคร่ำ คืออะไร น้ำคร่ำรั่ว อาการแบบไหน สัญญาณใกล้คลอดที่ต้องรับมือ

อ่าน 5 นาที

 

สรุป

  • “น้ำคร่ำ” มีความสำคัญในการตั้งครรภ์ เนื่องจากน้ำคร่ำจะทำหน้าที่ป้องกันทารกและสายสะดือไม่ให้ถูกกดทับ
  • เมื่อเข้าสู่การตั้งครรภ์ไตรมาส 2 น้ำคร่ำมาจากปัสสาวะของทารกในครรภ์ ส่วนประกอบในน้ำคร่ำจะมีทั้งสารโซเดียม คลอไรด์ และเหล็ก
  • ถุงน้ำคร่ำรั่วหรือแตก PROM คือภาวะน้ำเดินก่อนกำหนด สามารถเกิดขึ้นได้ตอนอายุครรภ์ครบกำหนด 37 สัปดาห์ หรืออาจเกิดขึ้นก่อนที่อายุครรภ์ 37 สัปดาห์
  • คุณแม่สามารถทดสอบภาวะถุงน้ำคร่ำรั่วได้ด้วยการสวมผ้าอนามัย หากผ้าอนามัยเปียกชุ่มทั้งแผ่นแสดงว่ามีน้ำคร่ำรั่ว ลักษณะของน้ำคร่ำคือสีใส ไม่มีกลิ่น

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

อาการน้ำคร่ำรั่ว สัญญาณใกล้คลอดที่ต้องเตรียมตัวรับมือ

  1. น้ำคร่ำ (Amniotic fluid) ถูกสร้างขึ้นมาจากถุงแอมเนี่ยน หรือถุงการตั้งครรภ์ น้ำคร่ำมีส่วนประกอบของสารโซเดียม คลอไรด์ และเหล็ก
  2. อาการน้ำคร่ำรั่ว จะเป็นลักษณะที่มีน้ำไหลซึมออกมาจากช่องคลอดของคุณแม่ทีละเล็กละน้อย สาเหตุที่ทำให้น้ำคร่ำรั่วออกมา เป็นเพราะถุงน้ำคร่ำมีรอยรั่ว ภาวะน้ำคร่ำรั่วสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดการตั้งครรภ์ทั้ง 3 ไตรมาส น้ำคร่ำรั่วไม่ใช่สัญญาณใกล้คลอด แต่เป็นสัญญาณอันตรายที่อาจทำให้ทารกในครรภ์ติดเชื้อ

 

น้ำคร่ำ คืออะไร

น้ำคร่ำ (Amniotic fluid) เริ่มมีขึ้นมาพร้อม ๆ กับการตั้งครรภ์ของคุณแม่ น้ำคร่ำในช่วงอายุครรภ์ไตรมาสแรกจะถูกสร้างขึ้นมาจากถุงแอมเนี่ยนหรือถุงการตั้งครรภ์ และเมื่อเข้าสู่การตั้งครรภ์ไตรมาส 2 เป็นต้นไป น้ำคร่ำจะมาจากปัสสาวะของทารกในครรภ์ ส่วนประกอบในน้ำคร่ำจะมีทั้งสารโซเดียม คลอไรด์ และเหล็ก น้ำคร่ำที่ถูกสร้างขึ้นในแต่ละวันจะมีปริมาณอยู่ที่ 700-900 ซีซี

 

หน้าที่ของน้ำคร่ำ:

  1. ช่วยควบคุมให้น้ำและเกลือแร่ในตัวทารกมีความสมดุล
  2. ช่วยควบคุมอุณหภูมิภายในร่างกายของทารก
  3. ช่วยพัฒนาข้อเข่า ระบบกล้ามเนื้อและอวัยวะสำคัญต่าง ๆ ของทารกให้มีการเจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์
  4. ช่วยพัฒนาปอดของทารกให้มีการเจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์
  5. ช่วยกระตุ้นให้ระบบทางเดินอาหารของทารกแข็งแรงและทำงานได้มีประสิทธิภาพ
  6. ช่วยกระตุ้นให้ระบบกล้ามเนื้อและเส้นประสาทของทารกเจริญเติบโตอย่างแข็งแรง
  7. ช่วยป้องกันไม่ให้ทารกในครรภ์ได้รับอันตรายจากการถูกกระทบกระเทือนจากภายในนอกครรภ์
  8. ช่วยป้องกันไม่ให้ตัวทารกไปกดทับสายสะดือของตัวเอง
  9. ช่วยให้ทารกมีพื้นที่ในการเคลื่อนไหวร่างกายได้อย่างอิสระ
  10. ช่วยยับยั้งแบคทีเรียต่าง ๆ

 

น้ำคร่ำรั่ว น้ำคร่ำแตก เกิดจากอะไร

1. น้ำคร่ำรั่ว

ความหมายทางการแพทย์ คือ ภาวะที่น้ำเดินก่อนกำหนด ถุงน้ำคร่ำรั่วหรือแตก PROM (Premature rupture of membranes) สามารถเกิดขึ้นได้ตอนอายุครรภ์ 37 สัปดาห์ หรืออาจเกิดขึ้นก่อนที่อายุครรภ์ 37 สัปดาห์ ก็ได้เช่นกัน

 

สาเหตุที่ทำให้เกิดถุงน้ำคร่ำรั่ว

  1. เคยมีประวัติภาวะน้ำเดินก่อนอายุครรภ์ครบกำหนดมาก่อนเมื่อตอนตั้งครรภ์แรก
  2. เคยมีประวัติผ่าตัดปากมดลูก
  3. เคยมีประวัติเกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  4. การตั้งครรภ์แฝด
  5. มีภาวะน้ำคร่ำมาก
  6. ขณะตั้งครรภ์เกิดมีการติดเชื้อขึ้นที่ ปากมดลูก ช่องคลอด และปากช่องคลอด
  7. ระหว่างตั้งครรภ์ไตรมาสแรก มีเลือดซึมออกจากช่องคลอด
  8. มีการสูบบุหรี่ขณะตั้งครรภ์

 

2. ภาวะถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด:

ภาวะถุงน้ำคร่ำแตก คือการมีน้ำคร่ำรั่วออกมาทางช่องคลอดก่อนอายุครรภ์ 37 สัปดาห์

 

ภาวะแทรกซ้อนของการมีภาวะถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด:

  1. เกิดการลอกตัวขึ้นของรกก่อนกำหนด
  2. ขณะตั้งครรภ์เกิดการติดเชื้อขึ้นที่โพรงมดลูก
  3. ทารกเสียชีวิตขณะอยู่ในครรภ์
  4. ทารกมีสายสะดือไหลออกมา

 

น้ำคร่ำแตก อาการเป็นอย่างไร

น้ำคร่ำแตกจะมีน้ำคล้ายปัสสาวะแต่สีจะใสกว่า และไม่มีกลิ่นออกมาทางช่องคลอดของคุณแม่ ลักษณะการไหลของน้ำคร่ำที่แตก คือจะไหลเหมือนมีของหล่นโพละออกมาในทีเดียว หรือบางครั้งน้ำคร่ำแตกจะไหลออกมาช้า ๆ ก็ได้เช่นกัน

 

น้ำคร่ำแตก ช่วงใกล้คลอด จะมีอาการให้เห็นช่วงไหนได้บ้าง

น้ำคร่ำแตกคือหนึ่งในสัญญาณเตือนว่าคุณแม่กำลังอยู่ในช่วงอาการใกล้คลอด คืออายุครรภ์ใน 4 สัปดาห์สุดท้าย (37-40 สัปดาห์) อาการถุงน้ำคร่ำแตกช่วงใกล้คลอด หรือเรียกว่าน้ำเดินจะมีน้ำใสไหลออกมาจากช่องคลอด พร้อมกับมดลูกเริ่มมีการหดรัดตัวเพื่อดันให้ศีรษะของทารกลงไปอยู่ตรงบริเวณอุ้งเชิงกราน น้ำคร่ำแตกมีความเป็นไปได้ 80% ว่าคุณแม่อาจต้องได้คลอดลูกใน 12 ชั่วโมง

 

วิธีทดสอบภาวะน้ำคร่ำรั่วด้วยตนเอง

คุณแม่ตั้งครรภ์สามารถทดสอบการรั่วของถุงน้ำคร่ำได้ด้วยตัวเองง่าย ๆ ดังนี้

  1. สวมผ้าอนามัย เพื่อสังเกตว่าผ้าอนามัยเปียกชุ่มหรือไม่
  2. น้ำที่เปียกชุ่มผ้าอนามัย หากเป็นน้ำคร่ำจะไม่มีสี ไม่มีกลิ่น

 

หากการทดสอบพบว่าน้ำที่เปียกผ้าอนามัยเป็นลักษณะของน้ำคร่ำ แนะนำให้คุณแม่รีบไปพบแพทย์ทันที ไม่ควรปล่อยให้น้ำคร่ำรั่ว เนื่องจากน้ำคร่ำที่มีปริมาณลดลงเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์

 

น้ำคร่ำรั่วแบบไหน ควรพบแพทย์

น้ำคร่ำรั่วสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกไตรมาสของการตั้งครรภ์ ดังนั้นหากคุณแม่สังเกตว่าตัวเองมีน้ำใส ๆ ไม่มีกลิ่น ค่อย ๆ ซึมไหลออกจากช่องคลอดตลอดเวลา หรือหากใส่ผ้าอนามัยแล้วแผ่นผ้าอนามัยเปียกชุ่มทั้งแผ่น นั่นแสดงถึงปริมาณน้ำคร่ำที่ไหลออกมามาก แนะนำให้คุณแม่รีบไปโรงพยาบาลเพื่อพบแพทย์ทันที น้ำคร่ำที่รั่วออกส่งผลให้ทารกในครรภ์ติดเชื้อได้

 

ภาวะน้ำคร่ำรั่ว ที่เป็นสัญญาณเตือนสุขภาพของคุณแม่ได้

ถุงน้ำคร่ำรั่ว หรือภาวะน้ำเดินก่อนกำหนดจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคุณแม่และทารกในครรภ์ ที่อันตรายต่อตัวคุณแม่ก็คือโพรงมดลูกเกิดการอักเสบติดเชื้อขึ้น ซึ่งเป็นสัญญาณเตือนว่าคุณแม่จะมีการคลอดก่อนกำหนด ทารกที่คลอดก่อนกำหนดปอดจะยังพัฒนาได้ไม่สมบูรณ์ทำให้มีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ ทารกมีการหายใจได้ยากลำบาก ทางการแพทย์จะเรียกภาวะนี้ว่า RDS (Respiratory distress syndrome)

 

นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบต่อการทำงานของหัวใจที่เป็นอวัยวะสำคัญของทารกอีกด้วย และยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ที่เป็นผลมาจากสุขภาพของคุณแม่ที่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะถุงน้ำคร่ำรั่ว

  1. คุณแม่น้ำหนักตัวน้อยเกินไป หรือได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ
  2. การสูบบุหรี่ หรือใช้สารเสพติดขณะตั้งครรภ์
  3. ภาวะติดเชื้อที่มดลูก

 

ตลอดการพัฒนาการทารกในครรภ์ 1-40 สัปดาห์ คุณแม่จำเป็นต้องสังเกตอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ โดยเฉพาะการเกิดน้ำคร่ำรั่ว น้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด แนะนำให้รีบไปพบแพทย์ทันที เพราะเป็นอันตรายทั้งต่อตัวคุณแม่และทารกในครรภ์

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

 

 

อ้างอิง:

  1. รู้จักกับภาวะน้ำคร่ำน้อย อันตรายสูงในหญิงตั้งครรภ์, โรงพยาบาลบางปะกอก สมุทรปราการ
  2. การสังเกตอาการน้ำคร่ำรั่ว, โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 9 แอร์พอร์ต
  3. น้ำคร่ำ (Amniotic fluid), สูติศาสตร์ล้านนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  4. ภาวะน้ำเดินก่อนกำหนด อีกหนึ่งภาวะครรภ์เสี่ยงที่คุณควรรู้, โรงพยาบาลสมิติเวช
  5. ภาวะถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด, คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  6. สัญญาณเตือนคุณแม่ใกล้คลอด เตรียมพร้อมได้ทันเวลา, โรงพยาบาลนครธน
  7. “6 สัญญาณอันตรายที่คุณแม่ตั้งครรภ์ต้องรีบไปพบแพทย์”, โรงพยาบาลเปาโล
  8. Polyhydramnios ภาวะน้ำคร่ำมาก, โรงพยาบาลสมิติเวช

อัพเดท ณ วันที่ 6 มกราคม 2567

บทความแนะนำ

คนท้องกินวิตามินซีได้ไหม ส่งผลดีและผลเสียกับการตั้งครรภ์ยังไงบ้าง

คนท้องกินวิตามินซีได้ไหม ส่งผลดีและผลเสียกับการตั้งครรภ์ยังไงบ้าง

คนท้องกินวิตามินซีได้ไหม คุณแม่อยากบำรุงครรภ์และร่างกายให้แข็งแรง สามารถกินวิตามินซีได้ แต่ควรอยู่ในปริมาณที่เหมาะสม หากมากเกินไปอาจส่งผลเสียต่อการตั้งครรภ์

มูกเลือดออกทางช่องคลอด คืออะไร มีมูกออกทางช่องคลอดปกติไหม

มูกเลือดออกทางช่องคลอด คืออะไร มีมูกออกทางช่องคลอดปกติไหม

มูกเลือดออกทางช่องคลอด อาจเป็น สัญญาณเตือนว่าคุณแม่ใกล้คลอดแล้ว ซึ่งอาจเกิดจากภาวะน้ำเดิน ลักษณะมูกใสก่อนคลอด ยังบอกถึงปัญหาสุขภาพของคุณแม่ได้หลายอย่างอีกด้วย

แม่เป็นโรคภูมิแพ้ ลูกน้อยจะเป็นโรคภูมิแพ้ในเด็กด้วยหรือไม่

แม่เป็นโรคภูมิแพ้ ลูกน้อยจะเป็นโรคภูมิแพ้ในเด็กด้วยหรือไม่

คุณแม่ตั้งครรภ์หลายคนที่เป็นโรคภูมิแพ้ มักมีความกังวลว่า แม่เป็นโรคภูมิแพ้แล้วลูกจะเป็นโรคภูมิแพ้ในเด็กด้วยหรือเปล่า ไปดูสาเหตุพร้อมวิธีป้องกันเบื้องต้นกัน

รู้ทันโรคภูมิแพ้คนท้อง ลดความเสี่ยงคนท้องเป็นภูมิแพ้ตั้งแต่เริ่มท้อง

รู้ทันโรคภูมิแพ้คนท้อง ลดความเสี่ยงคนท้องเป็นภูมิแพ้ตั้งแต่เริ่มท้อง

คนท้องเป็นภูมิแพ้ กับ 2 สาเหตุหลักของโรคภูมิแพ้คนท้อง เพื่อให้คุณแม่หาวิธีป้องกันโรคภูมิแพ้ให้ลูกน้อยจากปัจจัยสิ่งแวดล้อม เพื่อลดความเสี่ยงลูกเป็นภูมิแพ้

โฟเลต คืออะไร อาหารที่มีโฟเลตสูงมีอะไรบ้างที่ดีต่อคุณแม่ตั้งครรภ์

โฟเลต คืออะไร อาหารที่มีโฟเลตสูงมีอะไรบ้างที่ดีต่อคุณแม่ตั้งครรภ์

โฟเลต คืออะไร อาหารที่มีโฟเลตสูงช่วยลดความเสี่ยงในการแท้งและลดความเสี่ยงทารกพิการตั้งแต่ในครรภ์ คุณแม่ควรทานอาหารที่มีโฟเลตสูงก่อนท้อง เพื่อสุขภาพครรภ์ที่แข็งแรง

คุณแม่ปวดหน่วงท้องน้อยขณะตั้งครรภ์ อันตรายไหม เกิดจากอะไรได้บ้าง

คุณแม่ปวดหน่วงท้องน้อยขณะตั้งครรภ์ อันตรายไหม เกิดจากอะไรได้บ้าง

ปวดหน่วงท้องน้อยตั้งครรภ์ อันตรายไหม หากคุณแม่ปวดหน่วงน้องท้องน้อยตั้งครรภ์และมีอาการปวดท้องขณะตั้งครรภ์อ่อน ๆ จะสังเกตได้อย่างไร คุณแม่ควรรู้อะไรบ้าง ไปดูกัน

ท้องไตรมาส 3 คุณแม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงไปบ้าง มีอะไรที่คุณแม่ควรรู้

ท้องไตรมาส 3 คุณแม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงไปบ้าง มีอะไรที่คุณแม่ควรรู้

คุณแม่ท้องไตรมาส 3 ร่างกายของคุณแม่จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างเห็นได้ชัด คุณแม่ท้องไตรมาส 3 ควรรู้อะไรก่อนบ้าง สัญญาณอะไรที่บ่งบอกว่าคุณแม่ใกล้คลอดแล้ว ไปดูกัน

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก