รกเกาะต่ำเกิดจากอะไร อันตรายแค่ไหน สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

รกเกาะต่ำเกิดจากอะไร อันตรายแค่ไหน สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

04.10.2024

รก เป็นอวัยวะที่พัฒนาขึ้นภายในมดลูกระหว่างตั้งครรภ์ เป็นส่วนที่เชื่อมต่อกับสายสะดือ ทำหน้าที่ส่งออกซิเจนและสารอาหารไปหล่อเลี้ยงทารก และกำจัดของเสียออกจากเลือดของทารก โดยทั่วไป รกจะติดอยู่ที่ด้านบนของมดลูก แต่ภาวะรกเกาะต่ำเป็นภาวะที่รกจะไปเกาะที่ส่วนล่างของมดลูก ทำให้คนท้องเสี่ยงต่อการเกิดเลือดออกในระหว่างตั้งครรภ์ ซึ่งเป็นอันตรายต่อลูกน้อยในครรภ์ได้

headphones

PLAYING: รกเกาะต่ำเกิดจากอะไร อันตรายแค่ไหน สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

อ่าน 5 นาที

 

สรุป

  • ภาวะรกเกาะต่ำเกิดจากหลายสาเหตุ มักเจอในแม่ที่มีลูกมาก ๆ ตั้งแต่การตั้งครรภ์ครั้งที่ 2 เป็นต้นไป ครรภ์แฝด คนท้องที่ผ่านการขูดมดลูกมาก่อน หรือคุณแม่ที่มีอายุเยอะ มีพฤติกรรมที่ชอบสูบบุหรี่ หรืออาจเกิดจากความผิดปกติของมดลูกได้
  • อาการรกเกาะต่ำ คือ มีเลือดสีแดงสดไหลออกจากทางช่องคลอด รู้สึกเจ็บแปลบ ๆ ที่ท้อง บางรายอาจไม่มีการบีบตัวของมดลูกจึงทำให้ไม่รู้สึกปวด เมื่อคุณแม่มีอาการเลือดไหลให้รีบไปพบแพทย์ทันที เพราะถ้าปล่อยให้เลือดไหลมากจนถึงขั้นช็อกอาจทำให้เกิดอันตรายทั้งแม่และลูกน้อยในท้อง
  • คนท้องที่มีภาวะรกเกาะต่ำควรงดการเดินทาง การเคลื่อนไหวร่างกายที่มากเกินไป หากเป็นไปได้ควรนอนนิ่ง ๆ บนเตียง ในกรณีที่คุณแม่มีเลือดออกจำนวนมาก คุณหมออาจให้คุณแม่นอนพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลเพื่อไม่ให้เกิดการเสียเลือดที่มากเกินไป และคุณหมอจะได้ดูแลอย่างใกล้ชิด

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

ทำความรู้จัก ภาวะ “รกเกาะต่ำ”

ภาวะรกเกาะต่ำ (Placenta Previa) เกิดจากรกลงมาเกาะอยู่บริเวณส่วนล่างของมดลูกใกล้กับปากมดลูก เมื่อทารกที่อยู่ในรกโตขึ้น ทำให้รกปิดขวางบริเวณปากมดลูกบางส่วนหรือทั้งหมด โดยปกติแล้วรกจะเกาะอยู่บริเวณส่วนบนของมดลูก เมื่อถึงเวลาคลอดปากมดลูกจะเปิดออก ทำให้เส้นเลือดที่เชื่อมต่อระหว่างรกและมดลูกฉีกขาด จึงเสี่ยงมีเลือดออกมาก อาจเกิดภาวะคลอดก่อนกำหนด ซึ่งเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์และคุณแม่ได้ เมื่อคนท้องเกิดภาวะรกเกาะต่ำ คุณหมอจะแนะนำให้คุณแม่ผ่าคลอดแทนการคลอดธรรมชาติเพราะมีความปลอดภัยกว่า

 

รกเกาะต่ำ เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง

อาการรกเกาะต่ำเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ ได้แก่

  • ส่วนใหญ่มักเจอในคุณแม่ที่มีลูกหลายคน การตั้งครรภ์ครั้งที่ 2 เป็นต้นไป
  • คนท้องที่ตั้งครรภ์แฝด
  • คนท้องที่ผ่านการขูดมดลูกมาก่อน
  • มีความผิดปกติของมดลูก หรือมดลูกมีขนาดใหญ่
  • ตำแหน่งของทารกในครรภ์ที่ผิดปกติ เช่น ลูกน้อยอยู่ในท่าขวาง
  • เนื้องอกบริเวณกล้ามเนื้อมดลูก หรือมีแผลที่ผนังมดลูก
  • คุณแม่ที่ตั้งครรภ์อายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป
  • คุณแม่ที่มีพฤติกรรมสูบบุหรี่ หรือการใช้สารเสพติด

 

อาการของคุณแม่รกเกาะต่ำเป็นอย่างไร

ในช่วงแรกของการตั้งครรภ์ คุณแม่อาจยังสังเกตไม่เห็นอาการ เพราะอาการรกเกาะต่ำเริ่มแสดงให้เห็นชัดเมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์เข้าสู่ช่วงปลายไตรมาสที่ 2 ไปจนถึงต้นไตรมาสที่ 3 หรือมีอายุครรภ์ได้ประมาณ 6 เดือนขึ้นไป โดยมีอาการดังนี้

  • มีเลือดสีแดงสดไหลออกจากทางช่องคลอด ตั้งแต่ปริมาณน้อยไปจนถึงปริมาณมาก บางรายเลือดหยุดไหลแล้วอาจกลับมาไหลอีกครั้ง เมื่อผ่านไป 2-3 วัน หรือประมาณ 1 สัปดาห์
  • อาจมีอาการปวดเล็กน้อย เจ็บแปลบ ๆ เพราะการบีบตัวของมดลูก หรืออาจไม่มีอาการเจ็บปวดเลยก็ได้
  • ในกรณีที่เสียเลือดมาก อาจทำให้คุณแม่เกิดภาวะช็อก และอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต

 

รกเกาะต่ำ เสี่ยงอันตรายไหม

 

รกเกาะต่ำ เสี่ยงอันตรายไหม

ภาวะรกเกาะต่ำ เป็นอันตรายทั้งต่อคุณแม่และลูกน้อยในท้องหากปล่อยให้มีการเสียเลือดจำนวนมาก คือ

  • อันตรายต่อคุณแม่: ภาวะรกเกาะต่ำทำให้คนท้องเสียเลือดเป็นอย่างมาก จึงเสี่ยงต่อการตกเลือดที่อาจนำไปสู่ภาวะช็อก หรือเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมา ทั้งยังมีความเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนดเนื่องจากถุงน้ำคร่ำแตก และโอกาสในการติดเชื้อหลังคลอดสูงขึ้น เนื่องจากมีเส้นเลือดแตกใกล้บริเวณปากมดลูก
  • อันตรายต่อลูกน้อยในท้อง: เมื่อรกเกาะต่ำทำให้คุณแม่เสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด ส่งผลให้ลูกน้อยมีขนาดตัวที่เล็ก น้ำหนักน้อย เติบโตได้ช้า และยังเสี่ยงต่อการเป็นโรคพิการแต่กำเนิดอีกด้วย

 

รกเกาะต่ำ เกิดขึ้นช่วงไหนของการตั้งครรภ์

อาการรกเกาะต่ำ เกิดขึ้นได้ตั้งแต่ช่วงแรกของการตั้งครรภ์ เพราะตัวอ่อนในรกที่ได้รับการปฏิสนธิแล้วจะไปฝังตัวอยู่ในบริเวณมดลูกส่วนล่างจนปิดขวางปากมดลูก เมื่อรกมีขนาดใหญ่ขึ้นทำให้เกิดการฉีกขาดของรกและมดลูก คนท้องจึงมีเลือดไหลออกมา ดังนั้น ก่อนที่คุณแม่จะเกิดภาวะเลือดไหลจากรกเกาะต่ำ จะต้องเข้ารับการตรวจอัลตราซาวด์ประเมินตำแหน่งของรก โดยสามารถตรวจได้ตั้งแต่ตั้งครรภ์ 18-22 สัปดาห์ เพื่อคุณหมอจะได้วางแผนการคลอดอย่างเหมาะสม

 

คุณแม่มีภาวะรกเกาะต่ำ ควรดูแลตัวเองยังไง

เมื่อคุณแม่มีภาวะรกเกาะต่ำ จะต้องดูแลตัวเองและทำตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด เพื่อความปลอดภัยของตัวคุณแม่เองและลูกน้อยในท้อง โดยมีวิธีการ ดังนี้

  • เคลื่อนไหวให้น้อยที่สุด: คุณแม่ควรเคลื่อนไหวร่างกายให้น้อยที่สุด ไม่เคลื่อนไหวร่างกายมากเกินไป พยายามนอนนิ่ง ๆ อยู่บนเตียง ถ้าไม่จำเป็นไม่ต้องลุกนั่ง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเลือดไหลออกเป็นจำนวนมาก
  • งดการมีเพศสัมพันธ์: ควรงดการมีเพศสมพันธ์โดยเด็ดขาด เพราะอาจเพิ่มความเสี่ยงให้เลือดออกมากขึ้น ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อคุณแม่และลูกน้อยในท้องได้
  • ไม่เดินทางไกล: การเดินทางไกลอาจทำให้ร่างกายเคลื่อนไหวมากเกินไป ได้รับการกระทบกระเทือน ทำให้มีเลือดออก
  • หมั่นสังเกตเลือดที่ออกจากช่องคลอด: ในคุณแม่ที่มีเลือดออกเพียงเล็กน้อยควรสังเกตอาการเลือดออกของตัวเองอยู่เสมอ เพราะเลือดอาจจะหยุดไหลแล้วกลับมาไหลใหม่ หรืออาจไหลมากขึ้นกว่าเดิมก็ได้ หากคุณแม่มีเลือดไหลออกจากช่องคลอดมากควรไปพบแพทย์ให้เร็วที่สุด
  • งดการยกของหนัก: การยกของหนัก หรือทำงานหนัก ๆ หลังผ่าคลอดห้ามยกของหนัก เพราะจะยิ่งทำให้ภาวะรกเกาะต่ำยิ่งแย่ลง ทางที่ดีคุณแม่ควรให้ผู้อื่นช่วยและบอกถึงเหตุผลที่จำเป็นต้องหลีกเลี่ยงการกระทำดังกล่าว

 

วิธีป้องกันภาวะรกเกาะต่ำ สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

  • ฝากครรภ์ให้เร็วที่สุด: การฝากครรภ์ จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะรกเกาะต่ำได้ดีที่สุด เพื่อความปลอดภัยของลูกน้อยและคุณแม่ หากตรวจพบว่ามีภาวะรกเกาะต่ำ คุณหมอจะได้ให้คำแนะนำเรื่องการดูแลไม่ให้มีการกระทบกระเทือนเพิ่มมากขึ้น
  • ไปพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง: ทุกครั้งที่คุณหมอนัดตรวจครรภ์ คุณแม่ควรไปตามนัด เพราะคุณหมอจะทำการตรวจอัลตราซาวด์ตำแหน่งของรก น้ำคร่ำ และติดตามสุขภาพของลูกน้อยด้วย
  • ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ ไม่สูบบุหรี่: พฤติกรรมบางอย่างอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะรกเกาะต่ำได้ โดยเฉพาะการสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ และการใช้สารเสพติด

 

รกเกาะต่ำ เป็นอาการที่คุณแม่หลายคนคงไม่อยากให้เกิดขึ้น เพราะถ้าเป็นแล้วทำให้คุณแม่และลูกน้อยในครรภ์เกิดความเสี่ยงเป็นอย่างมาก เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดภาวะรกเกาะต่ำที่รุนแรง คุณแม่ควรงดสูบบุรี่ งดดื่มแอลกอฮอล์ในระหว่างตั้งครรภ์ ควรฝากครรภ์ตั้งแต่เนิ่น ๆ และเข้ารับการตรวจครรภ์อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้เกิดการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยสำหรับคุณแม่ และสุขภาพที่ดีของลูกน้อยในครรภ์

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

 

 

อ้างอิง:

  1. ภาวะรกเกาะต่ำในคุณแม่ตั้งครรภ์ อันตรายแค่ไหนนะ?, โรงพยาบาลพญาไท
  2. อันตรายของภาวะรกเกาะต่ำ พร้อมแนวทางการรักษา, โรงพยาบาลสินแพทย์
  3. คุณแม่ตั้งครรภ์ควรรู้ ภาวะรกเกาะต่ำ, โรงพยาบาลวิชัยยุทธ
  4. 10 โฉมหน้าโรคแทรกซ้อน แม่ท้องต้องระวัง ตอนที่ 1, คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

อ้างอิง ณ วันที่ 12 สิงหาคม 2567
 

บทความแนะนำ

คนท้องปวดหัวข้างเดียวทำยังไงดี พร้อมวิธีแก้ไขอาการคนท้องปวดหัว

คนท้องปวดหัวข้างเดียวทำยังไงดี พร้อมวิธีแก้ไขอาการคนท้องปวดหัว

คนท้องปวดหัวขณะตั้งครรภ์ เกิดจากอะไร คนท้องปวดหัวผิดปกติไหม อาการแบบไหนเรียกว่าปวดหัวปกติหรือไมเกรนในคนท้อง พร้อมวิธีแก้ไขเมื่อคนท้องมีอาการปวดหัว

มดลูกคว่ำคืออะไร อันตรายไหม อาการแบบนี้ทำให้มีลูกยากหรือเปล่า

มดลูกคว่ำคืออะไร อันตรายไหม อาการแบบนี้ทำให้มีลูกยากหรือเปล่า

มดลูกคว่ำ คืออะไร ภาวะมดลูกคว่ำในผู้หญิง ทำให้ว่าที่คุณแม่มีลูกยากและแท้งง่ายจริงไหม ภาวะมดลูกคว่ำ มดลูกกลับหลัง เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง ไปดูกัน

ตกขาวสีน้ำตาลคนท้องบอกอะไร แม่ท้องมีตกขาวสีน้ำตาลไม่มีกลิ่นไม่คัน

ตกขาวสีน้ำตาลคนท้องบอกอะไร แม่ท้องมีตกขาวสีน้ำตาลไม่มีกลิ่นไม่คัน

ตกขาวสีน้ำตาลไม่มีกลิ่นไม่คัน เกิดจากอะไร อาการตกขาวสีน้ำตาลคนท้อง อันตรายกับคุณแม่ตั้งครรภ์ไหม ตกขาวแบบไหนผิดปกติ พร้อมวิธีสังเกตตกขาวสีน้ำตาลไม่มีกลิ่นไม่คัน

เจาะน้ำคร่ำ คืออะไร เจาะน้ำคร่ำเจ็บไหม จำเป็นไหม มีความเสี่ยงอะไรบ้าง

เจาะน้ำคร่ำ คืออะไร เจาะน้ำคร่ำเจ็บไหม จำเป็นไหม มีความเสี่ยงอะไรบ้าง

เจาะน้ำคร่ำเจ็บไหม ทำไมคุณแม่ควรเจาะน้ำคร่ำในระหว่างตั้งครรภ์ การเจาะน้ำคร่ำควรเจาะตอนไหนถึงไม่เป็นอันตรายกับลูกในครรภ์ เจาะน้ำคร่ำ คืออะไร ไปทำความรู้จักกัน

คนท้องแน่นอกหายใจไม่สะดวก เกิดจากออะไร อันตรายกับลูกในท้องไหม

คนท้องแน่นอกหายใจไม่สะดวก เกิดจากออะไร อันตรายกับลูกในท้องไหม

คนท้องแน่นอกหายใจไม่สะดวก เกิดจากอะไรได้บ้าง คนท้องหายใจไม่อิ่ม จะเป็นอันตรายกับลูกในท้องไหม พร้อมวิธีดูแลตัวเอง เมื่อคนท้องแน่นอกหายใจไม่สะดวก

คนท้องเป็นริดสีดวงอันตรายไหม แม่ท้องเป็นริดสีดวงสังเกตยังไง

คนท้องเป็นริดสีดวงอันตรายไหม แม่ท้องเป็นริดสีดวงสังเกตยังไง

แม่ท้องเป็นริดสีดวง เกิดจากอะไร คุณแม่ท้องจะรู้ได้อย่างไรว่าตัวเองเป็นริดสีดวง พร้อมวิธีสังเกตริดสีดวงคนท้อง พร้อมวิธีป้องกันริดสีดวงคนท้องระหว่างตั้งครรภ์

เข็มขัดพยุงครรภ์ควรใช้ตอนไหน ใช้เข็มขัดพยุงครรภ์อันตรายไหม

เข็มขัดพยุงครรภ์ควรใช้ตอนไหน ใช้เข็มขัดพยุงครรภ์อันตรายไหม

เข็มขัดพยุงครรภ์คืออะไร เข็มขัดพยุงครรภ์ดีไหม จำเป็นกับคุณแม่ตั้งครรภ์จริงหรือเปล่า คุณแม่ท้องควรเริ่มใส่เข็มขัดพยุงครรภ์ตอนอายุครรภ์กี่เดือน

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก