พัฒนาการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 33

พัฒนาการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 33

พัฒนาการการตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์  พัฒนาการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 33

headphones
อ่าน 3 นาที

พัฒนาการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 33

 

คุณแม่ท้องจัดว่ามีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อต่างๆ ได้ง่ายและหายยาก เนื่องจากภูมิต้านทานที่ต่ำลง  ดังนั้น ในช่วงที่อากาศเปลี่ยนแปลง จึงเป็นหวัดได้ง่าย และบางครั้งก็จะยังมีน้ำมูกหรือไอเรื้อรังเป็นสัปดาห์ ไม่เว้นแม้แต่ระบบทางเดินอาหาร ก็ง่ายต่อการเกิดลำไส้อักเสบ อาหารเป็นพิษ
การรับประทานอาหารจึงต้องระวัง ล้างมือให้สะอาดก่อนหยิบจับอาหารเข้าปาก ไม่ทานอาหารสุกๆ ดิบๆ และเมื่อมีอาการอาหารเป็นพิษ ควรพักผ่อนให้เพียงพอ รวมถึงดื่มน้ำหรือน้ำเกลือแร่ หรือหากมีอาการเพลีย ขาดน้ำ ควรรีบมาโรงพยาบาลเพื่อรับน้ำเกลือ เพราะหากมีอาการขาดน้ำรุนแรงหรือช็อก อาจส่งผลต่อลูกในครรภ์หรือเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดได้


พัฒนาการลูก

ลูกมีน้ำหนักประมาณ 1,800-1,900 กรัม มีผมและเล็บยาวขึ้น และมีไขมันหุ้มเคลือบตัวลูกหนามากขึ้น และระบบทางเดินหายใจพัฒนาศักยภาพใกล้เต็มที่
 

พัฒนาการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 33

Tips

คุณแม่ควรระวังเรื่องของการติดเชื้อ ไม่ว่าจะเป็นทางระบบไหน ได้แก่

  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอวันละ 8-10 ชม. ซึ่งมักจะต้องมีเวลาหลับช่วงกลางวันสัก 30 นาทีเป็นอย่างน้อย
  • ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เช่น โปรตีนคุณภาพ จากปลา เนื้อสัตว์ ไข่ นม ถั่วคุณภาพ เช่น อัลมอนด์ ซึ่งช่วยในการเสริมสร้างสารในระบบภูมิคุ้มกัน
  • รักษาร่างกายให้อบอุ่นอยู่เสมอ และในช่วงที่มีการระบาดของโรค เช่น ไข้หวัด คุณแม่ควรหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ชุมชนแออัด หรือถ้าจำเป็นก็ต้องสวมหน้ากากอนามัยป้องกัน
  • สารอาหารที่ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน เช่น วิตามิน C พบในผลไม้ เช่น ส้ม มะนาว บร็อคโคลี่ มะเขือเทศ, Beta-Carotene พบในแครอท ฟักทอง ผักใบเขียวสดๆ แคนตาลูป มะละกอสุก, วิตามิน E พบในน้ำมันมะกอก ข้าวโพด, วิตามิน B6 พบในกล้วย นม ตับ ธัญพืช เป็นต้น
  • หากเป็นหวัดหรือไข้หวัดเรื้อรัง มีการศึกษาว่าการทานวิตามิน C วันละ 2,000 มิลลิกรัม ช่วยลดระยะเวลาการป่วย, ต้านการหลั่งสาร Histamine จึงลดอาการคัดจมูก จาม น้ำมูกไหลและลดสารก่อภูมิแพ้ลงได้  ร้อยละ 38 ในหนึ่งสัปดาห์

       นอกจากนี้ แคลเซียมยังช่วยเพิ่มการดูดซึมธาตุเหล็กซึ่งจำเป็นสำหรับคุณแม่ท้องอีกด้วย

 


บทความอื่นๆ ที่สนใจ 

พัฒนาการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 32

พัฒนาการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 34

 

 

บทความแนะนำ

หลังผ่าคลอดกินอะไรได้บ้าง แม่หลังคลอดทานอะไรให้แผลหายเร็ว

หลังผ่าคลอดกินอะไรได้บ้าง แม่หลังคลอดทานอะไรให้แผลหายเร็ว

หลังผ่าคลอดกินอะไรได้บ้าง คำถามหลังผ่าคลอดที่คุณแม่มือใหม่มักกังวลใจ หลังผ่าคลอดกินอะไรได้บ้าง เมนูอาหารแบบไหนที่คุณแม่ผ่าคลอดกินได้ และควรหลีกเลี่ยงหลังผ่าคลอด

12 เมนูอาหารคนท้อง บำรุงคุณแม่ อาหารคนท้องที่ดีต่อลูกในครรภ์

12 เมนูอาหารคนท้องบำรุงคุณแม่ อาหารคนท้อง ดีต่อลูกในครรภ์

รวมเมนูอาหารคนท้อง ช่วยบำรุงครรภ์คุณแม่ให้แข็งแรงและสมบูรณ์ เพื่อให้ลูกน้อยในครรภ์ได้รับโภชนาการที่ดีและครบถ้วน เมนูคนท้องและอาหารคนท้องอะไรบ้างที่ดีกับลูก ไปดูกัน

วันตกไข่ คืออะไร นับวันตกไข่อย่างไรให้แม่นยำ ไม่มีพลาด

วันตกไข่ คืออะไร นับวันตกไข่อย่างไรให้แม่นยำ ไม่มีพลาด

ใครอยากมีลูกต้องอ่าน วันตกไข่ คืออะไร ทำไมถึงสำคัญ อาการแบบไหนถึงรู้ว่าตัวเองอยู่ในช่วงวันตกไข่ และนับวันตกไข่แบบไหน ช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ให้คนที่อยากมีลูก

วิธีนับอายุครรภ์ คำนวณอายุครรภ์ด้วยตัวเอง ก่อนคลอด

วิธีนับอายุครรภ์ คำนวณอายุครรภ์ด้วยตัวเอง ก่อนคลอด

วิธีการนับอายุครรภ์คืออะไร ทำไมคุณแม่ต้องรู้และวิธีคำนวณอายุครรภ์ที่ถูกต้อง นับแบบไหนได้บ้าง เพื่อให้คุณแม่วางแผนการคลอดและติดตามพัฒนาการของลูกในครรภ์ได้อย่างแม่นยำ

แผลฝีเย็บหลังคลอด ดูแลอย่างไรให้ปลอดภัย แผลหายเร็ว

แผลฝีเย็บหลังคลอด ดูแลอย่างไรให้ปลอดภัย แผลหายเร็ว

แผลฝีเย็บหลังคลอด ดูแลอย่างไรให้ปลอดภัย แผลหายเร็ว

ผ่าคลอดดีไหม ผ่าคลอดเจ็บไหม ดูแลแผลผ่าคลอดอย่างไร

ผ่าคลอดดีไหม ผ่าคลอดเจ็บไหม ดูแลแผลผ่าคลอดอย่างไร

ไขข้อสงสัยเกี่ยวกับการ ผ่าคลอด พร้อมคำแนะนำต่างๆ เพื่อเตรียมพร้อมให้คุณแม่มั่นใจเมื่อผ่าคลอด

แม่ท้องพร้อม เข้าใจอาการคนท้อง

แม่ท้องพร้อม! วิธีดูแลครรภ์ จัดการกับความกังวล เข้าใจอาการคนท้อง

เคล็ดลับการดูแลครรภ์ วิธีจัดการกับความกังวล รวมไปถึงการรับมือกับอาการคนท้อง