พัฒนาการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 38

พัฒนาการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 38

พัฒนาการการตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์  พัฒนาการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 38  

headphones
อ่าน 2 นาที

พัฒนาการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 38         

 

 ยอดมดลูกซึ่งเคยสูงถึงระดับยอดอก อาจเริ่มเลื่อนต่ำลง เนื่องจากส่วนนำ ไม่ว่าจะเป็นท่าศีรษะหรือก้น เริ่มเลื่อนลงสู่กระดูกอุ้งเชิงกราน คุณแม่บางท่านอาจรู้สึกปวดบริเวณสะโพก และกระดูกหัวหน่าวมากจนก้าวขาหรือขยับเปลี่ยนท่าไม่ได้เพราะเจ็บมาก แนะนำให้คุณแม่จัดท่านั่งบนเก้าอี้ พิงพนักพิงและหาฐานรองเท้า เพื่อให้เป็นท่านั่งงอเข่าและสะโพก ไม่ให้เกิดแรงกดลงบริเวณหัวหน่าว  สำหรับท่านอน แนะนำให้คุณแม่นอนในท่านอนตะแคงซ้าย เพื่อเพิ่มเลือดไปเลี้ยงมดลูก ทำให้มดลูกคลายตัว ลูกจะไม่ถูกดันลงมากดกระดูกเชิงกรานและหัวหน่าวมาก

พัฒนาการลูก


ลูกมีความยาว 48 ซม. และผิวหนังหนาขึ้น และเริ่มเป็นสีชมพู ผมและเล็บงอกยาวขึ้น

พัฒนาการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 38

 


Tips

เนื่องจากเป็นช่วงที่อายุครรภ์ครบกำหนดแล้ว คุณแม่ที่ไม่มีข้อห้ามในการคลอดจึงต้องเตรียมพร้อมที่จะไปโรงพยาบาลเสมอหากมีอาการผิดปกติ ซึ่งมีรายละเอียดการเตรียมตัว ดังนี้คุณแม่ควรเตรียมสมุดฝากครรภ์ และผลเลือดทุกอย่างไว้ในรถ หรือกระเป๋าที่พกติดตัวไว้เสมอ เพื่อจะได้นำไปโรงพยาบาลเมื่อมีอาการเจ็บครรภ์

  • ของใช้ส่วนตัวของคุณพ่อและคุณแม่ สำหรับค้างคืนที่โรงพยาบาล
  • เสื้อผ้า ผ้าอ้อม ถุงเท้า ผ้าเช็ดตัว ผ้าห่อตัวของลูก
  • แผ่นซับน้ำนม ขี้ผึ้งทาปาก ผ้าอนามัยแบบแถบกาว เนื่องจากในช่วงวันแรก 24 ชั่วโมงแรกหลังคลอด คุณหมอจะเฝ้าระวังภาวะตกเลือดหลังคลอดจากการไม่หดรัดตัวหรือมดลูกนิ่มหลังคลอด จึงต้องใช้ผ้าอนามัยแบบมีสายห่วงที่เอว เพื่อให้ทีมแพทย์และพยาบาล สามารถเฝ้าสังเกตปริมาณเลือดและน้ำคาวปลา ด้วยการเปิดดูปริมาณเลือดที่ผ้าอนามัยได้ตลอดว่าไม่มีการตกเลือด ซึ่งเมื่อครบ 24 ชั่วโมงและไม่พบการตกเลือด คุณแม่จะสามารถเปลี่ยนเป็นผ้าอนามัยแบบแถบกาว เพราะจะสวมสะดวก และไม่ต้องมีสายรัดที่เอว ซึ่งในวันที่ 2มีการลุกเดิน จะทำให้เจ็บจากสายรัดได้ หากเปลี่ยนเป็นแบบแถบกาว จะเดินได้สะดวกขึ้นและไม่มีอาการเจ็บ

 


 

บทความอื่นๆ ที่สนใจ 

พัฒนาการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 3

พัฒนาการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 39 

อ้างอิง

บทความโดยแพทย์หญิง ธิศรา  วีรสมัย
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้าน สูตินรีเวช เวชศาสตร์ครอบครัว 
และเวชศาสตร์ชะลอวัย โรงพยาบาลพญาไท 1

บทความแนะนำ

หลังผ่าคลอดกินอะไรได้บ้าง  แม่หลังคลอดทานอะไรให้แผลหายเร็ว

หลังผ่าคลอดกินอะไรได้บ้าง แม่หลังคลอดทานอะไรให้แผลหายเร็ว

หลังผ่าคลอดกินอะไรได้บ้าง  คำถามหลังผ่าคลอดที่คุณแม่มือใหม่มักกังวลใจ หลังผ่าคลอดกินอะไรได้บ้าง  เมนูอาหารแบบไหนที่คุณแม่ผ่าคลอดกินได้ และควรหลีกเลี่ยงหลังผ่าคลอด

12 เมนูคนท้อง อาหารคนท้องบำรุงคุณแม่ท้อง ดีต่อลูกในครรภ์

12 เมนูอาหารคนท้องบำรุงคุณแม่ อาหารคนท้อง ดีต่อลูกในครรภ์

รวมเมนูคนท้อง อาหารคนท้อง ช่วยบำรุงครรภ์คุณแม่ให้แข็งแรงและสมบูรณ์ เพื่อให้ลูกน้อยในครรภ์ได้รับโภชนาการที่ดีและครบถ้วน ไปดูเมนูคนท้องและอาหารคนท้องที่ดีกับลูกกัน

วันตกไข่ คืออะไร คุณแม่นับวันตกไข่อย่างไรให้แม่นยำ ไม่มีพลาด

วันตกไข่ คืออะไร คุณแม่นับวันตกไข่อย่างไรให้แม่นยำ ไม่มีพลาด

วันตกไข่ คืออะไร อาการแบบไหนที่บอกว่าคุณแม่อยู่ในช่วงวันตกไข่ พร้อมวิธีนับวันตกไข่ให้แม่นยำสำหรับคุณแม่มือใหม่ ช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ ให้คุณแม่ที่อยากมีลูก

6 วิธีนับอายุครรภ์ คำนวณอายุครรภ์ด้วยตัวเอง ก่อนคลอด

6 วิธีนับอายุครรภ์ คำนวณอายุครรภ์ด้วยตัวเอง ก่อนคลอด

วิธีการนับอายุครรภ์คืออะไร ทำไมคุณแม่ต้องรู้และวิธีคำนวณอายุครรภ์ที่ถูกต้อง นับแบบไหนได้บ้าง เพื่อให้คุณแม่วางแผนการคลอดและติดตามพัฒนาการของลูกในครรภ์ได้อย่างแม่นยำ

แผลฝีเย็บหลังคลอด คุณแม่ดูแลอย่างไรให้ปลอยภัย ฝีเย็บหายไว ไม่ติดเชื้อ

แผลฝีเย็บหลังคลอด คุณแม่ดูแลอย่างไรให้ปลอดภัย ฝีเย็บหายไว ไม่ติดเชื้อ

รู้จักกับแผลฝีเย็บ คุณแม่หลังคลอด ดูแลแผลฝีเย็บอย่างไรให้หายไว ปลอดภัยและไม่ติดเชื้อ พร้อมวิธีดูแลแผลฝีเย็บให้แห้งเร็ว ลดความเสี่ยงการติดเชื้อ สำหรับคุณแม่มือใหม่

ผ่าคลอดดีไหม ผ่าคลอดเจ็บไหม ดูแลแผลผ่าคลอดอย่างไร

ผ่าคลอดดีไหม ผ่าคลอดเจ็บไหม ดูแลแผลผ่าคลอดอย่างไร

ไขข้อสงสัยเกี่ยวกับการ ผ่าคลอด พร้อมคำแนะนำต่างๆ เพื่อเตรียมพร้อมให้คุณแม่มั่นใจเมื่อผ่าคลอด

แม่ท้องพร้อม เข้าใจอาการคนท้อง

แม่ท้องพร้อม! วิธีดูแลครรภ์ จัดการกับความกังวล เข้าใจอาการคนท้อง

เคล็ดลับการดูแลครรภ์ วิธีจัดการกับความกังวล รวมไปถึงการรับมือกับอาการคนท้อง