ผ่าคลอดเจ็บไหม ผ่าคลอดดีไหม แม่ผ่าคลอดดูแลแผลผ่าคลอดยังไงดี

ผ่าคลอดเจ็บไหม ข้อดีของการผ่าคลอด พร้อมดูแลแผลให้หายดี

ผ่าคลอดเจ็บไหม ข้อดีของการผ่าคลอด พร้อมดูแลแผลให้หายดี

คุณแม่ให้นมบุตร
บทความ
ส.ค. 21, 2024
4นาที

คุณแม่ตั้งครรภ์ส่วนใหญ่มักเกิดความกังวลต่าง ๆ เกี่ยวกับวิธีการคลอดบุตร ทั้งในเรื่องความปลอดภัยของลูกน้อย ความเจ็บปวดขณะคลอด รวมไปถึงการส่งผลต่อน้ำนมแม่ด้วย โดยทั่วไปวิธีคลอดธรรมชาติเป็นวิธีที่ดีที่สุดหากไม่มีความจำเป็นทางการแพทย์ แต่ก็มีหลายสาเหตุที่คุณหมออาจจำเป็นต้องผ่าคลอด ในปัจจุบันการผ่าคลอดเป็นวิธีการคลอดลูกอีกแบบหนึ่งที่ได้รับความนิยม เนื่องจากความต้องการของคุณแม่ เช่น สามารถระบุวัน หรือเวลาที่ต้องการคลอดได้ อีกทั้งยังทำให้สามารถเตรียมความพร้อมในการต้อนรับสมาชิกตัวน้อยเข้าสู่ครอบครัวได้อีก การผ่าคลอดจึงเป็นวิธีการคลอดที่ได้รับความนิยมสำหรับคุณแม่ในปัจจุบัน

 

สรุป

  • การ “ผ่าคลอด” เป็นวิธีการคลอดลูกแบบหนึ่งที่ได้รับความนิยม เพราะคุณแม่สามารถวางแผนการคลอดได้ล่วงหน้า สามารถเตรียมความพร้อมในการต้อนรับสมาชิกตัวน้อยเข้าสู่ครอบครัว
  • วิธีการบล็อกหลัง เป็นการช่วยบรรเทาความเจ็บปวดทั้งช่วงเวลาก่อนคลอด และระหว่างผ่าคลอด อีกทั้งมีความปลอดภัย เพราะตัวยาไม่ส่งผ่านไปสู่ทารกในครรภ์
  • คุณแม่ตั้งครรภ์โดยทั่วไป สามารถผ่าคลอดได้มากกว่าหนึ่งครั้ง ทั้งนี้ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อประเมินการคลอดและวางแผนการรักษาที่เหมาะสมตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์
  • แผลผ่าคลอดทั่วไปจะมีอาการเจ็บปวดทุเลาลงภายใน 48 ชั่วโมง และไม่ควรโดนน้ำ ไม่แกะแผลก่อนคุณหมอนัดตรวจแผล

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

การผ่าคลอดเจ็บไหม

เมื่อพูดถึงการผ่าคลอด คุณแม่หลาย ๆ ท่านคงมีคำถามว่าผ่าคลอดเจ็บไหมและมีความกังวลเกี่ยวกับการเจ็บปวดในระหว่างผ่าคลอด รวมไปถึงเจ็บแผลหลังผ่าคลอด ซึ่งปัจจุบันมีวิธีการลดความเจ็บปวดทั้งช่วงเวลาก่อนคลอด และระหว่างผ่าคลอด ด้วยวิธีการบล็อกหลัง หรือชื่อภาษาอังกฤษ คือ Spinal Anesthesia หรือ Spinal Block ซึ่งจะช่วยให้คุณแม่บรรเทาความเจ็บปวดในระหว่างคลอดได้เป็นอย่างดี โดยไม่ต้องไปกดการหายใจ ไม่มีอาการง่วงซึมเหมือนกับการดมยาสลบ อีกทั้งมีความปลอดภัย เพราะตัวยาไม่ส่งผ่านไปสู่ทารกในครรภ์ โดยก่อนทำการผ่าคลอด คุณหมอจะประเมินความพร้อมทางร่างกายและจิตใจของคุณแม่ ว่าควรเลือกใช้วิธีการใดในการลดความเจ็บปวดขณะผ่าคลอด ที่มีความเหมาะสมและปลอดภัยต่อคุณแม่และลูกน้อยมากที่สุด

 

วิธีช่วยลดความเจ็บปวด ก่อนคุณแม่ผ่าคลอด

1. การดมยาสลบ

เป็นการลดความเจ็บปวดขณะผ่าคลอดโดยทำให้คุณแม่ไม่รู้สึกตัว หรือเป็นการทำให้หมดสติไป ซึ่งคุณแม่จะได้ไม่รู้สึกกลัวกับบรรยากาศห้องผ่าคลอด ลดความเครียดวิตกกังวลได้ ซึ่งจะต้องอาศัยวิสัญญีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการดมยาสลบ และใส่ท่อช่วยหายใจในขณะที่ไม่รู้สึกตัว ทั้งนี้เมื่อยาหมดฤทธิ์ คุณแม่อาจมีอาการเจ็บแผลผ่าคลอดมากกว่าวิธีการบล็อกหลังได้ เนื่องจากยาสลบจะไปกดสมองไม่ให้รู้สึกเจ็บปวด รวมไปถึงผลข้างเคียงเล็กน้อย เช่น ระคายคอ เสียงแหบ ไอ จากการสอดท่อช่วยหายใจได้

 

2. การบล็อกหลัง

วิสัญญีแพทย์จะทำการฉีดยาระงับความรู้สึกเข้าไปในช่องไขสันหลัง ทำให้คุณแม่รู้สึกชาบริเวณกลางลำตัวจนถึงขา แต่ลำตัวช่วงบนจะมีความรู้สึกตามปกติ สามารถสื่อสารกับคุณหมอในระหว่างผ่าคลอดได้ และคุณแม่ยังสามารถได้พบหน้าลูกน้อยทันทีหลังคลอดอีกด้วย ซึ่งวิธีการบล็อกหลัง จะช่วยให้ไม่เจ็บแผลทันทีหลังผ่าคลอด เนื่องจากฤทธิ์ของยาชาที่ยังคงไปกดระบบประสาทอยู่ แต่อาจมีผลข้างเคียง เช่น อาการคลื่นไส้หรืออาเจียน ปัสสาวะไม่ออก ซึ่งคุณแม่อาจจะได้รับการสวนสายปัสสาวะร่วมด้วย

 

คุณแม่ผ่าคลอดได้กี่ครั้ง

คุณแม่ตั้งครรภ์โดยทั่วไป สามารถผ่าคลอดได้หลายครั้ง แต่หากเคยผ่าคลอดมาแล้ว 3 ครั้ง อาจมีความเสี่ยงต่ออาการแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้ เนื่องจากหลังจากการผ่าคลอดแต่ละครั้ง จะเกิดพังผืดขึ้นสำหรับอวัยวะภายใน ซึ่งจะดึงอวัยวะเข้ามาใกล้มดลูกมากขึ้น ดังนั้น เมื่อมีการผ่าคลอดซ้ำ ๆ คุณแม่อาจมีความเสี่ยงในการผ่าไปโดนอวัยวะที่อยู่ใกล้มดลูก เช่น กระเพาะปัสสาวะ หรือระบบทางเดินอาหาร คุณแม่จึงควรปรึกษาคุณหมอและร่วมวางแผนการรักษาที่เหมาะสมตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์

 

คุณแม่ผ่าคลอดเจ็บแผลนานไหม ผ่าคลอดเจ็บไหม กี่วันหาย

 

คุณแม่ผ่าคลอดเจ็บแผลนานไหม กี่วันหาย

เมื่อได้ยินคำว่า “ผ่าคลอด” คุณแม่หลายท่านมักจินตนาการถึงความเจ็บปวดมากมายว่าผ่าคลอดเจ็บไหม แต่ด้วยวิทยาการทางการแพทย์ในปัจจุบัน คุณหมอจะมีวิธีการในการช่วยลดความเจ็บปวดขณะคลอดได้ ซึ่งจะทำให้คุณแม่ฟื้นตัวได้ภายใน 12 ชั่วโมง และสามารถออกจากโรงพยาบาลหลังผ่าตัดคลอดได้ภายใน 4 วัน โดยแผลผ่าคลอดทั่วไปอาการเจ็บปวดจะค่อย ๆ ทุเลาลงภายใน 48 ชั่วโมง และคุณแม่ควรลุก นั่ง ยืน เดินอย่างช้า ๆ เพื่อช่วยไม่ให้แผลตึงเกินไป

 

นอกจากนี้ยังสามารถใช้ผ้ารัดหน้าท้องเพื่อช่วยลดความเจ็บปวดของแผลผ่าได้ ข้อควรระวังคือ ไม่ควรโดนน้ำ และไม่แกะแผลก่อนคุณหมอนัดตรวจแผล หลังผ่าคลอดคุณแม่ไม่ควรยกของหนักหรือทำให้หน้าท้องเกร็งในช่วงนี้ด้วย เพราะอาจจะทำให้แผลอักเสบได้ แต่หากมีอาการปวดแผล บวมแดง อักเสบ มีหนองหรือเลือดออก ควรรีบพบแพทย์ทันที

 

ข้อดีของการผ่าคลอด

  • คุณแม่สามารถวางแผนการคลอดลูกได้ล่วงหน้า ช่วยคลายความกังวล ลดความเครียดในการคลอดลูกได้
  • ลดความเสี่ยงต่อการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ และลดการยืดหย่อนของเชิงกราน
  • ลดความเจ็บปวดทั้งช่วงก่อนคลอด ซึ่งคุณแม่ไม่ต้องรอปากมดลูกเปิดแบบการคลอดธรรมชาติ อีกทั้ง ขณะทำการผ่าคลอดคุณหมอจะมีวิธีการช่วยลดความเจ็บปวดให้ได้
  • ปัญหาเพศสัมพันธ์หลังคลอดลูกลดลง

 

ข้อเสียของการผ่าคลอด

  • ต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาลหลังผ่าคลอดและใช้เวลาในการฟื้นตัวนานกว่าการคลอดธรรมชาติ
  • ทารกในครรภ์อาจมีพัฒนาการที่ยังไม่พร้อม
  • ความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อน เช่น การติดเชื้อ เสียเลือดมาก

 

การผ่าคลอดมีทั้งข้อดีและข้อเสีย สิ่งสำคัญที่สุด คือ คุณแม่ควรปรึกษาคุณหมอในการประเมินความจำเป็นในการผ่าคลอด และร่วมวางแผนการคลอดตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ โดยพิจารณาจากประวัติสุขภาพของคุณแม่ สุขภาพของทารกในครรภ์ และประวัติการคลอดลูก เพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อคุณแม่และลูกน้อยมากที่สุด รวมถึงคุณแม่ที่ผ่าคลอดยังสามารถเตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อยให้มีพัฒนาการทางสมองและมีภูมิคุ้มกันเหมือนเด็กที่คลอดแบบธรรมชาติได้อีกด้วย

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ผ่าคลอด

 

 

อ้างอิง:

  1. 5 ข้อดีของการ “ผ่าคลอด” ที่คุณแม่ควรทราบ, โรงพยาบาลเปาโล
  2. ผ่าคลอด สิ่งที่คุณแม่ตั้งครรภ์ควรรู้, โรงพยาบาลสมิติเวช
  3. ผ่าคลอด! ดมยาสลบหรือบล็อกหลังดี?, โรงพยาบาลศิครินทร์
  4. ผ่าคลอดกี่ครั้งถึงไม่อันตราย?..รวมเรื่องน่ารู้ก่อนเตรียมตัวผ่าคลอด, โรงพยาบาลพญาไท
  5. คำถามยอดฮิตที่คุณแม่ผ่าคลอดอยากรู้, โรงพยาบาลศิครินทร์
  6. ข้อแตกต่างของการผ่าคลอดและการคลอดตามธรรมชาติ, โรงพยาบาลเมดพาร์ค
  7. สมองและภูมิคุ้มกันของเด็กผ่าคลอด, S-Mom Club

อ้างอิง ณ วันที่ 1 กรกฎาคม 2567
 

บทความที่เกี่ยวข้อง

View details ลูกไม่ยอมเข้าเต้า ทำยังไงดี พร้อมวิธีช่วยให้ลูกดูดเต้าได้ดีขี้น
บทความ
ลูกไม่ยอมเข้าเต้า ทำยังไงดี พร้อมวิธีช่วยให้ลูกดูดเต้าได้ดีขี้น

ลูกไม่ยอมเข้าเต้า ทำยังไงดี พร้อมวิธีช่วยให้ลูกดูดเต้าได้ดีขี้น

ลูกไม่ยอมเข้าเต้า ลูกไม่ยอมดูดเต้า เกิดจากอะไร วิธีไหนบ้างที่ช่วยให้ลูกเข้าเต้าได้ง่ายขึ้นและลดปัญหาลูกไม่ยอมดูดเต้านมแม่ ไปดูวิธีเอาลูกเข้าเต้าที่ถูกต้องกัน

2นาที อ่าน

View details ผ่าคลอดกินข้าวเหนียวได้ไหม แผลจะหายช้าหรือเปล่า
บทความ
ผ่าคลอดกินข้าวเหนียวได้ไหม แผลจะหายช้าหรือเปล่า

ผ่าคลอดกินข้าวเหนียวได้ไหม แผลจะหายช้าหรือเปล่า

คุณแม่ผ่าคลอดกินข้าวเหนียวได้ไหม จริงไหมที่แม่ผ่าคลอดกินข้าวเหนียวแล้วแผลจะอักเสบ ไปดูกันว่าผ่าคลอดกินข้าวเหนียวได้ไหม พร้อมวิธีช่วยให้แผลหายเร็ว

7นาที อ่าน

View details ท่อน้ำนมอุดตัน ภาวะท่อน้ำนมตันของคุณแม่ให้นมหลังคลอด
บทความ
ท่อน้ำนมอุดตัน ภาวะท่อน้ำนมตันของคุณแม่ให้นมหลังคลอด

ท่อน้ำนมอุดตัน ภาวะท่อน้ำนมตันของคุณแม่ให้นมหลังคลอด

ท่อน้ำนมอุดตัน ท่อน้ำนมตัน เกิดจากอะไร คุณแม่ควรทำอย่างไร เมื่อน้ำนมส่วนหน้าอุดตันไม่ไหล ไปดูสาเหตุและอาการของท่อน้ำนมอุดตัน พร้อมวิธีแก้ไข

5นาที อ่าน

View details กลากน้ำนม เกิดจากอะไร พร้อมวิธีดูแลเกลื้อนน้ำนมในเด็ก
บทความ
กลากน้ำนม เกิดจากอะไร พร้อมวิธีดูแลเกลื้อนน้ำนมในเด็ก

กลากน้ำนม เกิดจากอะไร พร้อมวิธีดูแลเกลื้อนน้ำนมในเด็ก

กลากน้ำนม คืออะไร กลากน้ำนม เกลื้อนน้ำนม หรือเกลื้อนแดด พบได้บ่อยในเด็กอายุ 3-14 ปี เป็นโรคผิวหนังชนิดหนึ่ง คุณพ่อคุณแม่สามารถช่วยป้องกันการเกิดโรคกลากน้ำนมได้

7นาที อ่าน

View details คุณแม่ปวดหลังหลังคลอด พร้อมวิธีบรรเทาอาการปวดหลังหลังคลอด
บทความ
คุณแม่ปวดหลังหลังคลอด พร้อมวิธีบรรเทาอาการปวดหลังหลังคลอด

คุณแม่ปวดหลังหลังคลอด พร้อมวิธีบรรเทาอาการปวดหลังหลังคลอด

ปวดหลังหลังคลอด เกิดจากอะไร คุณแม่ผ่าคลอดปวดหลังหลังผ่าคลอดทันที จะเป็นอันตรายกับร่างกายไหม พร้อมวิธีบรรเทาอาการปวดหลังหลังคลอดที่แม่ควรรู้

5นาที อ่าน

View details หัวนมแตก เจ็บหัวนม พร้อมวิธีดูแลเต้านมเมื่อต้องให้นมลูก
บทความ
หัวนมแตก เจ็บหัวนม พร้อมวิธีดูแลเต้านมเมื่อต้องให้นมลูก

หัวนมแตก เจ็บหัวนม พร้อมวิธีดูแลเต้านมเมื่อต้องให้นมลูก

หัวนมแตก เจ็บหัวนมหลังให้นมลูก เกิดจากอะไร คุณแม่สามารถบรรเทาอาการเจ็บหัวนมและหัวนมแตกด้วยตัวเองได้ไหม ไปดูสาเหตุที่ทำให้คุณแม่หัวนมแตกกัน

6นาที อ่าน

View details น้ำนมส่วนหน้าและน้ำนมส่วนหลังต่างกันยังไง เรื่องน้ำนมที่แม่ต้องรู้
บทความ
น้ำนมส่วนหน้าและน้ำนมส่วนหลังต่างกันยังไง เรื่องน้ำนมที่แม่ต้องรู้

น้ำนมส่วนหน้าและน้ำนมส่วนหลังต่างกันยังไง เรื่องน้ำนมที่แม่ต้องรู้

นมส่วนหน้าและนมส่วนหลังต่างกันอย่างไร น้ำนมของคุณแม่หลังคลอดมีทั้งหมดกี่ระยะ น้ำนมส่วนหน้าและน้ำนมส่วนหลัง มีประโยชน์กับลูกน้อยอย่างไร ไปดูกัน

7นาที อ่าน

View details ทารกแหวะนม ทารกสำลักนมอันตรายไหม ปัญหากวนใจที่แม่รับมือได้
บทความ
ทารกแหวะนมบ่อย อันตรายหรือไม่ ปัญหากวนใจที่คุณแม่รับมือได้

ทารกแหวะนม ทารกสำลักนมอันตรายไหม ปัญหากวนใจที่แม่รับมือได้

ทารกแหวะนม ทารกสำลักนมบ่อย อาการแหวะนมของลูก เกิดจากอะไรได้บ้าง ลักษณะแบบไหนที่บ่งบอกว่าลูกเริ่มมีอาการผิดปกติ พร้อมวิธีรับมือเมื่อลูกแหวะนม

2นาที อ่าน

View details ผดร้อนทารก ลูกเป็นผื่นเม็ดเล็ก ๆ คัน ดูแลลูกแบบไหนให้ถูกวิธี
บทความ
ผดร้อนทารก ลูกเป็นผื่นเม็ดเล็ก ๆ คัน ดูแลลูกแบบไหนให้ถูกวิธี

ผดร้อนทารก ลูกเป็นผื่นเม็ดเล็ก ๆ คัน ดูแลลูกแบบไหนให้ถูกวิธี

ผดร้อนทารก ลูกเป็นผื่นเม็ดเล็ก ๆ คัน เกิดจากอะไร สาเหตุอะไรได้บ้าง ที่ทำให้ลูกมีผดร้อนทารกและลูกเป็นผื่นเม็ดเล็ก ๆ คัน พร้อมวิธีดูแลลูกน้อย เมื่อลูกมีผื่นคัน

11นาที อ่าน

View details วิธีให้ลูกดูดขวดนม เมื่อลูกติดเต้า พร้อมวิธีรับมือลูกน้อย
บทความ
วิธีให้ลูกดูดขวดนม เมื่อลูกติดเต้า พร้อมวิธีรับมือลูกน้อย

วิธีให้ลูกดูดขวดนม เมื่อลูกติดเต้า พร้อมวิธีรับมือลูกน้อย

รวมวิธีให้ลูกดูดขวดนม เมื่อลูกติดเต้าไม่ดูดขวดนม คุณแม่สามารถฝึกให้ลูกดูดนมแม่จากขวดได้ ไปดูวิธีให้ลูกดูดขวดนมด้วยตัวเอง ก่อนคุณแม่กลับไปทำงานกัน

4นาที อ่าน

View details เด็กแรกเกิดกินนมกี่ออนซ์ ปริมาณนมทารกเท่าไหร่เรียกว่าพอดี
บทความ
เด็กแรกเกิดกินนมกี่ออนซ์ ปริมาณนมทารกเท่าไหร่เรียกว่าพอดี

เด็กแรกเกิดกินนมกี่ออนซ์ ปริมาณนมทารกเท่าไหร่เรียกว่าพอดี

เด็กแรกเกิดกินนมกี่ออนซ์ ลูกน้อยควรกินนมเท่าไหร่ถึงพอดี และได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอ ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย ไปดูปริมาณนมทารกที่เหมาะสมกัน

7นาที อ่าน

View details การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ พร้อมวิธีให้นมลูกที่ถูกต้อง
บทความ
การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ พร้อมวิธีให้นมลูกและการเก็บน้ำนม

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ พร้อมวิธีให้นมลูกที่ถูกต้อง

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ คุณแม่ควรให้นมลูกตั้งแต่แรก 6 เดือนแรก เพราะน้ำนมแม่คือวัคซีนเข็มแรกที่ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันลูก ไปดูเทคนิคการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่กัน

2นาที อ่าน

View details วิธีนวดเปิดท่อน้ำนม นวดเต้าหลังคลอด แก้ไขปัญหาคุณแม่น้ำนมน้อย
บทความ
วิธีนวดเปิดท่อน้ำนม แก้ไขปัญหาคุณแม่น้ำนมน้อย น้ำนมไม่ไหล

วิธีนวดเปิดท่อน้ำนม นวดเต้าหลังคลอด แก้ไขปัญหาคุณแม่น้ำนมน้อย

รวมวิธีนวดเปิดท่อน้ำนมและนวดเต้าหลังคลอด คุณแม่มือใหม่สามารถนวดกระตุ้นน้ำนมและนวดเปิดท่อน้ำนมได้อย่างไรบ้าง ไปดูวิธีนวดเต้าหลังคลอดที่ถูกต้องกัน

2นาที อ่าน

View details ลูกมีผื่นคันขึ้นตามตัวแต่ไม่มีไข้ เกิดจากอะไร พร้อมวิธีดูแล
บทความ
ลูกมีผื่นคันขึ้นตามตัวแต่ไม่มีไข้ เกิดจากอะไร พร้อมวิธีดูแล

ลูกมีผื่นคันขึ้นตามตัวแต่ไม่มีไข้ เกิดจากอะไร พร้อมวิธีดูแล

ลูกมีผื่นคันขึ้นตามตัวแต่ไม่มีไข้ บางครั้งมีผื่นแดงขึ้นตามตัวและคัน ทำให้คุณพ่อคุณแม่เป็นกังวลว่าลูกเป็นอะไร ไปดูวิธีดูแลเมื่อลูกมีผื่นคันขึ้นตามตัวแต่ไม่มีไข้

7นาที อ่าน

View details แพ้แลคโตส คืออะไร อาการแพ้แลคโตสทารก ที่แม่ต้องรู้
บทความ
แพ้แลคโตส คืออะไร อาการแพ้แลคโตสทารก ที่แม่ต้องรู้

แพ้แลคโตส คืออะไร อาการแพ้แลคโตสทารก ที่แม่ต้องรู้

ลูกแพ้แลคโตส คืออะไร อาการแพ้แลคโตสทารก เกิดจากอะไรได้บ้าง คุณแม่มีวิธีรับมือกับอาการแพ้แลคโตสทารกอย่างไร พร้อมวิธีป้องกันเมื่อลูกแพ้แลคโตสในนม

9นาที อ่าน

View details วิธีบีบน้ำนมด้วยมือ บีบนมอย่างไรให้ถูกวิธี ช่วยกระตุ้นน้ำนมคุณแม่
บทความ
วิธีบีบน้ำนม บีบนมอย่างไรให้ถูกวิธี ช่วยกระตุ้นน้ำนมคุณแม่

วิธีบีบน้ำนมด้วยมือ บีบนมอย่างไรให้ถูกวิธี ช่วยกระตุ้นน้ำนมคุณแม่

วิธีบีบน้ำนมสำหรับคุณแม่ บีบนมด้วยมือแบบไหนช่วยกระตุ้นน้ำนมคุณแม่ได้ และช่วยลดการคัดเต้านมได้ดี ช่วยให้คุณแม่สามารถสต๊อกนมให้ลูกได้อย่างปลอดภัย

2นาที อ่าน

View details คัดเต้ากี่วันหาย อาการคัดเต้านม พร้อมวิธีบรรเทาสำหรับคุณแม่
บทความ
คัดเต้ากี่วันหาย อาการคัดเต้านม พร้อมวิธีบรรเทาสำหรับคุณแม่

คัดเต้ากี่วันหาย อาการคัดเต้านม พร้อมวิธีบรรเทาสำหรับคุณแม่

อาการคัดเต้านมหรืออาการนมคัด เกิดจากอะไร คุณแม่มือใหม่คัดเต้ากี่วันหาย ไปดูวิธีบรรเทาอาการคัดเต้านมของคุณแม่และสาเหตุที่ทำให้คุณแม่เต้านมคัดกัน

6นาที อ่าน

View details ตารางกินนมทารก ลูกควรกินนมแม่วันละกี่ครั้ง ปริมาณเท่าไหร่
บทความ
ตารางกินนมทารก ลูกควรกินนมแม่วันละกี่ครั้ง ปริมาณเท่าไหร่

ตารางกินนมทารก ลูกควรกินนมแม่วันละกี่ครั้ง ปริมาณเท่าไหร่

แจกตารางกินนมทารกและตารางให้นมทารก ในแต่ละวันลูกควรกินนมแม่วันละกี่ครั้งและปริมาณเท่าไหร่ถึงเหมาะสม เพื่อให้ลูกได้รับสารอาหารที่ดีและครบถ้วน

2นาที อ่าน

View details วิธีจับลูกเรอ ท่าอุ้มเรอ ท่าจับลูกเรอ ช่วยให้ลูกสบายท้องหลังอิ่มนม
บทความ
วิธีจับลูกเรอ ท่าอุ้มเรอ ท่าจับลูกเรอ ช่วยให้ลูกสบายท้องหลังอิ่มนม

วิธีจับลูกเรอ ท่าอุ้มเรอ ท่าจับลูกเรอ ช่วยให้ลูกสบายท้องหลังอิ่มนม

วิธีจับลูกเรอ ท่าอุ้มเรอ เมื่อลูกไม่เรอสำหรับลูกน้อย ช่วยป้องกันอาการแหวะนม ไปดูวิธีจับลูกเรอและท่าอุ้มเรอที่ช่วยให้ลูกเรอง่ายและท้องไม่อืดหลังกินนม

4นาที อ่าน