น้ำนมใส คืออะไร สีน้ำนมแม่ ประโยชน์ของน้ำนมส่วนหน้า ที่แม่ควรรู้

น้ำนมใส คืออะไร สีน้ำนมแม่และประโยชน์ของน้ำนมส่วนหน้า

25.03.2024

นมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก เพราะนมแม่อุดมไปด้วยสารอาหารมากกว่า 200 ชนิด เช่น ดีเอชเอ แคลเซียม วิตามิน และสฟิงโกไมอีลิน สำหรับคุณแม่ที่คลอดลูกน้อยใหม่อาจสงสัยว่าทำไมนมของแม่มีหลายสีมาก ช่วงแรก ๆ ทำไมถึงมีสีเหลือง หลัง ๆ มาถึงเป็นสีขาวข้นบ้าง น้ำนมใสบ้าง น้ำนมแม่แต่ละสีต่างกันอย่างไร วันนี้อยากจะชวนคุณแม่มาทำความรู้จักกับน้ำนมสีต่าง ๆ ของคุณแม่ และคุณประโยชน์ของน้ำนมแต่ละสี

headphones

PLAYING: น้ำนมใส คืออะไร สีน้ำนมแม่และประโยชน์ของน้ำนมส่วนหน้า

อ่าน 6 นาที

 

สรุป

  • น้ำนมแม่ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ น้ำนมส่วนหน้าและน้ำนมส่วนหลัง ซึ่งในแต่ละส่วนประกอบด้วยสารอาหารที่ต่างกัน เพื่อการเติบโตที่แข็งแรง ภูมิคุ้มกันที่ดี และพัฒนาทางสมองอย่างต่อเนื่องคุณแม่ควรให้ลูกน้อยกินนมแม่ทั้งสองส่วน
  • วิธีที่จะทำให้ลูกน้อยสามารถกินนมแม่ได้ครบส่วน คือ การให้ลูกน้อยได้กินนมให้เกลี้ยงเต้าโดยการให้ลูกกินนมแม่นานครั้งละ 10-15 นาที หรือปั๊มนมบ่อย ๆ เพื่อให้ลูกน้อยได้ทั้งนมส่วนหน้าและส่วนหลังอย่างครบถ้วน

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

น้ำนมใสที่คุณแม่เห็นเรียกว่า “น้ำนมส่วนหน้า” น้ำนมส่วนนี้มีน้ำเป็นองค์ประกอบมาก อุดมไปด้วยสารอาหารมากกว่า 200 ชนิด เช่น ดีเอชเอ แคลเซียม วิตามินและสฟิงโกไมอีลิน ที่ช่วยให้ลูกน้อยมีพัฒนาการทางสมองที่ดี และช่วยกระตุ้นการขับถ่าย เพียงแต่มีปริมาณไขมันที่ต่ำกว่า “น้ำนมส่วนหลัง”

 

ความแตกต่างของน้ำนมส่วนหน้า และน้ำนมส่วนหลัง

ปกติแล้วนมแม่แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ

  • นมส่วนหน้า (Foremilk): เป็นนมที่ไหลในช่วงแรกที่แม่ให้นมลูก น้ำนมส่วนนี้จะมีสีขาวค่อนข้างใส มีไขมันต่ำ คาร์โบไฮเดรตสูง และมีปริมาณน้ำนมที่มากกว่านมส่วนหลัง และยังอุดมไปด้วยสารอาหารที่สำคัญต่อการเติบโตและพัฒนาการของสมองทารก
  • นมส่วนหลัง (Hindmilk): นมส่วนนี้จะมีสีขาวที่ข้นขึ้น โดยจะไหลออกมาหลังจากคุณแม่ให้นมลูกได้ระยะหนึ่งแล้ว จึงมีความข้นที่มากกว่า ในนมส่วนหลังนี้เป็นแหล่งของสารอาหารจำพวกโปรตีนและไขมันที่มีปริมาณมากกว่านมส่วนหน้า ทั้งยังให้พลังงานที่เยอะกว่าอีกด้วย

 

ทำไมน้ำนมใส ถึงมีปริมาณไขมันต่ำ

น้ำนมส่วนหน้า (Foremilk) มีลักษณะใส เนื่องจากมีน้ำเป็นองค์ประกอบมากถึง 80 % และมีปริมาณไขมันต่ำกว่า อีกทั้งน้ำนมส่วนหน้ายังมีวิตามินและแร่ธาตุที่เพียงพอกับความต้องการของลูกน้อยและมีน้ำตาลแลคโตส ที่ช่วยพัฒนาสมอง และระบบประสาทส่วนกลางอีกด้วย

 

ประโยชน์ของน้ำนมใสสำหรับลูกน้อย

น้ำนมใส หรือน้ำนมส่วนหน้าเป็นแหล่งโภชนาการที่ดีสำหรับลูกน้อย มีส่วนช่วยในเรื่องของ

  1. การพัฒนาสมอง และระบบประสาทส่วนกลาง
  2. ช่วยกระตุ้นการขับถ่ายของลูกน้อย
  3. ดูดซึมและย่อยได้ง่าย

 

ประโยชน์ของน้ำนมใสสำหรับลูกน้อย

 

ลูกกินแต่น้ำนมส่วนหน้าไป จะเกิดอะไรขึ้น

ในนมส่วนหน้าเป็นนมส่วนที่มีปริมาณน้ำมาก เมื่อคุณแม่ให้ลูกน้อยกินแต่นมส่วนหน้าจะทำให้ทารกรู้สึกหิวนมบ่อย ๆ เนื่องจากนมส่วนนี้ย่อยได้ง่าย การดื่มนมส่วนหน้ามากเกินไปอาจจะเป็นสาเหตุให้เกิดลมในช่องท้อง ซึ่งนำไปสู่อาการ ท้องอืด และจุกเสียดท้องทารกปัสสาวะหรืออุจจาระเหลวอีกด้วย

 

ลูกน้อยจะได้รับสารอาหารครบถ้วนจากน้ำนมแม่

1. ให้ลูกเข้าเต้านาน ๆ

คุณแม่ควรให้ลูกเข้าเต้าและให้นมลูกนาน ๆ ข้างละประมาณ 10-20 นาที หรือนานเท่าที่ลูกน้อยต้องการ และควรให้นมลูกบ่อย ๆ ทุก 3-4 ชั่วโมง หรือตามที่ลูกน้อยต้องการ หลังจากนั้นค่อย ๆ ลดความถี่ให้นมลงให้เหลือครั้งละ 6-10 ครั้ง

 

2. ให้ลูกดูดนมจนเกลี้ยงเต้า

เพื่อให้ลูกน้อยได้รับประโยชน์จากนมแม่สูงสุด คุณแม่ควรให้ลูกน้อยได้กินนมทั้งส่วนหน้าและนมส่วนหลัง เพราะจะทำให้เด็กได้รับสารอาหารที่เหมาะสมกับการเติบโตของลูกน้อยอย่างครบถ้วน โดยพยายามให้ลูกดูดนมจนเกลี้ยงเต้าข้างใดข้างหนึ่งก่อน แล้วค่อยสลับให้ลูกน้อยกินอีกข้าง วิธีนี้นอกจากจะช่วยให้ลูกกินนมได้เกลี้ยงเต้าแล้ว ยังเป็นการกระตุ้นการผลิตน้ำนมแม่ได้ดีและได้นานอีกด้วย

 

3. ใช้วิธีการปั๊มนมให้เกลี้ยงเต้าสต๊อกเก็บไว้

ในช่วงสัปดาห์แรกหลังคลอดคุณแม่สามารถปั๊มนมให้ลูกน้อยได้เลยหลังจากให้ลูกน้อยกินนมเป็นระยะเวลา 10-15 นาที ถัดมาอีก 30 วันแรกหลังคลอดให้คุณแม่เน้นพาลูกเข้าเต้ายังไม่ต้องปั๊ม เนื่องจากทารกตื่นบ่อย ๆ หลังจากนั้นเป็นช่วงเวลาของคุณแม่นักปั๊มสำหรับเก็บสต็อกนมให้ลูกน้อย เพราะลูกน้อยหลับได้ยาวนานยิ่งขึ้น โดยคุณแม่สามารถปั๊มนมให้ลูกน้อยได้ 2 วิธีด้วยกัน คือ

  • วิธีที่ 1: ปั๊มนมทันทีหลังจากลูกน้อยกินนมแม่ไปได้ 10-15 นาที
  • วิธีที่ 2: ปั๊มนมทั้ง 2 ข้าง ๆ ละ 10-15 นาที หลังจากลูกน้อยเข้าเต้าไปแล้ว 1 ชั่วโมง

 

ทำความเข้าใจเกี่ยวกับสีน้ำนมแม่

  • สีเหลือง: น้ำนมสีนี้ เรียกว่า “โคลอสตรัม” เป็นหัวน้ำนมที่เกิดขึ้นในช่วงแรกหลังจากคุณแม่คลอดลูก ซึ่งน้ำนมส่วนนี้ประกอบไปด้วยสารอาหารที่ช่วยเรื่องการเติบโตของทารก เสริมสร้างความแข็งแรง และสร้างภูมิต้านทานได้ดี
  • สีเขียว: เกิดจากอาหารที่คุณแม่กินเข้าไปในปริมาณมาก เช่น ผักใบเขียว สาหร่ายทะเล หรือวิตามิน เป็นต้น
  • สีดำ: หากคุณแม่ปั๊มนมแล้วเห็นเป็นสีดำอาจมีสาเหตุมาจากยาที่คุณแม่ทานเข้าไป หรือสีเลือดที่เข้มข้น
  • สีชมพู ส้ม แดง: สาเหตุเกิดจากอาหารที่คุณแม่ทานเข้าไปทำให้น้ำนมกลายเป็นสีชมพู สีส้ม หรือสีแดง หรืออาจเกิดจากสาเหตุอื่น เช่น เส้นเลือดฝอยแตกจากการปั๊มนม หัวนมแตกทำให้มีเลือดปน ปกติแล้วสีของน้ำนมจะกลายมาเป็นสีขาวภายในระยะเวลา 2-3 วัน หากน้ำนมคุณแม่ยังคงมีสีแดงนานกว่านั้นให้ปรึกษาคุณหมอเพื่อขอคำแนะนำและวิธีการรักษาต่อไป
  • สีน้ำตาล: หากน้ำนมของคุณแม่มีสีน้ำตาลอาจหมายถึงสีของเลือดในน้ำนมแม่

 

น้ำนมส่วนหน้าเป็นน้ำนมแรกที่ลูกน้อยจะได้รับจากการเข้าเต้า เมื่อลูกน้อยดูดนมแม่นานขึ้นจะทำให้เด็กได้รับน้ำนมส่วนหลังที่มีปริมาณไขมันที่สูงกว่าในน้ำนมส่วนหน้า ดังนั้น เพื่อให้ลูกน้อยได้รับสารอาหารในนมแม่มากกว่า 200 ชนิด เช่น ดีเอชเอ แคลเซียม วิตามิน และสฟิงโกไมอีลิน ในครั้งเดียว คุณแม่ควรให้ลูกเข้าเต้านาน ๆ เพื่อให้ได้รับทั้งน้ำนมส่วนหน้าและน้ำนมส่วนหลังในปริมาณที่เหมาะสมกับความต้องการของทารก

 

 บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ให้นม

 

 

อ้างอิง:

  1. นมแม่ ประโยชน์คูณสอง ได้ทั้งแม่ ดีทั้งลูก, โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ สภากาชาดไทย
  2. การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่, คณะแพทย์แผนไทย มหาวิทยาละยสงขลานครินทร์
  3. What to Know About Foremilk and Hindmilk, webmd
  4. ความรัก เริ่มต้นจากการป้อนนม…, FHS
  5. ปัญหาและวิธีแก้ กับเรื่อง “นมแม่” ที่ต้องอ่าน, โรงพยาบาลสมิติเวช
  6. WHEN DOES THE BREAST MILK OF A MOTHER DRY UP COMPLETELY?, amri hospitals
  7. วิธีเก็บสต็อกนมแม่ ต้องทำอย่างไร, โรงพยาบาลวิชัยเวช อินเตอร์แนชั่นแนล อ้อมน้อย
  8. Unusual colours (appearance) and smells of breastmilk, Australian Breastfeeding Association
  9. น้ำนมส่วนหน้า หกับน้ำนมส่วนหลัง ต่างกันอย่างไร, premierehomehealthcare

อ้างอิง ณ วันที่ 20 มกราคม 2567

บทความแนะนำ

ลูกกัดเต้าเป็นแผลมีหนอง ลูกกัดหัวนมทำยังไงดี พร้อมวิธีดูแลตัวเอง

ลูกกัดเต้าเป็นแผลมีหนอง ลูกกัดหัวนมทำยังไงดี พร้อมวิธีดูแลตัวเอง

ลูกกัดเต้าเป็นแผลมีหนอง ทำยังไงดี ลูกกัดเต้าจนหัวนมแม่เป็นแผล คุณแม่ให้นมลูกต่อได้ไหม ทำไมลูกถึงชอบกัดหัวนมแม่ พร้อมวิธีรับมือเมื่อลูกกัดเต้าเป็นแผล

คุณแม่เจ็บแผลทำหมันกี่วัน พร้อมวิธีดูแลตัวเองหลังทำหมัน

คุณแม่เจ็บแผลทำหมันกี่วัน พร้อมวิธีดูแลตัวเองหลังทำหมัน

คุณแม่เจ็บแผลทำหมันกี่วัน ใช้เวลานานแค่ไหนกว่าแผลทำหมันจะหายดี เจ็บแผลทำหมัน พร้อมวิธีดูแลตัวเองหลังทำหมันที่ถูกต้อง ช่วยให้แผลหายเร็วและปลอดภัย

ประจำเดือนหลังคลอด จะกลับมาเมื่อไหร่ พร้อมวิธีดูแลตัวเอง

ประจำเดือนหลังคลอด จะกลับมาเมื่อไหร่ พร้อมวิธีดูแลตัวเอง

ประจำเดือนหลังคลอดจะกลับมาเมื่อไหร่ ประจำเดือนครั้งแรกหลังคลอดเป็นแบบไหน คุณแม่มีอาการประจำเดือนหลังคลอดมา ๆ หาย ๆ อันตรายไหม พร้อมวิธีดูแลตัวเองหลังคลอด

วิธีไล่ลมในท้องทารก เมื่อลูกน้อยมีอาการท้องอืด ไม่สบายท้อง

วิธีไล่ลมในท้องทารก เมื่อลูกน้อยมีอาการท้องอืด ไม่สบายท้อง

วิธีไล่ลมในท้องทารก คุณพ่อคุณแม่ทำยังไงได้บ้าง เมื่อลูกน้อยรู้สึกท้องอืด ไม่สบายท้อง การไล่ลมในท้องทารกต้องทำยังไง ไปดูวิธีไล่ลมในท้องทารก ช่วยให้ลูกสบายท้องกัน

หลังคลอดเลือดออกเป็นก้อนลิ่ม เลือดออกหลังคลอด 1-2 เดือน อันตรายไหม

หลังคลอดเลือดออกเป็นก้อนลิ่ม เลือดออกหลังคลอด 1-2 เดือน อันตรายไหม

คุณแม่หลังคลอดเลือดออกเป็นก้อน หลังคลอด 1 เดือน และหลังคลอด 2 เดือน มีเลือดออกนิดหน่อย เลือดออกหลังคลอด 1-2 เดือน ปกติไหม ไปเช็กอาการคุณแม่เลือดออกเป็นก้อนกัน

คนท้องเป็นริดสีดวงอันตรายไหม แม่ท้องเป็นริดสีดวงสังเกตยังไง

คนท้องเป็นริดสีดวงอันตรายไหม แม่ท้องเป็นริดสีดวงสังเกตยังไง

แม่ท้องเป็นริดสีดวง เกิดจากอะไร คุณแม่ท้องจะรู้ได้อย่างไรว่าตัวเองเป็นริดสีดวง พร้อมวิธีสังเกตริดสีดวงคนท้อง พร้อมวิธีป้องกันริดสีดวงคนท้องระหว่างตั้งครรภ์

ลูกพูดช้า ลูกรู้ทุกอย่างแต่ลูกไม่พูด แบบนี้ผิดปกติไหม

ลูกพูดช้า ลูกรู้ทุกอย่างแต่ลูกไม่พูด แบบนี้ผิดปกติไหม

ลูกพูดช้า ส่งผลต่อพัฒนาการของลูกน้อยไหม ลูกไม่พูดสักที จะเป็นอันตรายหรือเปล่า เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง พร้อมวิธีฝึกลูกพูดตามช่วงวัย เสริมพัฒนาการลูกน้อย

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก