น้ำนมส่วนหน้าและน้ำส่วนหลัง แตกต่างกันอย่างไร เรื่องน้ำนมที่แม่ต้องรู้

น้ำนมส่วนหน้าและน้ำนมส่วนหลังต่างกันยังไง เรื่องน้ำนมที่แม่ต้องรู้

น้ำนมส่วนหน้าและน้ำนมส่วนหลังต่างกันยังไง เรื่องน้ำนมที่แม่ต้องรู้

คุณแม่ให้นมบุตร
บทความ
ก.พ. 17, 2024
7นาที

น้ำนมแม่มีความสำคัญกับทารก เพราะอุดมไปด้วยสารอาหาร ช่วยในการเจริญเติบโต เสริมสร้างภูมิต้านทานให้ลูกน้อยแข็งแรง โดยน้ำนมส่วนหน้า และน้ำนมส่วนหลัง ต่างก็มีประโยชน์ และมีความสำคัญ คุณแม่จึงควรให้ลูกกินนมจนเกลี้ยงเต้า หรือปั๊มนมให้หมด เพื่อให้ลูกได้รับสารอาหารครบถ้วนในทุก ๆ มื้อ

 

สรุป

  • นมแม่มีสารอาหารมากกว่า 200 ชนิด เช่น ดีเอชเอ วิตามิน แคลเซียม และสฟิงโกไมอีลิน ซึ่งช่วยในการพัฒนาสมอง สติปัญญา และการเจริญเติบโตของลูก
  • น้ำนมแม่มีประโยชน์ต่อสุขภาพทารก โดยเฉพาะ 6 เดือนแรกของชีวิต ที่ต้องได้รับน้ำนมแม่เพียงอย่างเดียวอย่างเพียงพอ
  • การให้ลูกเข้าเต้าดูดนมแม่ ยังมีประโยชน์ต่อคุณแม่ ช่วยลดความเสี่ยงของโรค เช่น โรคกระดูกพรุนและโรคมะเร็งเต้านม
  • น้ำนมส่วนหน้า น้ำนมส่วนหลัง มีประโยชน์ที่แตกต่างกัน ลูกควรได้รับทั้งน้ำนมส่วนหน้า ส่วนหลัง ในปริมาณที่เหมาะสม

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

ประโยชน์ของน้ำนมแม่มีอยู่มากมาย เป็นอาหารหลักสำหรับลูกน้อย 6 เดือนแรกแห่งชีวิต และควรให้นมแม่เสริมกับอาหารตามวัยที่ปลอดภัยตั้งแต่อายุ 6 เดือน จนถึง 2 ปีหรือนานกว่านั้นเพราะน้ำนมแม่เปรียบได้กับวัคซีนหยดแรก โดยองค์การอนามัยโลก (WHO) และยูนิเซฟ (UNICEF) แนะนำ ดังนี้

  1. ลูกควรได้รับนมแม่ทันทีหลังคลอดภายใน 1 ชั่วโมงแรก
  2. ลูกควรได้รับนมแม่เป็นอาหารหลักเพียงอย่างเดียวในช่วง 6 เดือนแรกของชีวิต
  3. หลังจากนั้น ลูกควรได้รับนมแม่ควบคู่กับอาหารตามวัยที่ปลอดภัย มีคุณค่าทางสารอาหารที่เหมาะสมกับวัย ได้จนถึง 2 ปีหรือนานกว่านั้น

 

ประโยชน์ของนมแม่ สุดยอดอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการเหมาะสมกับลูก

  • น้ำนมแม่ มีสารอาหารที่เหมาะสม มีองค์ประกอบทางโภชนาการที่ครบถ้วน มีสารต้านอนุมูลอิสระ วิตามินต่าง ๆ จุลินทรีย์ที่ดีต่อระบบต่าง ๆ ของร่างกาย
  • เสริมภูมิคุ้มกันโรคให้กับร่างกาย เสริมสร้างแอนติบอดี (Antibody) ต่อต้านอาการเจ็บป่วย เช่น ไข้หวัด การติดเชื้อจากแบคทีเรีย และไวรัสบางชนิด
  • ลดความเสี่ยงการเกิดโรค เช่น ลดความเสี่ยงการเกิดโรคภูมิแพ้ และลดการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ
  • ช่วยพัฒนาสมอง โดยมีงานวิจัยพบว่า ทารกที่กินนมแม่มีพัฒนาการทางสมอง และเชาว์ปัญญาดี (IQ) นมแม่ยังช่วยให้พัฒนาการทางสมองและเซลล์สมบูรณ์
  • นมแม่ช่วยให้ทารกมีพัฒนาการทางร่างกาย มีกระดูกและกล้ามเนื้อที่แข็งแรง
  • ช่วยพัฒนาการมองเห็นของทารก
  • น้ำนมส่วนหน้า ส่วนหลัง ยังมีสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ เช่น แอนตี้ออกซิแดนท์ (Antioxidant) และโกรทแฟคเตอร์ (Growth Factor) ที่ช่วยเรื่องการทำงานของระบบต่าง ๆ ได้แก่ การทำงานของระบบทางเดินลำไส้ ระบบประสาท ระบบฮอร์โมนที่ควบคุมการเจริญเติบโต รวมทั้งเส้นเลือด
  • ลดการเกิดปัญหาสุขภาพ เช่น ท้องเสีย ลำไส้อักเสบ
  • ช่วยให้ลูกมีระบบขับถ่ายที่ดี
  • การเข้าเต้าดูดนมแม่จากอก ดีต่อสุขภาพช่องปากและฟัน
  • ลดความเสี่ยงการเกิดโรคเมื่อเติบโตขึ้น เช่น โรคอ้วน โรคความดัน โรคเบาหวาน และโรคไขมันในเลือดสูง

 

น้ำนมแม่ มีประโยชน์กับแม่อย่างไร

นอกจากประโยชน์ที่ทารกได้รับจากการกินนมแม่ ตัวคุณแม่เองก็ยังได้รับสิ่งดี ๆ จากการให้นมลูกเช่นกัน ได้แก่

  • การให้นมแม่ช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน
  • ลดการเกิดมะเร็งเต้านมได้
  • คุณแม่ที่ให้นมลูกยังสามารถลดน้ำหนักได้ด้วย เพราะร่างกายของแม่ที่ผลิตน้ำนม ใช้พลังงานสูงเกือบ 500 กิโลแคลอรี จึงดึงพลังงานจากไขมันที่สะสมมาใช้ ทำให้รูปร่างดีขึ้น อาจกลับมามีสัดส่วนเทียบเท่ากับช่วงก่อนการตั้งครรภ์ได้เร็วขึ้น
  • ฮอร์โมนออกซิโทซิน (Oxytocin) ที่หลั่งออกมาตอนให้นมลูก จะช่วยให้มดลูกเข้าอู่ได้เร็วขึ้น ฮอร์โมนชนิดนี้ยังช่วยให้คุณแม่รู้สึกผ่อนคลาย บรรเทาภาวะซึมเศร้าหลังคลอด ตามชื่อที่เรียกกันว่า ฮอร์โมนแห่งความรัก คุณแม่จึงมีความสุข เกิดความรัก ความผูกพัน ทำให้สายสัมพันธ์แม่และลูกแน่นแฟ้น
  • มีผลการวิจัยว่า การให้นมลูกหลังคลอด ช่วยให้คุณแม่ลดความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งรังไข่ได้ รวมถึงลดโอกาสการเกิดโรคระยะยาว เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด และโรคเบาหวาน

 

น้ำนมระยะหัวน้ำนม (Colostrums)

สารอาหารในน้ำนมแม่จะเปลี่ยนแปลงไปตามช่วงเวลาหลังคลอด ผ่านกระบวนการสร้างน้ำนม เกิดจากการหลั่งฮอร์โมนกระตุ้น โดยน้ำนมระยะที่ 1 เกิดขึ้นภายใน 1-3 วันแรก น้ำนมในระยะหัวน้ำนมจะมีสีออกเหลือง จึงมีอีกชื่อหนึ่งว่า น้ำนมเหลือง มีประโยชน์ดังนี้

  • น้ำนมส่วนหน้าจะมีแคโรทีนสูงกว่าน้ำนมส่วนหลัง
  • อุดมไปด้วยโปรตีนสร้างระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย
  • มีเกลือแร่ วิตามิน รวมถึงสารอาหารที่จำเป็นสำหรับทารก
  • มีสารอาหารช่วยในการเจริญเติบโตทางสมองและการมองเห็น
  • ช่วยขับขี้เทาของทารก

 

ระยะน้ำนมปรับเปลี่ยน (Transitional milk)

น้ำนมระยะ 2 หรือ Transitional milk จะเกิดขึ้นในช่วง 5 วัน จนถึงประมาณ 2 สัปดาห์แรกหลังคลอด โดยสีของน้ำนมจะเปลี่ยนจากสีเหลืองเป็นสีขาวขุ่น สารอาหารที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ไขมันและน้ำตาล ดีต่อการเจริญเติบโตของร่างกายทารก

 

ระยะน้ำนมแม่ (Mature milk)

น้ำนมระยะที่ 3 ร่างกายของคุณแม่จะผลิตขึ้นหลัง 2 สัปดาห์แรก คุณแม่จะสังเกตได้ว่า น้ำนมแม่มีปริมาณมากขึ้น ประโยชน์ของน้ำนม ยังประกอบด้วยสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโต เช่น

  • โปรตีนในน้ำนมมีส่วนช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อโรคบางชนิด
  • น้ำนมระยะที่ 3 ช่วยเพิ่มภูมิต้านทาน และมีเอนไซม์ทำลายผนังเซลล์ของแบคทีเรียได้
  • กรดไขมันในน้ำนมแม่ เช่น DHA (Docosahexaenoic Acid) และ AA (Arachidonic Acid) จะช่วยพัฒนาระบบประสาท รวมถึงการมองเห็นได้ด้วย
  • มีน้ำตาลแลคโตส ภายในนมแม่มีโอลิโกแซคคาไรด์หรือคาร์โบไฮเดรตสายสั้น (Human Milk Oligosaccharides หรือ HMOs) กว่า 200 ชนิด สำคัญต่อร่างกายของลูก ดีต่อการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์และแบคทีเรียที่สร้างระบบภูมิคุ้มกัน
  • มีวิตามิน ได้แก่ A, B1, B2, B6, B12, C, D, E และ K อีกทั้งมีแร่ธาตุจำพวก เหล็ก แคลเซียม และไอโอดีน ซึ่งมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของทารก

 

น้ำนมส่วนหน้า (Foremilk)

  • น้ำนมส่วนหน้า (Foremilk) เป็นน้ำนมแม่ที่ลูกได้รับในการดูดนมจากเต้านมในช่วงต้น ๆ ลักษณะของน้ำนมส่วนหน้าจะเหลวและใสกว่า มีไขมันน้อย แต่มีน้ำตาลแลคโตสมากกว่าจึงช่วยพัฒนาการสมองและระบบประสาท อีกทั้งยังช่วยในการดูดซึมแคลเซียม ธาตุเหล็ก และโอลิโกแซคคาไรด์ ช่วยให้จุลินทรีย์ชนิดดีเติบโตเพื่อต่อสู้กับจุลินทรีย์ก่อโรค

 

น้ำนมส่วนหลัง (Hindmilk)

  • น้ำนมส่วนหลัง (Hindmilk) จะเป็นน้ำนมที่ได้รับในช่วงท้าย ๆ ลักษณะของน้ำนมส่วนหลังจะข้นกว่า จากการศึกษาพบกว่า มีปริมาณไขมันมากกว่าน้ำนมส่วนหน้าประมาณ 1.5-3 เท่า ซึ่งไขมันในน้ำนมส่วนหลังจะถูกใช้เป็นแหล่งพลังงานหลักในการเจริญเติบโตของร่างกายทารก

 

สำหรับน้ำนมส่วนหน้าและน้ำนมส่วนหลัง เมื่อถูกผลิตภายในต่อมน้ำนมจะไหลผ่านท่อน้ำนมออกมาทางหัวนม การไหลของน้ำนมส่วนหน้า ส่วนหลังไม่มีระยะเวลาที่ชัดเจน แต่การแบ่งส่วนของน้ำนมส่วนหน้า ส่วนหลัง จะมีไขมันค่อย ๆ เพิ่มปริมาณมากขึ้นทีละนิดตลอดการดูดนมของทารกหรือการปั๊มนม คุณแม่จึงไม่ต้องกังวล เพราะร่างกายจะสร้างน้ำนมส่วนหน้า ส่วนหลัง ให้สมดุลกับความต้องการของลูก

 

วิธีปั๊มนมแม่อย่างไรให้ได้นมส่วนหลัง

  • การปั๊มนมให้ได้นมส่วนหลังควรปั๊มให้เกลี้ยงเต้า
  • ปั๊มนมในช่วงเวลากลางวันทุก 3-4 ชั่วโมง และควรปั๊มนมในเวลากลางคืนเฉพาะตอนที่คุณแม่คัดเต้านม เพื่อให้นอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ
  • ระยะเวลาในการปั๊มนมแต่ละครั้งจะอยู่ที่ 15-30 นาที จนสังเกตได้ว่าเต้านมนุ่ม แสดงว่าน้ำนมเกลี้ยงเต้าแล้ว เพื่อให้ได้น้ำนมส่วนหน้า ส่วนหลัง

 

น้ำนมแม่ มีสารอาหารสำคัญมากมาย ทารกในวัย 6 เดือนแรก ควรได้รับน้ำนมแม่ในปริมาณที่เพียงพอ ทั้งน้ำนมส่วนหน้า น้ำนมส่วนหลัง เพื่อให้ได้รับประโยชน์จากนมแม่อย่างเพียงพอ หากลูกเข้าเต้าอย่างถูกต้อง ไม่เอาลูกออกจากเต้าเร็วเกินไป ก็จะได้รับสารอาหารจากน้ำนมส่วนหน้า ส่วนหลัง หรือการปั๊มนมในแต่ละครั้ง ควรปั๊มนมให้เกลี้ยงเต้า เพียงเท่านี้ลูกก็จะได้รับสารอาหารสำคัญครบถ้วน

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

 

 

อ้างอิง:

  1. นมแม่แน่แค่หกเดือน จริงหรือ?, Unicef
  2. นมแม่ ประโยชน์คูณสอง ได้ทั้งแม่ ดีทั้งลูก, โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
  3. “น้ำนมแม่” ประโยชน์แท้จากธรรมชาติ, กรมอนามัย
  4. รู้จักนมส่วนหน้าและส่วนหลัง กับประโยชน์ที่แตกต่าง, มูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย
  5. เคล็ดลับการบีบหรือปั๊มนมแม่ การเก็บรักษาน้ำนม, โรงพยาบาลศิครินทร์

อ้างอิง ณ วันที่ 7 มกราคม 2567

บทความที่เกี่ยวข้อง

View details คัดเต้ากี่วันหาย อาการคัดเต้านม พร้อมวิธีบรรเทาสำหรับคุณแม่
บทความ
คัดเต้ากี่วันหาย อาการคัดเต้านม พร้อมวิธีบรรเทาสำหรับคุณแม่

คัดเต้ากี่วันหาย อาการคัดเต้านม พร้อมวิธีบรรเทาสำหรับคุณแม่

อาการคัดเต้านมหรืออาการนมคัด เกิดจากอะไร คุณแม่มือใหม่คัดเต้ากี่วันหาย ไปดูวิธีบรรเทาอาการคัดเต้านมของคุณแม่และสาเหตุที่ทำให้คุณแม่เต้านมคัดกัน

6นาที อ่าน

View details ท่าให้นมลูก ท่านอนให้นม พร้อมท่าจับเรอ ป้องกันลูกน้อยท้องอืด
บทความ
ท่าให้นมลูก ท่านอนให้นม พร้อมท่าจับเรอ ป้องกันลูกน้อยท้องอืด

ท่าให้นมลูก ท่านอนให้นม พร้อมท่าจับเรอ ป้องกันลูกน้อยท้องอืด

6 ท่าให้นมลูกน้อยอย่างถูกวิธี ให้ลูกอิ่มสบาย พร้อมวิธีจับลูกเรอหลังกินนม ช่วยป้องกันอาการเด็กท้องอืด คุณแม่ทำตามง่าย ไปดูท่าให้นมลูกสำหรับแม่มือใหม่กัน

2นาที อ่าน

View details ลูกเป็นผื่นแดงทั้งตัว ปัญหาผื่นทารก พร้อมวิธีดูแลลูก
บทความ
ลูกเป็นผื่นแดงทั้งตัว ปัญหาผื่นทารก พร้อมวิธีดูแลลูก

ลูกเป็นผื่นแดงทั้งตัว ปัญหาผื่นทารก พร้อมวิธีดูแลลูก

ผื่นทารกหรือผื่นแพ้ในเด็ก อาการลูกเป็นผื่นแดงทั้งตัว เกิดจากอะไร ทำไมถึงเกิดขึ้นกับเล็กเด็ก ไปดูสาเหตุที่ทำให้ลูกมีผื่นทารกและผื่นแพ้ในเด็ก พร้อมวิธีดูแล

8นาที อ่าน

View details ภูมิแพ้ในเด็กเล็ก พร้อมวิธีดูแลลูก เมื่อเด็กเป็นภูมิแพ้
บทความ
ภูมิแพ้ในเด็กเล็ก พร้อมวิธีดูแลลูก เมื่อเด็กเป็นภูมิแพ้

ภูมิแพ้ในเด็กเล็ก พร้อมวิธีดูแลลูก เมื่อเด็กเป็นภูมิแพ้

ทำความรู้จักโรคภูมิแพ้ในเด็ก สาเหตุ อาการ และ 3 ข้อควรรู้เกี่ยวกับอาการภูมิแพ้ในเด็กที่เกิดขึ้นกับลูก ภูมิแพ้ในเด็กเกิดจากอะไร พร้อมวิธีดูแลลูกน้อยเบื้องต้น

13นาที อ่าน

View details น้ำนมแม่อยู่ได้กี่ชั่วโมง เก็บได้นานแค่ไหน พร้อมวิธีการเก็บนมแม่
บทความ
น้ำนมแม่อยู่ได้กี่ชั่วโมง เก็บได้นานแค่ไหน พร้อมวิธีการเก็บนมแม่

น้ำนมแม่อยู่ได้กี่ชั่วโมง เก็บได้นานแค่ไหน พร้อมวิธีการเก็บนมแม่

น้ำนมแม่อยู่ได้กี่ชั่วโมง น้ำนมแม่เก็บได้นานแค่ไหน อยากเก็บนมแม่ให้อยู่ได้นาน ๆ มีวิธีไหนบ้างที่ช่วยรักษาคุณภาพของน้ำนม ไปดูวิธีการเก็บนมแม่ที่ถูกต้องกัน

7นาที อ่าน

View details นมสำหรับเด็กผ่าคลอด จำเป็นกับลูกน้อยจริงไหม
บทความ
นมสำหรับเด็กผ่าคลอด จำเป็นกับลูกน้อยจริงไหม

นมสำหรับเด็กผ่าคลอด จำเป็นกับลูกน้อยจริงไหม

เด็กผ่าคลอด ต้องกินนมสำหรับเด็กผ่าคลอดจริงไหม คุณแม่จะช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและช่วยให้เด็กผ่าคลอดแข็งแรงตั้งแต่แรกคลอดได้อย่างไรบ้าง ไปหาคำตอบพร้อมกัน

7นาที อ่าน

View details ผื่นขึ้นหน้าทารก ทำไงดี พร้อมวิธีแก้ผดผื่นบนใบหน้าทารก
บทความ
ผื่นขึ้นหน้าทารก ทำไงดี พร้อมวิธีแก้ผดผื่นบนใบหน้าทารก

ผื่นขึ้นหน้าทารก ทำไงดี พร้อมวิธีแก้ผดผื่นบนใบหน้าทารก

ผื่นขึ้นหน้าทารก เกิดจากอะไร ผื่นทารก มีกี่แบบ รู้จักอาการผื่นขึ้นหน้าทารก ปัญหากวนใจคุณแม่มือใหม่ พร้อมวิธีแก้ผดผื่นบนใบหน้าทารกกัน ที่คุณแม่ควรรู้

9นาที อ่าน

View details แผลผ่าคลอดอักเสบข้างใน เจ็บแผลผ่าตัดข้างใน อันตรายไหม
บทความ
แผลผ่าคลอดอักเสบข้างใน เจ็บแผลผ่าตัดข้างใน อันตรายไหม

แผลผ่าคลอดอักเสบข้างใน เจ็บแผลผ่าตัดข้างใน อันตรายไหม

แผลผ่าคลอดอักเสบข้างในหลังผ่าคลอด เกิดจากอะไร คุณแม่เจ็บแผลผ่าตัดข้างในบ่อย จะเป็นอันตรายกับคุณแม่ในระยะยาวไหม ไปดูวิธีดูแลตัวเองเบื้องต้นกัน

5นาที อ่าน

View details วิธีเพิ่มน้ำนม กระตุ้นน้ำนมคุณแม่ จากธรรมชาติ
บทความ
วิธีเพิ่มน้ำนม กระตุ้นน้ำนมคุณแม่ จากธรรมชาติ

วิธีเพิ่มน้ำนม กระตุ้นน้ำนมคุณแม่ จากธรรมชาติ

คุณแม่น้ำนมไม่พอ ปัญหาที่สร้างความกังวลใจให้กับคุณแม่ช่วงให้นม อาหารกระตุ้นน้ำนมจากธรรมชาติ ช่วยเพิ่มน้ำนมให้คุณแม่ได้จริงไหม อาหารเพิ่มน้ำนมแม่มีอะไรบ้าง

8นาที อ่าน

View details น้ำนมใส คืออะไร สีน้ำนมแม่และประโยชน์ของน้ำนมส่วนหน้า
บทความ
น้ำนมใส คืออะไร สีน้ำนมแม่และประโยชน์ของน้ำนมส่วนหน้า

น้ำนมใส คืออะไร สีน้ำนมแม่และประโยชน์ของน้ำนมส่วนหน้า

น้ำนมใส คือ น้ำนมส่วนหน้าของคุณแม่ ดีกับระบบขับถ่ายลูก สีน้ำนมแม่สีใส อุดมไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุ คาร์โบไฮเดรต และน้ำตาลแลคโตส ช่วยพัฒนาระบบสมอง

6นาที อ่าน

View details พรีไบโอติกสำหรับเด็ก สารอาหารเสริมภูมิคุ้มกัน ดีต่อสุขภาพลูก
บทความ
พรีไบโอติกสำหรับเด็ก สารอาหารเสริมภูมิคุ้มกัน ดีต่อสุขภาพลูก

พรีไบโอติกสำหรับเด็ก สารอาหารเสริมภูมิคุ้มกัน ดีต่อสุขภาพลูก

Prebiotic คืออะไร พรีไบโอติกสำหรับเด็ก จุลินทรีย์ชนิดดี ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันและสร้างสมดุลในลำไส้ให้ลูกน้อย พรีไบโอติกเด็กมีอยู่ในอาหารหลายชนิด มีอะไรบ้าง ไปดูกัน

5นาที อ่าน

View details ลูกเป็นผื่นแพ้เหงื่อ ลูกแพ้เหงื่อตัวเอง เกิดจากอะไร พร้อมวิธีดูแล
บทความ
ลูกเป็นผื่นแพ้เหงื่อ ลูกแพ้เหงื่อตัวเอง เกิดจากอะไร พร้อมวิธีดูแล

ลูกเป็นผื่นแพ้เหงื่อ ลูกแพ้เหงื่อตัวเอง เกิดจากอะไร พร้อมวิธีดูแล

ลูกเป็นผื่นแพ้เหงื่อ เกิดจากอะไร อาการลูกแพ้เหงื่อตัวเอง มักเกิดขึ้นหลังเด็กมีเหงื่อออกตามใบหน้าและลำตัว ไปรู้จักอาการลูกเป็นผื่นแพ้เหงื่อ พร้อมวิธีดูแลลูก

8นาที อ่าน

View details เจ็บแผลผ่าตัดจี๊ด ๆ ปวดแผลผ่าคลอดหลังผ่าตัดคลอด อันตรายไหม
บทความ
เจ็บแผลผ่าตัดจี๊ด ๆ ปวดแผลผ่าคลอดหลังผ่าตัดคลอด อันตรายไหม

เจ็บแผลผ่าตัดจี๊ด ๆ ปวดแผลผ่าคลอดหลังผ่าตัดคลอด อันตรายไหม

เจ็บแผลผ่าตัดจี๊ด ๆ ปวดแผลผ่าคลอดทันทีหลังผ่าตัดคลอด คุณแม่ผ่าคลอดควรทำอย่างไร หากเจ็บแผลผ่าตัดจี๊ด ๆ และปวดแผลผ่าคลอด พร้อมวิธีดูแลตัวเอง

2นาที อ่าน

View details วิธีชงนมผงให้ลูก พร้อมขั้นตอนเตรียมน้ำชงนมที่ถูกต้อง
บทความ
วิธีชงนมผงให้ลูก พร้อมขั้นตอนเตรียมน้ำชงนมที่ถูกต้อง

วิธีชงนมผงให้ลูก พร้อมขั้นตอนเตรียมน้ำชงนมที่ถูกต้อง

วิธีชงนมผงที่ถูกต้องสำหรับคุณแม่มือใหม่ ชงนมผงให้ลูกแบบไหนปลอยภัยและป้องกันทารกท้องอืด ไม่สบายท้อง ไปดู 4 วิธีชงนมผงให้ลูกน้อย ด้วยวิธีที่ถูกต้อง

4นาที อ่าน

View details ลูกไม่ยอมเข้าเต้า ทำยังไงดี พร้อมวิธีช่วยให้ลูกดูดเต้าได้ดีขี้น
บทความ
ลูกไม่ยอมเข้าเต้า ทำยังไงดี พร้อมวิธีช่วยให้ลูกดูดเต้าได้ดีขี้น

ลูกไม่ยอมเข้าเต้า ทำยังไงดี พร้อมวิธีช่วยให้ลูกดูดเต้าได้ดีขี้น

ลูกไม่ยอมเข้าเต้า ลูกไม่ยอมดูดเต้า เกิดจากอะไร วิธีไหนบ้างที่ช่วยให้ลูกเข้าเต้าได้ง่ายขึ้นและลดปัญหาลูกไม่ยอมดูดเต้านมแม่ ไปดูวิธีเอาลูกเข้าเต้าที่ถูกต้องกัน

2นาที อ่าน

View details ผ่าคลอดเจ็บไหม ข้อดีของการผ่าคลอด พร้อมดูแลแผลให้หายดี
บทความ
ผ่าคลอดเจ็บไหม ข้อดีของการผ่าคลอด พร้อมดูแลแผลให้หายดี

ผ่าคลอดเจ็บไหม ข้อดีของการผ่าคลอด พร้อมดูแลแผลให้หายดี

ผ่าคลอดเจ็บไหม ผ่าคลอดน่ากลัวไหม คุณแม่ผ่าคลอดดีไหม มีอะไรที่คุณแม่ควรรู้ก่อนการผ่าคลอดบ้าง พร้อมข้อดีข้อเสียและวิธีดูแลแผลแม่ผ่าคลอดให้หายไว

4นาที อ่าน

View details กลากน้ำนม เกิดจากอะไร พร้อมวิธีดูแลเกลื้อนน้ำนมในเด็ก
บทความ
กลากน้ำนม เกิดจากอะไร พร้อมวิธีดูแลเกลื้อนน้ำนมในเด็ก

กลากน้ำนม เกิดจากอะไร พร้อมวิธีดูแลเกลื้อนน้ำนมในเด็ก

กลากน้ำนม คืออะไร กลากน้ำนม เกลื้อนน้ำนม หรือเกลื้อนแดด พบได้บ่อยในเด็กอายุ 3-14 ปี เป็นโรคผิวหนังชนิดหนึ่ง คุณพ่อคุณแม่สามารถช่วยป้องกันการเกิดโรคกลากน้ำนมได้

7นาที อ่าน

View details ผ่าคลอดกินข้าวเหนียวได้ไหม แผลจะหายช้าหรือเปล่า
บทความ
ผ่าคลอดกินข้าวเหนียวได้ไหม แผลจะหายช้าหรือเปล่า

ผ่าคลอดกินข้าวเหนียวได้ไหม แผลจะหายช้าหรือเปล่า

คุณแม่ผ่าคลอดกินข้าวเหนียวได้ไหม จริงไหมที่แม่ผ่าคลอดกินข้าวเหนียวแล้วแผลจะอักเสบ ไปดูกันว่าผ่าคลอดกินข้าวเหนียวได้ไหม พร้อมวิธีช่วยให้แผลหายเร็ว

7นาที อ่าน

View details ท่อน้ำนมอุดตัน ภาวะท่อน้ำนมตันของคุณแม่ให้นมหลังคลอด
บทความ
ท่อน้ำนมอุดตัน ภาวะท่อน้ำนมตันของคุณแม่ให้นมหลังคลอด

ท่อน้ำนมอุดตัน ภาวะท่อน้ำนมตันของคุณแม่ให้นมหลังคลอด

ท่อน้ำนมอุดตัน ท่อน้ำนมตัน เกิดจากอะไร คุณแม่ควรทำอย่างไร เมื่อน้ำนมส่วนหน้าอุดตันไม่ไหล ไปดูสาเหตุและอาการของท่อน้ำนมอุดตัน พร้อมวิธีแก้ไข

5นาที อ่าน