ท่อน้ำนมอุดตัน ท่อน้ำนมตัน ปัญหาคุณแม่หลังคลอด ที่คุณแม่แก้ไขได้

ท่อน้ำนมอุดตัน ท่อน้ำนมตัน ปัญหาคุณแม่หลังคลอด ที่คุณแม่แก้ไขได้

17.02.2024

อาการท่อน้ำนมอุดตันมักเกิดขึ้นกับคุณแม่ให้นมบุตร ทำให้คุณแม่รู้สึกเหมือนมีก้อนแข็งเล็ก ๆ ในเต้านม เมื่อกดแล้วเจ็บปวดและอาจมีอาการปวดจี๊ดเมื่อแม่ให้นมลูกน้อย อาการท่อน้ำนมอุดตันนี้มีโอกาสหายได้ถ้าคุณแม่ดูแลอย่างถูกวิธี และสิ่งสำคัญคือต้องดูแลอาการท่อน้ำนมอุดตันโดยเร็วที่สุด เพราะหากปล่อยให้เกิดอาการท่อน้ำนมอุดตันนาน ๆ อาจนำไปสู่โรคเต้านมอักเสบและโรคอื่น ๆ ตามมาได้

headphones

PLAYING: ท่อน้ำนมอุดตัน ท่อน้ำนมตัน ปัญหาคุณแม่หลังคลอด ที่คุณแม่แก้ไขได้

อ่าน 5 นาที

 

สรุป

  • ท่อน้ำนมอุดตันเกิดจากการที่น้ำนมไหลได้ไม่สะดวก มักแสดงอาการเจ็บบวมและมีก้อนแข็งในบริเวณเต้านม หากคุณแม่คลำที่เต้านมอาจพบก้อนแข็งและรู้สึกเจ็บเมื่อลูกน้อยกินนมแม่
  • คุณแม่ควรให้ลูกน้อยดูดนมหรือปั๊มนมบ่อย ๆ เพื่อลดสาเหตุของท่อน้ำนมอุดตัน จากการที่ร่างกายผลิตน้ำนมมากเกินไปและลูกดูดไม่เกลี้ยงเต้า ดังนั้น ทุกครั้งหลังจากคุณแม่ให้ลูกกินนมให้บีบเอาน้ำนมที่ค้างอยู่ออก เพื่อป้องกันอาการท่อน้ำนมอุดตัน
  • วิธีป้องกันไม่ให้คุณแม่เกิดอาการท่อน้ำนมอุดตัน คือ ดื่มน้ำให้เพียงพอ บีบระบายน้ำนม หลีกเลี่ยงเสื้อชั้นในแบบมีโครงหรือรัดแน่นจนเกินไป นวดเต้านมเป็นประจำ และให้ลูกน้อยดูดนมอย่างถูกวิธี เพื่อลดความเสี่ยงของอาการท่อน้ำนมอุดตัน

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

ท่อน้ำนมอุดตัน คืออะไร?

อาการของท่อน้ำนมอุดตัน เป็นอาการที่พบได้บ่อยในคุณแม่ให้นม เกิดจากที่น้ำนมไม่สามารถไหลได้สะดวก จนเกิดการอุดตันบริเวณท่อส่งน้ำนม คุณแม่จะรับรู้ได้จากการสัมผัสบริเวณเต้านม หากคลำที่เต้านมแล้วพบก้อนแข็งเป็นแผ่นหนา พอกดลงไปแล้วจะทำให้รู้สึกเจ็บมากขึ้นและเกิดอาการบวมแดงขึ้นมา แต่ไม่มีอาการไข้ บางครั้งอาจมีเส้นเลือดปูดบริเวณเต้านมอย่างเห็นได้ชัด ทำให้น้ำนมแม่ไหลได้ไม่เต็มที่ ทั้งยังรู้สึกเจ็บทุกครั้งเวลาที่ลูกน้อยกินนมแม่

 

คุณแม่ท่อน้ำนมอุดตัน มีลักษณะแบบไหน

คุณแม่ที่มีอาการท่อน้ำตัน จะมีลักษณะและอาการเบื้องต้น ที่สังเกตได้ชัด ดังนี้

  • มีก้อนแข็งบริเวณเต้านม
  • คัดเต้านม ปวดเต้านม
  • เต้านมบวมแดง แต่ไม่มีไข้
  • เมื่อกดแล้วจะรู้สึกเจ็บจี๊ดตรงที่เป็นก้อน
  • หัวนมและลานนมผิดรูปไปจากเดิม
  • บางครั้งมีเส้นเลือดปูดขึ้นชัดเจนที่บริเวณเต้านม
  • อาจเกิดจุดสีขาวขึ้นที่บริเวณหัวนม (White Dot)
  • น้ำนมไหลช้า หรือน้ำนมน้อยลง

 

สาเหตุที่ทำให้ท่อน้ำนมอุดตัน

น้ำนมอุดตันต้นเหตุของน้ำนมไหลน้อย หรือน้ำนมไหลช้าเกิดจากอะไรได้บ้าง

  • เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน: คุณแม่มักมีการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนตลอดเวลา พอหลังคลอดกว่าฮอร์โมนจะเข้าสู่ปกติอาจใช้เวลา 2-3 วันเลยทีเดียว บางครั้งฮอร์โมนอาจกระตุ้นให้เกิดการผลิตน้ำนมในปริมาณมากเมื่อคุณแม่ระบายนมออกไม่หมดจึงเกิดภาวะท่อน้ำนมอุดตันขึ้น
  • คุณแม่ให้ลูกดูดนมไม่บ่อย: แม่ให้นมบางคนอาจไม่มีเวลาให้นมลูกหรือปั๊มนมให้ลูก หรือปั๊มนมแค่ช่วงกลางวันพอตกกลางคืนไม่ได้ปั๊มนม พอคุณแม่ปล่อยให้นมค้างเต้านาน ๆ จึงเกิดท่อน้ำนมอุดตันได้
  • นมค้างเต้า ถูกระบายออกไม่หมด: ปัญหานี้เป็นสาเหตุหลักที่อาจทำให้คุณแม่เกิดท่อน้ำนมอุดตันได้ ดังนั้น คุณแม่ควรให้ลูกกินนมเกลี้ยงเต้า หากลูกกินนมอิ่มก่อนเกลี้ยงเต้าให้คุณแม่พยายามบีบเอานมออกมาให้หมดทุกครั้ง
  • ให้ลูกดูดนมอยู่ข้างเดียว: แม่ให้นมควรให้ลูกน้อยกินนมทั้งสองข้างให้นมระบายออกเท่า ๆ กัน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการท่อน้ำนมอุดตัน
  • ใส่เสื้อชั้นในรัดแน่นเกินไป: หากคุณแม่ใส่เสื้อชั้นในที่รัดแน่นเกินไปหรือสวมเสื้อชั้นในที่มีโครงอาจไปกดทับกับท่อน้ำนม ซึ่งอาจทำให้คุณแม่เกิดท่อน้ำนมอุดตันได้
  • พฤติกรรมของคุณแม่: พฤติกรรมบางอย่างของคุณแม่อาจทำให้เกิดน้ำนมอุดตันได้ เช่น ชอบกินอาหารที่มีไขมันสูง ความเครียด หรือความรู้สึกเหนื่อยมากเกินไป เป็นต้น

 

คุณแม่จะดูแลตนเองอย่างไร เมื่อท่อน้ำนมอุดตัน

หากคุณแม่ มีอาการของท่อน้ำนมตัน ให้คุณแม่ดูแลตัวเองดังนี้

  1. ประคบอุ่นที่เต้านม: ให้คุณแม่ที่มีอาการใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นประคบบริเวณเต้านม โดยใช้ความร้อนช่วยขยายท่อน้ำนมที่อุดตันให้สลายไป
  2. อาบน้ำด้วยน้ำอุ่น: การอาบน้ำอุ่นเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยให้คุณแม่สามารถบรรเทาอาการท่อน้ำนมอุดตันได้ โดยในระหว่างอาบน้ำคุณแม่อาจใช้วิธีการนวดเต้านมเพื่อสลายก้อนในบริเวณเต้านมให้น้ำนมสามารถไหลเวียนได้ง่ายขึ้น
  3. นวดคลายเต้านม: วิธีนี้จะช่วยเพิ่มการไหลของน้ำนมแม่ได้ดี เพราะการนวดจะทำให้หลอดเลือดบริเวณรอบเต้านมขยายตัวทำให้น้ำนมแม่ไหลได้สะดวก มีน้ำนมไหลมากพอให้ลูกน้อยกิน
  4. พยายามลดอาหารที่มีไขมันสูง: คุณแม่ควรหลีกเลี่ยงการทานอาหารที่มีไขมัน หวาน แป้ง และน้ำตาลมากเกินไปเพราะอาหารเหล่านี้อาจทำให้คุณแม่เสี่ยงต่ออาการท่อน้ำนมอุดตันได้

 

ท่อน้ำนมอุดตันเกิดได้แม้ลูกดูดนมและแม่ปั๊มนมตลอด

คุณแม่ที่ให้นมลูกน้อยเป็นประจำหรือปั๊มนมบ่อย ๆ สามารถเป็นท่อน้ำนมอุดตันได้ เนื่องจากทุกครั้งที่ลูกดูดนมจะไปกระตุ้นให้ร่างกายของคุณแม่ผลิตน้ำนมมากขึ้นจนทำให้คุณแม่มีน้ำนมในเต้ามากเกินไป เมื่อลูกดูดนมแม่ไม่หมดจึงมีน้ำนมค้างอยู่บริเวณรอบลานนมซึ่งเป็นต้นเหตุของอาการท่อน้ำอุดตันนั่นเอง ดังนั้น เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการท่อน้ำนมอุดตันคุณแม่ควรใช้นิ้วรีดนมออกให้เกลี้ยงเต้าหลังจากให้ลูกกินนมแม่หรือปั๊มนมให้เกลี้ยงเต้าทุกครั้ง

 

วิธีป้องกันไม่ให้เกิดท่อน้ำนมอุดตัน

วิธีป้องกันไม่ให้คุณแม่เกิดอาการท่อน้ำนมอุดตัน มีดังนี้

  • ดื่มน้ำให้เพียงพอ: เนื่องจากน้ำมีส่วนช่วยในการผลิตน้ำนมของคุณแม่เป็นอย่างมาก หากคุณแม่ดื่มน้ำน้อยเวลาที่ปั๊มนมออกมาจะเห็นตะกอนตกอยู่ในน้ำนมแม่ด้วย ซึ่งตะกอนเหล่านี้จะทำให้เกิดอาการท่อน้ำนมอุดตันขึ้น ดังนั้นเมื่อคุณแม่เห็นตะกอนออกมาจากน้ำนมเมื่อไหร่ให้รีบดื่มน้ำเยอะ ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดท่อน้ำนมอุดตัน
  • บีบระบายน้ำนม: เมื่อคุณแม่เกิดอาการคัดเต้าให้รีบบีบเอาน้ำนมที่ค้างอยู่ออกมา อย่าปล่อยทิ้งไว้เพราะจะทำให้เกิดอาการท่อน้ำนมอุดตันขึ้น
  • หลีกเลี่ยงเสื้อชั้นในแบบมีโครง: คุณแม่อาจคิดว่าการใส่เสื้อชั้นในแบบมีโครงจะช่วยให้หน้าอกกระชับไม่หย่อนคล้อย แต่รู้หรือไม่ว่าเสื้อชั้นในแบบมีโครงจะทำให้เกิดอาการรัดใต้ราวนมขึ้น ซึ่งนำไปสู่อาการท่อน้ำอุดตันได้
  • นวดเต้านมบ่อย ๆ: คุณแม่อาจจะใช้วิธีนวดเปิดเต้านมในระหว่างที่อาบน้ำได้ เพราะการนวดจะช่วยสลายก้อนที่อาจเกิดขึ้นในเต้านม อีกทั้งยังเป็นการช่วยระบายเอาน้ำนมแม่ที่ค้างเต้าออกมาได้
  • ให้ลูกน้อยดูดนมอย่างถูกวิธี: ควรให้ลูกดูดนมตั้งแต่หัวนมจนถึงลานนม เพื่อให้ลูกสามารถดูดนมได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังช่วยกระตุ้นต่อมน้ำนมให้กระจายไปทั่วเต้านมจะได้ไม่มีน้ำนมค้างเต้า
  • อย่าปล่อยให้นมค้างเต้า: ควรให้ลูกดูดหรือปั๊มนมจนกลี้ยงเต้า และพยายามระบายน้ำนมออกจากเต้าให้หมดอย่าปล่อยให้นมค้างเต้านาน ๆ
  • พยายามให้ลูกดูดนมบ่อย ๆ: คุณแม่ควรให้นมลูกหรือปั๊มนมทุก 2-3 ชั่วโมง เพื่อระบายน้ำนมออกมาให้มาก ๆ อย่าทิ้งนมค้างเต้าไว้เป็นเวลานาน
  • ปรึกษาแพทย์: เพื่อรับการรักษาในกรณีที่จำเป็น และปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด

 

วิธีกายภาพบำบัดเพื่อรักษาอาการท่อน้ำนมอุดตัน

การรักษาท่อน้ำนมอุดตัน สามารถทำได้ 2 วิธี คือ

  • อัลตราซาวด์: การใช้คลื่นอัลตราซาวด์ ซึ่งเป็นคลื่นเสียงความถี่สูงจึงทำให้ความร้อนสามารถลงไปได้ลึก เมื่อคลื่นอัลตราซาวด์ทำให้ท่อน้ำนมสั่นสะเทือน หลอดเลือดขยายตัว เลือดไหลเวียนได้ดี ก้อนแข็ง ๆ จึงสลายได้ง่ายขึ้น ทำให้น้ำนมไหลได้สะดวก
  • นวดคลึงเต้านมโดยนักกายภาพบำบัด: คุณแม่หลายคนอาจนวดเต้านมเองแต่อาจนวดไม่ถูกวิธี วิธีนี้จึงเป็นอีกวิธีสำหรับคุณแม่ที่อยากนวดสลายเต้านมอุดตันเพื่อลดอาการปวด และกระตุ้นฮอร์โมนให้ผลิตน้ำนมให้มากขึ้น

 

อาการท่อน้ำนมอุดตันมักสร้างความเจ็บปวดให้คุณแม่ และทำให้น้ำนมไหลน้อยจนอาจส่งผลต่อการเจริญเติบโตของทารก ทำให้คุณแม่รู้สึกว่าการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นเรื่องที่ยาก หากคุณแม่รู้สึกว่าตัวเองมีน้ำนมไหลช้า รู้สึกปวดทุกครั้งที่ลูกกินนมหรือมีก้อนแข็งที่เต้านมให้รีบดูแลตัวเองก่อนถ้าไม่ดีขึ้นแนะนำให้เข้ารับการบำบัด หรือปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษา อย่าปล่อยทิ้งไว้นานเพราะอาจทำให้พัฒนาไปเป็นเต้านมอักเสบได้ ประโยชน์ของนมแม่มีอยู่มากมาย อุดมไปด้วยสารอาหารมากกว่า 200 ชนิด เช่น ดีเอชเอ วิตามิน แคลเซียม และสฟิงโกไมอีลิน S-Mom Club ขอเป็นกำลังใจให้กับคุณแม่ให้นมทุกคนนะคะ

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ให้นม

 

 

อ้างอิง:

  1. ท่อน้ำนมอุดตัน – สาเหตุและการรักษา, โรงพยาบาลศิครินทร์
  2. กายภาพบำบัดในท่อน้ำนมอุดตัน, โรงพยาบาลบางปะกอก 9
  3. การรักษาภาวะคัดตึงเต้านมและภาวะท่อน้ำนมอุดตัน, โรงพยาบาลรามคำแหง
  4. ดูแลอย่างเข้าใจภาวะท่อน้ำนมอุดตัน, โรงพยาบาลบางปะกอก 9
  5. อัลตราซาวนด์เปิดท่อน้ำนม คุณแม่หมดกังวลท่อน้ำนมอุดตัน, โรงพยาบาลกรุงเทพ

อ้างอิง ณ วันที่ 4 มกราคม 2567

บทความแนะนำ

สักทับรอยผ่าคลอดอันตรายไหม พร้อมวิธีดูแลรอยสักทับแผลผ่าคลอด

สักทับรอยผ่าคลอดอันตรายไหม พร้อมวิธีดูแลรอยสักทับแผลผ่าคลอด

คุณแม่ผ่าคลอดสักทับรอยผ่าคลอดเพื่อกลบรอยแผลเป็นได้ไหม คุณแม่สามารถเริ่มสักทับรอยผ่าคลอดได้ตอนไหน อันตรายกับลูกเมื่อต้องให้นมหรือเปล่า ไปดูกัน

คันแผลผ่าคลอด คุณแม่ทำยังไงดี พร้อมวิธีแก้อาการคันแผลผ่าคลอด

คันแผลผ่าคลอด คุณแม่ทำยังไงดี พร้อมวิธีแก้อาการคันแผลผ่าคลอด

คันแผลผ่าคลอดทำยังไงดี คุณแม่มีอาการคันแผลผ่าคลอดหลังคลอดลูก มีวิธีบรรเทาอาการคันหลังคลอดยังไงบ้าง พร้อมวิธีแก้อาการคันแผลผ่าคลอดที่แม่ควรรู้

ไหมละลายหลังคลอดกี่วันหาย แผลผ่าคลอดไหมละลายตอนไหน

ไหมละลายหลังคลอดกี่วันหาย แผลผ่าคลอดไหมละลายตอนไหน

ไหมละลายหลังคลอดกี่วันหาย ใช้เวลานานแค่ไหนกว่าแผลผ่าคลอดไหมจะละลาย ข้อดีของไหมละลายมีอะไรบ้าง คุณแม่ผ่าคลอดต้องกลับมาตัดไหมด้วยหรือเปล่า ไปดูกัน

คุณแม่ผ่าคลอดกี่วันขับรถได้ หลังผ่าตัดขับรถได้ไหม อันตรายหรือเปล่า

คุณแม่ผ่าคลอดกี่วันขับรถได้ หลังผ่าตัดขับรถได้ไหม อันตรายหรือเปล่า

คุณแม่ผ่าคลอดกี่วันขับรถได้ หลังผ่าคลอดเริ่มขับรถได้เลยไหม ถ้าเริ่มขับทันทีหลังคลอด จะอันตรายกับคุณแม่ผ่าคลอดแค่ไหน หากคุณแม่ต้องขับรถ ไปดูกัน

ผ่าคลอดเบ่งอุจจาระได้ไหม ท้องผูกหลังผ่าคลอด คุณแม่ทำยังไงดี

ผ่าคลอดเบ่งอุจจาระได้ไหม ท้องผูกหลังผ่าคลอด คุณแม่ทำยังไงดี

คุณแม่ผ่าคลอดเบ่งอุจจาระได้ไหม หลังผ่าคลอดคุณแม่มีอาการท้องผูกหลังผ่าคลอด เกิดจากอะไร ท้องผูกบ่อยอันตรายไหมสำหรับแม่ผ่าคลอดที่มีอาการท้องผูก

คุณแม่ผ่าคลอดห้ามยกของหนักกี่เดือน ผ่าคลอดยกของหนักได้ตอนไหน

คุณแม่ผ่าคลอดห้ามยกของหนักกี่เดือน ผ่าคลอดยกของหนักได้ตอนไหน

ผ่าคลอดห้ามยกของหนักกี่เดือน คุณแม่ผ่าคลอดยกของหนักได้ตอนไหน หากคุณแม่ยังไม่หายดีและยกของหนักทันที แบบนี้อันตรายกับคุณแม่ผ่าคลอดหรือเปล่า

ท่านอนหลังผ่าคลอด ท่านอนคนผ่าคลอด คุณแม่นอนแบบไหนถึงดีที่สุด

ท่านอนหลังผ่าคลอด ท่านอนคนผ่าคลอด คุณแม่นอนแบบไหนถึงดีที่สุด

ท่านอนหลังผ่าคลอด คุณแม่ผ่าคลอดควรนอนท่าไหน ท่านอนแบบไหนนอนแล้วไม่เจ็บแผลผ่าคลอดและเหมาะกับแม่ผ่าคลอดที่สุด ไปดูท่านอนหลังผ่าคลอดกัน

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก