กลากน้ำนม เกิดจากอะไร โรคผิวหนังในเด็ก พร้อมวิธีดูแลเกลื้อนน้ำนม

กลากน้ำนม เกิดจากอะไร พร้อมวิธีดูแลเกลื้อนน้ำนมในเด็ก

กลากน้ำนม เกิดจากอะไร พร้อมวิธีดูแลเกลื้อนน้ำนมในเด็ก

คุณแม่ให้นมบุตร
บทความ
พ.ค. 9, 2024
7นาที

กลากน้ำนม หรือบางคนอาจจะเรียกกว่าเกลื้อนน้ำนม ที่คุณแม่อาจจะสังเกตเห็นเป็นลักษณะวงกลมหรือวงรีสีขาว มีขุยบางๆ ที่มักชอบขึ้นอยู่บริเวณแก้มของลูก หรือส่วนใหญ่มักจะขึ้นบริเวณใบหน้า ลำคอ ลำตัว แขน และขา โดยทั่วไป กลากน้ำนมมักจะขึ้นในช่วงฤดูร้อนที่มีอากาศอบอ้าว แม้ว่าจะไม่ส่งผลรุนแรงต่อร่างกาย แต่อาการจะเป็นๆ หายๆ และอาการจะลดน้อยลงเมื่อลูกเริ่มโตขึ้น

 

สรุป

  • กลากน้ำนม เกลื้อนน้ำนม หรือเกลื้อนแดดเป็นโรคผิวหนังชนิดหนึ่งที่มักเกิดขึ้นได้ในเด็กเล็กไปจนถึงเด็กโต และอาการจะลดน้อยลงเมื่อเริ่มโตขึ้นหรือหายไปเมื่อเข้าสู่วัยผู้ใหญ่
  • กลากน้ำนม ซึ่งจะมีลักษณะเป็นผื่นสีขาวหรือสีที่อ่อนกว่าสีผิวปกติ อาจจะเป็นสีชมพูจางๆ หรือสีแดงอ่อน กระจายเป็นวงกลมหรือวงรี
  • กลากน้ำนม มักจะเกิดขึ้นบริเวณต่างๆ เช่น แก้ม คาง คอ ต้นแขน หน้าอก และหลัง เป็นต้น

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

กลากน้ำนม เกิดจากอะไร โรคผิวหนังในเด็ก พร้อมวิธีดูแลเกลื้อนน้ำนม

กลากน้ำนม เกลื้อนน้ำนม หรือเกลื้อนแดด เป็นโรคผิวหนังชนิดหนึ่งที่มักเกิดขึ้นได้ในเด็กเล็กไปจนถึงเด็กโต โดยสังเกตได้จากอาการคันบริเวณที่เป็นกลากน้ำนม ซึ่งจะมีลักษณะเป็นผื่นสีขาวหรือผื่นสีอ่อนกว่าสีผิวปกติ กระจายเป็นวงกลมหรือวงรี กลากน้ำนมเกิดจากอะไร และหากพบว่าเจ้าตัวเล็กเป็นกลากน้ำนมต้องดูแลอย่างไร มาหาคำตอบนี้กันค่ะ

 

กลากน้ำนม เป็นโรคผิวหนังหรือไม่

กลากน้ำนม (Pityriasis alba) เป็นโรคที่แสดงอาการอย่างหนึ่งของโรคผิวหนังที่สามารถเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ช่วงวัยเด็ก ที่คาดว่าเกิดขึ้นจากความผิดปกติของกระบวนการสร้างเม็ดสีมีจำนวดลดลง และอาจมีปัจจัยอื่นร่วมด้วย โดยจะปรากฏลักษณะให้เห็นเป็นรอยด่างสีชมพูหรือสีแดงอ่อน หรือเป็นสีที่จางลงกว่าสีผิวปกติ มักจะเห็นได้ชัดในเด็กที่มีสีผิวเข้ม โดยจะเกิดขึ้นบริเวณต่างๆ เช่น แก้ม คาง คอ หน้าอก ต้นแขน และหลัง เป็นต้น มีอาการผิวแห้ง คัน ระคายเคือง ผิวหนังลอกแดง และอักเสบได้ เมื่ออาการดีขึ้นผิวหนังก็จะค่อยๆ กลายเป็นขุยแห้ง สีขาว และตกสะเก็ด ทั้งนี้กลากน้ำนมเป็นโรคผิวหนังชนิดที่ไม่ร้ายแรง หากเกิดขึ้นมาก็จะสามารถหายได้เองเพียงแต่อาจต้องใช้เวลาระยะหนึ่ง และอาการจะลดน้อยลงเมื่อลูกเริ่มโตขึ้นหรือหายไปเมื่อเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ ทั้งนี้เบื้องต้น คุณพ่อคุณแม่สามารถพาลูกมาพบแพทย์ เพื่อขอรับคำปรึกษาและการวินิจฉัยที่ถูกต้องนะคะ

 

โรคกลากน้ำนม เกิดจากสาเหตุอะไร

กลากน้ำนม เป็นหนึ่งในโรคที่แสดงอาการของโรคผื่นแพ้ทางผิวหนัง ซึ่งปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุอาการเกิดกลากน้ำนมที่แน่ชัด แต่คาดว่าอาจเกิดขึ้นได้จากการถูกแสงแดดจัดเป็นเวลานาน การขาดสารอาหาร หรืออาจเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียบางชนิด ส่งผลทำให้เซลล์ในการสร้างเม็ดสีที่ชั้นหนังกำพร้าไม่สามารถผลิตเม็ดสีได้ตามปกติ ทำให้ปริมาณของเม็ดสีผิวหนังลดลง จึงเกิดขึ้นเป็นรอยด่างขาวจางๆ มีสีผิวที่ไม่สม่ำเสมอกันในบางจุด และมองเห็นเป็นวงสีขาวได้ชัดเจนในผู้ที่มีสีผิวเข้ม ส่งผลให้ผิวแห้ง อาจมีขุยบางๆ ติดอยู่ โดยมากมักจะเกิดขึ้นที่บริเวณใบหน้า หรืออวัยวะส่วนต่างๆ เช่น ลำคอ บริเวณไหล่ และแขน เป็นต้น มีลักษณะเป็นวงกลมหรือวงรี

 

เด็กทารกเป็นกลากน้ำนมได้ไหม

โดยส่วนใหญ่โรคกลากน้ำนม มักพบได้ในเด็กช่วงอายุประมาณ 3-14 ปี สามารถเกิดขึ้นกับทั้งเด็กชายและเด็กหญิง ซึ่งมักพบในเด็กที่เป็นโรคภูมิแพ้ หรือโรคผื่นแพ้ผิวหนัง ผิวแพ้ง่าย ผิวที่ไวต่อการกระตุ้น ซึ่งควรหลีกเลี่ยงการพาเจ้าตัวเล็กสัมผัสแดดจัดเป็นเวลานาน เพื่อที่จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคกลากน้ำนม รวมถึงการดูแลรักษาสุขอนามัยที่ดีให้กับลูกด้วย

 

เกลื้อนน้ำนม มีลักษณะแบบไหน

โดยทั่วไปแล้วผื่นกลากน้ำนมสามารถเกิดขึ้นได้ทั่วบริเวณร่างกาย แต่มักพบบ่อยที่บริเวณใบหน้า แก้ม คาง คอ หน้าอก แขนหรือแผ่นหลัง ลักษณะของกลากน้ำนมหรือเกลื้อนน้ำนมจะเป็นรอยด่างวงกลมหรือวงรี หรือไม่มีรูปร่างขนาดขอบเขตที่ชัดเจน แต่มักจะปรากฏอยู่ที่รัศมี 0.5-5 เซนติเมตร

 

กลากน้ำนมอาจจะเกิดขึ้นแค่จุดเดียวหรืออาจจะเกิดขึ้นพร้อมกันในหลายจุดได้ ทั้งนี้บริเวณที่เป็นผื่นกลากน้ำนมจะส่งผลให้สีผิวจางหรืออ่อนกว่าสีผิวปกติและอาจทำให้เกิดอาการคันระคายเคืองบริเวณผิวหนังที่เป็นเกลื้อนน้ำนม อย่างไรก็ตาม โรคกลากน้ำนมอาจมีอาการเป็นๆ หายๆ แต่ก็สามารถหายได้เองร่วมกับการดูแลเป็นอย่างดี เพียงแต่อาจต้องใช้ระยะเวลา และอาการจะลดน้อยลงเมื่อลูกโตขึ้นหรือหายไปเมื่อเข้าสู่วัยผู้ใหญ่

 

โรคกลากน้ำนมเป็นอันตรายกับลูกไหม

โรคกลากน้ำนม แม้ว่าจะเป็นที่แสดงอาการเป็นๆ หายๆ และจัดอยู่ในโรคภูมิแพ้ทางผิวหนังชนิดหนึ่ง ซึ่งยังไม่สามารถระบุสาเหตุได้ชัดเจนว่าเกิดจากสาเหตุอะไร ทั้งนี้กลากน้ำนมเป็นโรคเรื้อรังที่ไม่ส่งผลอันตราย โดยเมื่อมีอาการผื่นจะค่อยๆ หายไปเอง แต่ก็อาจต้องใช้ระยะเวลาพอสมควรที่สีผิวหนังจะกลับมาคืนเป็นปกติ อย่างไรก็ตามกลุ่มเสี่ยงที่อาจเกิดโรคกลากน้ำนมได้ง่าย เช่น เด็กที่เป็นโรคภูมิแพ้ หรือเคยเป็นโรคภูมิแพ้ เด็กที่ถูกแสงแดดจัดเป็นเวลานาน หรืออาบน้ำอุ่นบ่อยเกินไป เป็นต้น ทั้งนี้การดูแลป้องกันเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคกลากน้ำนมกับเจ้าตัวเล็ก ได้แก่ หลีกเลี่ยงการถูกแสงแดดจัด ไม่อาบน้ำบ่อยเกินไปที่จะส่งผลทำให้ผิวหนังแห้งและระคายเคืองได้ เป็นต้น

 

วิธีดูแลลูกน้อยที่เป็นเกลื้อนแดด

  • แม้ว่าโรคกลากน้ำนมสามารถหายได้เองโดยอาจไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษา แต่เมื่อเจ้าตัวเล็กเป็นเกลื้อนแดด คุณพ่อคุณแม่สามารถดูแลลูกและเพื่อช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดเกลื้อนแดดได้ด้วยวิธีเหล่านี้
  • ใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวสูตรอ่อนโยนต่อเด็กที่ไม่มีสารก่อให้เกิดการระคายเคือง เพื่อเพิ่มความชุ่มชื่นให้ผิวหนัง ป้องกันอาการคัน ระคายเคือง ลดการอักเสบแสบร้อน และป้องกันผิวแห้ง
  • ในระหว่างเป็นเกลื้อนแดดหรือแม้แต่ในช่วงที่หายแล้วไม่มีอาการ ก่อนพาลูกออกนอกบ้านควรใช้ผลิตภัณฑ์ป้องกันแสงแดดที่มีค่า SPF30+ หรือ SPF50+ PA++++ สูตรสำหรับเด็กทาเพื่อปกป้องผิวและบริเวณใบหน้าของเจ้าตัวเล็กจากแสงแดดและรังสียูวี
  • เมื่อลูกเป็นกลากน้ำนมอาจเกิดอาการคันบริเวณที่มีผื่นขึ้นได้ ควรตัดเล็บลูกให้สั้นหรือตะไบเล็บเพื่อไม่ให้เกิดความคม เพื่อป้องกันเจ้าตัวเล็กที่อาจเผลอไปเกาจนผิวหนังถลอกซึ่งอาจทำให้เกิดเป็นแผลและติดเชื้อแทรกซ้อนตามมาได้
  • กรณีลูกเป็นเกลื้อนแดดมากหรือพบอาการอื่นที่ผิดปกติ ไม่ควรปล่อยให้เป็นนาน หรือซื้อยามาใช้เอง เนื่องจากการใช้ยาไม่ถูกต้องอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายตามมา ควรพาลูกไปพบคุณหมอเพื่อตรวจรักษาอาการและรับคำแนะนำการดูแลโรคกลากน้ำนมอย่างถูกวิธี

 

คุณหมอจะมีวิธีรักษากลากน้ำนมยังไงบ้าง

โดยทั่วไปกลากน้ำนมเป็นโรคผิวหนังที่ไม่แสดงอาการรุนแรง คุณพ่อคุณแม่สามารถดูแลเจ้าตัวเล็กง่ายๆ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคกลากน้ำนม เช่น การทาโลชั่นเพื่อเพิ่มความชุ่มชื่นให้ผิว หรือการทาครีมป้องกันแสงแดดเมื่อออกนอกบ้าน กรณีที่พบว่าลูกมีเกลื้อนแดดขยายวงกว้างหรือบริเวณผิวหนังที่เป็นกลากน้ำนมมีอาการคันมาก อักเสบรุนแรง หรือมีอาการกลับมาเป็นผื่นซ้ำๆ คุณพ่อคุณแม่สามารถพาเจ้าตัวเล็กไปพบคุณหมอเพื่อรับการตรวจดูอาการ โดยการวินิจฉัยอาการกลากน้ำนม คุณหมอจะเช็กจากประวัติอาการและทำการตรวจร่างกายเพื่อดูรอยโรค อย่างไรก็ตาม โรคกลากน้ำนมไม่มียาที่รักษาโดยตรง สำหรับในรายที่มีผิวหนังอักเสบ คันมาก บางครั้งคุณหมออาจแนะนำหรือสั่งจ่ายยาสำหรับทาภายนอก ทั้งนี้ควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์หรือตามที่แพทย์แนะนำอย่างเคร่งครัด

 

วิธีไหนที่สามารถป้องกันโรคกลากน้ำนมได้ไหม

แม้ว่ากลากน้ำนมจะพบบ่อยได้ในเด็ก แต่คุณพ่อคุณแม่สามารถป้องกันการเกิดโรคกลากน้ำนมหรือลดความเสี่ยงต่ออาการระคายเคืองในเกลื้อนแดดที่อาจเกิดขึ้นได้ด้วยเคล็ดลับนี้

  1. หลีกเลี่ยงไม่ให้ลูกอยู่ในที่ที่มีแสงแดดจัดนานเกินไป ควรทาครีมป้องกันแดดที่ปราศจากสารที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองและเหมาะสำหรับเด็กเมื่ออยู่กลางแจ้ง เนื่องจากรังสียูวีเป็นปัจจัยหนึ่งที่กระตุ้นให้เกิดโรคกลากน้ำนมได้ โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงที่มีผิวบอบบางหรือมีผิวที่ไวต่อแดด
  2. เลือกใช้ครีมบำรุงผิวหรือมอยส์เจอไรเซอร์ที่ปราศจากน้ำหอม ทาผิวให้เจ้าตัวเล็กเพื่อช่วยให้ผิวชุ่มชื่น และป้องกันผิวแห้ง เนื่องจากโรคกลากน้ำนมหรือโรคผิวหนังส่วนใหญ่จะส่งผลให้ผิวหนังแห้งจนทำให้เกิดอาการคันและอักเสบได้
  3. ไม่ควรให้ลูกอาบน้ำอุ่นนานเกินไป และควรใช้สบู่หรือครีมอาบน้ำสูตรอ่อนโยนต่อผิวเด็ก
  4. สอนให้ลูกดูแลและรักษาความสะอาด ทั้งในส่วนของร่างกายและผิวหน้าอย่างสม่ำเสมอ
  5. การให้ลูกได้ดื่มนมแม่ ทารกควรได้กินนมแม่อย่างเดียวตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 เดือน และควรกินต่อเนื่องถึงอายุ 2 ปีหรือนานกว่านั้น ควบคู่กับอาหารตามวัยที่เหมาะสม เพราะนมแม่มีสารอาหารมากกว่า 200 ชนิด และในน้ำนมแม่ยังมีคุณสมบัติเป็น Hypo-Allergenic หรือ H.A. ที่ช่วยลดความเสี่ยงของโรคภูมิแพ้ได้ด้วย มากกว่านั้นแล้วโปรตีนในนมแม่บางส่วนได้ถูกย่อยให้มีขนาดเล็กลง หรือที่เรียกว่า PHP (Partially Hydrolyzed Proteins ) ซึ่งง่ายต่อการดูดซึมเข้าร่างกายของลูกน้อย นอกจากนั้นแล้วนมแม่ยังมีพรีไบโอติกโอลิโกแซคคาไรด์ใยอาหารหลักที่สำคัญ ที่ช่วยเรื่องระบบภูมิคุ้มกันและลดความเสี่ยงของการติดเชื้อต่างๆ ซึ่งโอลิโกแซคคาไรด์ ประกอบด้วยใยอาหารหลากหลายชนิด โดยมี 5 ใยอาหารหลัก (5 Oligosaccharide หรือ 5 HMOs เช่น 2’FL, DFL, LNT, 6’SL และ 3’SL ) มีส่วนช่วยเรื่องระบบภูมิคุ้มกันในเด็กเล็ก รวมทั้งนมแม่มีโพรไบโอติกหลายชนิด เช่น B. lactis (บีแล็กทิส) ซึ่งเป็นหนึ่งในสายพันธุ์ที่มีส่วนช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและลดความเสี่ยงของการเกิดภูมิแพ้ การให้ลูกน้อยได้ดื่มนมแม่ จะช่วยลดการเกิดโรคภูมิแพ้ ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ลดความเสี่ยงโรคผื่นแพ้ผิวหนัง หรือโรคหอบหืดที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต

 

อย่างไรก็ตาม แม้ว่ากลากน้ำนมจะเป็นโรคที่พบได้โดยทั่วไปและไม่ส่งผลร้ายแรงต่อร่างกาย แต่ก็เป็นโรคผิวหนังชนิดเรื้อรังที่อาจเป็นแล้วหาย หรืออาจจะเป็นผื่นขึ้นซ้ำๆ กลับมาได้อีก ซึ่งจะส่งผลรบกวนต่อการใช้ชีวิตประจำวัน อาจส่งผลต่อความกังวลของคุณพ่อคุณแม่ที่ผิวของลูกไม่สวย เนื่องจากสีผิวบริเวณที่เกิดเกลื้อนน้ำนมจะไม่สม่ำเสมอกับสีผิวปกติ แต่โรคนี้จะหายไปได้เองเมื่อลูกโตขึ้น ทั้งนี้ในการใช้ผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับการบำรุงผิวต่างๆ คุณพ่อคุณแม่ควรระมัดระวังในการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์เพื่อให้เหมาะกับผิวของเจ้าตัวเล็ก และหากพบว่ามีอาการผิวหนังที่อักเสบรุนแรง ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยอาการและขอคำปรึกษาในการดูแลโรคผิวหนังของลูก เนื่องจากผิวหนังในเด็กแต่ละคนแตกต่างกัน การเข้าใจในอาการของโรคกลากน้ำนมที่อาจเกิดขึ้นกับเจ้าตัวเล็ก จะทำให้คุณพ่อคุณแม่พร้อมรับมือและสามารถดูแลลูกได้อย่างถูกวิธี ลดความเสี่ยงต่อการเกิดการโรคกลากน้ำนมหรืออาการแทรกซ้อนอื่นๆ ตามมาได้

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่มือใหม่

 


อ้างอิง:

  1. กลากน้ำนม...โรงผิวหนังที่พบบ่อยในเด็ก,โรงพยาบาลสินแพทย์
  2. ผื่นกลากน้ำนม, โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
  3. กลากน้ำนมเกิดจากอะไร และวิธีดูแลแบบง่ายๆ, พบแพทย์
  4. โรคกลากน้ำนมสาเหตุคืออะไร และรักษาได้อย่างไร, เฮลโหลคุณหมอ
  5. ผื่นแพ้ในเด็ก, คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล
  6. อาการภูมิแพ้ของลูกน้อย พบบ่อยแต่รับมือได้, โรงพยาบาลกรุงเทพสิริโรจน์
  7. นมแม่ มหัศจรรย์แห่งภูมิคุ้มกันทางธรรมชาติ, โรงพยาบาลเปาโล

อ้างอิง ณ วันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2567
 

บทความที่เกี่ยวข้อง

View details วิธีเพิ่มน้ำนม กระตุ้นน้ำนมคุณแม่ จากธรรมชาติ
บทความ
วิธีเพิ่มน้ำนม กระตุ้นน้ำนมคุณแม่ จากธรรมชาติ

วิธีเพิ่มน้ำนม กระตุ้นน้ำนมคุณแม่ จากธรรมชาติ

คุณแม่น้ำนมไม่พอ ปัญหาที่สร้างความกังวลใจให้กับคุณแม่ช่วงให้นม อาหารกระตุ้นน้ำนมจากธรรมชาติ ช่วยเพิ่มน้ำนมให้คุณแม่ได้จริงไหม อาหารเพิ่มน้ำนมแม่มีอะไรบ้าง

8นาที อ่าน

View details นมสำหรับเด็กผ่าคลอด จำเป็นกับลูกน้อยจริงไหม
บทความ
นมสำหรับเด็กผ่าคลอด จำเป็นกับลูกน้อยจริงไหม

นมสำหรับเด็กผ่าคลอด จำเป็นกับลูกน้อยจริงไหม

เด็กผ่าคลอด ต้องกินนมสำหรับเด็กผ่าคลอดจริงไหม คุณแม่จะช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและช่วยให้เด็กผ่าคลอดแข็งแรงตั้งแต่แรกคลอดได้อย่างไรบ้าง ไปหาคำตอบพร้อมกัน

7นาที อ่าน

View details ลูกเป็นผื่นแพ้เหงื่อ ลูกแพ้เหงื่อตัวเอง เกิดจากอะไร พร้อมวิธีดูแล
บทความ
ลูกเป็นผื่นแพ้เหงื่อ ลูกแพ้เหงื่อตัวเอง เกิดจากอะไร พร้อมวิธีดูแล

ลูกเป็นผื่นแพ้เหงื่อ ลูกแพ้เหงื่อตัวเอง เกิดจากอะไร พร้อมวิธีดูแล

ลูกเป็นผื่นแพ้เหงื่อ เกิดจากอะไร อาการลูกแพ้เหงื่อตัวเอง มักเกิดขึ้นหลังเด็กมีเหงื่อออกตามใบหน้าและลำตัว ไปรู้จักอาการลูกเป็นผื่นแพ้เหงื่อ พร้อมวิธีดูแลลูก

8นาที อ่าน

View details เจ็บแผลผ่าตัดจี๊ด ๆ ปวดแผลผ่าคลอดหลังผ่าตัดคลอด อันตรายไหม
บทความ
เจ็บแผลผ่าตัดจี๊ด ๆ ปวดแผลผ่าคลอดหลังผ่าตัดคลอด อันตรายไหม

เจ็บแผลผ่าตัดจี๊ด ๆ ปวดแผลผ่าคลอดหลังผ่าตัดคลอด อันตรายไหม

เจ็บแผลผ่าตัดจี๊ด ๆ ปวดแผลผ่าคลอดทันทีหลังผ่าตัดคลอด คุณแม่ผ่าคลอดควรทำอย่างไร หากเจ็บแผลผ่าตัดจี๊ด ๆ และปวดแผลผ่าคลอด พร้อมวิธีดูแลตัวเอง

2นาที อ่าน

View details วิธีชงนมผงให้ลูก พร้อมขั้นตอนเตรียมน้ำชงนมที่ถูกต้อง
บทความ
วิธีชงนมผงให้ลูก พร้อมขั้นตอนเตรียมน้ำชงนมที่ถูกต้อง

วิธีชงนมผงให้ลูก พร้อมขั้นตอนเตรียมน้ำชงนมที่ถูกต้อง

วิธีชงนมผงที่ถูกต้องสำหรับคุณแม่มือใหม่ ชงนมผงให้ลูกแบบไหนปลอยภัยและป้องกันทารกท้องอืด ไม่สบายท้อง ไปดู 4 วิธีชงนมผงให้ลูกน้อย ด้วยวิธีที่ถูกต้อง

4นาที อ่าน

View details น้ำนมใส คืออะไร สีน้ำนมแม่และประโยชน์ของน้ำนมส่วนหน้า
บทความ
น้ำนมใส คืออะไร สีน้ำนมแม่และประโยชน์ของน้ำนมส่วนหน้า

น้ำนมใส คืออะไร สีน้ำนมแม่และประโยชน์ของน้ำนมส่วนหน้า

น้ำนมใส คือ น้ำนมส่วนหน้าของคุณแม่ ดีกับระบบขับถ่ายลูก สีน้ำนมแม่สีใส อุดมไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุ คาร์โบไฮเดรต และน้ำตาลแลคโตส ช่วยพัฒนาระบบสมอง

6นาที อ่าน

View details พรีไบโอติกสำหรับเด็ก สารอาหารเสริมภูมิคุ้มกัน ดีต่อสุขภาพลูก
บทความ
พรีไบโอติกสำหรับเด็ก สารอาหารเสริมภูมิคุ้มกัน ดีต่อสุขภาพลูก

พรีไบโอติกสำหรับเด็ก สารอาหารเสริมภูมิคุ้มกัน ดีต่อสุขภาพลูก

Prebiotic คืออะไร พรีไบโอติกสำหรับเด็ก จุลินทรีย์ชนิดดี ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันและสร้างสมดุลในลำไส้ให้ลูกน้อย พรีไบโอติกเด็กมีอยู่ในอาหารหลายชนิด มีอะไรบ้าง ไปดูกัน

5นาที อ่าน

View details ผ่าคลอดเจ็บไหม ข้อดีของการผ่าคลอด พร้อมดูแลแผลให้หายดี
บทความ
ผ่าคลอดเจ็บไหม ข้อดีของการผ่าคลอด พร้อมดูแลแผลให้หายดี

ผ่าคลอดเจ็บไหม ข้อดีของการผ่าคลอด พร้อมดูแลแผลให้หายดี

ผ่าคลอดเจ็บไหม ผ่าคลอดน่ากลัวไหม คุณแม่ผ่าคลอดดีไหม มีอะไรที่คุณแม่ควรรู้ก่อนการผ่าคลอดบ้าง พร้อมข้อดีข้อเสียและวิธีดูแลแผลแม่ผ่าคลอดให้หายไว

4นาที อ่าน

View details ลูกไม่ยอมเข้าเต้า ทำยังไงดี พร้อมวิธีช่วยให้ลูกดูดเต้าได้ดีขี้น
บทความ
ลูกไม่ยอมเข้าเต้า ทำยังไงดี พร้อมวิธีช่วยให้ลูกดูดเต้าได้ดีขี้น

ลูกไม่ยอมเข้าเต้า ทำยังไงดี พร้อมวิธีช่วยให้ลูกดูดเต้าได้ดีขี้น

ลูกไม่ยอมเข้าเต้า ลูกไม่ยอมดูดเต้า เกิดจากอะไร วิธีไหนบ้างที่ช่วยให้ลูกเข้าเต้าได้ง่ายขึ้นและลดปัญหาลูกไม่ยอมดูดเต้านมแม่ ไปดูวิธีเอาลูกเข้าเต้าที่ถูกต้องกัน

2นาที อ่าน

View details ผ่าคลอดกินข้าวเหนียวได้ไหม แผลจะหายช้าหรือเปล่า
บทความ
ผ่าคลอดกินข้าวเหนียวได้ไหม แผลจะหายช้าหรือเปล่า

ผ่าคลอดกินข้าวเหนียวได้ไหม แผลจะหายช้าหรือเปล่า

คุณแม่ผ่าคลอดกินข้าวเหนียวได้ไหม จริงไหมที่แม่ผ่าคลอดกินข้าวเหนียวแล้วแผลจะอักเสบ ไปดูกันว่าผ่าคลอดกินข้าวเหนียวได้ไหม พร้อมวิธีช่วยให้แผลหายเร็ว

7นาที อ่าน

View details ท่อน้ำนมอุดตัน ภาวะท่อน้ำนมตันของคุณแม่ให้นมหลังคลอด
บทความ
ท่อน้ำนมอุดตัน ภาวะท่อน้ำนมตันของคุณแม่ให้นมหลังคลอด

ท่อน้ำนมอุดตัน ภาวะท่อน้ำนมตันของคุณแม่ให้นมหลังคลอด

ท่อน้ำนมอุดตัน ท่อน้ำนมตัน เกิดจากอะไร คุณแม่ควรทำอย่างไร เมื่อน้ำนมส่วนหน้าอุดตันไม่ไหล ไปดูสาเหตุและอาการของท่อน้ำนมอุดตัน พร้อมวิธีแก้ไข

5นาที อ่าน

View details ผดร้อนทารก ลูกเป็นผื่นเม็ดเล็ก ๆ คัน ดูแลลูกแบบไหนให้ถูกวิธี
บทความ
ผดร้อนทารก ลูกเป็นผื่นเม็ดเล็ก ๆ คัน ดูแลลูกแบบไหนให้ถูกวิธี

ผดร้อนทารก ลูกเป็นผื่นเม็ดเล็ก ๆ คัน ดูแลลูกแบบไหนให้ถูกวิธี

ผดร้อนทารก ลูกเป็นผื่นเม็ดเล็ก ๆ คัน เกิดจากอะไร สาเหตุอะไรได้บ้าง ที่ทำให้ลูกมีผดร้อนทารกและลูกเป็นผื่นเม็ดเล็ก ๆ คัน พร้อมวิธีดูแลลูกน้อย เมื่อลูกมีผื่นคัน

11นาที อ่าน

View details วิธีให้ลูกดูดขวดนม เมื่อลูกติดเต้า พร้อมวิธีรับมือลูกน้อย
บทความ
วิธีให้ลูกดูดขวดนม เมื่อลูกติดเต้า พร้อมวิธีรับมือลูกน้อย

วิธีให้ลูกดูดขวดนม เมื่อลูกติดเต้า พร้อมวิธีรับมือลูกน้อย

รวมวิธีให้ลูกดูดขวดนม เมื่อลูกติดเต้าไม่ดูดขวดนม คุณแม่สามารถฝึกให้ลูกดูดนมแม่จากขวดได้ ไปดูวิธีให้ลูกดูดขวดนมด้วยตัวเอง ก่อนคุณแม่กลับไปทำงานกัน

4นาที อ่าน

View details คุณแม่ปวดหลังหลังคลอด พร้อมวิธีบรรเทาอาการปวดหลังหลังคลอด
บทความ
คุณแม่ปวดหลังหลังคลอด พร้อมวิธีบรรเทาอาการปวดหลังหลังคลอด

คุณแม่ปวดหลังหลังคลอด พร้อมวิธีบรรเทาอาการปวดหลังหลังคลอด

ปวดหลังหลังคลอด เกิดจากอะไร คุณแม่ผ่าคลอดปวดหลังหลังผ่าคลอดทันที จะเป็นอันตรายกับร่างกายไหม พร้อมวิธีบรรเทาอาการปวดหลังหลังคลอดที่แม่ควรรู้

5นาที อ่าน

View details หัวนมแตก เจ็บหัวนม พร้อมวิธีดูแลเต้านมเมื่อต้องให้นมลูก
บทความ
หัวนมแตก เจ็บหัวนม พร้อมวิธีดูแลเต้านมเมื่อต้องให้นมลูก

หัวนมแตก เจ็บหัวนม พร้อมวิธีดูแลเต้านมเมื่อต้องให้นมลูก

หัวนมแตก เจ็บหัวนมหลังให้นมลูก เกิดจากอะไร คุณแม่สามารถบรรเทาอาการเจ็บหัวนมและหัวนมแตกด้วยตัวเองได้ไหม ไปดูสาเหตุที่ทำให้คุณแม่หัวนมแตกกัน

6นาที อ่าน

View details น้ำนมส่วนหน้าและน้ำนมส่วนหลังต่างกันยังไง เรื่องน้ำนมที่แม่ต้องรู้
บทความ
น้ำนมส่วนหน้าและน้ำนมส่วนหลังต่างกันยังไง เรื่องน้ำนมที่แม่ต้องรู้

น้ำนมส่วนหน้าและน้ำนมส่วนหลังต่างกันยังไง เรื่องน้ำนมที่แม่ต้องรู้

นมส่วนหน้าและนมส่วนหลังต่างกันอย่างไร น้ำนมของคุณแม่หลังคลอดมีทั้งหมดกี่ระยะ น้ำนมส่วนหน้าและน้ำนมส่วนหลัง มีประโยชน์กับลูกน้อยอย่างไร ไปดูกัน

7นาที อ่าน

View details ทารกแหวะนม ทารกสำลักนมอันตรายไหม ปัญหากวนใจที่แม่รับมือได้
บทความ
ทารกแหวะนมบ่อย อันตรายหรือไม่ ปัญหากวนใจที่คุณแม่รับมือได้

ทารกแหวะนม ทารกสำลักนมอันตรายไหม ปัญหากวนใจที่แม่รับมือได้

ทารกแหวะนม ทารกสำลักนมบ่อย อาการแหวะนมของลูก เกิดจากอะไรได้บ้าง ลักษณะแบบไหนที่บ่งบอกว่าลูกเริ่มมีอาการผิดปกติ พร้อมวิธีรับมือเมื่อลูกแหวะนม

2นาที อ่าน

View details ลูกมีผื่นคันขึ้นตามตัวแต่ไม่มีไข้ เกิดจากอะไร พร้อมวิธีดูแล
บทความ
ลูกมีผื่นคันขึ้นตามตัวแต่ไม่มีไข้ เกิดจากอะไร พร้อมวิธีดูแล

ลูกมีผื่นคันขึ้นตามตัวแต่ไม่มีไข้ เกิดจากอะไร พร้อมวิธีดูแล

ลูกมีผื่นคันขึ้นตามตัวแต่ไม่มีไข้ บางครั้งมีผื่นแดงขึ้นตามตัวและคัน ทำให้คุณพ่อคุณแม่เป็นกังวลว่าลูกเป็นอะไร ไปดูวิธีดูแลเมื่อลูกมีผื่นคันขึ้นตามตัวแต่ไม่มีไข้

7นาที อ่าน

View details แพ้แลคโตส คืออะไร อาการแพ้แลคโตสทารก ที่แม่ต้องรู้
บทความ
แพ้แลคโตส คืออะไร อาการแพ้แลคโตสทารก ที่แม่ต้องรู้

แพ้แลคโตส คืออะไร อาการแพ้แลคโตสทารก ที่แม่ต้องรู้

ลูกแพ้แลคโตส คืออะไร อาการแพ้แลคโตสทารก เกิดจากอะไรได้บ้าง คุณแม่มีวิธีรับมือกับอาการแพ้แลคโตสทารกอย่างไร พร้อมวิธีป้องกันเมื่อลูกแพ้แลคโตสในนม

9นาที อ่าน