ลูกพูดติดอ่าง ลูกพูดไม่ชัด เกิดจากอะไร พร้อมวิธีรับมือปัญหาลูกพูดติดอ่าง

ลูกพูดติดอ่าง ลูกพูดไม่ชัด เกิดจากอะไร พร้อมวิธีรับมือปัญหาลูกพูดติดอ่าง

30.09.2024

ลูกพูดติดอ่าง ลูกพูดไม่ชัด เกิดจากอะไร พร้อมวิธีรับมือปัญหาลูกพูดติดอ่าง ความผิดปกติด้านการพูดนี้ พบได้ในวัยเด็กที่ฝึกพูด ลูกพูดติดอ่าง พูดไม่ชัด หากคุณพ่อคุณแม่กังวลว่าลูกจะมีปัญหาในพัฒนาการด้านการพูด การสื่อสาร ควรพาลูกไปพบแพทย์ ตรวจรักษาและฝึกพูดอย่างถูกวิธี เพื่อที่ลูกจะได้มีพัฒนาการทางด้านการพูดที่ดีเหมาะสมกับช่วงวัย

headphones

PLAYING: ลูกพูดติดอ่าง ลูกพูดไม่ชัด เกิดจากอะไร พร้อมวิธีรับมือปัญหาลูกพูดติดอ่าง

อ่าน 11 นาที

 

สรุป

  • พูดติดอ่าง คือ การพูดที่ลมหายใจไม่สัมพันธ์กับการพูด มีความผิดปกติของการพูด พูดในจังหวะผิดปกติ พูดซ้ำคำ พูดซ้ำเสียง พูดติดขัด ทำให้ไม่สามารถพูดสื่อสารความหมายตามที่ต้องการได้
  • อาการของ พูดติดอ่าง คือ จะพูดลากเสียงยาว , พูดซ้ำพยางค์ ซ้ำเสียง พูดซ้ำคำ , พูดแทรกคำไม่เหมาะสม , พูด และ หยุด อย่างไม่เหมาะสม
  • พูดติดอ่าง มักพบในเด็กวัย 3-8 ขวบ เป็นวัยที่กำลังพัฒนาทักษะการใช้ภาษา การพูด เด็กที่มีพ่อแม่มีประวัติ มีอาการพูดติดอ่างมาก่อน อาจทำให้เด็กมีโอกาสในการพูดติดอ่าง
  • พูดติดอ่าง สามารถแก้ไขให้หายได้ หากสังเกตพบว่าลูกพูดติดอ่าง พูดไม่ชัด ควรรีบแก้ไขตั้งแต่เนิ่น ๆ พาลูกไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับการรักษาอย่างถูกวิธี ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้จนโต การรักษาล่าช้าอาจทำให้การพูดติดอ่างเป็นอุปสรรคต่อการใช้ชีวิตของลูกได้

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

เด็กพูดติดอ่าง เกี่ยวข้องกับพันธุกรรมไหม

การพูดติดอ่าง อาจมีสาเหตุจากความสัมพันธ์ระหว่างพันธุกรรม เด็กที่มีพ่อแม่มีประวัติ อาการพูดติดอ่างมาก่อน อาจทำให้เด็กมีโอกาสในการพูดติดอ่างได้ พูดติดอ่าง เกิดจากความผิดปกติของการพูด พูดในจังหวะผิดปกติ พูดซ้ำคำ พูดซ้ำพยางค์ พูดซ้ำเสียง พูดติด ๆ ขัด ๆ ทำให้ไม่สามารถพูดสื่อสารได้อย่างสมบูรณ์ หรือสื่อสารความหมายตามที่ต้องการได้

 

สาเหตุที่ทำให้ลูกพูดติดอ่าง มีอะไรบ้าง

ลูกพูดติดอ่าง ลูกพูดไม่ชัด เกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ เป็นเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่ ผู้เลี้ยงดูไม่ควรมองข้าม และควรหาวิธีแก้ไขที่ถูกต้อง เหมาะสม เพื่อทำให้อาการพูดติดอ่างของลูกดีขึ้น ซึ่งสาเหตุต่าง ๆ ที่ทำให้ลูกมีปัญหาในด้านการพูดติดอ่าง มีดังนี้

  • การเลี้ยงดูและสภาพแวดล้อม: การเลี้ยงดู, สภาพแวดล้อม, และการตอบสนองของคุณพ่อคุณแม่หรือผู้เลี้ยงดูสามารถมีผลต่อการพูดไม่ชัดของลูกในวัยเด็ก
  • อารมณ์และจิตใจ: ความตึงเครียดและความวิตกกังวลเกี่ยวกับการพูดอาจส่งผลให้เด็กพูดไม่ชัด
  • ปัญหาระบบประสาทและสมอง: ลูกมีพัฒนาการช้า หรือมีความล่าช้าในการพัฒนาทางภาษาอาจเกิดจากความล่าช้าของพัฒนาการสมองซีกซ้ายซึ่งเกี่ยวข้องกับการพูดและการสื่อสาร

 

เด็กพูดติดอ่าง มีอาการอย่างไร

การพูดติดอ่าง จะมีลักษณะอาการอยู่ 2 แบบคือ

1. อาการหลักของเด็กพูดติดอ่าง

เด็กพูดติดอ่าง เกิดจากความผิดปกติของการพูด พูดในจังหวะที่ผิดปกติ พูดติด ๆ ขัด ๆ ทำให้ไม่สามารถพูดสื่อสารได้ตามต้องการ เด็กจะพูดลากเสียงยาว พูดซ้ำ ๆ พยางค์ ซ้ำคำ พูดแทรกคำ พูดและหยุดอย่างไม่เหมาะสม อาการหลัก หรืออาการเด่นชัดของเด็กที่แสดงถึงการพูดติดอ่าง ได้แก่

  • พูดลากเสียงยาว:  เด็กอาจลากเสียงของพยางค์หรือคำให้ยาวกว่าปกติ เช่น "มมมแม่" แทนที่จะพูด "แม่" สั้น ๆ ซึ่งเป็นความพยายามที่จะเริ่มพูดต่อไปแต่พบอุปสรรค
  • พูดซ้ำพยางค์ ซ้ำเสียง:  เด็กอาจพูดพยางค์หรือเสียงซ้ำหลายครั้ง เช่น "บาบาบา" หรือ "ทีทีที" ก่อนที่จะสามารถพูดคำเต็มได้ ซึ่งเกิดจากความยากในการเริ่มต้นคำ
  • พูดซ้ำคำ:  เด็กอาจพูดคำเดียวกันซ้ำหลายครั้ง เช่น "อยากอยากกิน" แทนที่จะพูด "อยากกิน" เพื่อให้ลูกได้เวลาในการควบคุมการพูด
  • พูด และ หยุด อย่างไม่เหมาะสม:  เด็กอาจพูดคำหรือประโยคแล้วหยุดกะทันหัน ทำให้ประโยคไม่สมบูรณ์ เช่น "ฉันจะ...ไปสวนสัตว์" หยุดกลางประโยค
  • พูดแทรกคำอย่างไม่เหมาะสม:  เด็กอาจใส่คำหรือเสียงเพิ่มเติมที่ไม่จำเป็น เช่น "เอ่อ... ฉันจะไปซื้อ... แพนเค้ก" ทำให้การพูดฟังดูไม่ลื่นไหล
  • พูดแบบไม่มีเสียงออกมา:  เด็กอาจพยายามพูดคำหรือประโยค แต่ไม่มีเสียงออกมาเลย เช่น พยายามพูด "น้ำ" แต่ไม่มีเสียงออกมาเลยซึ่งเป็นสัญญาณของความพยายามที่ไม่สำเร็จ

 

การพูดติดอ่างเป็นภาวะที่พบบ่อยในเด็กเล็กวัยกำลังพัฒนาทักษะด้านภาษา และมักจะดีขึ้นเมื่อพัฒนาการด้านการพูดและภาษาของเด็กเจริญเติบโตขึ้น แต่ถ้าอาการไม่ดีขึ้นหรือเป็นปัญหาเรื้อรัง ควรรีบปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อการประเมินและการช่วยเหลือเพิ่มเติมแต่เนิ่น

 

2. อาการรองของเด็กพูดติดอ่าง

เด็กที่พูดติดอ่างอาจแสดงออกร่วมกับอาการหลักขณะที่พูดติดอ่าง เพื่อจะให้คำพูดนั้น ๆ เปล่งเสียงออกมาได้

  • พูดอ้อม ๆ หลีกเลี่ยงคำ:  เด็กอาจพยายามใช้คำอื่นแทนคำที่พูดติดอ่าง หรือคำที่ยากเพื่อหลีกเลี่ยงการติดขัด เช่น ใช้คำว่า "สิ่งของ" แทน "กระเป๋า" เพื่อไม่ให้ติดอ่าง
  • กระทืบเท้า กระพริบตาถี่ ๆ ขมวดคิ้ว:  เด็กอาจมีพฤติกรรมที่ทำร่วมกับการพูดติดอ่าง เช่น กระทืบเท้าหรือขมวดคิ้ว เพื่อช่วยให้การพูดคล่องขึ้น
  • ไม่สบตา ไม่มองหน้าผู้ที่สนทนาด้วย:   เด็กอาจหลีกเลี่ยงการสบตาหรือมองหน้าผู้ที่พูดด้วย เพื่อหลีกเลี่ยงความตึงเครียดที่เกิดจากการพูดติดอ่าง
  • เม้มปาก เกร็งปาก อ้าปากค้าง:  เด็กอาจแสดงอาการทางกายภาพ เช่น เม้มปาก เกร็งปาก หรืออ้าปากค้าง เพื่อพยายามทำให้การพูดเป็นไปได้
  • ประหม่า กลัว เครียด อาย โกรธ ขาดความมั่นใจในตัวเอง:  อารมณ์และความรู้สึกเหล่านี้อาจเพิ่มความรุนแรงของการพูดติดอ่าง เช่น ความเครียดหรือความกลัวเมื่อพูด
  • หลีกเลี่ยงการเข้าสังคม มีปมด้อย:  เด็กอาจหลีกเลี่ยงการเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมหรือพูดในที่สาธารณะเนื่องจากรู้สึกไม่มั่นใจหรือมีปมด้อยจากการพูดติดอ่าง

 

หากลูกพูดแล้วไม่มีความมั่นใจ หลีกเลี่ยงการใช้คำ ไม่กล้าสบตา ประหม่า กลัว หลีกเลี่ยงการเข้าสังคม คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรชะล่าใจ เพราะอาการเหล่านี้อาจเป็นการส่งสัญญาณว่า ลูกควรได้รับการประเมิน และการช่วยเหลือเพิ่มเติมจากผู้เชี่ยวชาญ   ควรรีบพาลูกไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย และรับการรักษาอย่างถูกต้องเหมาะสม

 

ลูกพูดไม่ชัดกับติดอ่างต่างกันอย่างไร

 

ลูกพูดไม่ชัดกับติดอ่างต่างกันอย่างไร

ลูกพูดไม่ชัดแตกต่างจากลูกพูดติดอ่าง การพูดติดอ่างนั้น เป็นการพูดที่ลมหายใจไม่สัมพันธ์กับการพูด มีอาการผิดปกติของจังหวะการพูด พูดซ้ำคำ พูดซ้ำพยางค์ พูดติด ๆ ขัด ๆ ทำให้การสื่อสารไม่มีประสิทธิภาพ ส่วนอาการของการพูดไม่ชัดคือ  เปล่งเสียงคำนั้น ๆ ออกมาไม่ชัดเจน จนนำเสียงใด ๆ มาทดแทน เช่น สวย ออกเสียง เป็น จ๋วย สาเหตุเกิดจากโครงสร้างที่ ลิ้น ฟัน ปาก ผิดปกติ หรือ การพูดไม่ชัดด้วยตัวเอง โดยปกติเด็ก ๆ จะออกเสียงพยัญชนะได้ชัดตามช่วงวัย คือ

  • เด็กอายุ 2.1-2.6 ปี ออกเสียงพยัญชนะ  ม น ห ย ค อ
  • เด็กอายุ 2.7-3 ปี ออกเสียงพยัญชนะ  ว บ ก ป
  • เด็กอายุ 3.1-3.6 ปี ออกเสียงพยัญชนะเพิ่ม  ท ต ล จ ผ
  • เด็กอายุ 3.7-4 ปี ออกเสียงเพิ่ม  ง ค
  • เด็กอายุ 4.1-4.6 ปี ออกเสียงพยัญชนะ  ฟ
  • เด็กอายุ 4.7-5 ปี ออกเสียงพยัญชนะ  ช
  • เด็กอายุ 5.1-5.6 ปี  ออกเสียงพยัญชนะ  ส
  • เด็กอายุ 7 ปีขึ้นไป ออกเสียงพยัญชนะ  ร

 

หากคุณพ่อคุณแม่อยากรู้ว่า ลูกพูดชัด หรือไม่ชัด ให้สังเกตตามช่วงอายุของลูกว่า ออกเสียงพยัญชนะในช่วงอายุนั้น ๆ ได้ชัดไหม หากลูกออกเสียงพยัญชนะไม่ชัด สื่อสารกับคุณพ่อคุณแม่ไม่เข้าใจ อาจมีแนวโน้มว่า ลูกมีความเสี่ยงที่จะพูดไม่ชัด ให้คุณพ่อคุณแม่พาลูกไปปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง และรับการรักษา ฝึกฝนในการพูดอย่างถูกวิธี

 

พูดติดอ่าง ส่งผลเสียยังไงกับลูกบ้าง

ลูกพูดติดอ่าง ลูกพูดไม่ชัด หากไม่ได้รับการแก้ไขที่เหมาะสม หรือปล่อยปัญหานี้ทิ้งไว้นาน อาจส่งผลเสียในชีวิตประจำวันให้กับลูกหลายอย่าง ดังนี้

  • ปมด้อยและความมั่นใจ:  ลูกอาจรู้สึกไม่มั่นใจและประหม่าเมื่อต้องพูด อาจเกิดปมด้อยและความกลัวในการสื่อสาร
  • ความเครียดและอาย:  ลูกอาจรู้สึกเครียด คับข้องใจ และอายที่จะพูด ทำให้ไม่กล้าสื่อสารกับผู้อื่น
  • การหลีกเลี่ยงสังคม:  การมีประสบการณ์การพูดที่ไม่ดี อาจทำให้ลูกหลีกเลี่ยงการเข้าสังคมและกิจกรรมต่าง ๆ
  • การตอบสนองช้า:  ลูกอาจตอบคำถามช้า เพราะพยายามเลือกคำที่เหมาะสมเพื่อหลีกเลี่ยงการติดอ่าง
  • การหลีกเลี่ยงการพูด:  ลูกอาจเลือกที่จะไม่พูดเลยเพื่อลดความกังวลใจ ซึ่งอาจทำให้มีปัญหาการพูดติดอ่าง
  • การถูกล้อและปัญหาสังคม:  ลูกอาจถูกล้อจากเพื่อนหรือผู้อื่น ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินชีวิตและการอยู่ร่วมกันในสังคม

 

พูดติดอ่างจะเกิดขึ้นกับเด็กกี่ขวบ

พูดติดอ่าง มักพบในเด็กวัย 3-8 ขวบ ที่เกิดขึ้นในช่วงที่เด็กกำลังพัฒนาทักษะการพูดและภาษาเป็นส่วนใหญ่ เด็กจะมีความผิดปกติทางการพูด พูดซ้ำ ๆ ออกเสียงตะกุกตะกัก ติด ๆ ขัด ๆ ไม่สามารถสื่อสารความหมายตามที่ต้องการได้ คุณพ่อคุณแม่ควรหมั่นสังเกตการพูดของลูกให้ดี หากลูกพูดติดอ่างบ่อยขึ้น พบเห็นอาการติดอ่างของลูกมากขึ้น ควรรีบพาลูกไปปรึกษาแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกวิธี

 

ลูกพูดติดอ่าง พ่อแม่รับมือยังไงได้บ้าง

ลูกพูดติดอ่าง ลูกพูดไม่ชัด สามารถพัฒนาแก้ไขให้หายติดอ่างได้ เมื่อสังเกตพบว่าลูกพูดติดอ่างตั้งแต่แรก ไม่ควรปล่อยให้ลูกพูดติดอ่างจนโต คุณพ่อคุณแม่สามารถช่วยแก้ไขการพูดติดอ่างนี้ให้ลูกได้ โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของความรัก และความเข้าใจ  และให้เวลากับลูก ดังนี้

  • ฟังอย่างตั้งใจ:  ฟังลูกอย่างตั้งใจ ไม่พูดขัด ไม่พูดแทรกลูก แสดงให้ลูกเห็นว่า ให้ความสำคัญเมื่อพูดกับลูกเสมอ
  • ไม่เร่งเร้า:  เวลาฟังลูกพูด ไม่เร่งเร้าให้ลูกพูด ไม่หงุดหงิดเมื่อลูกพูดติดอ่าง
  • มองหน้าธรรมชาติ:  มองหน้าลูกอย่างเป็นธรรมชาติ ไม่ลุ้นมากจนลูกอึดอัด หรือรู้สึกกดดัน
  • พูดทวนซ้ำ:  พูดทวนซ้ำในประโยคที่ลูกพูดอย่างช้า ๆ และผ่อนคลาย
  • รอเวลาก่อนตอบ:  หลังจากลูกพูดจบ ให้รอเวลาก่อนจะตอบโต้ ด้วยการพูดช้า ๆ ผ่อนคลาย เช่น  “พูดใหม่อีกครั้งสิลูก”  “พูดให้ช้าลงนะลูก”
  • ใส่ใจเนื้อหา:  ใส่ใจในสิ่งที่ลูกพูด มากกว่าวิธีพูดของลูก เมื่อตั้งคำถามกับลูก ควรให้เวลาลูกในการตอบ
  • บรรยากาศสนุกสนาน: ทำให้บรรยากาศในการพูดคุยกับลูกสนุกสนาน ไม่เครียด ควรพูดในสิ่งที่ลูกสนใจ ชวนลูกอ่านหนังสือ อ่านนิทาน เล่าเรื่องราวต่าง ๆ ให้ลูกฟัง
  • เป็นแบบอย่างที่ดี: คุณพ่อคุณแม่เป็นแบบอย่างที่ดีในการพูดให้กับลูก ไม่พูดแทรก ไม่พูดตัดบท ไม่พูดเร็ว พูดช้าลง
  • ลดการออกคำสั่ง:  ลดการออกคำสั่งให้ลูกพูดเองตามธรรมชาติ
  • แสดงความรัก:  แสดงความรู้สึกให้ลูกรู้ว่า รักลูก แม้ลูกจะพูดติดขัด หรือพูดติดอ่าง
  • แสดงความรู้สึกอื่น:  แสดงความรู้สึกกับลูกโดยวิธีการอื่น เช่น ลูบที่ตัวลูก ยิ้มให้ลูก
  • ลดความเครียด:  ลดความเครียดในชีวิตประจำวัน ลดการตำหนิ สร้างวินัยให้ลูกแทนที่จะบังคับ
  • ชื่นชม:  ชื่นชมลูก เมื่อลูกทำได้ เมื่อลูกพูดได้ไม่ติดขัด
  • ไม่คาดหวัง:  ไม่คาดหวังในตัวลูกมากเกินไป ให้เวลาในการเรียนรู้ ฝึกพูด
  • พูดคุย:  หมั่นพูดคุย ทำความเข้าใจกับสมาชิกในครอบครัว ว่าไม่ให้ขัดขวางในการพูดของลูก
  • ทำกิจกรรมร่วมกับลูก:  หากิจกรรมทำร่วมกับลูก เช่น ทำอาหาร เล่นของเล่น ทำให้ลูกรู้สึกปลอดภัย ลดความกังวลในการพูด

 

ลูกพูดติดอ่าง แก้ให้หายขาดได้ไหม

อาการพูดติดอ่าง เป็นความผิดปกติทางการพูดที่สามารถแก้ไขให้หายได้ หากคุณพ่อคุณแม่สังเกตพบว่าลูกพูดติดอ่างตั้งแต่แรก ๆ ไม่ควรปล่อยให้ลูกพูดติดอ่างทิ้งไว้จนโต เพราะการรักษาล่าช้าอาจเป็นอุปสรรคต่อการใช้ชีวิตของลูกได้ ควรรีบพาลูกไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกวิธี

 

เป็นผู้ฟังที่ดีให้ลูก ช่วยแก้อาการพูดติดอ่างได้จริงไหม

การเป็นผู้ฟังที่ดี เป็นวิธีในการช่วยเหลือในการพูดติดอ่างได้ คุณพ่อคุณแม่ควรฟังอย่างตั้งใจ ให้ความสำคัญในการสนทนากับลูก ทำให้ลูกมั่นใจ รู้สึกปลอดภัยที่จะพูดให้ฟัง ไม่ควรพูดขัดจังหวะ พูดแทรก ในขณะที่ลูกพูด ไม่แสดงความหงุดหงิดเมื่อลูกพูดติดขัด ไม่เร่งรัดให้ลูกรีบพูด เพื่อช่วยลดความตื่นเต้น ความกังวลเมื่อลูกพูดได้

 

การพูดติดอ่างหรือความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับการพูดการสื่อสารของลูกนั้น เป็นสิ่งที่สามารถแก้ไขและพัฒนาให้ลูกได้ โดยใช้วิธีกระตุ้นให้ลูกพูด คุณพ่อคุณแม่ต้องหมั่นสังเกตและไม่ควรล่าช้าในการปรับแก้ให้ลูก ฝึกให้ลูกพูดด้วยการใช้เวลา ไม่เร่งรัด ไม่ทำให้ลูกรู้สึกว่าโดนบังคับหรือจ้องจับผิด ไม่ตำหนิลูก ควรฟังลูกอย่างตั้งใจ เพื่อแสดงให้เห็นว่า คุณพ่อคุณแม่ให้ความสำคัญกับลูกแค่ไหน เพื่อให้ลูกรู้สึกปลอดภัย ลดความกังวล และมั่นใจที่จะพูด

 

บทความแนะนำสำหรับพัฒนาการลูกน้อย

 

 

อ้างอิง:

  1. การฝึกพูดในผู้พูดติดอ่าง, สถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
  2. จ้อได้ จ้อดี ไม่มีติด, ภาควิชาวิทยาศาสตร์สื่อความหมายและความผิดปกติของการสื่อความหมาย  คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
  3. ลูกพูดไม่ชัด ปัญหาที่ผู้ปกครองไม่ควรมองข้าม!, คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  4. ลูกพูดช้า พูดไม่ชัด พูดติดอ่าง พ่อแม่อย่าชะล่าใจ, สถาบันราชนุกูล กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
  5. จิตเวช: ทำอย่างไรดี ? เมื่อลูกพูดติด...ติด...อ่าง, โรงพยาบาลพระราม 9
  6. Stuttering, Webmd      
  7. เด็กพูดไม่ชัด สาเหตุและวิธีการแก้ปัญหา, HelloKhunmor
  8. การพูดติดอ่าง, คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

อ้างอิง ณ วันที่ 1 สิงหาคม 2567

บทความแนะนำ

10 ของเล่นฝึกสมาธิเด็ก เสริมไอคิว พร้อมฝึกสมาธิลูกน้อย

10 ของเล่นฝึกสมาธิเด็ก เสริมไอคิว พร้อมฝึกสมาธิลูกน้อย

รวมของเล่นฝึกสมาธิเด็ก ช่วยเสริมพัฒนาการสมองและพัฒนาการทางร่างกายของลูก ให้ลูกมีพัฒนาการทางที่ดี ของเล่นฝึกสมาธิเด็กแบบไหน ที่เหมาะกับลูกน้อยบ้าง ไปดูกัน

เด็กพัฒนาการช้าเป็นยังไง พร้อมวิธีสังเกตเมื่อเด็กมีพัฒนาการล่าช้า

เด็กพัฒนาการช้าเป็นยังไง พร้อมวิธีสังเกตเมื่อเด็กมีพัฒนาการล่าช้า

เด็กพัฒนาการช้าจะสังเกตเห็นได้ยังไง ลูกพัฒนาการล่าช้าเกิดจากสาเหตุอะไรบ้าง เด็กพัฒนาการล่าช้า มีวิธีป้องกันไหม และพ่อแม่สามารถช่วยกระตุ้นพัฒนาการให้ลูกได้ยังไงบ้าง

เด็กเรียนรู้ช้า ไอคิวต่ำ มีลักษณะอย่างไร พร้อมวิธีกระตุ้นพัฒนาการลูก

เด็กเรียนรู้ช้า ไอคิวต่ำ มีลักษณะอย่างไร พร้อมวิธีกระตุ้นพัฒนาการลูก

ลูกไอคิวต่ำ เกิดจากสาเหตุอะไร เด็กเรียนรู้ช้าจะส่งผลเสียอะไรกับลูกบ้าง คุณพ่อคุณแม่จะรู้ได้ยังไงว่าเด็กไอคิวต่ำ พร้อมวิธีกระตุ้นพัฒนาการลูกน้อย

อาการออทิสติกเทียม ลูกไม่สบตาเรียกไม่หัน เสี่ยงออทิสติกหรือเปล่า

อาการออทิสติกเทียม ลูกไม่สบตาเรียกไม่หัน เสี่ยงออทิสติกหรือเปล่า

ออทิสติกเทียม คืออะไร ลูกไม่สบตาเรียกไม่หัน อาการแบบนี้เสี่ยงเป็นออทิสติกเทียมหรือเปล่า คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตลูกน้อยอย่างไร พร้อมวิธีรับมือเบื้องต้น

เด็กสมาธิสั้น ลูกอยู่ไม่นิ่ง พร้อมวิธีรับมือที่พ่อแม่ควรรู้

เด็กสมาธิสั้น ลูกอยู่ไม่นิ่ง พร้อมวิธีรับมือที่พ่อแม่ควรรู้

เด็กสมาธิสั้น เกิดจากสาเหตุอะไร ลูกอยู่ไม่นิ่งและซนมาก คืออาการของเด็กสมาธิสั้นหรือเปล่า คุณพ่อคุณแม่มีวิธีสังเกตอาการของลูกได้อย่างไร พร้อมวิธีรับมือ

ลูกพูดช้า ลูกรู้ทุกอย่างแต่ลูกไม่พูด แบบนี้ผิดปกติไหม

ลูกพูดช้า ลูกรู้ทุกอย่างแต่ลูกไม่พูด แบบนี้ผิดปกติไหม

ลูกพูดช้า ส่งผลต่อพัฒนาการของลูกน้อยไหม ลูกไม่พูดสักที จะเป็นอันตรายหรือเปล่า เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง พร้อมวิธีฝึกลูกพูดตามช่วงวัย เสริมพัฒนาการลูกน้อย

รับมือยังไง เมื่อลูกมีอาการวัยทอง 1 ขวบ ลูก 1 ขวบ ร้องกรี๊ดเอาแต่ใจ

รับมือยังไง เมื่อลูกมีอาการวัยทอง 1 ขวบ ลูก 1 ขวบ ร้องกรี๊ดเอาแต่ใจ

วัยทอง 1 ขวบ คืออะไร ลูก 1 ขวบ ร้องกรี๊ดเอาแต่ใจ เกิดจากอะไร คุณพ่อคุณแม่ควรรับมืออย่างไร เมื่อลูกน้อยมีอาการวัยทอง 1 ขวบ เอาแต่ใจ พร้อมวิธีรีบมือ

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก