
วิธีให้ลูกเลิกดูดขวด ฝึกลูกเลิกขวดนมตอนลูกอายุเท่าไหร่ดี
เลิกขวดหักดิบได้ไหม หรือมีวิธีที่ดีกว่า สำหรับการเลิกขวดหักดิบ โดยมากจะใช้ในกรณีที่ลูกไม่สามารถเลิกขวดนมได้ ซึ่งบทความนี้จะมาไขข้อข้องใจและแนะนำวิธีการเลิกขวดนมลูกน้อยแบบค่อยเป็นค่อยไป พร้อมทั้งเผยเคล็ดลับเด็ดๆ ที่จะช่วยให้ทั้งคุณแม่และลูกน้อยผ่านช่วงเวลานี้ไปได้อย่างราบรื่น
สรุป
- การฝึกให้ลูกเลิกขวดนม ควรเริ่มฝึกตั้งแต่อายุ 1 ปี ไม่แนะนำฝึกลูกเลิกขวดนมช้าเกินไปกว่าอายุ 1.5 ปี เนื่องจากหากลูกยังดูดขวดนมจะทำให้กินนมในปริมาณที่มากกว่ากินนมจากแก้ว และทำให้ลูกไม่อยากกินอาหารอื่น เช่น เนื้อสัตว์ ผัก ฯลฯ ซึ่งอาจทำให้เกิดโรคโลหิตจาง และขาดวิตามินซี
- การเลิกขวดหักดิบ มักจะใช้ในกรณีที่ลูกไม่สามารถเลิกขวดได้ ซึ่งวิธีเลิกขวดหักดิบจะใช้เวลาไม่เกิน 1 สัปดาห์ โดยวิธีการเลิกขวดหักดิบ ให้คุณแม่เก็บขวดนมไม่ให้ลูกเห็น อาจให้เหตุผลกับลูกว่า ขวดนมพังไม่มีขวดนมแล้ว จากนั้นก็เปลี่ยนให้ลูกกินนมจากแก้วทันที
เลือกอ่านตามหัวข้อ
- ทำไมต้องฝึกให้ลูกเลิกขวดนม
- ควรให้ลูกเลิกขวดนมตอนอายุเท่าไร
- ใช้วิธีเลิกขวดหักดิบ
- วิธีให้ลูกเลิกดูดขวดแบบค่อยเป็นค่อยไป
- วิธีฝึกลูกดูดหลอด สร้างความพร้อมก่อนฝึกลูกเลิกขวด
ทำไมต้องฝึกให้ลูกเลิกขวดนม
การฝึกให้ลูกเลิกขวดนมก็เพื่อช่วยลดการเกิดผลกระทบต่อพัฒนาการและสุขภาพของลูกน้อย เนื่องจากการเลิกขวดนมที่ช้าเกินอายุ 1.5 ปี สามารถส่งผลกระทบกับตัวลูกน้อยได้ในหลายเรื่อง เช่น
- ลูกกินนมมาก อาจทำให้ไม่กินอาหารอื่น
- มีภาวะโภชนาการเกิน ที่สัมพันธ์กับโรคอ้วนในเด็ก
- มีภาวะโภชนาการขาด คือดูดขวดแต่ได้รับนมในปริมาณน้อย
- มีปัญหาฝันผุ โดยเฉพาะในเด็กที่ชอบดูดขวดนมนอนหลับคาปาก
- มีปัญหาสุขภาพ เช่น ต่อมทอมซิลอักเสบ
- มีการบดเคี้ยวอาหารได้ไม่ค่อยดี
- มีพฤติกรรมชอบดูดนิ้ว
ควรให้ลูกเลิกขวดนมตอนอายุเท่าไร
ขวดนมจ๋า เบบี้ลาก่อน คุณพ่อคุณแม่ควรฝึกให้ลูกเลิกขวดนมตั้งแต่อายุ 1 ปี และไม่ควรฝึกให้ลูกเลิกขวดนมช้าเกินอายุ 1.5 ปี ตามคำแนะนำของราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย เนื่องจากหากลูกยังดูดขวดนมจะทำให้กินนมในปริมาณที่มากกว่ากินนมจากแก้ว และทำให้ลูกไม่ค่อยอยากกินอาหารอื่นๆ เช่น เนื้อสัตว์ ผัก ฯลฯ ซึ่งอาจทำให้เกิดโรคโลหิตจาง และขาดวิตามินซีได้
ใช้วิธีเลิกขวดหักดิบ
การเลิกขวดหักดิบ มักจะใช้ในกรณีที่ลูกไม่สามารถเลิกขวดได้จริงๆ ซึ่งลูกอาจจะร้องไห้อย่างหนัก แต่ก็เป็นช่วงทดสอบความอดทน ความใจแข็งของคุณพ่อคุณแม่ในช่วงที่เลิกขวดหักดิบกับลูก สำหรับวิธีเลิกขวดหักดิบจะใช้เวลาไม่เกิน 1 สัปดาห์ลูกก็จะสามารถปรับตัวได้ โดยวิธีการเลิกขวดหักดิบ ให้คุณแม่เก็บขวดนมไม่ให้ลูกเห็น อาจให้เหตุผลกับลูกว่า ขวดนมพังไม่มีขวดนมแล้ว จากนั้นก็เปลี่ยนให้ลูกกินนมจากแก้วทันที
วิธีให้ลูกเลิกดูดขวดแบบค่อยเป็นค่อยไป
การเตรียมตัวลูกให้พร้อมสำหรับการเลิกขวดนม คุณพ่อคุณแม่สามารถเริ่มได้ตั้งแต่ที่ลูกยังอยู่ในวัยเด็กเล็ก ด้วยการฝึกให้ลูกใช้แก้วหัดดื่ม หรือจิบน้ำ จิบนมด้วยช้อนตอนอายุ 9 เดือน และต้องไม่ใช้ขวดนมในการกล่อมลูกนอน โดยปกติแล้วเมื่อลูกอายุ 9 เดือน เป็นช่วงที่จะนอนหลับยาวในตอนกลางคืน คุณแม่ไม่จำเป็นต้องปลุกขึ้นมากินนมมื้อดึกแล้ว และเมื่อลูกถึงวัยที่ต้องเลิกขวดนม แนะนำให้คุณแม่ค่อยๆ ลดจำนวนครั้งในการใช้ขวดนมกับลูก เช่น ถ้าลูกดื่มนม 3 ครั้งต่อวัน ให้เริ่มฝึกลูกเลิกดูดขวด ดังนี้
วิธีเลิกขวดนมแบบค่อยเป็นค่อยไป | ||
สัปดาห์ที่ 1 | สัปดาห์ที่ 2 | สัปดาห์ที่ 3 |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
วิธีฝึกลูกดูดหลอด สร้างความพร้อมก่อนฝึกลูกเลิกขวด
การฝึกให้ลูกดูดหลอด เป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับฝึกลูกเลิกขวดนมก่อนอายุ 1.5 ขวบ โดยให้เริ่มฝึกลูกดูดหลอดตอนอายุได้ประมาณ 8-9 เดือน ซึ่งเป็นช่วงที่ลูกเริ่มนั่งได้แล้ว สำหรับวิธีการฝึกให้ลูกดูดหลอดด้วยการดูดน้ำ สามารถทำได้ดังนี้
1. ดูดน้ำตรงปลายหลอด
ให้เอาปลายหลอดดูดน้ำเก็บไว้เล็กน้อย จากนั้นยกปลายหลอดสูง ปล่อยน้ำเข้าปากลูก เป็นการฝึกเพื่อให้ลูกรู้ว่ามีน้ำอยู่ที่ปลายหลอด
2. ปล่อยน้ำที่ปลายหลอดเป็นจังหวะ
เมื่อลูกเริ่มชินกับการดูดหลอด ให้คุณแม่ใช้มือปิดปลายหลอดด้านบนเป็นจังหวะ เพื่อให้ลูกออกแรงดูดน้ำจากปลายหลอดด้านล่าง
3. ฝึกลูกดูดน้ำจากหลอดใช้เวลา 2-3 สัปดาห์
ลูกจะค่อยๆ เริ่มดูดหลอดได้เอง ให้คุณแม่ฝึกลูกทุกวัน ซึ่งในช่วงแรกลูกอาจมีสำลักบ้าง เนื่องจากลูกยังไม่สามารถกะแรงดูดได้
4. ดูดหลอดได้แล้วให้กินนมสต็อก
ให้เทนมแม่ที่สต็อกไว้ใส่แก้ว แล้วฝึกให้ลูกกินนมแม่ด้วยการดูดหลอด หรือถ้าลูกอายุเกิน 1 ขวบแล้ว คุณแม่สามารถให้กินเป็นนมกล่อง UHT สำหรับเด็ก
สำหรับเด็กวัย 1 ขวบที่คุณแม่เริ่มเสริมให้ลูกกินนมกล่องสำหรับเด็ก นอกเหนือจากสารอาหารที่มีคุณค่าในแต่ละมื้อแล้ว คุณแม่ควรคำนึงถึงสารอาหารสำคัญที่ควรมีในนมกล่องเด็ก เช่น โอเมก้า 3, 6, 9, ดีเอชเอ, วิตามินบี 12 และ สฟิงโกไมอีลิน สารอาหารสำคัญที่ช่วยสร้างไมอีลินในสมอง ซึ่งส่งผลต่อพัฒนาการทางสมองและสติปัญญาของลูกน้อย
การเลิกขวดหักดิบมักจะใช้ในกรณีที่ลูกติดขวดนมมาก ไม่สามารถเลิกขวดได้ ซึ่งช่วงเวลาการฝึกจะใช้เวลาประมาณ 1สัปดาห์เป็นอย่างน้อยที่ลูกจะสามารถปรับตัวได้ ดังนั้นช่วงที่ฝึกลูกเลิกขวดหักดิบ คุณพ่อคุณแม่ต้องอดทนและใจแข็ง โดยเฉพาะการเลิกนมมื้อดึกที่ลูกอาจจะร้องไห้ งอแง แนะนำให้แก้ไขสถานการณ์ด้วยการร้องเพลงกล่อม เล่านิทานให้ลูกฟัง หรืออุ้มลูกขึ้นพาดบ่าเพื่อช่วยปลอบประโลมลูกให้สงบลงสำหรับลูกในช่วงวัย 1 ขวบขึ้นไป
นอกจากการได้รับโภชนาการสารอาหารจากมื้ออาหาร และการเสริมนมที่มีประโยชน์ต่อร่างกายแล้ว คุณแม่ยังสามารถส่งเสริมพัฒนาการสมองของลูกในทุกช่วงวัยได้ด้วย โปรแกรมการเล่น PlayBrain ที่ออกแบบการเล่นอย่างมีประสิทธิภาพสำหรับเด็ก โดยผู้เชี่ยวชาญด้านสมองระดับโลก หากสนใจสามารถอ่านวิธีการเล่นเสริมพัฒนาสมองลูกได้ที่นี่ https://www.s-momclub.com/playbrain
บทความแนะนำสำหรับคุณแม่มือใหม่
- Health check แบบประเมินสุขภาพของคุณแม่และพัฒนาการของลูกน้อย
- หัวนมบอด คืออะไร ปัญหาหัวนมบอดของคุณแม่ให้นมที่แก้ไขได้
- หัวนมคนท้อง การเปลี่ยนแปลงของเต้านมคนท้องระหว่างตั้งครรภ์
- หัวนมแตก อาการเจ็บหัวนมดูแลอย่างไร คุณแม่ให้นมลูกต่อได้ไหม
- วิธีให้นมลูกสำหรับคุณแม่มือใหม่ การให้นมลูกหลังคลอดที่ถูกต้อง
- วิธีให้ลูกดูดขวด เมื่อลูกติดเต้าไม่ดูดขวดนม พร้อมวิธีรับมือลูกน้อย
- วิธีกู้น้ำนม เมื่อคุณแม่น้ำนมไม่ไหล น้ำนมหด พร้อมวิธีเพิ่มน้ำนม
- วิธีจับลูกเรอ ท่าอุ้มเรอเมื่อลูกไม่เรอ ช่วยให้ลูกสบายท้องหลังอิ่มนม
- ท่าให้นมลูก ท่านอนให้นม พร้อมท่าจับเรอ ป้องกันลูกน้อยท้องอืด
- ท่อน้ำนมอุดตัน ภาวะท่อน้ำนมตันของคุณแม่ให้นมหลังคลอด
- วิธีนวดเปิดท่อน้ำนม นวดเต้าหลังคลอด แก้ไขปัญหาคุณแม่น้ำนมน้อย
อ้างอิง:
- เมื่อถึงเวลา…หนูน้อยต้องบอกลาขวดนม, ศูนย์กายภาพบำบัด คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล
- เลิกขวดนม เทคนิคดีๆ ที่พ่อแม่ต้องอ่าน (Bye-bye Bottle), โรงพยาบาลแพทย์รังสิต
- ติดขวดนมกระทบสุขภาพ สอนดื่มจากแก้วก่อน 1 ขวบ, สถาบันราชานุกูล กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
- เทคนิคช่วยให้ลูกเลิกขวดนม เลิกเมื่อไหร่ เลิกขวดนมอย่างไร? (How to Wean Your Baby off the Bottle), แพทย์หญิงทานตะวัน พระโสภา แพทย์เฉพาะทางเวชศาสตร์ฉุกเฉิน Dr.Noi The Family
- วิธีฝึกลูกดูดหลอด, แพทย์หญิงกัลย์สุดา อริยะวัตรกุล กุมารแพทย์ต่อมไร้ท่อ เลี้ยงลูกโตไปด้วยกันกับหมออร Hormone for Kids
อ้างอิง ณ วันที่ 10 พฤศจิกายน 2567