วิธีแก้นิสัยวัยทอง 2 ขวบ เอาแต่ใจร้องไห้ รับมือแบบไหนดี
ลูกวัย 2 ขวบนี้มีเรื่องอะไรมากมายให้พ่อแม่อย่างเราได้ปวดหัวกันตลอดเวลา คุณพ่อ คุณแม่ ต้องทำความเข้าใจพัฒนาการวัยนี้ให้ดีค่ะ เพื่อจะได้เตรียมพร้อมรับมือกับอารมณ์และพฤติกรรมของลูกวัยนี้ได้อย่างถูกต้อง ไปดูกันค่ะว่าเราจะรับมือเรื่องนี้กันอย่างไรได้บ้าง
ทำไมถึงเป็นวายร้ายวัย 2 ขวบ
ในช่วงพัฒนาการเด็ก 2 ขวบนี้ ลูกจะมีอารมณ์ขึ้นๆ ลงๆ มันเป็นเรื่องยากที่จะตามอารมณ์ของเจ้าตัวเล็กวัย 2 ขวบได้ทัน เด็ก 2 ขวบเดี๋ยวก็ยิ้มแย้มแจ่มใสเป็นมิตร เดี๋ยวก็บูดบึ้งขี้แง และไม่ค่อยมีเหตุผลเอาซะเลย อารมณ์แปรปรวนเหล่านี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการเติบโตของลูก ซึ่งเป็นสัญญาณการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์เมื่อลูกต้องต่อสู้เพื่อควบคุมการกระทำของตัวเอง แรงกระตุ้น ความรู้สึกและร่างกายของเขาเองค่ะ
ในวัย 2 ขวบนี้ลูกต้องการสำรวจโลกและแสวงหาการผจญภัย
เป็นผลให้ลูกใช้เวลาส่วนใหญ่ทดสอบขีดจำกัดไม่ว่าจะเป็นขีดจํากัดของลูกเอง ของคุณและสภาพแวดล้อมของลูกค่ะ แต่น่าเสียดายที่ลูกน้อยยังขาดทักษะหลายอย่างที่จำเป็นสำหรับความสำเร็จที่ลูกต้องทำและลูกมักต้องการให้คุณพ่อคุณแม่ปกป้องดูแลค่ะ เมื่อลูกน้อยทำอะไรลํ้าเส้นและถูกห้ามไม่ให้ทำ ลูกมักแสดงความโกรธและความไม่พอใจตอบโต้ออกมาค่ะ
ลูกอาจมีอารมณ์ฉุนเฉียวโกรธหรือบูดบึ้ง
อาจแสดงออกด้วยกริยาตีกลับ กัดหรือเตะได้ค่ะ ในช่วงพัฒนาการเด็ก 2 ขวบ ยังไม่สามารถควบคุมอารมณ์ไม่ได้ ดังนั้นความโกรธและความไม่พอใจของลูกมีแนวโน้มที่จะปะทุขึ้นมาทันทีในรูปแบบของการร้องไห้ การตีหรือการกรีดร้องค่ะ ซึ่งเป็นวิธีเดียวที่ลูกใช้รับมือกับความยากลำบากในการใช้ชีวิต ลูกอาจถึงขั้นแสดงกริยาบางอย่างออกมาโดยไม่ได้ตั้งใจแต่อาจเป็นอันตรายต่อตัวเองหรือคนอื่นๆ

ทำไมลูกดื้อเฉพาะตอนอยู่กับพ่อแม่
ด้วยพฤติกรรมเด็กวัย 2 ขวบนี้อาจทำให้เขาไม่เชื่อใจคนอื่น แต่จะออกฤทธิ์การทดสอบขีดจำกัดของตัวเองทันทีเมื่ออยู่กับพ่อแม่ เพราะรู้ว่า ยังไงพ่อแม่หรือคนใกล้ชิดจะช่วยเขาทันทีเมื่อมีปัญหา เช่น เมื่อคุณต้องปล่อยให้ลูกอยู่กับพี่เลี้ยงเด็ก ลูกอาจโกรธและอาละวาดเมื่อต้องแยกกับคุณ หรือลูกอาจครวญครางหรือทําสะอึกสะอื้นเกาะคุณไม่ปล่อย หรือลูกอาจแค่ข่มอารมณ์และเงียบไป สำคัญที่สุด คือความใจเย็น ไม่ว่าพฤติกรรมของลูกเป็นอย่างไรก็ตาม ให้คุณพยายามไม่แสดงออกโดยการดุหรือลงโทษลูกนะคะ
พ่อแม่จะรับมือพฤติกรรมและอารมณ์ลูกวัยสองขวบอย่างไร
ขอย้ำกว่า กุณแจสำคัญในการรับมือกับอารมณ์ของเด็กช่วงวัย 2 ขวบนี้ คือความสม่ำเสมอในการชี้นำลูก คุณต้องมั่นคง เน้นย้ำลูกบ่อยๆ อย่างใจเย็น ให้ชื่นชมลูกน้อยทุกครั้งที่ลูกเล่นกับเด็กคนอื่นได้ดี หรือเมื่อใดก็ตามที่ลูกทานอาหาร แต่งตัวหรือถอดเสื้อผ้าด้วยตัวเองโดยปราศจากความช่วยเหลือของคุณ หรือชื่นชมลูกน้อยเมื่อคุณช่วยลูกเริ่มต้นทำกิจกรรมและลูกทําสําเร็จได้ด้วยตัวเอง
อย่างไรก็ตามคุณควรปรึกษาคุณหมอถ้าลูกน้อยดูเหมือนไม่มีปฎิกิริยาเชิงรุกใดๆหรือเก็บเนื้อเก็บตัว ซึมเศร้าอยู่ตลอดเวลาหรือชอบออกคำสั่งและมักไม่ค่อยพอใจกับอะไรเลย อาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณของภาวะซึมเศร้าที่เกิดจากความเครียดบางอย่างที่ซ่อนอยู่หรือปัญหาบางอย่างทางร่างกาย ถ้าคุณหมอสงสัยว่าลูกของคุณมีภาวะซึมเศร้า คุณหมออาจแนะนําให้คุณพาลูกไปพบจิตแพทย์เด็กเพื่อรับคำปรึกษาค่ะ
อ้างอิง
American Academy of Pediatrics (2015). Emotional Development: 2-Year-Olds. Healthy Children [Online].
Available: https://www.healthychildren.org/English/ages-stages/toddler/Pages/Emotional-Development-2-Year-Olds.aspx [Nov. 21,2015]
บทความแนะนำ

ยิ่งเล่น ลูกยิ่งเรียนรู้ ยิ่งฉลาด
การเล่นคืองานของเด็ก และการเล่น ไม่ใช่แค่การเล่น แต่เป็นการเรียนรู้ที่ยิ่งใหญ่ การเล่นของเด็กเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองโดยไม่มีการบังคับ เด็กต้องการเล่นอยู่ตลอดเวลา โดยไม่กำหนดเวลา และเด็กมีความสุขเมื่อได้เล่น การเล่นช่วยส่งเสริมพัฒนาการในทุกด้าน ทั้งพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เด็กวัยแรกเกิด – 5 ปี ที่สมองของเด็กในช่วงวัยนี้จะทำงานสูงสุดขณะเล่น ด้วยเป็นภาวะที่สมองพร้อมเรียนรู้ ไม่ตึงเครียด มีภาวะตื่นตัว และมีแรงจูงใจ การเล่นช่วยเพิ่มศักยภาพการทำงานของสมอง ประสบการณ์ขณะเล่นจะกระตุ้นเซลล์สมองและสารสื่อประสาทต่างๆ ทำให้เกิดการเชื่อมโยงของเครือข่ายเส้นใยสมอง และเพื่อให้การเรียนรู้นอกบ้านไม่สะดุด คุณแม่ควรเลือกนมยูเอชทีกล่องแรกสำหรับลูก ที่มีสฟิงโกไมอีลิน ดีเอชเอ โอเมก้า 3, 6, 9 โคลีน แอลฟา-แล็คตัลบูมิน และลูทีน ซึ่งเป็นสารอาหารสำคัญต่อพัฒนาการการเรียนรู้ของเด็ก เพื่อให้ลูกเรียนรู้ได้อย่างเต็มที่

เริ่มนมยูเอชทีกล่องแรก คุณแม่ต้องเลือกอย่างไร
เด็กวัย 1 ปี สามารถกินอาหารได้ครบ 3 มื้อแบบผู้ใหญ่ แต่ยังมีความจำเป็นที่จะต้องดื่มนมวันละ 3 แก้ว เพื่อเสริมสารอาหารที่มีประโยชน์ เด็กวัยนี้จะเรียนรู้โลกกว้างจากการได้พบเจอสิ่งใหม่ๆ จากการลงมือทำ ดังนั้นเมื่อต้องออกไปเรียนรู้นอกบ้าน นมกล่องสำหรับเด็กจึงกลายเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่สะดวก คุณแม่ควรเลือกนมกล่องที่ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการทางสมองและการเรียนรู้ที่ต่อเนื่องจากนมแม่

โภชนาการลูก วัย 2 - 3 ขวบ เด็กวัยนี้ต้องกินอะไรให้ฉลาดและแข็งแรง
หนึ่งในหลายปัญหาที่พ่อแม่ต้องเผชิญเมื่อลูกรักเข้าสู่วัย 2 – 3 ปี คือ ปัญหาด้านโภชนาการ เด็กวัยนี้เริ่มมีความเป็นตัวเองมากขึ้น รู้ว่าตัวเองชอบหรือไม่ชอบอะไร จึงค่อนข้างเลือกกิน และกินยาก ทำเอาพ่อแม่ต่างเป็นกังวลว่า ลูกจะกลายเป็นเด็กตัวเล็ก รูปร่างแคระแกร็น น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ มีพัฒนาการทางด้านร่างกายและสติปัญญาด้อยกว่าเพื่อนวัยเดียวกัน

กินอะไรให้ลูกฉลาด สารอาหารชนิดไหนช่วยพัฒนาสมองลูก
นอกจากวิธีการกระตุ้นพัฒนาการของลูกแล้ว “ให้ลูกกินอะไร ลูกถึงจะสมองดี?” ก็เป็นอีกคำถามยอดฮิตที่คุณแม่หลายคนสงสัยกัน เพราะเรื่องโภชนาการหรืออาหารการกินของลูกนั้น เป็นเรื่องสำคัญที่ส่งผลโดยตรงต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการด้านต่าง ๆ ดังนั้น ในวันนี้เราจึงอยากแนะนำและให้ข้อมูลแก่คุณแม่ เกี่ยวกับอาหาร โภชนาการที่จะช่วยในการเสริมสร้างพัฒนาให้กับสมองของลูกน้อย