คลอดลูกในน้ำ ทางเลือกการคลอดลูก ด้วยวิธีธรรมชาติ สำหรับคุณแม่มือใหม่

คลอดลูกในน้ำ ทางเลือกการคลอดลูก ด้วยวิธีธรรมชาติ สำหรับคุณแม่มือใหม่

17.02.2024

หลังจากอุ้มท้องมาร่วม 9 เดือนแล้ว ก็เดินทางมาถึงช่วงเวลาสำคัญ ที่คุณแม่และลูกน้อยจะได้เจอหน้ากันครั้งแรก ผ่าน ‘การคลอด’ นั่นเอง โดยการคลอดนั้นสามารถทำได้ทั้งการผ่าคลอด และการคลอดธรรมชาติ โดยพิจารณาตามการวินิจฉัยของแพทย์ วันนี้เราจะมาพูดถึงการคลอดธรรมชาติอีกวิธีหนึ่งที่กำลังได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน นั่นก็คือ ‘การคลอดในน้ำ’ 

headphones

PLAYING: คลอดลูกในน้ำ ทางเลือกการคลอดลูก ด้วยวิธีธรรมชาติ สำหรับคุณแม่มือใหม่

อ่าน 5 นาที

 

สรุป

  • การคลอดในน้ำ เป็นวิธีการคลอดธรรมชาติที่กำลังได้รับความนิยมแพร่หลายในต่างประเทศ การคลอดด้วยวิธีนี้จะช่วยให้คุณแม่รู้สึกผ่อนคลาย ลดความเจ็บปวดขณะคลอด และสามารถฟื้นตัวได้เร็ว
  • การคลอดในน้ำ ต้องอยู่ในการดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างใกล้ชิดในทุกขั้นตอน และเลือกโรงพยาบาลที่มีมาตรฐานเพื่อความปลอดภัย

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

คลอดลูกในน้ำ เป็นการคลอดแบบธรรมชาติที่ได้รับความสนใจและความนิยมอย่างแพร่หลายในต่างประเทศ ที่มีการนำเอาหลักธาราบำบัด หรือเป็นการรักษาโดยใช้คุณสมบัติของน้ำ เช่น ความดันน้ำ แรงลอยตัว เข้ามาช่วยในเรื่องของการคลอด ด้วยการคลอดในน้ำนั้นจะใช้การเบ่งคลอดคล้ายคลึงกับการคลอดธรรมชาติแบบปกติ การคลอดด้วยวิธีนี้จะช่วยลดความเจ็บปวดขณะคลอดเนื่องจากน้ำช่วยให้ออกซิเจนสามารถไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ได้ดี ระบบเลือดไหลเวียนทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้คุณแม่สามารถคลอดลูกได้ง่าย รู้สึกผ่อนคลายขึ้น

 

ข้อดีของการคลอดลูกในน้ำ สำหรับคุณแม่

การคลอดในน้ำ มีข้อดีสำหรับคุณแม่ดังนี้

  • การคลอดลูกด้วยวิธีการคลอดในน้ำ คุณแม่จะรู้สึกเจ็บปวดน้อยกว่าการคลอดธรรมชาติแบบทั่วไป รู้สึกเบาสบาย และเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระเมื่ออยู่ในอ่างน้ำอุ่น
  • การคลอดในน้ำอุ่น คุณแม่จะอยู่ในภาวะผ่อนคลาย ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนเอ็นดอร์ฟินส์เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ช่วยบรรเทาอาการปวด ลดความเครียด สามารถลดอาการเจ็บปวดได้
  • หลังคลอดร่างกายของคุณแม่จะฟื้นตัวได้เร็ว

 

ข้อดีของการคลอดลูกในน้ำ สำหรับลูกน้อย

นอกจากจะมีข้อดีสำหรับคุณแม่แล้ว การคลอดในน้ำยังมีข้อดีสำหรับทารกน้อยที่กำลังจะลืมตาดูโลกอีกด้วย ดังนี้

  • เมื่อศีรษะของทารกพ้นจากช่องคลอดแล้ว แรงดันในน้ำจะช่วยรองรับแรงกระแทกให้ทารกลอยตัวอยู่ในน้ำ และป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายจากการกระแทก
  • น้ำอุ่นมีอุณหภูมิคล้ายคลึงในน้ำคร่ำ ช่วยให้ทารกรู้สึกปลอดภัย

 

ขั้นตอนการคลอดลูกในน้ำ ที่คุณแม่ควรรู้

 

ขั้นตอนการคลอดลูกในน้ำ เป็นอย่างไร

ขั้นตอนการคลอดลูกในน้ำ แบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอนหลัก ๆ ได้แก่ ขั้นเตรียมการ (ก่อนคลอด) และขั้นตอนการคลอด

 

ขั้นเตรียมการ

  • คุณแม่รวมถึงคนในครอบครัวควรศึกษาข้อมูลอย่างถี่ถ้วน และขอรับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการคลอดในน้ำ เพื่อให้ได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง และเป็นประโยชน์ที่สุด
  • ควรให้แพทย์ตรวจร่างกายวินิจฉัยว่าคุณแม่สามารถคลอดด้วยวิธีการคลอดในน้ำได้หรือไม่ และควรมีแผนสำรองไว้เสมอหากวินิจฉัยแล้วว่าคลอดในน้ำไม่ได้
  • เลือกโรงพยาบาลที่มีความน่าเชื่อถือ ได้มาตรฐานสากล ทีมแพทย์และพยาบาลมีความเชี่ยวชาญ

 

ขั้นตอนการคลอด

  • คุณแม่ลงไปแช่ในอ่างน้ำอุ่นที่มีอุณหภูมิประมาณ 33-37 องศาเซลเซียส
  • เมื่อแช่น้ำจนปากมดลูกเริ่มขยายเปิดอย่างเต็มที่ คุณแม่จึงเริ่มเบ่งตามขั้นตอนการคลอดปกติ
  • ทุกขั้นตอนของการคลอดในน้ำต้องอยู่ในการดูแลของทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างใกล้ชิด

 

ทำไมการคลอดลูกในน้ำ ต้องใช้น้ำอุณหภูมิ 33-37 องศาเซลเซียส

การคลอดลูกในน้ำ จำเป็นต้องให้คุณแม่ลงไปแช่ในน้ำอุ่นที่มีอุณหภูมิ 33-37 องศาเซลเซียส เพราะเป็นอุณหภูมิที่ใกล้เคียงกับถุงน้ำคร่ำมากที่สุด เพื่อให้ทารกรู้สึกปลอดภัย และสามารถปรับตัวได้ดี

 

คลอดลูกในน้ำ ต้องเลือกโรงพยาบาลที่ได้มาตรฐานสากล

 

คลอดลูกในน้ำ ต้องเลือกโรงพยาบาลที่ได้มาตรฐานสากล

การคลอดในน้ำ นอกจากการเตรียมสุขภาพร่างกายและจิตใจของคุณแม่ให้พร้อมสำหรับการคลอดแล้ว การเลือกโรงพยาบาลที่ได้มาตรฐานสากลก็เป็นอีกหนึ่งขั้นตอนของการเตรียมความพร้อม เพื่อให้การคลอดเป็นไปอย่างราบรื่นที่สุดและปลอดภัยที่สุด สำหรับคุณแม่และทารกน้อย

 

โดยเหตุผลประการต่าง ๆ ที่ต้องเลือกโรงพยาบาลได้มาตรฐานสากลในการคลอดลูก มีดังต่อไปนี้

  1. การเลือกโรงพยาบาลที่มีความน่าเชื่อถือ ได้มาตรฐานสากล คุณแม่มั่นใจได้เลยว่าจะได้ทีมแพทย์ พยาบาลผู้เชี่ยวชาญที่พร้อมให้คำแนะนำ และวางแผนการคลอดให้เป็นไปอย่างราบรื่น
  2. เพื่อจะได้รับการบริการที่ดี ดูแลทั่วถึงและครอบคลุมทุกด้าน ทำให้คุณแม่สามารถเข้าสู่กระบวนการคลอดได้อย่างสบายใจ ไร้ความกังวล
  3. มีการเตรียมน้ำ อ่างน้ำสำหรับคลอด และอุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์ที่ฆ่าเชื้อตามมาตรฐาน ไม่ต้องกังวลเรื่องการติดเชื้อ
  4. เมื่อผ่านกระบวนการคลอดมาแล้ว คุณแม่จะได้รับการดูแลหลังการคลอดที่ดี ทั้งการพักฟื้น การขอรับคำปรึกษา ไปจนถึงการดูแลพัฒนาการของลูกน้อยตั้งแต่แรกเกิดจนโต

 

การคลอดลูกในน้ำ การคลอดลูกแบบปกติ หรือการผ่าคลอด นับเป็นช่วงเวลาที่สำคัญที่สุดของคุณแม่และคนในครอบครัว ดังนั้นคุณแม่จึงต้องดูแลตัวเองให้พร้อมในทุก ๆ ด้าน ศึกษาข้อมูล เตรียมการอย่างถูกต้องเหมาะสมในทุกขั้นตอนของการคลอด เพื่อให้ลูกน้อยออกมาแข็งแรงที่สุด สมกับการรอคอยมาร่วม 9 เดือน หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการคลอดหรือพบปัญหาควรขอเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทันที

 

นอกจากนี้ คุณแม่คนไหนที่กำลังจะคลอดเจ้าตัวเล็ก และต้องการดูฤกษ์คลอดสำหรับลูกน้อย สามารถดูฤกษ์ผ่าคลอด วันมงคล เวลาดี สำหรับลูกน้อย เสริมความเป็นสิริมงคลให้ลูกน้อยได้เช่นกัน

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

 

 

อ้างอิง:

  1. คลอดธรรมชาติหรือผ่าตัดคลอดแตกต่างกันอย่างไร, โรงพยาบาลเพชรเวช
  2. สารเอ็นดอร์ฟินส์ สารสุข สร้างประโยชน์ให้ร่างกาย, MedPark Hospital
  3. “การคลอดลูกในน้ำ” ทางเลือกการคลอดวิถีธรรมชาติ ควรดูแลโดยสูติแพทย์, Hfocus
  4. Water Births, American Pregnancy Association
  5. Planning a water birth, babycentre
  6. Birth, Bath, and Beyond: The Science and Safety of Water Immersion During Labor and Birth, National Library of Medicine

อ้างอิง ณ วันที่ 2 มกราคม 2567

บทความแนะนำ

คุณแม่ปวดท้องข้างขวา บอกอะไรบ้าง ปวดท้องแบบไหนต้องไปหาหมอ

คุณแม่ปวดท้องข้างขวา บอกอะไรบ้าง ปวดท้องแบบไหนต้องไปหาหมอ

ว่าที่คุณแม่ปวดท้องข้างขวา มีอาการปวดท้องน้อยหน่วง ๆ เกิดจากอะไร อาการแบบนี้เกิดกับคุณแม่ท้องทุกคนหรือไม่ คุณแม่มีอาการปวดท้องข้างขวา ควรดูแลตัวเองยังไง ไปดูกัน

คนท้องกินยาพาราได้ไหม ทำไมก่อนกินยาคนท้องต้องปรึกษาหมอทุกครั้ง

คนท้องกินยาพาราได้ไหม ทำไมก่อนกินยาคนท้องต้องปรึกษาหมอทุกครั้ง

คุณแม่ตั้งครรภ์มีอาการปวดหัว ปวดตัวและปวดหลังขณะตั้งครรภ์ อาการแบบนี้คนท้องกินยาพาราได้ไหม ทำไมก่อนกินยาแต่ละครั้งคนท้องต้องปรึกษาหมอทุกครั้งก่อนรับประทานยา

คุณแม่ปวดท้องข้างซ้าย บอกอะไรได้บ้าง ปวดท้องแบบไหนต้องไปหาหมอ

คุณแม่ปวดท้องข้างซ้าย บอกอะไรได้บ้าง ปวดท้องแบบไหนต้องไปหาหมอ

คุณแม่ปวดท้องข้างซ้าย มีอาการปวดท้องน้อยด้านซ้าย อาการแบบนี้เกิดกับคุณแม่ท้องทุกคนหรือไม่ คุณแม่มีอาการปวดท้องข้างซ้าย ควรดูแลตัวเองยังไง ไปดูกัน

พาหะธาลัสซีเมีย อันตรายไหม ทำไมควรตรวจธาลัสซีเมียก่อนแต่งงาน

พาหะธาลัสซีเมีย อันตรายไหม ทำไมควรตรวจธาลัสซีเมียก่อนแต่งงาน

พาหะธาลัสซีเมีย คืออะไร โรคธาลัสซีเมีย อันตรายไหม ทำไมควรตรวจหาธาลัสซีเมียก่อนแต่งงานและก่อนวางแผนตั้งครรภ์ ไปดูอาการโรคธาลัสซีเมียและวิธีการตรวจเบื้องต้น

คนท้องกินกาแฟได้ไหม ตั้งครรภ์แต่ติดกาแฟอันตรายหรือไม่ ทำอย่างไรดี

คนท้องกินกาแฟได้ไหม ท้องอยู่แต่ติดกาแฟอันตรายกับลูกหรือเปล่า

คนท้องกินกาแฟได้ไหม คุณแม่ท้องติดกาแฟมาก กินกาแฟช่วงตั้งครรภ์ได้ไหม จะเป็นอันตรายกับลูกในครรภ์หรือเปล่า ควรกินเท่าไหร่ถึงไม่อันตรายกับลูกน้อย

เช็กน้ำหนักทารกในครรภ์ ลูกน้ำหนักตัวเท่าไหร่ คุณแม่ควรรู้อะไรบ้าง

ตารางน้ำหนักทารกในครรภ์ น้ำหนักลูกในครรภ์ที่แม่ควรรู้

ตารางน้ำหนักทารกในครรภ์ น้ำหนักลูกในครรภ์ เรื่องสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่ต้องรู้ เพราะน้ำหนักทารกในครรภ์ ช่วยบอกถึงพัฒนาการตามวัยของลูกน้อยในท้องได้

ปากมดลูกเปิดมีอาการยังไง กระตุ้นปากมดลูกนานแค่ไหน กว่าจะคลอด

กระตุ้นปากมดลูก ปากมดลูกเปิดมีอาการยังไง นานแค่ไหนกว่าจะคลอด

เมื่อคุณแม่ใกล้คลอด ปากมดลูกจะเริ่มเปิดมากขึ้น อาการปากมดลูกเปิดเป็นยังไง คุณแม่ใกล้คลอดต้องกระตุ้นปากมดลูกไหม พร้อมอาการใกล้คลอดที่คุณแม่ควรรู้

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก