อายุครรภ์ 4 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 4 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อายุครรภ์ 4 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 4 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

15.03.2024

ตอนนี้คุณแม่ตั้งครรภ์ได้ 4 สัปดาห์หรือเท่ากับ 1 เดือนแล้วจะมีอะไรเปลี่ยนแปลงขึ้นกับร่างกายของคุณแม่บ้างนะ แล้วลูกน้อยในท้องมีพัฒนาการถึงไหนแล้ว คุณแม่หลายคนที่กำลังตั้งครรภ์คงตื่นเต้นและอยากรู้เรื่องต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับทารกในท้องโดยเฉพาะคุณแม่ท้องแรก ใครที่กำลังว้าวุ่นใจลองมาหาคำตอบกับบทความนี้เลย

headphones

PLAYING: อายุครรภ์ 4 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 4 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อ่าน 6 นาที

 

สรุป

  • คนท้อง 4 สัปดาห์อาจพบเลือดออกเล็กน้อยหรือกะปริบกระปรอ ยจากช่องคลอด หรือที่เรียกว่า เลือดล้างหน้าเด็กที่ไหลออกมาในระยะเวลาสั้น ๆ 1-2 วัน และจะหายไป
  • ในร่างกายของคุณแม่จะพบถุงการตั้งครรภ์แล้ว โดยประกอบไปด้วยน้ำคร่ำ และตัวอ่อน (ทารก) มีลักษณะเป็นของเหลวทรงกลมหรือทรงรี สามารถมองเห็นได้จากการอัลตราซาวด์
  • ขณะนี้ลูกน้อยในท้องมีขนาดเล็กจิ๋วไม่กี่มิลลิเมตรเท่านั้น แต่ลูกน้อยเริ่มที่จะมีการพัฒนาทางร่างกายและอวัยวะต่าง ๆ แล้ว คุณแม่จึงต้องดูแลตัวเองเป็นพิเศษเพื่อสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงและสมบูรณ์ของลูกน้อยในท้อง

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์ได้ 4 สัปดาห์ อาจรู้สึกถึงอาการแน่นท้องและอาจพบเลือดออกจากช่องคลอดเล็กน้อยที่เรียกว่า “เลือดล้างหน้าเด็ก ” เนื่องจากไข่และอสุจิได้ปฏิสนธิกันและได้กลายเป็นตัวอ่อนเข้าไปฝังตัวที่เยื่อบุโพรงมดลูก ทำให้คุณแม่มีเลือดออกทางช่องคลอดเป็นสีชมพูแบบกระปริบประปรอยคล้ายประจำเดือน รวมถึงอาจมีการปวดท้องน้อยร่วมด้วย โดยอาการเลือดล้างหน้าเด็กต่างจากการอาการเป็นประจำเดือน คือ

  • เลือดล้างหน้าเด็ก จะเกิดขึ้นเพียง 1-2 วัน เท่านั้น ส่วนการเป็นประจำเดือนจะมีเลือดออกมาในปริมาณมากกว่าแต่ไม่เกิน 7 วัน
  • อาจมีอาการปวดท้องร่วมด้วย แต่ไม่มากเหมือนกันกับปวดประจำเดือน

 

หากคุณแม่รู้สึกปวดท้องน้อยมาก ๆ ที่รุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ พร้อมกับมีเลือดออกตอนท้องอ่อน ๆ ร่วมด้วย คุณแม่ควรรีบไปพบคุณหมอเพราะอาจเป็นสัญญาณอันตรายของการตั้งครรภ์ เช่น ความผิดปกติของมดลูก ตัวอ่อน หรือการอักเสบติดเชื้อ เป็นต้น

 

ถุงตั้งครรภ์ 4 สัปดาห์ คืออะไร?

ถุงตั้งครรภ์ (Gestational Sac) เป็นถุงที่อยู่อาศัยของตัวอ่อนที่พัฒนาขึ้นภายในโพรงมดลูก มีลักษณะเป็นของเหลวทรงกลมหรือทรงรี ประกอบด้วย น้ำคร่ำ และตัวอ่อน ซึ่งถุงตั้งครรภ์นั้นจะเริ่มเกิดขึ้นเมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์เข้าสู่สัปดาห์ที่ 4-5 มีขนาดเล็กมากแต่สามารถมองเห็นได้จากการอัลตราซาวด์ โดยปกติแล้วจะอัลตราซาวด์แล้วสามารถพบถุงการตั้งครรภ์ได้เมื่อคุณแม่ท้องได้ 4-5 สัปดาห์ หากในช่วงนั้นคุณแม่อัลตราซาวด์แล้วไม่พบการตั้งครรภ์อาจเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ เช่น อายุครรภ์ที่น้อยเกินไป หรือ การตั้งครรภ์นอกมดลูก หรือการแท้ง เป็นต้น

 

อาการคนท้อง 4 สัปดาห์ ที่พบได้ทั่วไป

คุณแม่หลายคนอาจยังไม่รับรู้ถึงอาการคนท้อง แต่ยังมีคุณแม่อีกไม่น้อยที่รู้สึกถึงอาการคนท้อง 4 สัปดาห์ที่แตกต่างกันออกไป คือ

  • มีเลือดออกกระปริบกระปอยจากช่องคลอด อาการนี้เรียกว่า เลือดล้างหน้าเด็ก เกิดจากการฝังตัวของตัวอ่อนที่เยื่อบุโพรงมดลูก ทำให้คุณแม่มีเลือดออกในปริมาณเล็กน้อย บางคนอาจรู้สึกปวดเกร็งท้องเล็กน้อย และหน้าอกขยายใหญ่ขึ้นด้วย
  • เต้านมขยาย การเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนอย่างรวดเร็วในช่วงแรกของการตั้งครรภ์ ทำให้เต้านมของคุณแม่ขยายใหญ่ขึ้น บริเวณหัวนมและรอบ ๆ หัวนมมีสีที่เข้มขึ้น บางครั้งคุณแม่จึงรู้สึกเจ็บ หรือเสียวบริเวณเต้านม
  • คลื่นไส้ อาการคลื่นไส้แพ้ท้องเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเช่นกัน อาจทำให้คุณแม่ที่ตั้งท้องในช่วงแรกขับถ่ายน้อยลงและมีอาการแพ้ท้อง ได้ง่ายโดยเฉพาะตอนเช้า รู้สึกอยากอาหารบ้างหรือเหม็นอาหารบ้าง อย่างไรก็ตามอาการแพ้ท้องสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดทั้งวันและอาจเกิดขึ้นได้ตลอดการตั้งครรภ์ ซึ่งอาการแพ้ท้องจะดีขึ้นเมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์เข้าสู่ไตรมาสที่ 2
  • อาการอื่น ๆ อาการของคนท้องยังพบได้อีกหลายอาการ เช่น อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย ท้องอืด และอาจมีตะคริวเล็กน้อย

 

ท้อง 4 สัปดาห์ ท้องจะใหญ่ขึ้นแค่ไหน

ช่วงนี้คุณแม่อาจยังไม่เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของหน้าท้องเท่าไหร่นัก เพราะลูกน้อยมีขนาดตัวที่เล็กมากไม่กี่ มิลลิเมตร คุณแม่จะรู้สึกได้เพียงอาการของคนท้อง เช่น อาการปวดท้อง อาการเลือดออกจากช่องคลอดเล็กน้อยที่เรียกว่า เลือดล้างหน้าเด็ก เป็นต้น

 

ท้อง 4 สัปดาห์ ลูกในครรภ์จะตัวใหญ่แค่ไหน

ทารกในครรภ์อายุ 4 สัปดาห์ มีขนาดเล็กมาก ประมาณ ¼ นิ้ว ใน ช่วงนี้จะเกิดการแบ่งเซลล์ของตัวอ่อน ซึ่งจะถูกแบ่งออกเป็นชั้นต่าง ๆ

 

พัฒนาการของทารกในครรภ์อายุ 4 สัปดาห์

ตัวอ่อนจะถูกแบ่งเซลล์ออกเป็นชั้นต่าง ๆ คือ

  • ชั้นนอก เรียกว่า Ectoderm ที่จะพัฒนาไปเป็นสมอง เส้นประสาท และผิวหนังของลูกน้อย
  • ชั้นกลาง เรียกว่า Mesoderm พัฒนาไปเป็นกล้ามเนื้อ หัวใจ เส้นเลือด และอวัยวะเพศของเด็ก
  • ชั้นใน เรียกว่า Endoderm ชั้นนี้จะพัฒนาไปเป็นตับ หัวใจ ปอด และอวัยวะอื่น ๆ ของทารก

 

การดูแลตัวเอง สำหรับคุณแม่ท้อง 4 สัปดาห์

 

การดูแลตัวเอง สำหรับคุณแม่ท้อง 4 สัปดาห์

1. ฝากครรภ์

เมื่อคุณแม่ทราบว่าตัวเองกำลังตั้งครรภ์ควรรีบไปฝากท้องทันที เพราะการฝากครรภ์สามารถช่วยลดอาการแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นในระหว่างการตั้งครรภ์ได้ อีกทั้งคุณหมอจะช่วยแนะนำการทานอาหาร การปฏิบัติตัวเมื่อตั้งครรภ์ ตรวจดูพัฒนาการการตั้งครรภ์ของทารก เพื่อให้คุณแม่และลูกน้อยในท้องเติบโตอย่างแข็งแรง และสมบูรณ์มากที่สุด

 

2. ปฏิบัติตนตามคำแนะนำของแพทย์

หากคุณแม่เข้ารับการฝากครรภ์ คุณหมอจะแนะนำวิธีการดูแลตัวเองรวมถึงลูกน้อยในท้อง เช่น การรับประทานอาหารที่เหมาะสม วิตามินหรือแร่ธาตุที่จำเป็นต่อการตั้งครรภ์ เช่น โฟลิกหรือโฟเลต ที่มีส่วนสำคัญต่อพัฒนาการทางสมองของเด็กอย่างมาก

 

3. ทานอาหารที่อุดมไปด้วยสารอาหารนานาชนิด

อาหารเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยเสริมสร้างร่างกายของทารก นอกจากอาหารที่อุดมไปด้วยโฟเลตที่พบได้ตามผักใบเขียว ถั่ว กล้วย บรอกโคลี ธัญพืชไม่ขัดสี และนมแล้ว คุณแม่ควรทานอาหารที่อุดมไปด้วยธาตุเหล็ก แคลเซียม วิตามินดี โคลีน กรดไขมันโอเมก้า 3 วิตามินบี และวิตามินซีที่เป็นประโยชน์ต่อลูกน้อยด้วย

 

ในช่วงของการตั้งท้อง 4 สัปดาห์ ถึงแม้ว่าลูกน้อยในท้องของคุณแม่จะมีขนาดตัวที่เล็กมาก แทบไม่เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงขนาดท้องของคุณแม่เลย แต่ช่วงนี้เป็นช่วงที่ร่างกายของลูกน้อยในครรภ์กำลังเริ่มต้นสร้างอวัยวะและระบบต่าง ๆ คุณแม่จึงควรดูแลตัวเองให้เป็นอย่างดี โดยเริ่มจากการฝากครรภ์และเข้าพบคุณหมออย่างตามนัดต่อเนื่อง ทานอาหารที่มีประโยชน์ ดื่มนมเป็นประจำ เพื่อให้ลูกน้อยได้รับสารอาหารที่ดีและเหมาะสมต่อพัฒนาการทางร่างกายและสมองของทารก

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

 

 

อ้างอิง:

  1. 4 Weeks Pregnant, what to expect
  2. เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับเลือดล้างหน้าเด็ก สัญญาณแรกของการตั้งครรภ์, pobpad
  3. เลือดออกในช่องคลอด หนึ่งในสัญญาณอันตรายขณะตั้งครรภ์, โรงพยาบาลเปาโล
  4. ถุงตั้งครรภ์ คืออะไร มีความสำคัญอย่างไร, hellokhunmor
  5. Early Pregnancy: Pregnancy Services at UPMC Magee-Womens in Central Pa., University of Pittsburgh Medical Center
  6. การดูแลคุณแม่ตั้งครรภ์และพัฒนาการทารกในครรภ์, โรงพยาบาลแมคคอร์มิค
  7. การฝากครรภ์สำคัญอย่างไร ?, โรงพยาบาลบางปะกอก 3

อ้างอิง ณ วันที่ 14 มกราคม 2567

บทความแนะนำ

อารมณ์คนท้องแปรปรวน เกิดจากอะไร คุณพ่อมือใหม่รับมือยังไงดี

อารมณ์คนท้องแปรปรวน เกิดจากอะไร คุณพ่อมือใหม่รับมือยังไงดี

อารมณ์คนท้องแปรปรวน คนท้องมีอารมณ์ขึ้น ๆ ลง ๆ เกิดจากสาเหตุอะไร คุณแม่ท้องอารมณ์แปรปรวนบ่อย ส่งผลกระทบกับลูกในครรภ์ไหม พร้อมวิธีรับมือเมื่อคนท้องอารมณ์แปรปรวน

อาหารคนแพ้ท้องสำหรับคุณแม่ อาหารคนแพ้ท้องที่คุณแม่ควรกิน

อาหารคนแพ้ท้องสำหรับคุณแม่ อาหารคนแพ้ท้องที่คุณแม่ควรกิน

อาหารคนแพ้ท้อง สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์มีอยู่จริงไหม อาหารแบบไหนช่วยลดอาการเวียนหัว คลื่นไส้และอาเจียนของคุณแม่ได้ ไปดูอาหารคนแพ้ท้องที่ปลอดภัยกัน

สะดือคนท้องบอกอะไรได้บ้าง สะดือหงายสะดือคว่ำดูยังไง

สะดือคนท้องบอกอะไรได้บ้าง สะดือหงายสะดือคว่ำดูยังไง

สะดือคนท้อง บอกอะไรได้บ้าง สะดือหงายสะดือคว่ำดูยังไง การเปลี่ยนแปลงของสะดือคุณแม่ บ่งบอกถึงปัญหาสุขภาพของแม่ท้องและลูกได้ไหม สะดือคนท้องทายเพศลูกได้จริงหรือเปล่า

คนท้องเลือดจางห้ามกินอะไร ควรกินอะไรบ้าง พร้อมวิธีรับมือ

คนท้องเลือดจางห้ามกินอะไร ควรกินอะไรบ้าง พร้อมวิธีรับมือ

คนท้องเลือดจางห้ามกินอะไร ภาวะเลือดจากในคนท้อง เกิดจากอะไร อาหารอะไรบ้างที่คนท้องเลือดจางห้ามกินและกินได้ คุณแม่มีภาวะเลือดจากจะเป็นอันตรายกับลูกในท้องไหม

รก คืออะไร หน้าที่ของรกมีอะไรบ้าง รกผิดปกติ อันตรายกับคุณแม่แค่ไหน

รก คืออะไร หน้าที่ของรกมีอะไรบ้าง รกผิดปกติ อันตรายกับคุณแม่แค่ไหน

รก คืออะไร หน้าที่ของรกสำคัญแค่ไหน เมื่อคุณแม่เริ่มตั้งครรภ์ พร้อมวิธีสังเกตความผิดปกติของรก ที่คุณแม่ควรรู้ เพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิดกับทารกในครรภ์

น้ำคร่ำน้อย เกิดจากอะไร น้ำคร่ำน้อยตอนใกล้คลอด อันตรายไหม

น้ำคร่ำน้อย เกิดจากอะไร น้ำคร่ำน้อยตอนใกล้คลอด อันตรายไหม

น้ำคร่ำน้อย สัญญาณอันตรายที่คุณแม่ตั้งครรภ์ไม่ควรมองข้าม น้ำคร่ำน้อยระหว่างตั้งครรภ์ มีอาการอย่างไร น้ำคร่ำน้อยตอนใกล้คลอดอันตรายไหม พร้อมวิธีดูแลตัวเอง 

คุณแม่เจ็บแผลทำหมันกี่วัน พร้อมวิธีดูแลตัวเองหลังทำหมัน

คุณแม่เจ็บแผลทำหมันกี่วัน พร้อมวิธีดูแลตัวเองหลังทำหมัน

คุณแม่เจ็บแผลทำหมันกี่วัน ใช้เวลานานแค่ไหนกว่าแผลทำหมันจะหายดี เจ็บแผลทำหมัน พร้อมวิธีดูแลตัวเองหลังทำหมันที่ถูกต้อง ช่วยให้แผลหายเร็วและปลอดภัย

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก