พัฒนาการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 29

พัฒนาการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 29

 พัฒนาการการตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์  พัฒนาการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 29

headphones
อ่าน 3 นาที

 พัฒนาการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 29

 

ในไตรมาสที่ 3 นี้ มดลูกจะมีขนาดใหญ่จนเต็มพื้นที่ในช่องท้อง และลำไส้บีบต้วน้อยลง อาการท้องอืดแน่นท้อง อาจมีมากขึ้นจนคุณแม่รู้สึกอึดอัด และรับประทานอาหารได้ไม่มากนัก ทำให้ถึงแม้คุณหมอจะอยากเน้นให้คุณแม่รับประทานอาหารให้ได้โปรตีนคุณภาพ และน้ำหนักคุณแม่ขึ้นตามเกณฑ์ (สัปดาห์ละ 0.5 กิโลกรัม) แต่ก็มักจะทำไม่ได้ 

 

ดังนั้น การเลือกรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ แต่สัดส่วนแป้งน้อย และเน้นอาหารที่มีกากใย น่าจะเป็นประโยชน์กับคุณแม่  โดยเริ่มจากข้าวที่รับประทานแต่ละมื้อ ถ้าเปลี่ยนเป็นข้าวไรซ์เบอร์รี่ หรือข้าวกล้อง นอกจากจะได้รับวิตามิน เกลือแร่หลายชนิดแล้ว

 

วิตามินจากข้าวกล้อง ยังช่วยป้องกันโรคเหน็บชา โรคปากนกกระจอกและวิตามินบีจากข้าวกล้อง ยังช่วยเรื่องการเผาผลาญ บรรเทาความเครียด บรรเทาอาการปวดเมื่อย เพลีย รวมถึงมีกากใย ย่อยง่าย ป้องกันอาการท้องผูก และทำให้คุณแม่ควบคุมน้ำหนักได้ดีด้วยค่ะ

 

พัฒนาการลูก

ลูกมีความยาว 38 ซม. มีไขมันเคลือบตัวอยู่โดยรอบ สายตามีการพัฒนามากขึ้น และเริ่มโฟกัสได้


คำแนะนำการตั้งครรภ์

  •  ลูกมองเห็นแสงที่ผ่านทางหน้าท้องคุณแม่ได้ดีขึ้น คุณพ่อและคุณแม่สามารถกระตุ้นพัฒนาการระบบประสาทสมองและการมองเห็นของลูกได้ ด้วยการใช้ไฟฉายส่องผ่านทางหน้าท้อง โดยส่องห่างจากหน้าท้องประมาณ 1 ฟุต ค่อยๆ เลื่อนจากบนลงล่าง ซ้ายไปขวา และอาจค่อยๆ กะพริบ เพื่อช่วยกระตุ้นพัฒนาการให้ลูกแยกแยะความมืดและสว่าง รวมถึงกระตุ้นปฏิกิริยาตอบสนองต่อการมองเห็นของลูกด้วย
  • คุณพ่อและคุณแม่สามารถกระตุ้นพัฒนาการลูกด้านการตอบสนองได้ เช่น ขณะลูกดิ้น คุณแม่สามารถวางมือลงตรงตำแหน่งที่น้องเตะหรือโก่งจนหน้าท้องปูดนูนทุกครั้ง จากนั้นในวันถัดๆ มา เมื่อคุณแม่วางมือบนหน้าท้อง ลูกก็จะตอบสนอง คือ มาดิ้นหรือเตะ ฝ่ามือที่วางไว้บนหน้าท้องของคุณแม่ได้เช่นกัน

 


บทความอื่นๆ ที่สนใจ 

พัฒนาการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 28

พัฒนาการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 30

 

อ้างอิง

บทความโดยแพทย์หญิง ธิศรา  วีรสมัย
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้าน สูตินรีเวช เวชศาสตร์ครอบครัว 
และเวชศาสตร์ชะลอวัย โรงพยาบาลพญาไท 1

บทความแนะนำ

หลังผ่าคลอดกินอะไรได้บ้าง  แม่หลังคลอดทานอะไรให้แผลหายเร็ว

หลังผ่าคลอดกินอะไรได้บ้าง แม่หลังคลอดทานอะไรให้แผลหายเร็ว

หลังผ่าคลอดกินอะไรได้บ้าง  คำถามหลังผ่าคลอดที่คุณแม่มือใหม่มักกังวลใจ หลังผ่าคลอดกินอะไรได้บ้าง  เมนูอาหารแบบไหนที่คุณแม่ผ่าคลอดกินได้ และควรหลีกเลี่ยงหลังผ่าคลอด

12 เมนูคนท้อง อาหารคนท้องบำรุงคุณแม่ท้อง ดีต่อลูกในครรภ์

12 เมนูอาหารคนท้องบำรุงคุณแม่ อาหารคนท้อง ดีต่อลูกในครรภ์

รวมเมนูคนท้อง อาหารคนท้อง ช่วยบำรุงครรภ์คุณแม่ให้แข็งแรงและสมบูรณ์ เพื่อให้ลูกน้อยในครรภ์ได้รับโภชนาการที่ดีและครบถ้วน ไปดูเมนูคนท้องและอาหารคนท้องที่ดีกับลูกกัน

วันตกไข่ คืออะไร คุณแม่นับวันตกไข่อย่างไรให้แม่นยำ ไม่มีพลาด

วันตกไข่ คืออะไร คุณแม่นับวันตกไข่อย่างไรให้แม่นยำ ไม่มีพลาด

วันตกไข่ คืออะไร อาการแบบไหนที่บอกว่าคุณแม่อยู่ในช่วงวันตกไข่ พร้อมวิธีนับวันตกไข่ให้แม่นยำสำหรับคุณแม่มือใหม่ ช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ ให้คุณแม่ที่อยากมีลูก

6 วิธีนับอายุครรภ์ คำนวณอายุครรภ์ด้วยตัวเอง ก่อนคลอด

6 วิธีนับอายุครรภ์ คำนวณอายุครรภ์ด้วยตัวเอง ก่อนคลอด

วิธีการนับอายุครรภ์คืออะไร ทำไมคุณแม่ต้องรู้และวิธีคำนวณอายุครรภ์ที่ถูกต้อง นับแบบไหนได้บ้าง เพื่อให้คุณแม่วางแผนการคลอดและติดตามพัฒนาการของลูกในครรภ์ได้อย่างแม่นยำ

แผลฝีเย็บหลังคลอด คุณแม่ดูแลอย่างไรให้ปลอยภัย ฝีเย็บหายไว ไม่ติดเชื้อ

แผลฝีเย็บหลังคลอด คุณแม่ดูแลอย่างไรให้ปลอดภัย ฝีเย็บหายไว ไม่ติดเชื้อ

รู้จักกับแผลฝีเย็บ คุณแม่หลังคลอด ดูแลแผลฝีเย็บอย่างไรให้หายไว ปลอดภัยและไม่ติดเชื้อ พร้อมวิธีดูแลแผลฝีเย็บให้แห้งเร็ว ลดความเสี่ยงการติดเชื้อ สำหรับคุณแม่มือใหม่

ผ่าคลอดดีไหม ผ่าคลอดเจ็บไหม ดูแลแผลผ่าคลอดอย่างไร

ผ่าคลอดดีไหม ผ่าคลอดเจ็บไหม ดูแลแผลผ่าคลอดอย่างไร

ไขข้อสงสัยเกี่ยวกับการ ผ่าคลอด พร้อมคำแนะนำต่างๆ เพื่อเตรียมพร้อมให้คุณแม่มั่นใจเมื่อผ่าคลอด

แม่ท้องพร้อม เข้าใจอาการคนท้อง

แม่ท้องพร้อม! วิธีดูแลครรภ์ จัดการกับความกังวล เข้าใจอาการคนท้อง

เคล็ดลับการดูแลครรภ์ วิธีจัดการกับความกังวล รวมไปถึงการรับมือกับอาการคนท้อง