พัฒนาการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 25

พัฒนาการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 25

พัฒนาการการตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์  พัฒนาการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 25 

headphones
อ่าน 3 นาที

พัฒนาการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 25 

 

ช่วงนี้เป็นช่วงอายุครรภ์ที่ปลอดภัยสำหรับการเดินทางในคุณแม่ที่ไม่มีความเสี่ยง และคุณหมออนุญาตให้ออกกำลังกายได้ ตั้งแต่ออกกำลังกายเบาๆ เช่น ฝึกการหายใจ จนถึงการเล่นโยคะ พิลาทิส เป็นต้น  การออกกำลังกายมีประโยชน์สำหรับคุณแม่หลายอย่าง ได้แก่

  • ทำให้ผ่อนคลายจากความเครียด ทั้งจากงานและความกังวลเรื่องตั้งครรภ์ จึงช่วยให้หลับสบาย
  • ช่วยให้ระบบไหลเวียนเลือดดีขึ้น กล้ามเนื้อหัวใจสูบฉีดดีขึ้น คุณแม่จะรู้สึกสดชื่น ปลอดโปร่ง สุขภาพแข็งแรงขึ้น การไหลเวียนเลือดไปสู่รกและลูกดีขึ้น
  • ช่วยให้ระบบย่อยอาหารและการทำงานของลำไส้ดีขึ้น ขับถ่ายจะดีขึ้นด้วย
  • การออกกำลังกายบางชนิด เช่น โยคะ พิลาทิส ช่วยให้บริเวณเส้นเอ็น ข้อต่อ ยืดหยุ่นดีขึ้น อาการปวดเกร็งลดลง, กล้ามเนื้อแข็งแรง และการทรงตัวดีขึ้น ช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุได้

 

พัฒนาการลูก

ลูกมีความยาว 34 ซม. และน้ำหนัก 600 กรัม เซลล์สมองและระบบหายใจของลูกพัฒนาต่อเนื่อง คุณแม่จะรู้สึกลูกดิ้นชัดเจนมากในช่วงนี้

พัฒนาการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 25


Tips

  • คุณแม่สามารถนับลูกดิ้นได้ชัดเจน และการนับลูกดิ้น จัดเป็นวิธีที่คุณแม่จะเฝ้าสังเกตความแข็งแรงของลูกได้ด้วยตัวเอง เวลานับลูกดิ้น ไม่ได้หมายถึงต้องรอให้ลูกดิ้นจนครบวง แต่สามารถนับได้ตั้งแต่รู้สึกขยับก็นับเป็น 1  ดังนั้นใน 1วัน จะสามารถนับได้เป็น 100ครั้งเลยทีเดียว คุณหมอมักจะสอนให้นับเป็นช่วงเวลาที่จดจำง่าย   เช่น 9 โมงเช้า - สามทุ่ม (ใน 12 ชม.) หากพบว่าลูกดิ้นน้อยกว่า 10 ครั้ง ควรมาพบแพทย์เพื่อตรวจว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้นกับลูกหรือไม่
  • คุณแม่หลายท่านมักตกใจเสมอเมื่อลูกดิ้นเบาลง อันที่จริงเรื่องความแรงความเบาของการดิ้นนั้น มีจากหลายปัจจัย  เช่น หากคุณแม่น้ำหนักมากมีหน้าท้องหนาก็จะรู้สึกลูกดิ้นเบา หรือถ้าวันนั้นคุณแม่ท้องอืดมาก เพราะมีลมในลำไส้มาก ก็สามารถทำให้รู้สึกลูกดิ้นเบาได้เช่นกัน ดังนั้น เราจะไม่เน้นที่ความแรงหรือความเบา แต่จะเน้นจำนวนครั้งที่น้อยลงกว่าปกติ หากเกิดจากสาเหตนั้นควรรีบมาพบแพทย์ค่ะ
  • บางช่วงลูกหลับ คุณแม่จะไม่รู้สึกลูกดิ้น แนะนำคุณแม่ดื่มน้ำหวาน หรือรับประทานอาหารหวานๆ และสังเกตหลังรับประทาน 1-2 ชม. ลูกตื่น ก็จะรู้สึกลูกดิ้นค่ะ แต่ถ้าไม่รู้สึกจริง ๆ ควรรีบมาพบแพทย์เพื่อประเมินอาการค่ะ

 


บทความอื่นๆ ที่สนใจ 

พัฒนาการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 24

พัฒนาการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 26

อ้างอิง

บทความโดยแพทย์หญิง ธิศรา  วีรสมัย
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้าน สูตินรีเวช เวชศาสตร์ครอบครัว 
และเวชศาสตร์ชะลอวัย โรงพยาบาลพญาไท 1

บทความแนะนำ

หลังผ่าคลอดกินอะไรได้บ้าง  แม่หลังคลอดทานอะไรให้แผลหายเร็ว

หลังผ่าคลอดกินอะไรได้บ้าง แม่หลังคลอดทานอะไรให้แผลหายเร็ว

หลังผ่าคลอดกินอะไรได้บ้าง  คำถามหลังผ่าคลอดที่คุณแม่มือใหม่มักกังวลใจ หลังผ่าคลอดกินอะไรได้บ้าง  เมนูอาหารแบบไหนที่คุณแม่ผ่าคลอดกินได้ และควรหลีกเลี่ยงหลังผ่าคลอด

12 เมนูคนท้อง อาหารคนท้องบำรุงคุณแม่ท้อง ดีต่อลูกในครรภ์

12 เมนูอาหารคนท้องบำรุงคุณแม่ อาหารคนท้อง ดีต่อลูกในครรภ์

รวมเมนูคนท้อง อาหารคนท้อง ช่วยบำรุงครรภ์คุณแม่ให้แข็งแรงและสมบูรณ์ เพื่อให้ลูกน้อยในครรภ์ได้รับโภชนาการที่ดีและครบถ้วน ไปดูเมนูคนท้องและอาหารคนท้องที่ดีกับลูกกัน

วันตกไข่ คืออะไร คุณแม่นับวันตกไข่อย่างไรให้แม่นยำ ไม่มีพลาด

วันตกไข่ คืออะไร คุณแม่นับวันตกไข่อย่างไรให้แม่นยำ ไม่มีพลาด

วันตกไข่ คืออะไร อาการแบบไหนที่บอกว่าคุณแม่อยู่ในช่วงวันตกไข่ พร้อมวิธีนับวันตกไข่ให้แม่นยำสำหรับคุณแม่มือใหม่ ช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ ให้คุณแม่ที่อยากมีลูก

6 วิธีนับอายุครรภ์ คำนวณอายุครรภ์ด้วยตัวเอง ก่อนคลอด

6 วิธีนับอายุครรภ์ คำนวณอายุครรภ์ด้วยตัวเอง ก่อนคลอด

วิธีการนับอายุครรภ์คืออะไร ทำไมคุณแม่ต้องรู้และวิธีคำนวณอายุครรภ์ที่ถูกต้อง นับแบบไหนได้บ้าง เพื่อให้คุณแม่วางแผนการคลอดและติดตามพัฒนาการของลูกในครรภ์ได้อย่างแม่นยำ

แผลฝีเย็บหลังคลอด คุณแม่ดูแลอย่างไรให้ปลอยภัย ฝีเย็บหายไว ไม่ติดเชื้อ

แผลฝีเย็บหลังคลอด คุณแม่ดูแลอย่างไรให้ปลอดภัย ฝีเย็บหายไว ไม่ติดเชื้อ

รู้จักกับแผลฝีเย็บ คุณแม่หลังคลอด ดูแลแผลฝีเย็บอย่างไรให้หายไว ปลอดภัยและไม่ติดเชื้อ พร้อมวิธีดูแลแผลฝีเย็บให้แห้งเร็ว ลดความเสี่ยงการติดเชื้อ สำหรับคุณแม่มือใหม่

ผ่าคลอดดีไหม ผ่าคลอดเจ็บไหม ดูแลแผลผ่าคลอดอย่างไร

ผ่าคลอดดีไหม ผ่าคลอดเจ็บไหม ดูแลแผลผ่าคลอดอย่างไร

ไขข้อสงสัยเกี่ยวกับการ ผ่าคลอด พร้อมคำแนะนำต่างๆ เพื่อเตรียมพร้อมให้คุณแม่มั่นใจเมื่อผ่าคลอด

แม่ท้องพร้อม เข้าใจอาการคนท้อง

แม่ท้องพร้อม! วิธีดูแลครรภ์ จัดการกับความกังวล เข้าใจอาการคนท้อง

เคล็ดลับการดูแลครรภ์ วิธีจัดการกับความกังวล รวมไปถึงการรับมือกับอาการคนท้อง