คนท้องกินยาพาราได้ไหม ทำไมก่อนกินยาคนท้องต้องปรึกษาหมอทุกครั้ง

คนท้องกินยาพาราได้ไหม ทำไมก่อนกินยาคนท้องต้องปรึกษาหมอ

28.06.2024

ในระหว่างการตั้งครรภ์ คุณแม่อาจมีอาการเจ็บปวด หรือมีไข้เกิดขึ้นได้ หากคุณแม่รู้สึกตัวว่าไม่สบาย มีอาการปวดศีรษะ ปวดเมื่อยเนื่องจากเป็นไข้ ปวดหลัง ปวดกล้ามเนื้อ การดูแลสุขภาพของตนเองจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรปล่อยปละละเลย หากคุณแม่จำเป็นต้องกินยาพาราเพื่อบรรเทาอาการปวดต่าง ๆ เพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพคุณแม่และลูกในครรภ์ คุณแม่ควรระมัดระวังในการใช้ยาพาราเซตามอลและควรให้อยู่ภายใต้ความควบคุมของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ไม่ควรซื้อยาทานเองเด็ดขาด

headphones

PLAYING: คนท้องกินยาพาราได้ไหม ทำไมก่อนกินยาคนท้องต้องปรึกษาหมอ

อ่าน 6 นาที

 

สรุป

  • ยาพาราเซตามอล เป็นยาช่วยบรรเทาอาการปวด ลดไข้ได้ระดับน้อยถึงปานกลาง ยาพาราเซตามอลช่วยลดอาการปวดได้หลากหลาย เช่น ปวดศีรษะ ปวดหลัง ปวดกล้ามเนื้อ ปวดฟัน ลดไข้
  • ยาพาราเซตามอลเป็นยาที่ปลอดภัย คุณแม่ตั้งครรภ์สามารถใช้ยาได้ หากมีความจำเป็นต้องใช้ยาพารา คุณแม่ควรปรึกษาแพทย์ก่อนการใช้ยา และใช้ในปริมาณตามแพทย์สั่ง ไม่ควรซื้อยาทานเอง และควรใช้เมื่อมีอาการเจ็บป่วยเท่านั้น
  • หากทานยาพาราเซตามอลแล้ว มีอาการไม่พึงประสงค์ เช่น มีผื่นแดง หายใจลำบาก แน่นหน้าอก หน้าบวม ริมฝีปากบวม เปลือกตาบวม หน้ามืด ควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วน

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

คนท้องกินยาพาราได้หรือไม่ ทำไมถึงควรปรึกษาหมอก่อนทุกครั้ง

ยาพาราเซตามอล หรือ ยาอะเซตามิโนเฟน เป็นยาช่วยแก้ปวดในระดับน้อยถึงปานกลาง และเป็นยาช่วยลดไข้ ออกฤทธิ์ยับยั้งการสังเคราะห์สารโพรสตาแกลนดิน (Prostaglandin) ในระบบประสาทส่วนกลาง และยับยั้งเอนไซม์ไซโคลออกซีเจเนส ที่ทำให้เกิดอาการเจ็บปวดและอักเสบ ยาพาราเซตามอลบรรเทาปวดได้หลากหลาย เช่น ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดเมื่อยจากการเป็นไข้ ปวดฟัน ยาพาราเซตามอลเป็นยาที่สามารถ ใช้ได้ในคุณแม่ตั้งครรภ์ แต่ต้องอยู่ในความควบคุมจากแพทย์ และควรใช้เมื่อมีอาการเจ็บป่วยเท่านั้น

 

คุณแม่ตั้งครรภ์ไม่ควรซื้อยาทานเอง หากจำเป็นต้องรับประทานยาจริง ๆ ควรพบแพทย์เพื่อรับคำแนะนำในการใช้ยาก่อน และทานยาในปริมาณที่เหมาะสมตามที่แพทย์สั่งเท่านั้น ควรขอคำแนะนำจากแพทย์ก่อนการทานยา โดยเฉพาะหากคุณแม่มีประวัติแพ้ยาพาราเซตามอล มีโรคประจำตัวบางชนิด เช่น โรคตับ หรือไตวายรุนแรง แม้ว่ายังไม่มีงานวิจัยที่ระบุว่า พาราเซตามอล มีความเสี่ยงต่อคุณแม่ตั้งครรภ์อย่างชัดเจน ก่อนการใช้ยาทุกครั้งคุณแม่ตั้งครรภ์ควรปรึกษาแพทย์

 

ยาพารา ช่วยให้คุณแม่ตั้งครรภ์รู้สึกปวดน้อยลงได้จริงไหม

  1. ยาพารา ช่วยบรรเทาอาการปวดหัว ปวดไมเกรน ยาพาราเซตามอล ได้ในเบื้องต้นที่ใช้สำหรับบรรเทาอาการไมเกรนในคุณแม่ตั้งครรภ์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการจ่ายยาตามดุลพินิจของแพทย์
  2. ยาพารา ช่วยลดไข้ คุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีไข้สามารถทานยาพาราเซตามอลเพื่อลดไข้ได้ แต่ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุของการเป็นไข้ให้แน่ชัดก่อน และทานยาพาราเมื่อแพทย์สั่งจ่ายในปริมาณที่แพทย์แนะนำเท่านั้น
  3. ยาพารา ช่วยบรรเทาอาการปวดฟันเล็กน้อย ถึงปานกลาง ทั้งนี้การใช้ยาพาราต้องอยู่ในดุลยพินิจของแพทย์ หรือทันตแพทย์

 

คนท้องกินยาพาราได้ไหม อันตรายกับลูกในครรภ์หรือเปล่า

 

ก่อนกินยาพารา คุณแม่ตั้งครรภ์ควรทำ 2 สิ่งนี้ก่อน

1. ปรึกษาแพทย์ผู้ดูแลครรภ์ สูตินรีแพทย์

แม้ว่ายาพาราเซตามอลเป็นยาที่ค่อนข้างปลอดภัยเมื่อใช้อย่างถูกวิธี แต่คุณแม่ตั้งครรภ์ควรใช้ยาพาราเซตามอลเมื่อมีอาการเจ็บป่วย และใช้ยาในปริมาณที่เหมาะสมตามที่แพทย์สั่ง ใช้ยาภายใต้การควบคุมของแพทย์เท่านั้น เมื่อมีอาการเจ็บป่วยไม่ควรซื้อยาทานเอง ควรได้รับการตรวจและวินิจฉัยอาการป่วยกับแพทย์โดยตรงเพื่อการรักษาที่ถูกวิธี

 

2. เช็กความถูกต้องของยา และวันหมดอายุ

วันหมดอายุของยา คือ วันที่กำหนดอายุของยา เพื่อแสดงถึงวันผลิต และวันสิ้นอายุของยา เป็นการตรวจสอบคุณภาพยาอย่างง่ายที่ทำได้ด้วยตนเอง สังเกตได้จากวันหมดอายุที่ระบุที่แผงยา ซองยา หรือบนบรรจุภัณฑ์ จะระบุ เดือน และปี ไว้ว่าหมดอายุเมื่อไหร่ วันหมดอายุของยาคือ วันสุดท้ายในเดือนนั้น ๆ ที่ระบุไว้ในปีที่หมดอายุ เช่น หมดอายุ 03/2024 คือ หมดอายุ วันที่ 31 เดือนมีนาคม ปี 2024

 

อาการของคุณแม่ตั้งครรภ์หลังกินยา ที่ต้องรีบไปพบแพทย์

  1. มีอาการหน้ามืด
  2. มีตุ่มพองขึ้นตามร่างกาย
  3. มีอาการผิวหนังหลุดลอก
  4. มีอาการไข้ หนาวสั่น เจ็บคอ
  5. มีอาการตัวเหลืองและตาเหลือง
  6. มีอาการหน้าบวม ริมฝีปากบวมและเปลือกตาบวม
  7. มีผื่นคันขึ้น มีจุดเล็ก ๆ ขึ้นตามผิวหนัง ผื่นแดง ลมพิษ
  8. มีอาการหายใจลำบากและแน่นหน้าอก
  9. มีอาการอาเจียน
  10. มีอาการเลือดออกผิดปกติ
  11. ปัสสาวะน้อยลงโดยไม่มีสาเหตุ ปัสสาวะเป็นเลือด
  12. มีอุจจาระสีดำและอุจจาระเป็นเลือด
  13. มีอาการปวดหลังส่วนล่างอย่างรุนแรง
  14. มีจุดขาว ๆ ขึ้นภายในช่องปาก ริมฝีปาก มีแผลร้อนใน

 

คุณแม่ตั้งครรภ์ควรดูแลตัวเองอย่างไร เมื่อรู้สึกไม่สบาย

  1. เช็ดตัวบ่อย ๆ เพื่อลดไข้
  2. รับประทานผัก ผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง และมีรสไม่หวานมาก เพื่อเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน
  3. ดื่มน้ำเยอะ ๆ เพื่อระบายความร้อนออกจากร่างกาย
  4. หลีกเลี่ยงการออกไปนอกบ้าน ที่มีผู้คนพลุกพล่าน คุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ อาจติดเชื้อโรคได้ง่าย ๆ ควรอยู่ในที่โล่ง อากาศถ่ายเทสะดวก
  5. ล้างมือด้วยสบู่บ่อย ๆ เพื่อรักษาความสะอาด
  6. พักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อให้ร่างกายที่อ่อนแอได้ฟื้นความแข็งแรง
  7. รับประทานอาหารสำหรับคนท้อง ที่ปรุงสุก ใหม่เสมอ
  8. หากคุณแม่ตั้งครรภ์มีไข้สูงเกิน 37.5 องศาเซลเซียส หลายวันแล้วอาการไม่บรรเทา หรือมีไข้ติดต่อกันหลายวัน ควรรีบไปหาแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย

 

อย่างไรก็ตาม หากคุณแม่มีอาการปวดต่าง ๆ ตามร่างกาย คุณแม่ตั้งครรภ์ควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทานยาทุกครั้ง ไม่ว่าจะมีอาการใด ๆ ก็ตาม เพราะยาทุกชนิดที่ทานเข้าไป อาจมีผลกระทบต่อสุขภาพของคุณแม่ และส่งผลร้ายต่อทารกในครรภ์ได้ ดังนั้น คุณแม่ตั้งครรภ์จึงไม่ควรซื้อยาทานด้วยตัวเอง หากมีอาการปวดรุนแรงและทนไม่ไหว คุณแม่ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อการตรวจวินิจฉัยและการรักษาที่ถูกต้อง

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

 

 

อ้างอิง:

  1. ยาพาราเซตามอล รักษาการปวดได้ทุกอาการจริงหรือ?, โรงพยาบาลศิริราช ปิยะมหาราชการุณย์
  2. เกร็ดความรู้ของคุณแม่ตั้งครรภ์กับการใช้ยา ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา, คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  3. คุณแม่ตั้งครรภ์ กับการใช้ยา, โรงพยาบาลเปาโล
  4. คนท้องกินยาพาราได้ไหม จะปลอดภัยหรือเปล่า, hellokhunmor
  5. ปวดหัวไมเกรนตอนตั้งครรภ์, โรงพยาบาลขอนแก่น
  6. กินยาพาราอย่างไร? ไม่ทำร้าย “ตับ” , โรงพยาบาล พริ้นซ์ สุวรรณภูมิ
  7. ดูแลตัวเองอย่างไร เมื่อคุณแม่เป็นไข้ขณะตั้งครรภ์, โรงพยาบาลพญาไท
  8. ยาพาราเซตามอล กินอย่างไรให้ปลอดภัย, โรงพยาบาลเปาโล
  9. เป็นไข้ขณะตั้งครรภ์ ควรดูแลตัวเองอย่างไร, โรงพยาบาลบางปะกอก
  10. คนท้องเป็นหวัด อันตรายหรือไม่และควรรับมืออย่างไรดี, hellokhunmor
  11. วิธีสังเกต ยาเสื่อมคุณภาพ, โรงพยาบาลศิริราช ปิยะมหาราชการุณย์

อ้างอิง ณ วันที่ 22 มีนาคม 2567

บทความแนะนำ

อารมณ์คนท้องแปรปรวน เกิดจากอะไร คุณพ่อมือใหม่รับมือยังไงดี

อารมณ์คนท้องแปรปรวน เกิดจากอะไร คุณพ่อมือใหม่รับมือยังไงดี

อารมณ์คนท้องแปรปรวน คนท้องมีอารมณ์ขึ้น ๆ ลง ๆ เกิดจากสาเหตุอะไร คุณแม่ท้องอารมณ์แปรปรวนบ่อย ส่งผลกระทบกับลูกในครรภ์ไหม พร้อมวิธีรับมือเมื่อคนท้องอารมณ์แปรปรวน

อาหารคนแพ้ท้องสำหรับคุณแม่ อาหารคนแพ้ท้องที่คุณแม่ควรกิน

อาหารคนแพ้ท้องสำหรับคุณแม่ อาหารคนแพ้ท้องที่คุณแม่ควรกิน

อาหารคนแพ้ท้อง สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์มีอยู่จริงไหม อาหารแบบไหนช่วยลดอาการเวียนหัว คลื่นไส้และอาเจียนของคุณแม่ได้ ไปดูอาหารคนแพ้ท้องที่ปลอดภัยกัน

สะดือคนท้องบอกอะไรได้บ้าง สะดือหงายสะดือคว่ำดูยังไง

สะดือคนท้องบอกอะไรได้บ้าง สะดือหงายสะดือคว่ำดูยังไง

สะดือคนท้อง บอกอะไรได้บ้าง สะดือหงายสะดือคว่ำดูยังไง การเปลี่ยนแปลงของสะดือคุณแม่ บ่งบอกถึงปัญหาสุขภาพของแม่ท้องและลูกได้ไหม สะดือคนท้องทายเพศลูกได้จริงหรือเปล่า

คนท้องเลือดจางห้ามกินอะไร ควรกินอะไรบ้าง พร้อมวิธีรับมือ

คนท้องเลือดจางห้ามกินอะไร ควรกินอะไรบ้าง พร้อมวิธีรับมือ

คนท้องเลือดจางห้ามกินอะไร ภาวะเลือดจากในคนท้อง เกิดจากอะไร อาหารอะไรบ้างที่คนท้องเลือดจางห้ามกินและกินได้ คุณแม่มีภาวะเลือดจากจะเป็นอันตรายกับลูกในท้องไหม

รก คืออะไร หน้าที่ของรกมีอะไรบ้าง รกผิดปกติ อันตรายกับคุณแม่แค่ไหน

รก คืออะไร หน้าที่ของรกมีอะไรบ้าง รกผิดปกติ อันตรายกับคุณแม่แค่ไหน

รก คืออะไร หน้าที่ของรกสำคัญแค่ไหน เมื่อคุณแม่เริ่มตั้งครรภ์ พร้อมวิธีสังเกตความผิดปกติของรก ที่คุณแม่ควรรู้ เพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิดกับทารกในครรภ์

น้ำคร่ำน้อย เกิดจากอะไร น้ำคร่ำน้อยตอนใกล้คลอด อันตรายไหม

น้ำคร่ำน้อย เกิดจากอะไร น้ำคร่ำน้อยตอนใกล้คลอด อันตรายไหม

น้ำคร่ำน้อย สัญญาณอันตรายที่คุณแม่ตั้งครรภ์ไม่ควรมองข้าม น้ำคร่ำน้อยระหว่างตั้งครรภ์ มีอาการอย่างไร น้ำคร่ำน้อยตอนใกล้คลอดอันตรายไหม พร้อมวิธีดูแลตัวเอง 

คุณแม่เจ็บแผลทำหมันกี่วัน พร้อมวิธีดูแลตัวเองหลังทำหมัน

คุณแม่เจ็บแผลทำหมันกี่วัน พร้อมวิธีดูแลตัวเองหลังทำหมัน

คุณแม่เจ็บแผลทำหมันกี่วัน ใช้เวลานานแค่ไหนกว่าแผลทำหมันจะหายดี เจ็บแผลทำหมัน พร้อมวิธีดูแลตัวเองหลังทำหมันที่ถูกต้อง ช่วยให้แผลหายเร็วและปลอดภัย

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก