พัฒนาการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 29
พัฒนาการการตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์ พัฒนาการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 29
พัฒนาการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 29
ในไตรมาสที่ 3 นี้ มดลูกจะมีขนาดใหญ่จนเต็มพื้นที่ในช่องท้อง และลำไส้บีบต้วน้อยลง อาการท้องอืดแน่นท้อง อาจมีมากขึ้นจนคุณแม่รู้สึกอึดอัด และรับประทานอาหารได้ไม่มากนัก ทำให้ถึงแม้คุณหมอจะอยากเน้นให้คุณแม่รับประทานอาหารให้ได้โปรตีนคุณภาพ และน้ำหนักคุณแม่ขึ้นตามเกณฑ์ (สัปดาห์ละ 0.5 กิโลกรัม) แต่ก็มักจะทำไม่ได้
ดังนั้น การเลือกรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ แต่สัดส่วนแป้งน้อย และเน้นอาหารที่มีกากใย น่าจะเป็นประโยชน์กับคุณแม่ โดยเริ่มจากข้าวที่รับประทานแต่ละมื้อ ถ้าเปลี่ยนเป็นข้าวไรซ์เบอร์รี่ หรือข้าวกล้อง นอกจากจะได้รับวิตามิน เกลือแร่หลายชนิดแล้ว
วิตามินจากข้าวกล้อง ยังช่วยป้องกันโรคเหน็บชา โรคปากนกกระจอกและวิตามินบีจากข้าวกล้อง ยังช่วยเรื่องการเผาผลาญ บรรเทาความเครียด บรรเทาอาการปวดเมื่อย เพลีย รวมถึงมีกากใย ย่อยง่าย ป้องกันอาการท้องผูก และทำให้คุณแม่ควบคุมน้ำหนักได้ดีด้วยค่ะ
พัฒนาการลูก
ลูกมีความยาว 38 ซม. มีไขมันเคลือบตัวอยู่โดยรอบ สายตามีการพัฒนามากขึ้น และเริ่มโฟกัสได้
คำแนะนำการตั้งครรภ์
- ลูกมองเห็นแสงที่ผ่านทางหน้าท้องคุณแม่ได้ดีขึ้น คุณพ่อและคุณแม่สามารถกระตุ้นพัฒนาการระบบประสาทสมองและการมองเห็นของลูกได้ ด้วยการใช้ไฟฉายส่องผ่านทางหน้าท้อง โดยส่องห่างจากหน้าท้องประมาณ 1 ฟุต ค่อยๆ เลื่อนจากบนลงล่าง ซ้ายไปขวา และอาจค่อยๆ กะพริบ เพื่อช่วยกระตุ้นพัฒนาการให้ลูกแยกแยะความมืดและสว่าง รวมถึงกระตุ้นปฏิกิริยาตอบสนองต่อการมองเห็นของลูกด้วย
- คุณพ่อและคุณแม่สามารถกระตุ้นพัฒนาการลูกด้านการตอบสนองได้ เช่น ขณะลูกดิ้น คุณแม่สามารถวางมือลงตรงตำแหน่งที่น้องเตะหรือโก่งจนหน้าท้องปูดนูนทุกครั้ง จากนั้นในวันถัดๆ มา เมื่อคุณแม่วางมือบนหน้าท้อง ลูกก็จะตอบสนอง คือ มาดิ้นหรือเตะ ฝ่ามือที่วางไว้บนหน้าท้องของคุณแม่ได้เช่นกัน
บทความอื่นๆ ที่สนใจ
พัฒนาการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 28
พัฒนาการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 30
อ้างอิง
บทความโดยแพทย์หญิง ธิศรา วีรสมัย
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้าน สูตินรีเวช เวชศาสตร์ครอบครัว
และเวชศาสตร์ชะลอวัย โรงพยาบาลพญาไท 1
บทความแนะนำ

ฤกษ์ผ่าคลอด 2565 ฤกษ์คลอด ฤกษ์มงคล เสริมดวงลูกรัก
ฤกษ์ดีผ่าคลอด ปี 2565 การกำหนด ฤกษ์ผ่าคลอด หรือ ฤกษ์คลอด ควรทำควบคู่ไปกับการขอรับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้ทำคลอดด้วย เพราะหากผู้ปกครองดื้อรั้นกำหนดวันคลอดเองโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ นอกจากจะไม่ได้รับอนุญาตให้คลอดในวันดังกล่าวแล้ว ยังอาจมีผลกระทบต่อสุขภาพของคุณแม่และทารกในครรภ์ไปตลอดชีวิตอีกด้วย

อาการคนท้องระยะแรก สัญญาณที่บอกว่ากำลังตั้งครรภ์
อาการคนท้อง เป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่ากำลังตั้งครรภ์ โดยอาการเริ่มแรกที่หญิงตั้งครรภ์ส่วนใหญ่สัมผัสได้ คือ การขาดประจำเดือน แต่ความจริงแล้วในช่วงท้อง 1 สัปดาห์ - 2 สัปดาห์แรก ผู้หญิงที่เริ่มตั้งครรภ์อาจมีอาการเลือดออกเล็กน้อยคล้ายประจำเดือนที่เรียกว่า “เลือดล้างหน้าเด็ก” ทำให้ว่าที่คุณแม่อาจไม่ทันได้สังเกตคิดว่าประจำเดือนมาปกติ ส่วนอาการอื่น ๆ อย่างอาการแพ้ท้อง คลื่นไส้ อ่อนเพลีย และอารมณ์แปรปรวน จะตามมาทีหลัง รวมถึงมีสัญญาณการตั้งครรภ์อื่น ๆ ตามมา

อาหารที่คนท้องควรหลีกเลี่ยง เพื่อสุขภาพครรภ์ที่ดีของคุณแม่และทารกในครรภ์
โภชนาการหญิงตั้งครรภ์เป็นสิ่งสำคัญที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของทารกในครรภ์ ตลอดช่วงเวลาของการตั้งครรภ์ คุณแม่จำเป็นต้องเลือกทานอาหารให้ได้พลังงานและสารอาหารที่เหมาะสมกับร่างกาย หากได้รับสารอาหารมากเกินไปหรือน้อยไปย่อมส่งผลไม่ดีต่อตัวคุณแม่เองและลูกน้อยในครรภ์เอาได้ การเลือกอาหารสำหรับคนท้องจึงเป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงเป็นอย่างแรก แล้วแบบนี้คนท้องควรหลีกเลี่ยงอะไรบ้าง

เทคนิคสำหรับแม่หลังผ่าคลอด ดูแลแผลผ่าคลอด ให้ยุบเร็ว หายไว ถูกวิธี
คุณแม่ที่ต้องผ่าคลอด มีหลายอย่างที่จะต้องเตรียมตัว รวมถึงการดูแลตัวเองหลังผ่าคลอด โดยเฉพาะการดูแลแผลผ่าตัดคลอด เพราะร่องรอยผ่าคลอดที่อยู่บนร่างกาย หากไม่ดูแลให้ดีจะเสี่ยงแผลผ่าคลอดอักเสบ ติดเชื้อรุนแรงได้ มาอ่านวิธีดูแลแผลผ่าคลอด เพื่อให้แผลยุบเร็ว หายไว ถูกวิธี ลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ กันได้ในบทความนี้